พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายยกเลิกแล้วไม่อาจใช้ลงโทษจำเลยได้ แม้โจทก์อ้างถึง
ความผิดฐานประกอบโรคศิลปะ สาขาเวชกรรมโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 11 มีบัญญัติไว้แล้วใน พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 มาตรา 21 จึงถือว่าความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ในส่วนที่เกี่ยวกับสาขาเวชกรรมถูกยกเลิกแล้วโดย พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 การที่โจทก์อ้างกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้วมาขอให้ลงโทษจำเลย มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายอันใดมาเลย ไม่ใช่เรื่องอ้างบทกฎหมายผิด ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ไม่ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7156/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงจากคำฟ้อง ศาลลงโทษจำเลยได้ตามข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ แม้ต่างจากคำฟ้องเดิม
หากข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งเก้าต่างจุดประทัดของตนโยนใส่โจทก์ร่วม อันเป็นกรณีที่ต่างคนต่างมีเจตนาทำร้ายโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงต่างไปจากคำฟ้องที่ว่าจำเลยทั้งเก้าร่วมกันทำร้ายโจทก์ร่วมก็ตาม แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งเก้าแต่ละคนได้กระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมแล้วเพราะในการกระทำนั้นไม่ว่าจำเลยทั้งเก้าจะร่วมกันกระทำหรือต่างกระทำผิดตามลำพังจำเลยทั้งเก้าแต่ละคนก็ย่อมถูกลงโทษเป็นแต่จะลงโทษได้เต็มคำขอของโจทก์และโจทก์ร่วมหรือไม่เท่านั้น ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงในทางพิจารณาดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยทั้งเก้าก็มิได้หลงต่อสู้แต่อย่างใด ศาลย่อมรับฟังลงโทษจำเลยทั้งเก้าแต่ละคนได้ตามข้อเท็จจริงที่ได้ในทางพิจารณานั้นตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 7ถึงที่ 9 อุทธรณ์ ทั้งเป็นคดีที่หากศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยแล้ว อาจจะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 7ถึงที่ 9 อุทธรณ์ ทั้งเป็นคดีที่หากศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยแล้ว อาจจะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีเช็คที่แยกฟ้อง ต้องไม่เกินคำขอท้ายฟ้องและห้ามรวมโทษโดยไม่ขอ
โจทก์แยกฟ้องคดีทั้งสองสำนวนซึ่งศาลสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาโดยไม่ได้ขอให้พิพากษานับโทษจำเลยติดต่อกันจึงนับโทษต่อกันไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำคุกกระทงละ 6 เดือนรวม 2 กระทง จำคุก 1 ปี จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดต่างกรรมกัน ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยได้ แม้ไม่ได้แจ้งข้อหาทุกกระทง
พนักงานสอบสวนไม่จำต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดแม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120และศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดข้อหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร จำเป็นต้องสืบพยานให้ชัดเจนถึงฐานความผิดที่จำเลยกระทำ
ฟ้องขอให้ลงโทษลักทรัพย์หรือรับของโจร แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะเป็นความผิดคนละฐานกัน จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำผิดฐานใดแม้จะเป็นแบบพิมพ์คำให้การที่โรเนียวล่วงหน้าไว้ก็ตามก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งของจำเลย มิฉะนั้นลงโทษไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนไม่เพียงพอที่จะลงโทษจำเลย จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ลักทรัพย์คงมีหลักฐานเพียงว่าในคืนเกิดเหตุมีคนร้ายลักยางพาราแผ่นของผู้เสียหายไปข้อนำสืบเบื้องต้นที่ว่าจำเลยเป็นคนร้ายมาจากคำรับของจำเลยต่อพนักงานสอบสวนและต่อบุคคลที่รู้เห็นในขณะนั้นเป็นพยานบอกเล่าที่จำเลยได้บอกแก่พนักงานสอบสวนจริงแต่จะรับฟังว่าจำเลยได้กระทำการลักทรัพย์ไปจริงตามที่ได้บอกเล่าไว้หรือไม่นั้นต้องมีพยานอื่นมาสนับสนุนให้รับฟังได้ว่าเป็นจริงตามที่จำเลยได้บอกเล่าแก่พนักงานสอบสวนลำพังแต่คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนเพียงรับฟังได้ว่าจำเลยได้บอกกล่าวไว้เช่นนั้นจะรับฟังลงโทษจำเลยได้นั้นจะต้องมีพยานอื่นสนับสนุนด้วยเมื่อโจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนจึงยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษจำเลยตามคำฟ้อง: ศาลจำกัดการลงโทษเฉพาะความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้พรากเด็กหญิงผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่โดยผู้เสียหายไม่ยินยอมขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277,317,90 ซึ่งมิได้มีรายละเอียดให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษทุกกรรม ทั้งอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 มาด้วย ดังนี้แม้ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์กับข่มขืนกระทำชำเรา อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจะลงโทษจำเลยในแต่ละกรรมนอกเหนือจากคำฟ้องและคำขอของโจทก์หาได้ไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ โดยให้ลงโทษในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม มาตรา 317 วรรคสาม กรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบอกเล่าและสำนวนคดีอื่นมิอาจใช้ลงโทษจำเลยได้ หากไม่มีพยานรู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง
คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นพยานบอกเล่า จะรับฟังได้แต่เพียงเป็นพยานประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นศาลเมื่อตามคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นศาลไม่มีผู้ใดเห็นว่าจำเลยกระทำผิด เพียงคำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าวย่อมไม่พอฟังลงโทษจำเลย โจทก์อ้างสำนวนคดีอาญาคดีอื่นของศาลชั้นต้น ซึ่ง ช.ถูกฟ้องว่าร่วมกับพวกพยายามฆ่าผู้เสียหายในคดีนี้และผู้เสียหายเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ยืนยันว่า ช. กับจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้แต่คดีดังกล่าวจำเลยมิได้เป็นคู่ความอยู่ด้วย ทั้งผู้เสียหายมิได้เบิกความในคดีดังกล่าวต่อหน้าจำเลย จะนำมาฟังในคดีนี้ว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดต่างกรรมกัน และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการสั่งริบของกลาง แม้โจทก์ไม่เคยอุทธรณ์
การที่จำเลยมีอาวุธปืนติดตัวและการที่จำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวจี้ขู่เข็ญ ป. จนทำให้ตก ใจกลัว เป็นการกระทำที่มีเจตนาแยกจากกันได้ เป็นความผิดต่างกรรม ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) คำพิพากษาต้องมีคำวินิจฉัยเรื่องของกลางด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนของกลางที่ใช้กระทำผิด และท้ายฟ้องมีคำขอให้ศาลริบอาวุธปืนของกลางด้วย ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยเรื่องอาวุธปืนของกลางและไม่สั่งริบอาวุธปืนอันเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ เสียให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ต้องเป็นไปตามคำขอท้ายฟ้อง และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 70
แม้ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำผิดในฐานะผู้ดำเนินการตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่งเป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์
มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้องระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้
มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้องระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้