คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลงโทษซ้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษซ้ำในคดีลิขสิทธิ์ต้องรอให้คดีก่อนถึงที่สุดก่อน จึงจะลงโทษเป็นสองเท่าได้
การระวางโทษเป็นสองเท่าในคดีหลังตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 73 จะต้องปรากกฏว่าขณะกระทำผิดคดีหลัง คดีก่อนจะต้องถึงที่สุดไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7101/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษซ้ำความผิดฐานเล่นการพนัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลงโทษทั้งจำและปรับตามกฎหมาย
ตามบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ระบุว่าจำเลยที่ 1 เคยถูกศาลพิพากษาปรับฐานเล่นการพนันไพ่ผสมสิบเมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนด 3 ปี กลับมากระทำผิดคดีนี้ฐานเล่นการพนันไพ่ผสมสิบซ้ำอีก ขอให้ศาลวางโทษจำเลยที่ 1 ทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ. 2478 มาตรา 14 ทวิ (2) บันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งคำฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ด้วยส่วนหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพโดยไม่ได้โต้แย้งประการใด ก็ ถือว่าจำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกประการ รวมทั้งข้อเท็จจริงที่เคยต้องโทษด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การลงโทษซ้ำความผิดเดิม แม้ข้อบังคับอนุญาตเลิกจ้างหลังเตือน 3 ครั้ง แต่ต้องพิจารณาความร้ายแรงเป็นรายกรณี
ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่มา 3 ครั้ง แต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องร้ายแรงนายจ้างจึงลงโทษเพียงการตักเตือนเป็นหนังสือทั้งสามครั้ง เมื่อลูกจ้างไม่ได้มากระทำผิดซ้ำคำตักเตือนอีกเป็นครั้งที่สี่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยอาศัยเหตุที่เคยลงโทษไปแล้วเช่นนี้เท่ากับเป็นการลงโทษซ้ำความผิดที่ได้ลงโทษตักเตือนไปแล้วอีกจึงเป็นการเลิกจ้างที่มิชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ทั้งเป็นการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การลงโทษซ้ำความผิดเดิม แม้ข้อบังคับบริษัทจะกำหนดเงื่อนไขเลิกจ้างได้
ข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) หมายความว่า เมื่อลูกจ้างกระทำผิดเรื่องใดซึ่งไม่ร้ายแรงและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ต่อมาได้กระทำผิดเรื่องเดียวกันซ้ำอีก นายจ้างก็มีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์ละทิ้งหน้าที่รวมสามครั้งแต่ละครั้ง ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง จำเลยลงโทษตักเตือนเป็นหนังสือแล้วทั้งสามครั้ง เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำผิดซ้ำคำตักเตือนอีกเป็นครั้งที่สี่แต่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุที่เคยลงโทษไปแล้ว เท่ากับเป็นการลงโทษซ้ำความผิดเดิม การเลิกจ้างจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว แม้ข้อบังคับการทำงานของจำเลยจะกำหนดว่า การละทิ้งหน้าที่สามครั้งเป็นเรื่องร้ายแรงอาจเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนจำเลยก็ไม่อาจนำเหตุดังกล่าวมาเลิกจ้างโจทก์ได้จึงเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองและขายยาเสพติดเป็นกรรมเดียว หากศาลลงโทษฐานขายแล้ว ไม่อาจลงโทษฐานครอบครองซ้ำได้
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 บัญญัติห้ามผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 หรือประเภท 2 และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 89 ซึ่งมาตรา 4ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" ว่าหมายความรวมถึงจำหน่าย จ่าย แจกแลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายตามนัยแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน จำเลยมีแอมเฟตามีนคลอไรด์อันเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไว้ในครอบครอง 18 เม็ด และจำเลยขายแอมเฟตามีนคลอไรด์ดังกล่าวให้แก่ผู้ล่อซื้อไป 3 เม็ด ยังเหลืออยู่ที่ตัวจำเลย 15 เม็ดแอมเฟตามีนคลอไรด์ทั้ง 18 เม็ด เป็นจำนวนเดียวกันกับที่จำเลยครอบครองและขายไปในเวลาต่อเนื่องกัน การครอบครองในลักษณะเช่นนี้ก็คือการมีไว้เพื่อขายนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานมีแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 ประกอบด้วยมาตรา 106 อีกกรรมหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบอาวุธปืนไม่มีทะเบียน-ใบอนุญาต & ศาลอุทธรณ์ลงโทษซ้ำข้อหาที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของพนักงานเจ้าหน้าที่และกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนและกระสุนปืนไปในทางสาธารณะเข้าหมู่บ้านโดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้อาวุธปืนและกระสุนปืนดังกล่าวยิงพยายามฆ่าผู้อื่นจำเลยให้การปฏิเสธเมื่อจับจำเลยได้ก็ไม่ได้อาวุธปืนและกระสุนปืนเป็นของกลางดังนี้ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าอาวุธปืนที่จำเลยถือมาในที่เกิดเหตุนั้นเป็นปืนไม่มีทะเบียนและจำเลยไม่มีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนนั้น เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าวจึงลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนโดยไม่รับอนุญาตไม่ได้(อ้างฎีกาที่795/2504)
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาจำเลยพาอาวุธปืนและกระสุนปืนติดตัวไปในทางสาธารณะและในหมู่บ้านโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ในข้อหานี้ข้อหาดังกล่าวจึงถึงที่สุดแล้ว ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหานี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวกันลงโทษซ้ำ: สิทธิฟ้องระงับเมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่า ส. โดยเจตนาคดีอยู่ในระหว่างนัดไต่สวนมูลฟ้อง วันรุ่งขึ้นพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่าทำปืนลั่นโดยประมาทเป็นเหตุให้ส. ถึงแก่ความตาย จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว การกระทำผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องกับที่พนักงานอัยการฟ้องนั้น แม้จะต่างข้อหากัน ก็เป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกัน ศาลฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าเป็นการกระทำโดยประมาท จะรื้อฟื้นให้ศาลพิจารณาพิพากษาความผิดกรรมเดียวกันนั้นอีกเป็นการทำผิดครั้งเดียวลงโทษ 2 ครั้งหาได้ไม่ เมื่อศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องนั้นแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าโจทก์ฟ้องคดีก่อนหรือหลังพนักงานอัยการ(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1037/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในกรรมเดียว: การกระทำผิดต่อราษฎรและขัดขวางเจ้าพนักงาน แม้ต่างบทลงโทษ ศาลเห็นว่าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว วาระเดียวกัน
จำเลยชกต่อยราษฎรคนหนึ่ง ตำรวจเข้าจับจำเลย จำเลยต่อยตำรวจนั้น 1 ที แล้วจำเลยถูกฟ้องต่อศาลทหารฐานทำร้ายร่างกายราษฎรกับตำรวจผู้นั้น และศาลทหารได้ลงโทษจำเลยแล้วโจทก์จะแยกฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานอีกไม่ได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษในกรรมเดียวซ้ำอีกและสิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องต่อศาลของโจทก์ก็ระงับไปแล้ว. ฟ้องจึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ - เจตนาเดียว - การยักย้ายน้ำมันเพื่อออกนอกประเทศ - ลงโทษซ้ำไม่ได้
การลักลอบขนน้ำมันออกจากสถานที่เก็บซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ต่อเนื่องกับการลักลอบขนน้ำมันออกนอกประเทศไทย เมื่อโจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นความผิดสองสำนวน และความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรศาลพิพากษาลงโทษไปแล้ว ส่วนอีกสำนวนหนึ่งคือฐานนำน้ำมันออกนอกประเทศ ซึ่งตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าการกระทำทั้งหลายของจำเลยตั้งแต่เริ่มยักย้ายก็ด้วยเจตนาอันเดียวที่จะนำออกนอกราชอาณาจักร จึงถือว่าการกระทำของจำเลยต้องด้วย กฎหมายหลายบทและไม่อาจแยกเป็นกระทงหนึ่งต่างหากได้ เมื่อจำเลยถูกลงโทษแล้ว ก็ลงโทษจำเลยอีกไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 9(4) ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายตาม พ.ร.บ.กักกันฯ แม้ยังไม่พ้นโทษกักกันเดิม ก็ยังคงถูกลงโทษกักกันซ้ำได้
ผู้ที่มีสันดานเป็นผู้ร้ายตาม พ.ร.บ.กักกันฯ มาตรา 6 นั้น เพียงแต่เคยถูกศาลพิพากษาลงโทษกักกันมาแล้วเท่านั้น ไม่จำต้องพ้นโทษกักกันไปแล้ว มากระทำผิดขึ้นอีก เช่นที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.ลัษณะอาญา มาตรา 72 ไม่. และเมื่อเป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายแล้ว ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. กักกันฯลฯ ก็ได้บัญญัติไว้ตายตัวให้ศาลลงโทษกักกัน ศาลจะใช้ดุลยพินิจงดลงโทษกักกันเสียไม่ได้./
of 2