คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลดหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงนอกศาลไม่อ้างได้เพื่อขอถอนการบังคับคดี การลดหนี้ต้องมีหลักฐานชัดเจน
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งถอนการบังคับคดีโดยอ้างว่า โจทก์ตกลงกับจำเลยยอมลดหนี้ตามคำพิพากษาลงเหลือ 150,000 บาท จำเลยชำระให้โจทก์ไว้ก่อนแล้ว 20,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 130,000 บาท จำเลยผ่อนชำระให้โจทก์ครบถ้วนตามข้อตกลงแล้ว การที่จำเลยอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับการลดยอดหนี้ดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องที่กระทำนอกศาลโดยศาลมิได้รับรู้ด้วย เมื่อโจทก์ปฏิเสธ จำเลยจะยกมาเป็นเหตุเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งถอนการบังคับคดีหาได้ไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวกับโจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้และข้อยกเว้นภาษี การโอนทรัพย์สินให้สถาบันการเงินเพื่อลดหนี้
การยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากรให้แก่ลูกหนี้และสถาบันการเงินสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดตามมาตรา 6 ของพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 นั้น หมายถึงการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่าต่ำกว่ายอดหนี้เท่านั้น แต่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างโจทก์กับธนาคาร ท. ตามสัญญามิได้มีการตกลงให้โจทก์โอนห้องชุดที่จำนองหรือทรัพย์สินอื่นใดให้แก่ธนาคาร ดังนั้น เมื่อธนาคารปลดหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับจำนวนเงินที่ค้างชำระและธนาคารปลดหนี้ให้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว แต่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อากรแสตมป์และ ภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการโอนขายห้องชุดที่จำนองให้แก่ ก. ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว แต่อย่างใด เนื่องจากมิใช่เป็นการโอนให้แก่สถาบันการเงินทั้งไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวด้วย ส่วนพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 373) พ.ศ. 2543 มีผลบังคับใช้สำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 เท่านั้น ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์โอนไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้สิทธิ ยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผนฟื้นฟูกิจการ: การลดหนี้, การชำระหนี้, และการไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนของศาลล้มละลายกลาง เจ้าหนี้ได้อ้างปัญหาที่ว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ชอบหรือไม่ และแผนฟื้นฟูกิจการมีอำนาจปรับลดหนี้ภาษีอากรหรือไม่ไว้ในคำคัดค้านแล้ว เมื่อปัญหาดังกล่าวเป็นข้อสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาแผน การที่ศาลล้มละลายกลางมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตามข้อกำหนดคดีล้มละลายฯ ข้อ 25 เมื่อมีการอุทธรณ์ปัญหานี้มาสู่ศาลฎีกาและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในสำนวนก็เพียงพอแก่การวินิจฉัยประกอบกับคดีฟื้นฟูกิจการจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาเหล่านี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวก่อน
แผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้เจ้าหนี้อยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้ราชการเนื่องจากสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันกับเจ้าหนี้ราชการอื่น เมื่อเจ้าหนี้ได้รับสำเนาแผนและกำหนดวัน เวลา สถานที่และหัวข้อประชุมตามมาตรา 90/44ถือว่าเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ตามแผนแล้วถ้าเจ้าหนี้เห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่เป็นไปตามมาตรา 90/42 ทวิ วรรคหนึ่ง ก็อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม เพื่อขอให้ศาลสั่งให้จัดกลุ่มเจ้าหนี้เสียใหม่ แม้จะไม่ปรากฏชัดว่าเจ้าหนี้ได้รับแผนฟื้นฟูกิจการในวันใด แต่เมื่อเจ้าหนี้ได้เข้าร่วมประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 จึงถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ทราบถึงการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ตามแผนแล้วในวันดังกล่าวหรือก่อนหน้านั้น เมื่อเจ้าหนี้เพิ่งมายื่นคำคัดค้านขอให้ศาลมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผน ซึ่งมีคำคัดค้านในส่วนการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มาด้วย โดยยื่นคำคัดค้านในวันที่ 13 มีนาคม 2544 การร้องคัดค้านการจัดกลุ่มของเจ้าหนี้จึงเป็นการยื่นเกินระยะเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ตามแผนจึงถือเป็นอันยุติและถึงที่สุดตามมาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง แล้ว
ในการขอแก้ไขแผน เจ้าหนี้จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/45 และการที่ศาลจะพิจารณาแผนที่มีการแก้ไขแล้วได้นั้น แผนที่มีการแก้ไขแล้วจะต้องผ่านการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้มาแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/46 แต่อย่างไรก็ตามการที่กฎหมายล้มละลายกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในการควบคุมดูแลการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนั้น เมื่อได้คำนึงถึงเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการหรือเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการดำเนินการต่อไปได้ ทั้งกรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้รับคำขอแก้ไขแผนที่ยื่นล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ได้
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/27 และ 90/60 ประสงค์ให้หนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด แม้ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ภาษีอากรก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการชำระสะสางภายใต้กรอบของแผนฟื้นฟูกิจการให้เสร็จไปนอกจากนี้กรณีใดที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ต้องการให้มูลหนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้ธรรมดาหรือคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษกฎหมายก็จะบัญญัติไว้ชัดแจ้ง เมื่อกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ภาษีอากรในมูลหนี้ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเป็นพิเศษ ภายใต้บังคับของมาตรา 90/58(2) ประกอบด้วยมาตรา 130(6) สิทธิของเจ้าหนี้จึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ทั้งเมื่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้บัญญัติผลของการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้เป็นการเฉพาะโดยชัดแจ้งแล้วตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจนำมาตรา 56 ในเรื่องผลของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาใช้ได้
การที่พิจารณาว่าหากดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ จะต้องนำมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ที่ลูกหนี้มีอยู่ทั้งหมดมาประกอบการพิจารณา ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้นจะต้องมีการนำทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่มาดำเนินการขายทอดตลาดในลักษณะบังคับขายแต่ตามแผนฟื้นฟูกิจการนั้นจะต้องมีการดำเนินกิจการของลูกหนี้ในวันที่จะก่อให้เกิดรายได้มาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพิ่มขึ้น การฟื้นฟูกิจการตามแผนเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้วเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีทีศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย แผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/58(3)
แผนฟื้นฟูกิจการเป็นเพียงข้อตกลงร่วมกันของบรรดาเจ้าหนี้ ลูกหนี้เกี่ยวกับวิธีการในการชำระหนี้ตลอดการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ หามีฐานะเป็นกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับไม่ การที่เจ้าหนี้คัดค้านว่าแผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 แต่การที่เจ้าหนี้ได้คัดค้านว่าแผนไม่อาจปรับลดยอดหนี้ภาษีอากรได้และแผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้น พออนุมานได้ว่าเจ้าหนี้คัดค้านว่าพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการให้ความเห็นชอบด้วยแผนขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งปัญหาดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าบทบัญญัติมาตรา 90/58 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญศาลสามารถใช้ดุลพินิจเห็นชอบด้วยแผนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดินและการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงลดหนี้ ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยฐานผิดสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายละเมิดสัญญาและประเพณีที่ธนาคารยึดถือปฏิบัติต่อลูกค้า โจทก์ตกลงจะลดยอดหนี้ลงให้ถูกต้อง ถ้าหากจำเลยขายที่ดินบางส่วนมาชำระหนี้ ทำให้จำเลยต้องขายที่ดินในราคาต่ำกว่าในท้องตลาด จำเลยต้องเสียหายสูญเสียโอกาสและราคาที่ดินที่ควรจะได้รับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายประมาณ 4,000,000 บาท เมื่อหักกับยอดหนี้ที่ถูกต้องประมาณ 3,600,000 บาท โจทก์จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย 400,000 บาท ขอบังคับให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย 400,000บาท แก่จำเลย พร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ประพฤติผิดสัญญาที่ตกลงไว้กับจำเลย ซึ่งเป็นเรื่องใหม่นอกเหนือจากคำฟ้องเดิม จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินชำระหนี้ ธนาคารลดหนี้ ไม่ถือเจตนาโกงเจ้าหนี้
การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโอนขายสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ให้บุคคลภายนอกเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารซึ่งจำเลยได้นำสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไปประกันการกู้ยืมเงินไว้ โดยขายสิทธิการเช่าแล้วก็ยังไม่พอชำระต้นเงินและดอกเบี้ย แต่ธนาคารก็ลดจำนวนหนี้ให้ ยังไม่ถือว่าเป็นการโอนไปโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การลดจำนวนหนี้ตามเช็คจากยอดเดิมเนื่องจากมีการชำระหนี้บางส่วน และเช็คอีกฉบับเป็นเพียงหลักประกัน
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระต้นเงิน30,000 บาทแก่โจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้สลักหลังซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความในเช็คนั้น แต่เมื่อโจทก์แถลงรับในคำแก้ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินให้โจทก์บ้างแล้ว จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นเงิน3,500 บาท จำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เป็นเงินเพียง 3,500 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดหนี้โดยผู้แทนโดยชอบธรรมต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับประโยชน์ มิฉะนั้นข้อตกลงไม่ผูกพัน
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 + ตามคำพิพากษาให้แก่จำเลย โดยโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ได้ยินยอมด้วย ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 แม้โจทก์ที่ 1 จะฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นผู้เยาว์แต่คำแถลงต่อศาลเรื่องลดหนี้ให้จำเลยเป็นคำแถลงของโจทก์ที่ 1 โดยเฉพาะ ถือไม่ได้ว่าเป็นคำแถลงแทนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ด้วย
เมื่อจำเลยยังชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมร้องขอให้บังคับคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดหนี้โดยผู้แทนโดยชอบธรรมต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกบังคับคดี หากไม่มีผลผูกพัน
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ที่ 2ถึงที่ 5 ตกลงลดหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยโดยโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ได้ยินยอมด้วย ดังนี้ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5แม้โจทก์ที่ 1 จะฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ซึ่งเป็นผู้เยาว์ แต่คำแถลงต่อศาลเรื่องลดหนี้ให้จำเลยเป็นคำแถลงของโจทก์ที่ 1 โดยเฉพาะ ถือไม่ได้ว่าเป็นคำแถลงแทนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ด้วย
เมื่อจำเลยยังชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมร้องขอให้บังคับคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันแม้ไม่มีอากรแสตมป์ แต่จำเลยรับสารภาพได้ ถือเป็นหลักฐานได้ และการลดหนี้ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
แม้สัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง แต่จำเลยได้ให้การและนำสืบรับเข้ามาว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง ศาลจึงไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาคดี
จำเลยค้ำประกัน ธ.ที่ทำงานกับโจทก์ 100,000 บาท ธ.ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ โจทก์จำเลยยอมความกัน โจทก์ลดจำนวนเงินลงเหลือ 380,000 บาท ธ.ยอมใช้เงินโดยชำระในวันนั้นส่วนหนึ่ง ที่เหลือมี น.น้อง ธ.และภริยา ธ.ออกเช็คลงวันล่วงหน้าให้กับทำสัญญาค้ำประกันให้ด้วย โจทก์ถอนคำร้องทุกข์ ศาลจำหน่ายคดีที่ ธ.ถูกฟ้องเรื่องยักยอกเช็คของน.และ ธ.รับเงินไม่ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันได้ การที่โจทก์ลดหนี้ให้ ธ. และ ธ.ยังไม่ได้ใช้หนี้ หนี้เดิมยังไม่ระงับ และ ธ.ไม่ได้สละสิทธิหรือได้สิทธิอะไรจากโจทก์ ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้เดิมยังอยู่ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันเดิมให้จำเลยรับผิด 100,000 บาทได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันยังคงมีผล แม้มีการลดหนี้และทำสัญญาประนีประนอม เพราะหนี้เดิมยังไม่ระงับ
แม้สัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งแต่จำเลยได้ให้การและนำสืบรับเข้ามาว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง ศาลจึงไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาคดี
จำเลยค้ำประกัน ธ.ที่ทำงานกับโจทก์100,000บาทธ. ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ โจทก์จำเลยยอมความกัน โจทก์ลดจำนวนเงินลงเหลือ 380,000 บาท ธ.ยอมใช้เงินโดยชำระในวันนั้นส่วนหนึ่งที่เหลือมีน.น้องธ. และภริยาธ. ออกเช็คลงวันล่วงหน้าให้กับทำสัญญาค้ำประกันให้ด้วย โจทก์ถอนคำร้องทุกข์ ศาลจำหน่ายคดีที่ ธ.ถูกฟ้องเรื่องยักยอกเช็คของน.และธ. รับเงินไม่ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันได้ การที่โจทก์ลดหนี้ให้ธ.และธ.ยังไม่ได้ใช้หนี้หนี้เดิมยังไม่ระงับและธ.ไม่ได้สละสิทธิหรือได้สิทธิอะไรจากโจทก์ ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้เดิมยังอยู่ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันเดิมให้จำเลยรับผิด 100,000 บาทได้
of 2