พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์งานรวบรวมต้องเกิดจากความรู้ความสามารถหรือความวิริยะอุตสาหะ ไม่ใช่การลอกเลียน
ผู้ที่จะได้ลิขสิทธิ์จากการนำลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมารวบรวมหรือประกอบเข้าด้วยกันต้องใช้ความรู้ความสามารถหรือความวิริยะอุตสาหะในระดับหนึ่งโดยมิใช่เป็นการลอกเลียนงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โจทก์จัดทำเอกสารเพื่อประกอบการเสนอราคารถยนต์ปฏิบัติการตรวจเก็บกู้วัตถุระเบิดต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยลอกเลียนมาจากแคตตาล็อกของบริษัท พ. ทั้งหมด เพียงจัดเรียงองค์ประกอบให้สวยงามขึ้นเท่านั้นโจทก์มิได้ใช้ความริเริ่มของตนเองเพียงพอจนเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดงานรวบรวมขึ้นจึงไม่ได้ลิขสิทธิ์ ดังนั้น แม้จำเลยไม่มีสิทธิที่จะนำแคตตาล็อกมาจัดทำเป็นส่วนหนึ่งเอกสารประกอบการเสนอราคาของจำเลยต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติเช่นกัน โดยที่บริษัท พ. ไม่ได้อนุญาตให้กระทำได้เพราะจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของบริษัท พ. ซึ่งหากเป็นการไม่ชอบก็เป็นเรื่องที่จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัท พ. โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า: ศาลพิพากษาเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
จำเลยอุทธรณ์โดยยกข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 38 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 35 เป็นบทบัญญัติที่ให้บุคคลอื่นซึ่งอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิดีกว่าผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้า ซึ่งจดทะเบียนไว้ก่อนแล้วมีสิทธิที่จะยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ภายในกำหนด 90 วัน หากไม่ยื่นภายในกำหนดดังกล่าวนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจที่จะดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอต่อไปได้ตามมาตรา 40 ส่วนเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้ก่อนหากได้รับผลกระทบจากการรับจดทะเบียนของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็ยังคงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ภายใน5 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 40ทั้งนี้ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง เพราะตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้มีข้อกำหนดจำกัดสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้ก่อนว่าจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ก่อนฟ้องคดีไม่
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ARROW ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว การที่จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MARROW ไว้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับโจทก์และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้ตามคำขอของจำเลยมีผลกระทบต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้า ARROW ที่โจทก์จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว โดยเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีส่วนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตั้งแต่จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่งไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 35 ไว้หรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกเครื่องหมายมีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า ARROWส่วนคำอื่นหรือรูปลูกศรที่ประกอบคำว่า ARROW เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น และความสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์อยู่ที่เสียงเรียนขานคำว่า ARROW ซึ่งอ่านออกเสียงว่า "แอโร่"ยิ่งกว่าความหมายของคำที่แปลว่าลูกศร เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำในภาษาต่างประเทศเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในส่วนที่เป็นคำและใช้อักษรโรมันมี 2 พยางค์ เท่ากัน โดยเฉพาะพยางค์หลังจะอ่านออกเสียงว่า "โร่"เหมือนกันส่วนพยางค์ต้นของโจทก์อ่านออกเสียงว่า"แอ"พยางค์ต้นของจำเลยอ่านออกเสียงว่า "แม" จึงนับได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะพึงรับจดทะเบียนให้ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6(3) และ 13(2)จำเลยย่อมไม่มีสิทธิใช้และขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MARROW ได้ โจทก์ซึ่งใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ARROW มาก่อน มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MARROW ดีกว่าจำเลย ชอบที่ศาลจะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเสียได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้องพิพากษาให้จำเลยไปเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าMARROW หรือให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยอีก และที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาตามคำขอของโจทก์โดยห้ามจำเลยใช้หรือเข้าเกี่ยวข้องในทางใด ๆ กับเครื่องหมายการค้า MARROW อีกต่อไปนั้น เป็นคำขอบังคับที่มุ่งบังคับถึงการกระทำในอนาคตซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำของจำเลยที่เกินไปกว่าที่ปรากฏในคดีนี้ ศาลฎีกาจึงให้จำกัดข้อห้ามการกระทำของจำเลยเฉพาะในลักษณะเดียวกับที่ปรากฏในคดีนี้เท่านั้น
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 35 เป็นบทบัญญัติที่ให้บุคคลอื่นซึ่งอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิดีกว่าผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้า ซึ่งจดทะเบียนไว้ก่อนแล้วมีสิทธิที่จะยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ภายในกำหนด 90 วัน หากไม่ยื่นภายในกำหนดดังกล่าวนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจที่จะดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอต่อไปได้ตามมาตรา 40 ส่วนเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้ก่อนหากได้รับผลกระทบจากการรับจดทะเบียนของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็ยังคงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ภายใน5 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 40ทั้งนี้ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง เพราะตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้มีข้อกำหนดจำกัดสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้จดทะเบียนไว้ก่อนว่าจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ก่อนฟ้องคดีไม่
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ARROW ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว การที่จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MARROW ไว้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับโจทก์และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้ตามคำขอของจำเลยมีผลกระทบต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้า ARROW ที่โจทก์จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว โดยเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีส่วนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตั้งแต่จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่งไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 35 ไว้หรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกเครื่องหมายมีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า ARROWส่วนคำอื่นหรือรูปลูกศรที่ประกอบคำว่า ARROW เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น และความสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์อยู่ที่เสียงเรียนขานคำว่า ARROW ซึ่งอ่านออกเสียงว่า "แอโร่"ยิ่งกว่าความหมายของคำที่แปลว่าลูกศร เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำในภาษาต่างประเทศเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในส่วนที่เป็นคำและใช้อักษรโรมันมี 2 พยางค์ เท่ากัน โดยเฉพาะพยางค์หลังจะอ่านออกเสียงว่า "โร่"เหมือนกันส่วนพยางค์ต้นของโจทก์อ่านออกเสียงว่า"แอ"พยางค์ต้นของจำเลยอ่านออกเสียงว่า "แม" จึงนับได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะพึงรับจดทะเบียนให้ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6(3) และ 13(2)จำเลยย่อมไม่มีสิทธิใช้และขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MARROW ได้ โจทก์ซึ่งใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ARROW มาก่อน มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MARROW ดีกว่าจำเลย ชอบที่ศาลจะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเสียได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้องพิพากษาให้จำเลยไปเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าMARROW หรือให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยอีก และที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาตามคำขอของโจทก์โดยห้ามจำเลยใช้หรือเข้าเกี่ยวข้องในทางใด ๆ กับเครื่องหมายการค้า MARROW อีกต่อไปนั้น เป็นคำขอบังคับที่มุ่งบังคับถึงการกระทำในอนาคตซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำของจำเลยที่เกินไปกว่าที่ปรากฏในคดีนี้ ศาลฎีกาจึงให้จำกัดข้อห้ามการกระทำของจำเลยเฉพาะในลักษณะเดียวกับที่ปรากฏในคดีนี้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าเพื่อตัดสินว่ามีการลอกเลียนหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ รูปที่ 1 เป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันเป็นตัว F และ J สีดำทึบ โดยตัวอักษรโรมันทั้ง 2 ตัวดังกล่าว ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนกับส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปสี่เหลี่ยม แต่มีมุมที่เป็นเหลี่ยมเพียง 2 ด้าน และเป็นมุมที่โค้งมนอีก 2 ด้าน ภายในรูปสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีส่วนประกอบของตัวอักษร F ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) สีดำ และที่บริเวณส่วนหัวของแป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) เป็นรูปวงกลมสีดำขนาดเล็กมีจุดสีขาวประปราย มีลักษณะคล้ายลูกกอล์ฟ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันตัว L และ J สีดำทึบ ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปตัวยู (U) ภายในช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีแป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) สีดำ ในลักษณะตั้งกับพื้น และมีลูกกอล์ฟสีขาววางอยู่บนแป้นรองลูกกอล์ฟ ซึ่งแม้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจะประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 2 ตัว ที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะคล้ายส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ แป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) และลูกกอล์ฟเหมือนกันก็ตาม แต่รูปประดิษฐ์มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนกันหรือมีความคล้ายกันแต่อย่างใด นอกจากนั้นแล้วรูปประดิษฐ์ของจำเลยจะต้องมีตัวอักษรโรมันคำว่าLite - Joy อยู่ด้านล่างด้วย จึงจะประกอบกันเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนกับของโจทก์ซึ่งใช้เพียงรูปประดิษฐ์อย่างเดียว หรืออักษรโรมันคำว่าFoot - Joy เพียงอย่างเดียวก็เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว ส่วนคำว่าJoy เป็นคำภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีความหมายว่าสนุกสนานร่าเริง และเครื่องหมายยัติภังค์ (-) ก็เป็นเครื่องหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นคำและเครื่องหมายที่โจทก์คิดขึ้นเองโดยเฉพาะ ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะห้ามมิให้จำเลยใช้คำและเครื่องหมายดังกล่าวได้ นอกจากนั้น คำว่า Foot ของโจทก์มีความหมายว่าเท้า แต่คำว่า Lite ของจำเลยมีความหมายว่า เบา ซึ่งแตกต่างกันทั้งการอ่านออกเสียงและความหมาย สำหรับเครื่องหมายการค้าคำว่า GREEN - JOYS,SOFT - JOYS, SOFT - JOYS II, ULTRA - JOYS, DRYJOYS, COOL -JOYS และ COURT - JOYS ของโจทก์นั้น ตัวอักษรโรมันที่ใช้สะกดคำ การอ่านออกเสียงและความหมายก็แตกต่างกับคำว่า Lite - Joy ของจำเลยอย่างสิ้นเชิงซึ่งวิญญูชนโดยทั่วไปย่อมจะมองเห็นความแตกต่างกันดังกล่าวได้อย่างชัดเจน โดยไม่สับสนหรือหลงผิด ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จึงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เช่นนี้ ก็ไม่จำต้องมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยหรือไม่อีก
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จึงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เช่นนี้ ก็ไม่จำต้องมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยหรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกเลียนเครื่องหมายการค้าและการใช้สิทธิไม่สุจริต แม้สินค้าต่างจำพวกกันก็อาจละเมิดได้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าจำพวก 10ซึ่งเป็นเครื่องบอกเวลาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2494 เป็นรูปมงกุฎห้ายอด บนยอดมงกุฎแต่ละยอดมีจุดกลมสีดำ ใต้มงกุฎมีอักษรโรมันคำว่า ROLEX ส่วนจำเลยเพิ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าจำพวก 39 รายการดินสอ และสินค้าจำพวก 39 ทั้งจำพวกเมื่อปี 2524 และปี 2526 เป็นรูปมงกุฎห้ายอดมีจุดกลมสีดำอยู่บนยอดมงกุฎ ใต้มงกุฎต่างมีอักษรโรมันคำว่าLOlex ซึ่งมีลักษณะตัวอักษรคล้ายคลึงกัน ทั้งยังอ่านออกเสียงคล้ายคำว่า "โรเล็กซ์" ด้วย เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจะคล้ายคลึงกันมาก แม้จำเลยจะจดทะเบียนในสินค้าต่างจำพวกกับของโจทก์ ก็เป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิด แม้จำเลยจะยังมิได้นำสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแต่การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปทำการจดทะเบียนถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อไปได้ จำเลยลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนำไปจดทะเบียนกับสินค้าคนละประเภทกับโจทก์ ทั้งจำเลยยังมิได้นำสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายในท้องตลาดจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในเรื่องค่าเสียหาย โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทมานานกว่า 80 ปี และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย เป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) นอกเหนือจากการที่เคยใช้สิทธิโต้แย้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 22 ไว้แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต และการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าผู้อื่น
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า MINMAXจำเลยที่ 1 รู้อยู่ก่อนแล้วโดยการทักท้วงของ ม.ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้า MICMAC ของโจทก์ที่ ม.เป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนให้ก่อนแล้วอย่างมาก เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยเป็นพนักงานขายสินค้าของโจทก์มานาน 10 ปี และเคยเป็นผู้ดูแลการผลิตสินค้าของโจทก์ จึงมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยที่ 1 ต้องการใช้ประสบการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาผลิตสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ และพยายามจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ให้ใกล้เคียงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนที่เคยรู้จักคุณภาพหรือเคยใช้สินค้าของโจทก์สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตมาแต่แรก แม้จำเลยที่ 1 จะได้ความคิดเรื่องเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จากการดูรายการข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์แล้วนำคำว่า MIN ซึ่งย่อมาจากคำว่า MINIMUM และคำว่า MAX ซึ่งย่อมาจากคำ MAXIMUM มารวมเป็นคำว่า MINMAX ก็ตาม เครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ยื่นขอจดทะเบียนก็ยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้ นับได้ว่าจำเลยที่ 1 ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงชอบที่จะคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 และมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1งดใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ทั้งมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าระงับหรือเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ใช้คำโรมัน 2 คำ มาประกอบกันแล้วอ่านหรือเรียกขานว่า MINMAX ประกอบด้วยอักษรโรมัน 6 ตัวขึ้นต้นพยางค์แรกด้วยอักษร MI และลงท้ายพยางค์หลังด้วยอักษร MA เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่อ่านหรือเรียกขานว่า MICMAC ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี 2518 เมื่อเปรียบเทียบตัวอักษรตัวต่อตัวแล้วจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันมากถึงขนาดที่คนทั่วไปแม้จะสามารถอ่านอักษรโรมันได้แต่ถ้าไม่ได้สังเกตให้ดีแล้วจะต้องเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนที่ไม่สามารถอ่านหรือไม่รู้จักตัวอักษรโรมันด้วยแล้วจะไม่สามารถแยกข้อแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยที่ 1 พยางค์แรกคือคือว่า MIC และ MIN จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "มิค" กับ "มิน" เพื้ยนกันเล็กน้อย ส่วนพยางค์หลังคือคือว่า MACและ MAX จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "แม็ก" หรือ "แม็กซ์" เหมือนกันแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร M ประดิษฐ์ประกอบอยู่ด้วย ก็เป็นข้อแตกต่างปลีกย่อย มิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลย-ที่ 1 เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันจะเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ใช้คำโรมัน 2 คำ มาประกอบกันแล้วอ่านหรือเรียกขานว่า MINMAX ประกอบด้วยอักษรโรมัน 6 ตัวขึ้นต้นพยางค์แรกด้วยอักษร MI และลงท้ายพยางค์หลังด้วยอักษร MA เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่อ่านหรือเรียกขานว่า MICMAC ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี 2518 เมื่อเปรียบเทียบตัวอักษรตัวต่อตัวแล้วจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันมากถึงขนาดที่คนทั่วไปแม้จะสามารถอ่านอักษรโรมันได้แต่ถ้าไม่ได้สังเกตให้ดีแล้วจะต้องเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนที่ไม่สามารถอ่านหรือไม่รู้จักตัวอักษรโรมันด้วยแล้วจะไม่สามารถแยกข้อแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยที่ 1 พยางค์แรกคือคือว่า MIC และ MIN จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "มิค" กับ "มิน" เพื้ยนกันเล็กน้อย ส่วนพยางค์หลังคือคือว่า MACและ MAX จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "แม็ก" หรือ "แม็กซ์" เหมือนกันแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร M ประดิษฐ์ประกอบอยู่ด้วย ก็เป็นข้อแตกต่างปลีกย่อย มิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลย-ที่ 1 เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันจะเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า การลวงสาธารณชน และความสุจริตในการยื่นจดทะเบียน
ก่อนที่จำเลยที่1จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า MINMAXจำเลยที่1รู้อยู่ก่อนแล้วโดยการทักท้วงของ ม.ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าMICMAC ของโจทก์ที่ ม. เป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนให้ก่อนแล้วอย่างมากเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่1เคยเป็นพนักงานขายสินค้าของโจทก์มานาน10ปีและเคยเป็นผู้ดูแลการผลิตสินค้าของโจทก์จึงมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยที่1ต้องการใช้ประสบการณ์ของจำเลยที่1ดังกล่าวมาผลิตสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์และพยายามจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ให้ใกล้เคียงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนที่เคยรู้จักคุณภาพหรือเคยใช้สินค้าของโจทก์สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่1เป็นสินค้าของโจทก์จำเลยที่1จึงขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตมาแต่แรกแม้จำเลยที่1จะได้ความคิดเรื่องเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จากการดูรายการข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์แล้วนำคำว่า MIN ซึ่งย่อมาจากคำว่า MINIMUM และคำว่า MAX ซึ่งย่อมาจากคำ MAXIMUM มารวมเป็นคำว่า MINMAXก็ตามเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่1ยื่นขอจดทะเบียนก็ยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้นับได้ว่าจำเลยที่1ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยโจทก์จึงชอบที่จะคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1และมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่1งดใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ทั้งมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่2ซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าระงับหรือเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ใช้คำโรมัน2คำมาประกอบกันแล้วอ่านหรือเรียกขานว่า MINMAX ประกอบด้วยอักษรโรมัน6ตัวขึ้นต้นพยางค์แรกด้วยอักษร MI และลงท้ายพยางค์หลังด้วยอักษร MA เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่อ่านหรือเรียกขานว่า MICMAC ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี2518เมื่อเปรียบเทียบตัวอักษรตัวต่อตัวแล้วจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันมากถึงขนาดที่คนทั่วไปแม้จะสามารถอ่านอักษรโรมันได้แต่ถ้าไม่ได้สังเกตให้ดีแล้วจะต้องเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอันเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนที่ไม่สามารถอ่านหรือไม่รู้จักตัวอักษรโรมันด้วยแล้วจะไม่สามารถแยกข้อแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยที่1พยางค์แรกคือคือว่า MIC และ MIN จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "มิค" กับ "มิน" เพี้ยนกันเล็กน้อยส่วนพยางค์หลังคือคือว่า MAC และ MAX จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "แม็ก" หรือ "แม็กซ์" เหมือนกันแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร M ประดิษฐ์ประกอบอยู่ด้วยก็เป็นข้อแตกต่างปลีกย่อยมิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่1เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันจะเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7731/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
การที่โจทก์ที่ 1 ระบุว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า 0101 ของโจทก์ที่ 1 อ่านออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นว่า โออิโออิ นั้น แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 นั้นมาจากภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า 0101 ซึ่งเป็นตัวเลขอารบิคประดิษฐ์ไว้ในประเทศญี่ปุ่นสำหรับสินค้า 33 จำพวก ตั้งแต่ปี 2516 และได้จด-ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องแต่งกาย จำพวกกระเป๋าและจำพวกกระดาษในปี 2522 ปี 2520 และปี 2520 ตามลำดับ จำเลยจึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและโจทก์ที่ 1 ได้เห็นและลอกเครื่องหมายการค้าตัวเลขอารบิคประดิษฐ์ 0101 ของจำเลยไปเป็นภาคส่วนของเครื่องหมายการค้าในส่วนที่เป็นตัวเลขอารบิคประดิษฐ์ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใดกับคำว่า MARUI ซึ่งเป็นชื่อของจำเลยแต่กลับปรากฏจากภาพถ่ายร้านค้าที่โจทก์ที่ 1 เพิ่งเปิดว่า โจทก์ที่ 1 ได้ติดแผ่นป้ายหน้าร้านว่า MARUI 0101 ตรงกับชื่อ MARUI ของจำเลยตามที่ปรากฏอยู่ที่หน้าร้านหลายแห่งของจำเลย ทั้งยังปรากฏอีกด้วยว่าถุงบรรจุสินค้า และกระดาษห่อสินค้าซึ่งโจทก์ที่ 1 ใช้บรรจุและห่อสินค้าของโจทก์ที่ 1 ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ที่ 1 ไม่มีคำว่า youngs fashion ซึ่งเป็นภาคส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1คงมีแต่ตัวเลยอารบิคประดิษฐ์ 0101 ขนาดใหญ่บนถุงบรรจุสินค้าและกระดาษห่อสินค้าเหล่านั้น การที่โจทก์ที่ 1 ติดป้ายหน้าร้านว่า MARUI 0101 และใช้ถุงบรรจุสินค้าและกระดาษห่อสินค้าเช่นนั้น ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 จงใจลอกเครื่องหมายการค้าตัว-เลขอารบิคประดิษฐ์ 0101 ของจำเลยซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศญี่ปุ่นมาก่อนนานประมาณถึง 15 ปี แล้ว ดังนั้น แม้จำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้าคำว่า 0101 ก็มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์ที่ 1 เมื่อโจทก์ที่ 1ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทคำว่า 0101 ดีกว่าจำเลยและโจทก์ที่ 1 ให้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า 0101 younge fashion ไปจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้า โจทก์ที่ 2 ก็ย่อมไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2915/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า: การใช้คำ 'PEPE' ทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้คำว่า PEPE เป็นคำเฉพาะที่แปลความไม่ได้เป็นคำประดิษฐ์ที่โจทก์และกลุ่มบริษัทของโจทก์ในต่างประเทศใช้เป็นชื่อทางการค้าและเป็นเครื่องหมายการค้ามาเป็นเวลานานประมาณ 15 ปีแล้วสำหรับในประเทศไทย โจทก์และกลุ่มบริษัทโจทก์ยังได้ยื่นคำขอและจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าดังกล่าวไว้หลายรูปแบบซึ่งล้วนแต่ใช้คำว่า PEPE เป็นหลักสำคัญ ความ-มุ่งหมายสำคัญของโจทก์ ตลอดจนความเข้าใจของสาธารณชนจึงอาศัยคำว่า PEPEดังกล่าวเป็นสำคัญในการบ่งชี้ว่าสินค้าที่ใช้คำดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์ การที่จำเลยเพิ่งใช้คำว่า PEPE ในเครื่องหมายการค้าคำว่า DON PEPE เป็นการใช้คำประดิษฐ์ที่ไม่มีคำแปลตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยจงใจ แม้จำเลยจะใช้คำว่า DON ประกอบด้วย แต่จากตำแหน่งที่วางคำว่า DON ซึ่งอยู่บนคำว่าPEPE โดยใช้ตัวอักษรที่เล็กกว่า ไม่ใช้ตัวอักษรที่ใหญ่และเด่นชัดเท่ากับคำว่า PEPEย่อมเป็นการเน้นสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า PEPE เป็นหลักตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า DON ลักษณะของตัวพิมพ์อักษรในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเป็นเพียงส่วนประกอบปลีกย่อยที่ไม่ก่อให้เกิดข้อแตกต่างที่เด่นชัดแก่สาธารณชน แสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยในการลอกเลียนใช้คำว่า "PEPE" เป็นข้อสำคัญตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อผลของการลวงสาธารณชนให้เกิดความสับสนหลงผิดอย่างชัดแจ้ง และโอกาสที่สาธารณชนจะเกิดความสับสนหลงผิดในตัวสินค้าของจำเลยซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ว่าเป็นสินค้าของโจทก์เป็นไปได้ง่าย เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า: การตัดต่อเครื่องหมายเดิมและการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงของผู้อื่น
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM""ไซบีเลี่ยม""สตูเจอร่อน""SIBELIUM"กับรูปม้าบนอักษร"J"และ"STUGERON"กับรูปม้าบนอักษร"J"โดยโจทก์ใช้กับสินค้ายารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศจนเป็นที่แพร่หลายจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"หลังโจทก์หลายปีโดยใช้กับสินค้ายาขยายหลอดเลือดและใช้ตัวยา"FLUNARIZINE"ตัวเดียวกับยาของโจทก์เครื่องหมายการค้า"STUBELIUM"ของจำเลยเป็นการผสมของพยางค์""STU+BELIUM"คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมัน9ตัวอักษร3ตัวแรกตรงกับอักษร3ตัวแรกของคำว่า"STUGERON"และอักษร6ตัวหลังตรงกับอักษร6ตัวหลังของคำว่า"SIBELIUM"ซึ่งล้วนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะไม่ใช่คำที่ใช้สามัญอักษรโรมันมี26ตัวหากจำเลยคิดประดิษฐ์เองโดยไม่ได้เห็นคำทั้งสองที่โจทก์ประดิษฐ์ใช้มาก่อนโอกาสที่จะตรงกันถึง9ตัวเรียงกันเช่นนั้นย่อมเป็นไปได้ยากการที่โจทก์นำสืบถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUGERON"เพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมของจำเลยในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จะให้เหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM"แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUGERON"มาในฟ้องโจทก์ก็มีสิทธินำสืบและเป็นการนำสืบในประเด็นหาใช่นอกประเด็นไม่ กรณีพิพาทเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่างแต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันและเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้างจะชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันไม่ได้ต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและความสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ากับสภาพแห่งท้องตลาดการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่แพร่หลายของโจทก์2เครื่องหมายมาตัดตอนหัวท้ายนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยและใช้กับสินค้ายารักษาโรคชนิดเดียวกันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงทุนโฆษณาตามวิสัยทางการค้าเลยจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตการที่จำเลยลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาตัดต่อเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมทำให้สาธารณชนสับสนอาจเข้าใจได้ว่าเป็นของโจทก์ได้ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"ของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM"ของโจทก์ถึงขนาดเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3692/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนที่ทำให้สาธารณชนสับสน และสิทธิของผู้มีเครื่องหมายการค้าที่ใช้ก่อน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า"DIMETAPP" กับของจำเลยคำว่า"MEDITAPP" ต่างก็เป็นคำของภาษาต่างประเทศพิมพ์ด้วยอักษรโรมันลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกัน สำเนียงอ่านออกเสียงคล้ายกันตัวอักษรมีจำนวนเท่ากัน ถ้าไม่สังเกตจะเข้าใจว่า เครื่องหมายการค้า ของโจทก์และของจำเลยเป็นอย่างเดียวกัน เพราะอักษรทุกตัวเหมือนกันเพียงแต่สลับคำพยางค์หน้า 2 คำ เท่านั้น และจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 3 เช่นเดียวกับของโจทก์แม้จะระบุรายการสินค้าว่า ยาแก้หวัด แต่ในข้อบ่งใช้ที่ยา ของจำเลยก็ระบุว่าเป็นยาบรรเทาอาการแพ้ เช่น แพ้อากาศ คัดจมูก น้ำมูกไหล แก้หืด เป็นต้น เช่นเดียวกับยาของโจทก์ ทั้งยาของโจทก์ จำเลยต่างก็เป็นยาเม็ดและยาน้ำด้วยกัน แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่จะลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันถือได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ นำไปจดทะเบียนไว้แล้วเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจนถึงนับได้ว่า เป็นการลวงสาธารณชน ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 16 คำว่า "TAPP" แม้จะฟังว่าอักษร "TA" ย่อมาจากคำว่า"TABLET" และอักษร "PP" เป็นชื่อย่อของสารเคมี 2 ชนิดแต่เมื่อนำอักษรดังกล่าวมารวมกันเป็นคำว่า "TAPP" จึงจัดว่าเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นพึงรับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 หาใช่ชื่อสามัญหรือสิ่งใดที่ใช้กันสามัญในการค้าขายซึ่งต้องห้ามถือเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้เป็นส่วนหนึ่ง แห่งเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันไม่ แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่นำไปจดทะเบียนจะไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และโจทก์ไม่ได้คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีตามสิทธิของโจทก์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเพราะโจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ายาของโจทก์ผลิตออกจำหน่ายเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ายาของจำเลยเป็นเวลาหลายปี โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยลอกเลียนนำไปจดทะเบียนดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามมาตรา 41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474.