พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6459/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากบัตรภาษี: สุจริต, การคืนเงิน, และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
บัตรภาษีมีมูลค่าเป็นเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในบัตรภาษีนำไปใช้แทนเงินสดในการชำระภาษีแก่กรมศุลกากร กรมสรรพากร และกรมสรรพสามิตได้ หากการได้รับบัตรภาษีไว้เป็นลาภมิควรได้ก็ต้องถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไว้ดังกล่าวเป็นเงินจำนวนหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 412
กฎหมายบัญญัติหลักในการคืนเงินที่เป็นลาภมิควรได้ว่า ผู้ได้รับนั้นต้องคืนเงินเต็มจำนวน ส่วนการคืนลาภมิควรได้เพียงบางส่วนที่ยังคงมีอยู่ในขณะที่เรียกคืนเพราะได้รับมาโดยสุจริตเป็นข้อยกเว้น เมื่อจำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าว จำเลยต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การของตน เพราะปัญหาว่าสุจริตหรือไม่เป็นข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยรับเงินซึ่งเป็นลาภมิควรได้ไว้โดยสุจริตหรือไม่ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยคำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง แม้โจทก์และจำเลยไม่ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นการคำนวณและระบุจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรแก้ไขให้ถูกต้องได้
กฎหมายบัญญัติหลักในการคืนเงินที่เป็นลาภมิควรได้ว่า ผู้ได้รับนั้นต้องคืนเงินเต็มจำนวน ส่วนการคืนลาภมิควรได้เพียงบางส่วนที่ยังคงมีอยู่ในขณะที่เรียกคืนเพราะได้รับมาโดยสุจริตเป็นข้อยกเว้น เมื่อจำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าว จำเลยต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การของตน เพราะปัญหาว่าสุจริตหรือไม่เป็นข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยรับเงินซึ่งเป็นลาภมิควรได้ไว้โดยสุจริตหรือไม่ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยคำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง แม้โจทก์และจำเลยไม่ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นการคำนวณและระบุจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากการจ่ายเงินเดือนเกินจริง และอายุความฟ้องแย้ง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ในปี 2539 โจทก์มีตำแหน่งเป็นช่างอิเล็กทรอนิคการบินสอง โจทก์ถูกลงโทษทางวินัยให้ตัดเงินเดือนร้อยละ 10 เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2540 แต่เนื่องจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานภายในของจำเลย จำเลยได้มีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนให้แก่โจทก์ในปี 2540 และส่งผลให้ฐานเงินเดือนในการเลื่อนเงินเดือนในปีงบประมาณ 2541 คลาดเคลื่อนคำสั่งเลื่อนเงินเดือนให้แก่โจทก์จึงคลาดเคลื่อนไปด้วย เงินที่โจทก์ได้รับมาจากจำเลยโดยคำสั่งที่ไม่ชอบ จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคแรก โจทก์ต้องคืนให้แก่จำเลย แต่จำเลยทราบถึงความบกพร่องในการเลื่อนเงินเดือนเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2541 จำเลยฟ้องแย้งวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่เวลาที่จำเลยรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนตามมาตรา 419 ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5442-5468/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากการจ่ายเงินบำเหน็จเกินสิทธิ และการหักภาษี ณ ที่จ่าย
จำเลยได้รับเงินบำเหน็จซึ่งโจทก์คำนวณจ่ายให้ตามระเบียบการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2536 แต่มีมติคณะรัฐมนตรีให้โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดี ทำให้สิทธิของจำเลยที่จะได้รับเงินบำเหน็จต้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี โจทก์ต้องคำนวณเงินบำเหน็จให้แก่จำเลยตามหลักเกณฑ์ใหม่ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเงินบำเหน็จส่วนต่างที่โจทก์จ่ายเกินไปเพราะการคำนวณตามระเบียบเดิมที่จำเลยได้รับไปย่อมเป็นการได้ไปซึ่งทรัพย์เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 อายุความในการฟ้องเรียกให้คืนเงินบำเหน็จที่โจทก์จ่ายเกินไปและต้องคืนเป็นจำนวนเท่าใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติเรื่องลาภมิควรได้ กรณีมิใช่จำเลยได้ยึดถือเงินบำเหน็จส่วนที่เกินไว้ โดยไม่มีสิทธิอันจะทำให้โจทก์สามารถติดตามเอาคืนได้ทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
จำเลยเป็นผู้มีเงินได้จากการได้รับเงินบำเหน็จที่โจทก์ให้จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยป. รัษฎากร มาตรา 50 กำหนดให้โจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากร หากโจทก์หักและนำส่งภาษีเงินได้ไปเกินกว่าที่จำเลยผู้มีเงินได้ต้องชำระ จำเลยผู้มีเงินได้ก็มีสิทธิไปขอเงินส่วนที่จ่ายเกินไปคืนจากกรมสรรพากรได้ โจทก์ไม่มีสิทธิไปขอคืน จำเลยจึงต้องคืนเงินบำเหน็จส่วนที่รับไปเกินสิทธิให้แก่โจทก์เต็มจำนวนโดยไม่อาจนำจำนวนเงินภาษีเงินได้ที่โจทก์หักไว้ ณ ที่จ่ายมาหักออกได้
จำเลยเป็นผู้มีเงินได้จากการได้รับเงินบำเหน็จที่โจทก์ให้จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยป. รัษฎากร มาตรา 50 กำหนดให้โจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากร หากโจทก์หักและนำส่งภาษีเงินได้ไปเกินกว่าที่จำเลยผู้มีเงินได้ต้องชำระ จำเลยผู้มีเงินได้ก็มีสิทธิไปขอเงินส่วนที่จ่ายเกินไปคืนจากกรมสรรพากรได้ โจทก์ไม่มีสิทธิไปขอคืน จำเลยจึงต้องคืนเงินบำเหน็จส่วนที่รับไปเกินสิทธิให้แก่โจทก์เต็มจำนวนโดยไม่อาจนำจำนวนเงินภาษีเงินได้ที่โจทก์หักไว้ ณ ที่จ่ายมาหักออกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยมิได้มีเจตนาเป็นสามีภริยา และการคืนเงินบำเหน็จตกทอดฐานลาภมิควรได้
จำเลยจดทะเบียนสมรสกับเรือเอก ช. ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญของกองทัพเรือโจทก์ เมื่อเรือเอก ช. ถึงแก่ความตายจำเลยได้ขอรับเงินบำเหน็จตกทอดจากโจทก์ และโจทก์จ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่จำเลย 207,750 บาท ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสโดยมิได้มีเจตนาที่จะเป็นสามีภริยากัน หากแต่กระทำเพื่อต้องการได้รับเงินบำเหน็จตกทอด การสมรสของจำเลยฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1458 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว เมื่อศาลพิพากษาว่าการสมรสตกเป็นโมฆะจึงไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามมาตรา 1498 วรรคหนึ่ง และมีผลเท่ากับจำเลยกับเรือเอก ช. มิได้เป็นสามีภริยากันมาแต่แรกจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวและสิทธิของจำเลยดังกล่าวก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1499 เพราะจำเลยมิได้สมรสโดยสุจริต จำเลยจึงต้องคืนเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตามาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 406
จำเลยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้แต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้เรียกคืนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดต่อเมื่อมีการเรียกคืนแล้ว แต่จำเลยไม่คืนให้ จึงจะถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง และตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่เวลานั้นเป็นต้นไปตามมาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำเลยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้แต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้เรียกคืนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดต่อเมื่อมีการเรียกคืนแล้ว แต่จำเลยไม่คืนให้ จึงจะถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง และตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่เวลานั้นเป็นต้นไปตามมาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินค่าภาษีที่ได้รับคืนไปโดยไม่มีสิทธิ: ลาภมิควรได้และอายุความ 1 ปี
จำเลยเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายน้ำมัน เมื่อจำเลยจำหน่ายน้ำมันเพื่อเติมแก่เรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ และพนักงานศุลกากรได้ปล่อยให้ไปต่างประเทศแล้ว จำเลยย่อมขอรับคืนค่าภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยที่ชำระไปแล้วคืนได้ ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต มาตรา 102 (4) ต่อมาปรากฏว่า แท้จริงมิได้มีการเติมน้ำมันตามชนิดและปริมาณให้แก่เรือขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยจากโจทก์ การที่จำเลยได้รับเงินค่าภาษีคืนไป แม้ในชั้นแรกจะมีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ แต่ต่อมาปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเงินก็ถือว่าไม่มีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้เช่นกัน การรับเงินภาษีดังกล่าวคืนจึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยจึงต้องคืนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 แต่โจทก์ต้องฟ้องคดีใช้สิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องลาภมิควรได้ กรณีคืนภาษีสรรพสามิต: การได้รับเงินคืนโดยไม่มีสิทธิภายหลังถือเป็นลาภมิควรได้
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไว้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาสำหรับเหตุที่ไม่ได้มีการเติมน้ำมันให้แก่เรือและรายละเอียดของกฎกระทรวงตามวรรคสองของพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 มาตรา 102(4) ไม่ใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักในข้อหาที่โจทก์ฟ้อง จึงสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ แต่อุทธรณ์ของจำเลยไม่ปรากฏเลยว่าเหตุใดจำเลยจึงเห็นว่ากรณีดังกล่าวมิใช่รายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ และเหตุใดจำเลยจึงถือว่ารายละเอียดของกฎกระทรวงเป็นข้ออ้างที่โจทก์ต้องอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา อุทธรณ์ของจำเลยไม่มีข้อโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29
จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับกรมสรรพสามิตโจทก์คืนค่าภาษีคนละเที่ยวเรือกับที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยคืนค่าภาษีที่จำเลยขอรับคืนไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งการนำน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นเรือแต่ละเที่ยวเรือตามคำฟ้องและฟ้องแย้งไม่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ตามคำฟ้องของโจทก์มีประเด็นว่า จำเลยจะต้องคืนเงินค่าภาษีที่จำเลยขอรับคืนไป ให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยมีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเรียกให้โจทก์คืนเงินค่าภาษีที่จำเลยชำระไว้หรือไม่เพียงใด ดังนั้น แม้ตามคำฟ้องของโจทก์และคำฟ้องแย้งของจำเลยจะเป็นเรื่องของการขอคืนภาษีสรรพสามิตตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตในมาตราเดียวกัน แต่ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามคำขอของโจทก์กับฟ้องแย้งของจำเลยก็แตกต่างตรงข้ามกันและไม่มีความเกี่ยวพันกันฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์
คำฟ้องโจทก์มิได้ยืนยันว่าการที่จำเลยขอรับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยไปจากโจทก์เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือจำเลยได้ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีก็เป็นผลมาจากการที่โจทก์ตรวจสอบพบว่าไม่มีการเติมน้ำมันแก่เรือตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 102(4) แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2537 กรณีตามฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เรื่องจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่อาจนำอายุความเรื่องละเมิดมาบังคับแก่คดีได้
จำเลยใช้สิทธิจากการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตหรือขายหรือจำหน่ายน้ำมันนำน้ำมันที่จำเลยชำระภาษีแล้วเติมให้แก่เรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ และพนักงานศุลกากรได้ปล่อยให้ไปต่างประเทศแล้ว ขอรับคืนค่าภาษีจากกรมสรรพสามิตโจทก์ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 102(4) ต่อมาโจทก์ได้รับแจ้งจากกรมศุลกากรว่ามิได้มีการเติมน้ำมันตามชนิดและปริมาณให้แก่เรือซึ่งมีชื่อที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยจากโจทก์ การที่จำเลยได้รับเงินค่าภาษีคืนไปแม้ในชั้นแรกจะมีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินก็ถือว่าไม่มีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้เช่นกัน จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เป็นลาภมิควรได้จำเลยจึงต้องคืนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406แต่โจทก์ต้องฟ้องคดีใช้สิทธิเรียกเงินดังกล่าวภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยคืนเงินภาษีที่จำเลยขอรับคืนไปแก่โจทก์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2539 จึงฟังได้ว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนซึ่งค่าภาษีจากจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับกรมสรรพสามิตโจทก์คืนค่าภาษีคนละเที่ยวเรือกับที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยคืนค่าภาษีที่จำเลยขอรับคืนไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งการนำน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นเรือแต่ละเที่ยวเรือตามคำฟ้องและฟ้องแย้งไม่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ตามคำฟ้องของโจทก์มีประเด็นว่า จำเลยจะต้องคืนเงินค่าภาษีที่จำเลยขอรับคืนไป ให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยมีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเรียกให้โจทก์คืนเงินค่าภาษีที่จำเลยชำระไว้หรือไม่เพียงใด ดังนั้น แม้ตามคำฟ้องของโจทก์และคำฟ้องแย้งของจำเลยจะเป็นเรื่องของการขอคืนภาษีสรรพสามิตตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตในมาตราเดียวกัน แต่ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามคำขอของโจทก์กับฟ้องแย้งของจำเลยก็แตกต่างตรงข้ามกันและไม่มีความเกี่ยวพันกันฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์
คำฟ้องโจทก์มิได้ยืนยันว่าการที่จำเลยขอรับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยไปจากโจทก์เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือจำเลยได้ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีก็เป็นผลมาจากการที่โจทก์ตรวจสอบพบว่าไม่มีการเติมน้ำมันแก่เรือตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 102(4) แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2537 กรณีตามฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เรื่องจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่อาจนำอายุความเรื่องละเมิดมาบังคับแก่คดีได้
จำเลยใช้สิทธิจากการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตหรือขายหรือจำหน่ายน้ำมันนำน้ำมันที่จำเลยชำระภาษีแล้วเติมให้แก่เรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ และพนักงานศุลกากรได้ปล่อยให้ไปต่างประเทศแล้ว ขอรับคืนค่าภาษีจากกรมสรรพสามิตโจทก์ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 102(4) ต่อมาโจทก์ได้รับแจ้งจากกรมศุลกากรว่ามิได้มีการเติมน้ำมันตามชนิดและปริมาณให้แก่เรือซึ่งมีชื่อที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยจากโจทก์ การที่จำเลยได้รับเงินค่าภาษีคืนไปแม้ในชั้นแรกจะมีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินก็ถือว่าไม่มีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้เช่นกัน จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เป็นลาภมิควรได้จำเลยจึงต้องคืนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406แต่โจทก์ต้องฟ้องคดีใช้สิทธิเรียกเงินดังกล่าวภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยคืนเงินภาษีที่จำเลยขอรับคืนไปแก่โจทก์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2539 จึงฟังได้ว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนซึ่งค่าภาษีจากจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะสัญญาขายฝาก, ลาภมิควรได้, การคืนเงิน, ดอกเบี้ยผิดนัด, เพิกถอนทะเบียน
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดิน น.ส.3 ตกเป็นโมฆะ การคืนทรัพย์สินอันเกิดจากนิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับกล่าวคือ ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่งก็ต้องคืนเต็มจำนวนนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสองและโจทก์ทั้งสองมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ เพราะเป็นหนี้เงิน แต่ไม่ปรากฏชัดเจนว่าได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 คืนเงินที่รับไว้และจำเลยที่ 1 ทราบแล้วตั้งแต่เมื่อใด โจทก์ทั้งสองคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ได้นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป โดยถือว่าเป็นวันที่โจทก์ทั้งสองทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-3932/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้างหลังคำสั่งยกเลิก - อายุความ 10 ปีมิใช่อายุความลาภมิควรได้ - ศาลแรงงานพิพากษายืน
เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของอธิบดีฯ ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 แม้จำเลยที่ 6 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะสืบพยานโจทก์ แต่ในขณะนั้นศาลปกครองชั้นต้นที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ยังไม่ได้เปิดดำเนินการและแม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะยื่นคำร้องเช่นเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลาง หลังจากศาลปกครองชั้นต้นเปิดดำเนินการแล้ว ก็เป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่เข้ากรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราว และจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน 62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน 62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากผู้ชำระบัญชี: เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องแทนลูกหนี้ได้หรือไม่?
ขณะที่มีการชำระบัญชี บริษัท ท. ยังเป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้างแก่โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง ดังนั้นการที่ผู้ชำระบัญชีของบริษัท ท. แบ่งเงินอันเป็นสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ของบริษัทให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นไป ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะรับไว้โดยสุจริตหรือไม่ ก็เป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1269 และถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินส่วนแบ่งดังกล่าวมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เงินส่วนแบ่งดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้ที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนให้แก่บริษัท ท. ผู้เป็นเจ้าของเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
กรณีที่บริษัท ท. โดยผู้ชำระบัญชี ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนแบ่งที่ได้รับไปคืน หรือเพิกเฉยไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของหนี้ค่าภาษีอากรค้างต้องเสียประโยชน์ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนบริษัท ท. ลูกหนี้ได้ โดยต้องขอหมายเรียกบริษัท ท. เข้ามาในคดีด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 และ 234
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า โจทก์ฟ้องคดีแทนบริษัท ท. เพราะบริษัทดังกล่าว โดย ส. ผู้ชำระบัญชีได้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนแบ่งที่จำเลยที่ 1 รับไปโดยมิชอบแก่บริษัท ท. หรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว รวมทั้งมิได้ขอหมายเรียกบริษัท ท. ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์เข้ามาในคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 และ 234 แต่ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนแบ่งสินทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากผู้ชำระบัญชีโดยมิชอบให้แก่โจทก์โดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรม หรือมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องคืนเงินสินทรัพย์ของบริษัท ท. ที่ตนได้รับไว้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด
กรณีที่บริษัท ท. โดยผู้ชำระบัญชี ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนแบ่งที่ได้รับไปคืน หรือเพิกเฉยไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของหนี้ค่าภาษีอากรค้างต้องเสียประโยชน์ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนบริษัท ท. ลูกหนี้ได้ โดยต้องขอหมายเรียกบริษัท ท. เข้ามาในคดีด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 และ 234
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า โจทก์ฟ้องคดีแทนบริษัท ท. เพราะบริษัทดังกล่าว โดย ส. ผู้ชำระบัญชีได้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนแบ่งที่จำเลยที่ 1 รับไปโดยมิชอบแก่บริษัท ท. หรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว รวมทั้งมิได้ขอหมายเรียกบริษัท ท. ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์เข้ามาในคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 และ 234 แต่ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนแบ่งสินทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากผู้ชำระบัญชีโดยมิชอบให้แก่โจทก์โดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรม หรือมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องคืนเงินสินทรัพย์ของบริษัท ท. ที่ตนได้รับไว้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าชดเชยกรณีลูกจ้างได้รับเกินสิทธิ และประเด็นอายุความลาภมิควรได้
โจทก์ฟ้องว่า ม. ได้มาซึ่งค่าชดเชยเพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดย ม. ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ อันเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการฟ้องในฐานะเจ้าของทรัพย์สินเรียกเอาคืนทรัพย์สินจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตามมาตรา 1336 โจทก์จึงต้องฟ้องคดีภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นตามมาตรา 419
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ทราบว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือของกระทรวงการคลัง โดยข้อเท็จจริงในสำนวนไม่ปรากฏว่าผู้แทนนิติบุคคลของโจทก์หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนทราบเรื่องในเอกสารดังกล่าวเมื่อใดนั้น เป็นการไม่ชอบ กรณียังไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนเมื่อใดอันเป็นการกำหนดตั้งต้นนับอายุความ ให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าผู้แทนนิติบุคคลของโจทก์หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนทราบเรื่องในเอกสารดังกล่าวเมื่อใด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ทราบว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือของกระทรวงการคลัง โดยข้อเท็จจริงในสำนวนไม่ปรากฏว่าผู้แทนนิติบุคคลของโจทก์หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนทราบเรื่องในเอกสารดังกล่าวเมื่อใดนั้น เป็นการไม่ชอบ กรณียังไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนเมื่อใดอันเป็นการกำหนดตั้งต้นนับอายุความ ให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าผู้แทนนิติบุคคลของโจทก์หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนทราบเรื่องในเอกสารดังกล่าวเมื่อใด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี