คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลายลักษณ์อักษร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5343/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายข้าวสมบูรณ์ แม้จะไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน การกระทำเป็นตัวแทนเชิดผูกพันจำเลย
จำเลยมีคำเสนอขายข้าวสาร จำนวน 20,000 เมตริกตัน ส่งมอบเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2537 ไปยังโจทก์ โจทก์ตกลงให้จำเลยเป็นผู้ส่งข้าว คำเสนอและคำสนองดังกล่าวจึงถูกต้องตรงกัน ย่อมก่อให้เกิดสัญญาแล้ว แต่เมื่อจำเลยมีหนังสือขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระราคาและเสนอราคาใหม่ไปยังโจทก์ ถือว่าเป็นคำเสนอใหม่ โจทก์ตอบตกลงซื้อข้าวตามราคาที่เสนอมาใหม่และให้จำเลยไปทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ แสดงว่าคำเสนอคำสนองใหม่ถูกต้องตรงกันสัญญาเกิดขึ้นแล้ว มีผลเป็นการยกเลิกสัญญาเดิม และผูกพันกันตามสัญญาที่เกิดขึ้นใหม่ ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบข้าวลงเรือในเดือนตุลาคม 2537 โดยไม่มีข้อความให้จำเลยมาทำสัญญาเป็นหนังสือ แต่กลับเร่งรัดให้จำเลยส่งมอบข้าวให้ทันกำหนดเวลา แสดงว่าโจทก์ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้สัญญามีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำสัญญาเป็นหนังสือก่อน การที่จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วมีหนังสือขอเลื่อนไปส่งมอบข้าวสารในเดือนธันวาคม 2537โดยไม่ได้ทักท้วงหรือโต้แย้งว่าสัญญายังไม่ได้ลงนามเนื่องจากยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องค่าเสียหาย การค้ำประกันและการส่งมอบ ทั้งปรากฏว่ากรมการค้าต่างประเทศเคยซื้อข้าวจากจำเลยโดยส่งประกาศรับซื้อไป จำเลยตอบรับ หลังจากนั้นจำเลยส่งมอบข้าวโดยไม่จำต้องทำสัญญาเป็นหนังสืออีกพฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยเองมิได้มุ่งที่จะให้การซื้อขายข้าวดังกล่าวนั้นจะต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือเช่นกัน ดังนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยว่าสัญญาจะต้องทำเป็นหนังสือดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง แต่อย่างใดไม่
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการบริหารงานของบริษัทจำเลยมีอำนาจในการติดต่อทำการค้าแทนจำเลย การที่ ส. ลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลย จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทจำเลยมิใช่ทำเป็นส่วนตัว เมื่อ ส. เป็นผู้เสนอขายข้าวให้โจทก์ในนามของจำเลยและจำเลยเองก็นำสืบยอมรับความสมบูรณ์ของเอกสารอันเป็นคำเสนอขายข้าวโดยรับเอาประโยชน์ไว้เป็นของตน ทั้งต่อมาจำเลยยังให้ ส. เป็นตัวแทนในการทำหนังสือขอเลื่อนการส่งมอบข้าวสารด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยเชิด ส. เป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ ส. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการซื้อขายข้าวรายพิพาทจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 ทั้งการเป็นตัวแทนเชิดดังกล่าวหาใช่การตั้งตัวแทนตามปกติแต่อย่างใดไม่จึงไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเสนอคดีต่อศาลเฉพาะต้องเป็นลายลักษณ์อักษรและมีคู่สัญญาลงนามร่วมกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ มีข้อตกลงว่าหากมีข้อพิพาทจากการค้ำประกันดังกล่าวให้เสนอคดีต่อศาลแพ่ง จำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันฝ่ายเดียว โจทก์มิได้ลงชื่อด้วย ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีการตกลงเป็นหนังสือตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่งมาตรา 7 (4) ที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้องว่าโจทก์จะต้องเสนอคดีนี้ต่อศาลแพ่ง โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ สัญญาใหม่ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้เช่าไม่อาจอ้างสิทธิขยายสัญญาเดิม
สัญญาเช่ากำหนดเวลาสิ้นอายุไว้ และมีว่าถ้าไม่ทำสัญญากันใหม่เป็นหนังสือ ผู้เช่าจะไม่อ้างเหตุใด ๆ ขยายอายุสัญญาออกไป ผู้เช่ายกเหตุที่มีสัญญาให้ผู้เช่าได้เช่าใหม่ขึ้นอ้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต้องปิดแสตมป์ตามกฎหมาย และข้อตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าต้องเป็นลายลักษณ์อักษร
สัญญาเช่าที่เป็นคู่ฉบับต้องปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 23 ในประมวลรัษฎากร มิฉะนั้นต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 มิให้รับฟัง
ปัญหาที่ว่า เอกสารมิได้ปิดแสตมป์ให้ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากรนั้น แม้คู่ความมิได้โต้แย้งไว้ในศาลชั้นต้น ก็อาจโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ฎีกาได้ เพราะเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องวินิจฉัยและรับฟังให้เป็นไปตามบทกฎหมาย และคู่ความไม่อาจทราบล่วงหน้าว่าศาลจะวินิจฉัยให้ผิดบทกฎหมายอย่างไรหรือไม่
สัญญาเช่ามีข้อความกำหนดเวลาเช่าไว้ 1 ปี คู่ความจะนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขกำหนดเวลานี้มิได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323-1324/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าโดยการตกลงกันใหม่เป็นลายลักษณ์อักษร และการนำสืบหลักฐานใบรับเงินค่าเช่าเพื่อพิสูจน์ข้อตกลง
โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าโรงสี 3 ปี กำหนดค่าเช่าไว้เดือนละ 3,000 บาทจำเลยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่า ชั้นแรกคิดค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท แต่ต่อไปโจทก์จะลดให้เป็นเดือนละ 2,000 บาท และ 1,000 บาทตามลำดับ แล้วจำเลยนำสืบใบรับเงินค่าเช่าอันแสดงว่าในระยะหลังๆ นี้โจทก์เก็บค่าเช่าเพียงเดือนละ 2,000 บาท และ 1,000 บาท ดังนี้เป็นเรื่องจำเลยนำสืบว่าคู่สัญญาตกลงทำสัญญากันใหม่เป็นหนังสือแก้ไขหนังสือสัญญาเช่าเดิมเฉพาะเรื่องอัตราค่าเช่าอย่างเดียวจำเลยจึงนำพยานบุคคลมาสืบอธิบายถึงที่มาของใบรับเงินนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ให้เช่ามีสิทธิเลิกสัญญาได้
การที่ผู้ให้เช่าต่อสู้ว่าผู้เช่าทำผิดสัญญาโดยให้ผู้อื่นเช่าช่วงแต่ผู้เช่าปฏิเสธความข้อนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังสมข้างผู้ให้เช่า ๆ ก็ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญากับผู้เช่าได้
ข้อความในสัญญาระบุว่า ผู้เช่าจะไม่เอาตีกราบนี้ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดโอนไปให้ผู้อื่นเช่าเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณอักษร เมื่อปรากฎว่าผู้เช่ามิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่าดังนี้จะถือว่าผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าเช่าช่วงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการสืบพยานเพิ่มเติมในสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะเมื่อมีการรับรองเอกสารแล้ว
เอกสารสัญญากู้ มีข้อความชัดแล้วว่า จำเลยได้ยืมเงินโจทก์ไปจริงและจำเลยได้ลงลายมือชื่อให้ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยจะขอสืบพยานว่าความจริงเป็นเงินลงหุ้นส่วนกัน มิใช่เงินกู้ เป็นการสืบเพิ่มเติมแก้ไขห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 94
ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 94 ได้มุ่งหมายห้ามเฉพาะแต่ฝ่ายผู้อ้างเอกสารเท่านั้นที่จะสืบเพิ่มเติมแก้ไข แม้ฝ่ายที่ไม่ได้นำหรืออ้างเอกสารมา ก็อยู่ในบทบังคับแห่งมาตรานี้ดุจกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเลิกหุ้นส่วนไม่จำต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร การนำสืบประกอบสัญญาไม่ถือเป็นนอกฟ้อง
สัญญาเลิกหุ้นไม่จำต้องทำเป็นลายลักษณอักษรฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาเลิกหุ้นส่วนกันแล้ว และนำสืบว่าภริยาโจทก์เป็นผู้ลงนามในสัญญาแทนและได้มีสัญญาอีกฉะบับหนึ่งท้าวความถึงสัญญาเลิกหุ้นส่วนเป็นทำนองให้สัตยาบัน เหล่านี้ไม่เป็นการสืบนอกฟ้อง และไม่จำต้องกล่าวข้อความเหล่านี้มาในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาหมิ่นประมาทด้วยลายลักษณ์อักษร ไม่ต้องพิสูจน์จำนวนผู้รับรู้ข้อความ
การใส่ความหมิ่นประมาทนั้นเมื่อมีลักษณะเป็รการโฆษณาด้วยลายลักษณอักษรแล้ว ก็เป็นผิดตามกฎหมาย อาญา ม. 282 วรรค 2 ในเรื่องโฆษณาหมิ่นประมาทด้วยหนังสือแล้วโจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่า มีผู้รู้ข้อความนั้นกี่คน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงและการเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่า: การยินยอมด้วยวาจาไม่สามารถลบล้างข้อตกลงในสัญญาลายลักษณ์อักษรได้
+เช่าเดิมไม่มีข้อความ+เช่าเอา ทรัพย์สินออกเช่าช่วงได้ ผู้เช่าจะขอ+ว่าผู้ให้เช่าอนุญาต+วาจาให้เอาทรัพย์สินออกให้+ได้นั้นมิได้ เพราะการสืบแก้ไขเปลี่ยน+เอกสารสัญญาเช่าเดิม.
of 2