คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลำดับขั้นตอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับขั้นตอนการพิจารณาคดีล้มละลาย: เหตุไม่ควรล้มละลายต้องยกขึ้นก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เหตุไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 เป็นเรื่องที่ต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย เมื่อศาลชั้นต้นไม่เห็นชอบด้วยการประนอมหนี้จึงต้องพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายตามมาตรา 61

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับขั้นตอนบังคับคดีตามคำพิพากษา: ศาลต้องปฏิบัติตามขั้นตอน, เจ้าหนี้/โจทก์ขอบังคับคดีได้เท่านั้น
คำพิพากษาระบุลำดับขั้นตอนการบังคับคดีไว้ จึงต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนนั้น ศาลต้องออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาในหนี้อันดับแรก จำเลยจะเลือกปฏิบัติขอชำระหนี้ในลำดับที่สองและจะขอให้บังคับคดีเกินไปจากคำพิพากษาหาได้ไม่ ทั้งคำขอของจำเลยเกินขอบเขตอำนาจของกฎหมายเพราะผู้ที่ขอให้บังคับคดีได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 และ 275

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามคำพิพากษา: จำเลยต้องไถ่ถอนจำนองก่อนชำระค่าสินไหมทดแทน
ตามคำพิพากษาอันดับแรกที่ให้จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทโอนให้แก่โจทก์โดยรับเงินจากโจทก์นั้นไม่ปรากฏว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาในอันดับแรกนี้เสียก่อน จำเลยกลับรีบนำเงินค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาอันดับหลัง มาวางต่อศาล ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่จำเลย จำนองไว้กับธนาคารในระหว่างที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ออกคำบังคับแสดงว่าจำเลยสามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาอันดับแรกได้และก็ไม่ปรากฏว่าธนาคารผู้รับจำนองมีเหตุขัดข้องไม่ยอมให้จำเลยไถ่ถอนการจำนองแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงชวนให้สงสัยว่าน่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงเพื่อจะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของคำพิพากษาตั้งแต่อันดับแรกเป็นต้นไปตามลำดับ จำเลยจึงไม่มีสิทธิ เลือกปฏิบัติชำระเงินค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษา อันดับหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามลำดับขั้นตอนที่ศาลพิพากษา การแบ่งทรัพย์สินก่อนชำระค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้กลับมาเป็นของโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง ให้แบ่งที่ดินดังกล่าวให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละเท่า ๆ กัน หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเอง หรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันคนละครึ่ง หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดการให้เป็นไปตามข้อแรกได้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย หรือค่าที่ดินให้โจทก์ 150,000 บาท ดังนี้ การบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับที่ศาลได้พิพากษาไว้ คือต้องแบ่งที่ดินพิพาทกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของรวมเสียก่อน ถ้าการแบ่งตกลงกันไม่ได้ก็เอาที่ดินออกขายแบ่งเงินกันตามส่วน จำเลยที่ 1 จะไม่ยอมแบ่งที่ดินให้โจทก์โดยจะเลือกใช้ค่าเสียหายแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมต้องเรียงตามลำดับ หากไม่ปรากฏเหตุโอนทรัพย์ไม่ได้ ศาลมิอาจบังคับยึดทรัพย์เพื่อชำระเงินได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ให้จำเลยโอนปั๊มน้ำมันให้โจทก์แต่ถ้ามีเหตุโอนปั๊มน้ำมันไม่ได้ ให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ห้าล้านบาทเช่นนี้ การบังคับคดี โจทก์จะต้องบังคับให้จำเลยโอนปั๊มน้ำมันให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเสียก่อน ถ้ามีเหตุโอนปั๊มน้ำมันให้โจทก์ไม่ได้ จึงให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ ที่ศาลชั้นต้นสั่งออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยเพื่อให้ชำระเงินห้าล้านบาทตามที่โจทก์ขอ โดยไม่ปรากฏเหตุที่จำเลยไม่อาจโอนปั๊มน้ำมันให้โจทก์ได้นั้น ถือว่ามิได้ดำเนินการตามคำพิพากษาตามยอมเป็นขั้น ๆ ไป ย่อมยกหมายบังคับคดีนั้นเสียได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกประกาศห้ามค้ากำไรเกินควรต้องระบุเขตท้องที่ชัดเจน การมิได้ปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนตามกฎหมายทำให้ประกาศไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรได้ระบุชื่อหรือประเภทสิ่งของและสั่งห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรแล้ว คณะกรรมการจะต้องระบุเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่งหรือทั้งหมดเป็นท้องที่สั่งห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควร เมื่อคณะกรรมการยังมิได้กำหนดให้ปรากฏชัดแล้วประกาศห้ามเคลื่อนย้ายโคกระบือมีชีวิตเข้าไปเขตท้องที่ที่จะสั่งห้าม จึงแสดงว่ามิได้ปฏิบัติการตามลำดับก่อนหลังดังกฎหมายกำหนดไว้ ประกาศของคณะกรรมการในกรณีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกประกาศห้ามค้ากำไรเกินควรต้องระบุเขตท้องที่ชัดเจน การไม่ปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนตามกฎหมายทำให้ประกาศไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรได้ระบุชื่อหรือประเภทสิ่งของและสั่งห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรแล้วคณะกรรมการจะต้องระบุเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่งหรือทั้งหมดเป็นท้องที่สั่งห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควร เมื่อคณะกรรมการยังมิได้กำหนดให้ปรากฏชัดแล้วประกาศห้ามเคลื่อนย้ายโคกระบือมีชีวิตเข้าไปในเขตท้องที่ ที่จะสั่งห้ามจึงแสดงว่ามิได้ปฏิบัติการตามลำดับก่อนหลังดังกฎหมายกำหนดไว้ประกาศของคณะกรรมการในกรณีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกประกาศห้ามค้ากำไรเกินควรต้องระบุเขตท้องที่ชัดเจนตามลำดับขั้นตอนของกฎหมาย มิฉะนั้นประกาศนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรได้ระบุชื่อหรือประเภทสิ่งของและสั่งห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรแล้ว.คณะกรรมการจะต้องระบุเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่งหรือทั้งหมดเป็นท้องที่สั่งห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควร. เมื่อคณะกรรมการยังมิได้กำหนดให้ปรากฏชัดแล้วประกาศห้ามเคลื่อนย้ายโคกระบือมีชีวิตเข้าไปในเขตท้องที่ ที่จะสั่งห้าม. จึงแสดงว่ามิได้ปฏิบัติการตามลำดับก่อนหลังดังกฎหมายกำหนดไว้. ประกาศของคณะกรรมการในกรณีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการอุทธรณ์ภาษี: ต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากข้ามขั้นตอนแล้วรับวินิจฉัย ก็ต้องฟ้องศาล
การอุทธรณ์การประเมินภาษีของอำเภอนั้น ให้อุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานประเมินก่อน แล้วจึงอุทธรณ์ต่อข้าหลวงประจำจังหวัด แต่ถ้าเป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว ให้อุทธรณ์ต่อข้าหลวงประจำจังหวัดทีเดียว ถัดจากนี้จึงให้อุทธรณ์ต่อศาล อย่างไรก็ตามในกรณีที่อำเภอประเมินภาษีนั้น แม้จะอุทธรณ์ข้ามเจ้าพนักงานประเมินไป คืออุทธรณ์ตรงต่อข้าหลวงประจำจังหวัดทีเดียวนั้น ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดรับวินิจฉัยให้แล้ว ก็ไม่น่าจะล้วงไปวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ข้ามเจ้าพนักงานประเมินไป เพราะได้ก้าวล่วงพ้นมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15100/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหักผลขาดทุนสะสมตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน การนำผลขาดทุนมาหักต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการคำนวณผลกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่ามีการประกอบกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนด้วยหรือไม่ จึงย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.รัษฎากร การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่อาศัยหลักการอ้างอิงตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) และประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 กับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 38/2552 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนำผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงหาได้ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 แต่อย่างใด และเป็นการวางหลักเกณฑ์สำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในการนำผลขาดทุนสะสมมาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ระหว่างเวลาที่บริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อเนื่องไปจนถึงระหว่างเวลาที่บริษัทได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผลขาดทุนสะสมของกิจการโจทก์ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 มีอยู่ 925,073,207.26 บาท โจทก์มีสิทธินำไปใช้ได้อีกกับกิจการที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และกิจการที่ไม่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ถึงปี 2545 ได้ เมื่อรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่โจทก์ได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามบัตรส่งเสริมการลงทุน กิจการที่โจทก์ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำไร 529,193,933.48 บาท แต่รอบระยะเวลาบัญชีอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ คือ รอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 ถึงปี 2544 กิจการของโจทก์ที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดทุนทุกปีจำนวน 17,327,968.11 บาท 343,670,021.13 บาท และ 5,820,970.03 บาท ตามลำดับ โจทก์จะนำเอาผลขาดทุนสะสมของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 ที่ยังเหลืออยู่อีก 925,073,207.26 บาท ไปใช้กับกิจการที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ถึงปี 2545 ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้นำเอาผลขาดทุนของกิจการที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ถึงปี 2545 ตามลำดับมาใช้ก่อน หลังจากนั้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโจทก์จึงจะมีสิทธิเอาผลขาดทุนสะสมของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 ที่เหลืออยู่ 925,073,207.26 บาท มาใช้ได้มีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปี โดยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 ถึงปี 2545 โจทก์จะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 วรรคสี่ ซึ่งจะทำให้กิจการที่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 ไม่มีกำไร และมีผลขาดทุนสะสมเหลืออยู่อีก 762,698,233.05 บาท เมื่อนำไปหักกับกำไรของกิจการที่ไม่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 จำนวน 342,816,923.13 บาท จะทำให้กิจการที่ไม่ได้รับลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2545 ไม่มีกำไร ส่วนผลขาดทุนสะสมของกิจการโจทก์ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 เหลืออยู่อีก 419,881,309.92 บาท โจทก์ไม่มีสิทธินำไปใช้อีกเพราะสิ้นกำหนดเวลาห้าปีนับแต่พ้นกำหนดเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 วรรคสี่
of 2