พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาดดีกว่าสิทธิจากการซื้อจากลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้เดือนละ3,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงฟังได้ว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ3,000 บาท แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทปรับอีก 100,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในส่วนนี้ก็ไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ที่จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังนั้น แม้จำเลยซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของลูกหนี้อยู่ โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังนั้น แม้จำเลยซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของลูกหนี้อยู่ โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับบุริมสิทธิระหว่างผู้รับจำนำและผู้รับฝากทรัพย์: ผลกระทบจากการทราบข้อเท็จจริงก่อนการบังคับชำระหนี้
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด เป็นผู้รับจำนำสินค้าจากจำเลยที่ 1 มีบุริมสิทธิในฐานะเป็นผู้รับจำนำ ส่วนผู้ร้องเป็นผู้รับฝากสินค้าจากกจำเลยที่ 1 มีบุริมสิทธิในฐานะผู้รับฝากทรัพย์เช่นกัน จึงเป็นกรณีที่บุริมสิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้รับฝากสินค้าแย้งกับสิทธิจำนำของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทร-ธนกิจ จำกัด ซึ่งกรณีเช่นนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ในฐานะผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่ง ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 282
แม้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด มีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่หนึ่งในฐานะผู้รับจำนำสินค้า แต่ขณะที่รับจำนำสินค้าได้ทราบแล้วว่าผู้ร้องเป็นผู้รับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้ว ซึ่งการที่ผู้ร้องรับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1 ไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นเองด้วย ดังนี้ กรณีจึงต้องห้ามมิให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์-ภัทรธนกิจ จำกัด ใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นต่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับฝากสินค้า หรือผู้รักษาทรัพย์ซึ่งมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่สองตามนัยมาตรา 278วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และแม้กฎหมายมิได้บัญญัติไว้แจ้งชัดว่ากรณีเช่นนี้ ผู้ร้องในฐานะผู้รับฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์มีสิทธิรับชำระหนี้ก่อนหรือหลังบริษัทเงินทุน-หลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้รับจำนำเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อบริษัทเงินทุน-หลักทัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งต่อผู้ร้องได้เช่นนี้แล้ว จึงถือได้ว่าผู้ร้องย่อมมีบุริมสิทธิดีกว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์-ภัทรธนกิจ จำกัด และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจจำกัด
แม้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด มีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่หนึ่งในฐานะผู้รับจำนำสินค้า แต่ขณะที่รับจำนำสินค้าได้ทราบแล้วว่าผู้ร้องเป็นผู้รับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้ว ซึ่งการที่ผู้ร้องรับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1 ไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นเองด้วย ดังนี้ กรณีจึงต้องห้ามมิให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์-ภัทรธนกิจ จำกัด ใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นต่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับฝากสินค้า หรือผู้รักษาทรัพย์ซึ่งมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่สองตามนัยมาตรา 278วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และแม้กฎหมายมิได้บัญญัติไว้แจ้งชัดว่ากรณีเช่นนี้ ผู้ร้องในฐานะผู้รับฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์มีสิทธิรับชำระหนี้ก่อนหรือหลังบริษัทเงินทุน-หลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้รับจำนำเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อบริษัทเงินทุน-หลักทัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งต่อผู้ร้องได้เช่นนี้แล้ว จึงถือได้ว่าผู้ร้องย่อมมีบุริมสิทธิดีกว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์-ภัทรธนกิจ จำกัด และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจจำกัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับสิทธิบุริมสิทธิ: ผู้ฝากทรัพย์มีสิทธิก่อนผู้รับจำนำเมื่อผู้รับจำนำทราบถึงการฝากทรัพย์ก่อน
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด เป็นผู้รับจำนำสินค้าจากจำเลยที่ 1 มีบุริมสิทธิในฐานะเป็นผู้รับจำนำ ส่วนผู้ร้องเป็นผู้รับฝากสินค้าจากจำเลยที่ 1 มีบุริมสิทธิในฐานะผู้รับฝากทรัพย์เช่นกัน จึงเป็นกรณีที่บุริมสิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้รับฝากสินค้าแย้งกับสิทธิจำนำของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ซึ่งกรณีเช่นนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ในฐานะผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 282 แม้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด มีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่หนึ่งในฐานะผู้รับจำนำสินค้า แต่ขณะที่รับจำนำสินค้าได้ทราบแล้วว่าผู้ร้องเป็นผู้รับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้วซึ่งการที่ผู้ร้องรับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1 ไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นเองด้วย ดังนี้ กรณีจึงต้องห้ามมิให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นต่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์ซึ่งมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่สองตามนัยมาตรา 278 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และแม้กฎหมายมิได้บัญญัติไว้แจ้งชัดว่ากรณีเช่นนี้ ผู้ร้องในฐานะผู้รับฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์มีสิทธิรับชำระหนี้ก่อนหรือหลังบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้รับจำนำเพียงใดก็ตามแต่เมื่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งต่อผู้ร้องได้เช่นนี้แล้วจึงถือได้ว่าผู้ร้องย่อมมีบุริมสิทธิดีกว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินมีลำดับสิทธิเหนือกว่าสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้มีการครอบครองก่อน
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กรมที่ดินจำเลยให้การโต้เถียงว่าที่พิพาทเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นการพิพาทกันด้วยสิทธิในที่ดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนอง: การรับช่วงสิทธิจำนองเฉพาะส่วน และลำดับสิทธิเมื่อมีหนี้คงเหลือ
ผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ส่วนหนึ่งตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์โดยมีการจำนองที่ดินเป็นประกันแม้ว่าผู้ร้องจะชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไปแล้วและได้รับช่วงสิทธิจำนองจากโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าว แต่ยังมีหนี้ส่วนอื่นที่จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ โจทก์ย่อมจะขอให้บังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ได้เพราะจำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์ซึ่งจำนองหมดทุกสิ่ง แม้จะได้ชำระหนี้แล้วบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716 ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าเฉลี่ยหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ผู้จำนองในฐานะเจ้าหนี้จำนองในลำดับชั้นเดียวกันกับโจทก์ผู้รับจำนอง ผู้ร้องมีสิทธิเข้าเฉลี่ยหนี้ได้ภายหลังจากโจทก์ผู้รับจำนองได้รับชำระหนี้จำนองครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับสิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: ภาษีที่ถึงกำหนดชำระเกิน 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้หนีภาษีอากรจะเป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษและบัญญัติขึ้นภายหลังได้กำหนดลำดับสิทธิในการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไว้ตามมาตรา 130 จึงเป็นข้อยกเว้นจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ในการขอรับชำระหนี้ภาษีอากร จึงต้องถือตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสำคัญ
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของผู้ซื้อโดยสุจริตย่อมมีลำดับก่อนเจ้าหนี้จำนองเดิม แม้สิทธิเจ้าของเดิมยังมิได้จดทะเบียน
ทนายความชั้นสองย่อมมีสิทธิเรียงคำฟ้องฎีกาให้คู่ความได้. ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลหรือได้รับการแต่งตั้งมาจากศาลชั้นต้น มิต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2508มาตรา 36.
เดิมนาพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เมื่อจำเลยจำนอง. โจทก์ยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่. สิทธิในนาพิพาทของจำเลยจึงเป็นสิทธิที่ยังมิได้จดทะเบียน. เมื่อมีการแจ้งการครอบครองตามกฎหมาย จำเลยก็.ไม่แจ้ง. แต่ ย.ซึ่งดูแลแทนจำเลยกลับแจ้งเป็นของตน แล้วออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจำนองม.. ต่อมาได้ไถ่ถอนจำนองและขายม.. ม.ขายให้ผู้ร้องโดยมีรายการจดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) เป็นลำดับ. สิทธิในนาพิพาทของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว. จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299วรรคท้าย. เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเดิมไม่อาจอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของในนาพิพาทเพื่อใช้ยันผู้ร้องได้แล้ว.สิทธิจำนองของโจทก์ในการที่จะบังคับเอาแก่นาพิพาทก็ย่อมเป็นอันหมดสิ้นไปในตัว. โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่นาพิพาทซึ่งเป็นของผู้ร้องได้ต่อไป. เพราะผู้ร้องได้สิทธิในนาพิพาททางทะเบียนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินที่มีขึ้นใหม่ภายหลัง. โดยไม่ใช่เป็นการรับโอนจากจำเลย. กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคท้าย. เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับจำนองนาพิพาทแล้ว. โจทก์ก็ไม่มีสิทธิยึดนาพิพาท.
เดิมนาพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เมื่อจำเลยจำนอง. โจทก์ยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่. สิทธิในนาพิพาทของจำเลยจึงเป็นสิทธิที่ยังมิได้จดทะเบียน. เมื่อมีการแจ้งการครอบครองตามกฎหมาย จำเลยก็.ไม่แจ้ง. แต่ ย.ซึ่งดูแลแทนจำเลยกลับแจ้งเป็นของตน แล้วออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจำนองม.. ต่อมาได้ไถ่ถอนจำนองและขายม.. ม.ขายให้ผู้ร้องโดยมีรายการจดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) เป็นลำดับ. สิทธิในนาพิพาทของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว. จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299วรรคท้าย. เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเดิมไม่อาจอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของในนาพิพาทเพื่อใช้ยันผู้ร้องได้แล้ว.สิทธิจำนองของโจทก์ในการที่จะบังคับเอาแก่นาพิพาทก็ย่อมเป็นอันหมดสิ้นไปในตัว. โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่นาพิพาทซึ่งเป็นของผู้ร้องได้ต่อไป. เพราะผู้ร้องได้สิทธิในนาพิพาททางทะเบียนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินที่มีขึ้นใหม่ภายหลัง. โดยไม่ใช่เป็นการรับโอนจากจำเลย. กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคท้าย. เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับจำนองนาพิพาทแล้ว. โจทก์ก็ไม่มีสิทธิยึดนาพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนเรือนพิพาทหลังสัญญาประนีประนอมยอมความ: ลำดับสิทธิเหนือเจ้าหนี้
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยยอมชำระเงินให้ผู้ร้องจำนวนหนึ่ง. โดยจะโอนเรือนพิพาทให้ผู้ร้องแทนการชำระหนี้. ถ้าจำเลยขัดขืนไม่ไปโอน. ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน. และศาลได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว. ผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนผู้อื่น. แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้จำเลย ก็หามีสิทธิยึดเรือนพิพาทไม่. (มติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับสิทธิระหว่างเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญกับเจ้าหนี้จำนอง: สิทธิจำนองมีลำดับก่อน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 284 เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญที่มิได้ลงทะเบียนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ใด ๆ ที่ไม่มีหลักประกันพิเศษได้เท่านั้น ในทางกลับกัน เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญก็ไม่มีสิทธิจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันพิเศษ และตามมาตรา 287 บุริมสิทธิที่อาจใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองนั้น จะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 285 และ 286 เท่านั้น ฉะนั้น เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญเกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีอากร ตามมาตรา 253(3) จึงจะมาขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046-2047/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับสิทธิรถทางร่วม: รถจากใต้ไปเหนือมีสิทธิก่อนรถจากตะวันออกไปตะวันตก
ตรงที่ถนนสองถนนตัดทับกันนั้นคือทางร่วม รถที่แล่นตามถนนจากทิศใต้ไปเหนือเมื่อมาถึงตรงที่ถนนตัดกันนั้นย่อมเป็นรถทางซ้ายของรถที่แล่นมาจากทิศตะวันออกมาตะวันตก.