พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของเงินสดหลักประกัน: ความสัมพันธ์ทนาย-ลูกความ และพยานหลักฐานสนับสนุน
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นเพียงทนายความกับลูกความ ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นญาติ หรือมีความสัมพันธ์ในการที่จะนำเงินสดถึง 200,000 บาท มาเป็นหลักประกันให้จำเลย อนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 118 บัญญัติให้คืน
หลักประกันแก่ผู้ที่ควรรับไป เมื่อจำเลยยื่นคำคัดค้านว่าเงินที่วางประกันเป็นของจำเลยและพยานของจำเลยเบิกความเป็นลำดับเชื่อมโยงกันมีเหตุผลมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของผู้ร้องที่ศาลชั้นต้นส่งคืนหลักประกันตามสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยจึงชอบแล้ว
หลักประกันแก่ผู้ที่ควรรับไป เมื่อจำเลยยื่นคำคัดค้านว่าเงินที่วางประกันเป็นของจำเลยและพยานของจำเลยเบิกความเป็นลำดับเชื่อมโยงกันมีเหตุผลมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของผู้ร้องที่ศาลชั้นต้นส่งคืนหลักประกันตามสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความละเลยหน้าที่ ชดใช้ค่าเสียหาย - การใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อลูกความ
โจทก์แต่งตั้งจำเลยเป็นทนายความ จำเลยมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนโจทก์ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ การที่จะซักค้านพยานโจทก์ปากใดหรือไม่ หรือสมควรนำพยานปากใด เข้าสืบหรือไม่ย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลย แต่การ ใช้ดุลพินิจนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ การที่จำเลยมอบอำนาจให้เสมียนทนายไปเลื่อนคดี หลังจากที่มีการสืบพยานปากนาย อ. เสร็จแล้วจนเป็นเหตุให้ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ทำให้ไม่มีโอกาสซักค้านพยานปากดังกล่าวก็ดี การที่จำเลยไม่นำตัวโจทก์เข้าเบิกความทั้ง ๆ ที่โจทก์แสดงเจตนาว่าจะเข้าเบิกความก็ดี การที่จำเลยไม่แจ้งวันนัดเดินเผชิญสืบรวมทั้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบ และไม่ใส่ใจไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นไปฟังแทนก็ดี การไม่อุทธรณ์ คำพิพากษาโดยมิได้ปรึกษาโจทก์ หรือแจ้งให้โจทก์ ทราบถึงเหตุผลที่ไม่ควรอุทธรณ์ก็ดีล้วนแต่เป็นการ ใช้ดุลพินิจที่ปราศจากเหตุผล มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหาย แก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยละเลยต่อหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติและเป็นการผิดสัญญาจ้างว่าความ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยได้ทำหน้าที่ทนายความให้โจทก์ในศาลชั้นต้นเป็นส่วนใหญ่แล้ว โจทก์จึงต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรแห่งการนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความในส่วนนี้ให้แก่จำเลยจำนวน 10,000 บาท และให้จำเลยคืนค่าทนายความที่รับไปแล้วให้โจทก์ 40,000 บาท จึงเหมาะสมแล้วสำหรับค่าเสียหายนั้น โจทก์นำสืบตนเองเพียงปากเดียวลอย ๆโดยมิได้ชี้ชัดให้เห็นว่า หากจำเลยปฏิบัติหน้าที่ทนายความอย่างเต็มที่แล้ว โจทก์จะชนะคดีในส่วนใดมากน้อยเพียงใดจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เต็มตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความทอดทิ้งคดี ละเมิดต่อลูกความ - ศาลมีอำนาจวินิจฉัยและชดใช้ค่าเสียหายได้
แม้ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 จะได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมรรยาททนายความไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่ก็มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 เป็นผู้ประพฤติผิดมรรยาททนายความ เพื่อวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งในกรณีละเมิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 หมวด 3 ข้อ 12 (1) ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ไม่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของคณะกรรมการมรรยาททนายความของสภาทนายความ
แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัท บ. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่ง ในฐานะลูกจ้างของบริษัท บ. ก็ตาม แต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ แต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้ในคดีแพ่งดังกล่าว โดยนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว จำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความ เมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดี ทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้ว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า การทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัท บ. ผู้รับประกันภัยได้ เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ เพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่ง คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัท บ. นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัท บ. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่ง ในฐานะลูกจ้างของบริษัท บ. ก็ตาม แต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ แต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้ในคดีแพ่งดังกล่าว โดยนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว จำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความ เมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดี ทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้ว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า การทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัท บ. ผู้รับประกันภัยได้ เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ เพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่ง คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัท บ. นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความทอดทิ้งคดี ทำให้ลูกความเสียหาย มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
แม้พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528จะได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมรรยาททนายความไว้โดยเฉพาะแล้วแต่ก็มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529เป็นผู้ประพฤติผิดมรรยาททนายความเพื่อวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งในกรณีละเมิดการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3เห็นว่าจำเลยทั้งสองประพฤติผิดข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529หมวดข้อ3ข้อ12(1)ศาลอุทธรณ์ภาค3ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของคณะกรรมการมรรยาททนายความของสภาทนายความ แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัทป. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่งในฐานะลูกจ้างของบริษัทบ.ก็ตามแต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้คดีแพ่งดังกล่าวโดยนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้วจำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสองโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3มีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหายการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายศาลอุทธรณ์ภาค3ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความเมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดีทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้วที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยว่าการทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัทบ.ผู้รับประกันภัยได้เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้วโจทก์จึงได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่งคือห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ไม่ใช่โจทก์โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัทบ.นั้นฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งเพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความมีเงื่อนไข: ค่าจ้างทนายความต้องรอจนกว่าลูกความได้รับเงินจากคดี
จ.บิดาจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินตามสัญญาซื้อขายจากอ. โดย จ. จะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เมื่อได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้ว สัญญาจ้างว่าความที่โจทก์ทำไว้กับ จ.เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 182 และเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนตาม มาตรา 183 วรรคแรก หาใช่เป็นเงื่อนเวลาไม่ เพราะ จ.จะได้รับเงินค่าที่ดินหรือไม่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตและไม่แน่นอนเมื่อเป็นเช่นนี้ จ. หรือกองมรดกของ จ. จะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ต่อเมื่อเงื่อนไขสำเร็จคือ อ. ชำระเงินค่าที่ดินให้แล้ว เมื่อ อ. มิได้ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่ จ.หรือกองมรดกของจ. เลย เงื่อนไขตามสัญญาจึงไม่สำเร็จ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ จ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความยักยอกทรัพย์ & อำนาจทนายความรับเงินแทนลูกความ คดีขาดอายุความหากเกิน 3 เดือน และทนายความไม่มีอำนาจรับเงินแทน
การที่ผู้เสียหายมีหนังสือร้องเรียนต่อประธานคณะกรรมการมรรยาททนายความให้ดำเนินการแก่จำเลย ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายรู้เรื่องการยักยอกเงินและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่วันมีหนังสือดังกล่าวเป็นอย่างช้า แต่ผู้เสียหายเพิ่งมาร้องทุกข์และมอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเกินกำหนด 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามป.อ. มาตรา 96 เมื่อผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยมีอำนาจรับเงินจากค. แทนผู้เสียหาย จำเลยในฐานะทนายความของผู้เสียหายจึงเพียงแต่มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนผู้เสียหายได้เท่านั้น ไม่มีอำนาจที่จะรับเงินซึ่งจะชำระแก่ผู้เสียหาย เงินที่จำเลยรับไว้จาก ค. จึงยังไม่ใช่เป็นเงินของผู้เสียหายแม้จะฟังว่าจำเลยได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นของตนโดยทุจริต ก็ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความรับเงินแทนลูกความโดยไม่ได้รับมอบหมาย ไม่ถือเป็นการยักยอกทรัพย์
จำเลยได้รับแต่งตั้งจากผู้เสียหายให้เป็นทนายความของผู้เสียหายโดยมิได้รับมอบหมายให้รับเงินแทนผู้เสียหาย ดังนั้นจำเลยในฐานะเป็นทนายความของผู้เสียหายจึงเพียงแต่มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนผู้เสียหายได้เท่านั้น จำเลยหามีอำนาจที่จะรับเงินซึ่งจะชำระแก่ผู้เสียหายไม่ ผู้เสียหายจ้างจำเลยเป็นทนายความให้ฟ้องเรียกเงินกู้จาก ค.ต่อมาผู้เสียหายกับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยค.ยอมชำระเงิน 45,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ชำระให้ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ 10,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 35,000 บาทจะผ่อนชำระ ต่อมา ค.ได้นำเงิน 35,000 บาท ที่เหลือไปชำระให้แก่จำเลย จำเลยรับเงินดังกล่าวโดยผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยมีอำนาจรับเงินจาก ค.แทนผู้เสียหาย ฉะนั้น เงินที่จำเลยรับไว้จาก ค. จึงยังมิใช่เป็นเงินของผู้เสียหาย แม้จะฟังว่าจำเลยได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นของตนโดยทุจริตก็ตามก็ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 190/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความไม่ต้องรับผิดชอบความเท็จในคำฟ้อง หากได้รับข้อมูลจากลูกความ
จำเลยที่ 2 เรียงคำฟ้องและรับว่าความในหน้าที่ของทนายความ ข้อความที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นข้อความที่ได้จากคำบอกเล่าของจำเลยที่ 1 (ซึ่งเป็นลูกความ) และจะเป็นความเท็จหรือความจริง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทนายความย่อมไม่มีโอกาสจะทราบได้นอกจากจะปรากฏตามหลักฐานที่นำสืบ หากในเวลาภายหน้าความปรากฏขึ้นว่า คำฟ้องมีข้อความอันเป็นเท็จ ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบก็คือจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแต่ผู้เรียงคำฟ้องตามคำบอกเล่าในหน้าที่ของทนายความไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความไม่ต้องรับผิดชอบต่อข้อความเท็จในคำฟ้อง หากได้จากการบอกเล่าของลูกความ
จำเลยที่ 2 เรียงคำฟ้องและรับว่าความในหน้าที่ของทนายความ.ข้อความที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นข้อความที่ได้จากคำบอกเล่าของจำเลยที่ 1(ซึ่งเป็นลูกความ) และจะเป็นความเท็จหรือความจริง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทนายความย่อมไม่มีโอกาสจะทราบได้นอกจากจะปรากฏตามหลักฐานที่นำสืบ. หากในเวลาภายหน้าความปรากฏขึ้นว่า คำฟ้องมีข้อความอันเป็นเท็จ. ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบก็คือจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแต่ผู้เรียงคำฟ้องตามคำบอกเล่าในหน้าที่ของทนายความไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมศาลไปใช้ส่วนตัว ถือเป็นตระบัดสินลูกความและประพฤติผิดมารยาท
ผู้ถูกกล่าวหารับเป็นทนายให้ลูกความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาตามหน้าที่ในกฎหมายแล้ว การที่ศาลสั่งให้ลูกความซึ่งเป็นโจทก์ชำระค่าธรรมเนียมขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ผู้ถูกกล่าวหารับเงินค่าธรรมเนียมจากโจทก์เพื่อนำมาชำระต่อศาลแทนโจทก์กลับนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว แล้วไปแถลงต่อศาลว่าโจทก์ขอผัด เป็นกริยาตระบัดสินแล้ว แม้คิดจะหาเงินไปชำระให้ในภายหลัง แต่หาไม่ได้เลยไม่ได้ชำระ ศาลจึงยกฟ้อง และแม้จะมีความตั้งใจจะหาเงินมาใช้คืน แต่การตระบัดสินได้เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เอาเงินลูกความไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว และถือว่าลูกความได้รับความเสียหายแล้ว ส่วนการที่ลูกความฟ้องคดีใหม่ เป็นเรื่องลูกความหาทางแก้ของเขาเอง คดีเก่าที่ถูกยกฟ้องก็คงเป็นเพราะความผิดของทนายความผู้ถูกกล่าวหาอยู่ตามเดิม