คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดจำนวนกรรมในความผิดฐานพนัน: จำนวนครั้งของการแข่งขันฟุตบอลแต่ละนัดเป็นกรรมต่างกันได้ แม้จะมีลูกค้าจำกัด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกันกล่าวคือ ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม 2545 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2546 จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอลโดยถือผลแพ้ชนะของการแข่งขันฟุตบอลต่างประเทศทีมต่าง ๆ เป็นผลแพ้ชนะระหว่างจำเลยกับพวกจำนวน 211 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำฟ้อง การที่จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอลรวมจำนวน 211 ครั้ง โดยถือเอาการแข่งขันฟุตบอลแต่ละครั้งเป็นผลแพ้ชนะ เป็นการกระทำความผิดซึ่งอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ตามผลการแข่งขันของฟุตบอลแต่ละครั้งที่จำเลยกับพวกเข้าเล่นการพนันทายผลฟุตบอลกัน แม้จะมีลูกค้าแทงพนันเพียง 40 คนก็ตาม เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอลตามฟ้องรวมจำนวน 211 ครั้ง การกระทำของจำเลยตามที่ปรากฏในฟ้องจึงเป็นความผิดรวม 211 กรรมต่างวาระกัน หาใช่เป็นการกระทำอันเป็นความผิด 40 กรรม ดังที่จำเลยกล่าวอ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารต่อเช็คปลอมและการประมาทเลินเล่อของลูกค้า
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกค้าประเภทบัญชีกระแสรายวันของธนาคารจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินก็ต่อเมื่อโจทก์ได้สั่งจ่ายเช็คเบิกเงิน ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คจากบัญชีของโจทก์ให้แก่ ย. โดยลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม จึงเป็นการปฏิบัตินอกหน้าที่อันพึงมีต่อผู้เคยค้า เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็ให้การปฏิเสธว่ามิได้จ่ายเงินโดยประมาทเลินเล่อ และโจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อเอง โจทก์เป็นผู้ถูกตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 ประเด็นข้อพิพาทจึงครอบคลุมถึงความรับผิดตามบทบัญญัติเรื่องตั๋วเงิน และครอบคลุมข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำฟ้องและคำให้การว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัตินอกหน้าที่ตามนิติสัมพันธ์ที่มีต่อโจทก์และเป็นละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอม การที่ศาลอุทธรณ์นำบทบัญญัติในลักษณะตั๋วเงินมาปรับบทและวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยในกรอบแห่งประเด็นข้อพิพาทและไม่เกินคำขอ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ผู้ใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิตามตั๋วเงินซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมมิได้ แม้ผู้นั้นจะมิได้ประมาทเลินเล่อ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1จ่ายเงินตามเช็คของโจทก์ให้แก่ ย. ซึ่งมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมไปโดยมิได้ประมาทเลินเล่อและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 จึงเป็นคุณเฉพาะตัวแก่จำเลยที่ 2 หามีผลให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีความรับผิดตามกฎหมายอยู่แล้วต้องหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยไม่
โจทก์เก็บสมุดเช็คไว้ในลิ้นชักโต๊ะชั้นล่างซึ่งอยู่ภายในบ้านพักอาศัย บางครั้งโจทก์วางสมุดเช็คไว้บนโต๊ะมิได้เก็บเข้าลิ้นชักเมื่อสถานที่ดังกล่าวอยู่ภายในบ้านพักของโจทก์ ย. เป็นผู้เช่าบ้านอยู่ใกล้บ้านของโจทก์ก็เคยเข้าออกบ้านโจทก์ มิใช่คนแปลกหน้า จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ย. ลักเช็คไปทำการปลอมลายมือชื่อโจทก์ในเช็คได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6168/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อปล่อยให้พนักงานเบิกเงินฝากลูกค้าโดยไม่ตรวจสอบเอกสาร ทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาระยองชักชวนโจทก์ให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาชาสัตหีบ เมื่อสาขาดังกล่าวเปิดทำการ เพื่อเป็นผลงานร่วมกัน โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของธนาคารจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แล้วดำเนินการนำเงินของโจทก์ไปฝากให้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ความไว้วางใจในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของธนาคาร จำเลยที่ 1 ในการบริการความสะดวกให้แก่โจทก์ตามที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ช่วยหาลูกค้าให้
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบได้รับโอนบัญชีเงินฝากของโจทก์จากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาโดยมิได้ทักท้วงในเรื่องตัวลูกค้ามิได้มาติดต่อด้วยตนเอง ทั้งมิได้เรียกหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของลูกค้ามาตรวจสอบเช่นกัน นอกจากนั้นยังปรากฏว่า ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบได้ออกสมุดคู่ฝากให้แก่จำเลยที่ 2 รับไป โดยที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบยังมิได้เรียกเก็บสมุดคู่ฝากที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาได้ออกให้แก่ลูกค้าคืนจากจำเลยที่ 2 ทันที ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังเช่นผู้มีวิชาชีพอันควรพึงกระทำ จึงเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบโดยตรง
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความได้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหายดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมขอปิดบัญชีของโจทก์โดยโจทก์ไม่รู้เห็น ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แมัลายมือชื่อในใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มีหลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นหน้าที่พนักงานธนาคารทำให้ลูกค้าเสียหายจากการถอนเงินผิดปกติ
โจทก์ไปขอถอนเงินจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารออมสิน พบว่าสมุดฝากเงินของโจทก์ซึ่งเก็บไว้ที่ธนาคารมีเงินเหลืออยู่น้อยกว่าที่ฝากไว้จริง และตรวจสอบสมุดฝากเงินของ ฉ.ภริยาโจทก์ และสมุดฝากเงินของ จ.บุตรโจทก์ก็พบว่าเงินในสมุดฝากเงินเหลือน้อยผิดปกติเช่นกัน โจทก์จึงขอตรวจสอบใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากทั้งสามบัญชีดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นพนักงานของธนาคารออมสินปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์ตรวจสอบใบถอนเงินตามที่โจทก์ขอตามสิทธิและความจำเป็นอันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 123ว่าด้วยวินัยของพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 13 โดยมิชอบ เพื่อให้โจทก์ ภริยาและบุตรเสียหาย เพราะโจทก์ไม่อาจทราบได้ว่าเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ ภริยาและบุตรถูกคนร้ายปลอมลายมือชื่อถอนเงินจากบัญชีหรือไม่เพียงใด และไม่อาจเอาผิดกับผู้รับผิดชอบของธนาคารออมสินได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11ประกอบ ป.อ.มาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิจากการแข่งขันแย่งลูกค้าในเส้นทางการขนส่งประจำทาง
จำเลยทั้งสองมีสถานที่จำหน่ายตั๋วโดยสารและจำหน่ายตั๋วโดยสารให้แก่ผู้โดยสารเป็นรายบุคคล เมื่อเส้นทางเดินรถของจำเลยทับเส้นทางของโจทก์ที่ 1 ที่ให้โจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 6 ประกอบการเดินรถร่วมกับโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมเป็นการละเมิดแก่โจทก์ทั้งหก แม้ในคดีอาญาศาลจะไม่ได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 40 เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องก็ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลบังคับได้ แม้จะรวมดอกเบี้ยที่โจทก์ชดใช้ให้ลูกค้าไปแล้ว
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้รับเงินคืนประกันอากรของลูกค้าโจทก์คืนจากกรมศุลกากรแล้วยักยอกเสีย จำเลยได้ทำบันทึกตกลงรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์ว่าจะยอมคืนเงินดังกล่าวและดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่รับเงินคืนจากกรมศุลกากรจนถึงวันที่ชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น บันทึกความตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นนิติกรรมซึ่งจำเลยทำขึ้นด้วยความสมัครใจ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงมีผลบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า: การผลิตตามคำสั่งลูกค้าเดิมก่อนจดทะเบียน ไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์ร่วมและจำเลยต่างผลิตรองเท้าใช้เครื่องหมายการค้า ทามิมิโดยเปิดเผยตามแบบที่ลูกค้านอกราชอาณาจักรสั่งให้ทำมาก่อน โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว จนถึงเกิดเหตุ โดยไม่มีพฤติการณ์ให้ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบถึงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เช่นนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นแทนลูกค้า: สิทธิและหน้าที่ของตัวแทน, ลูกค้า, และการรับสภาพหนี้
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนลูกค้านั้น บริษัทผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้นประเภท จำนวน และราคาตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในหุ้นย่อมตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่ได้มีการซื้อขายกัน การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นการกระทำเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นนั้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นหาเกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นแต่ประการใดไม่ ดังนี้แม้โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยตามข้อตกลงกันแล้ว โจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 ก็ยังถือว่าโจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่ 1 และเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อน จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องใช้เงินที่โจทก์ได้ออกแทนไปพร้อมทั้งค่านายหน้าและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่จำเลยที่ 1 ตกลงไว้กับโจทก์
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาหนี้ให้โจทก์โดยมีมูลหนี้เกิดจากที่โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์และได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่ 1 ไปจำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้นั้น และกรณีนี้มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่จำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ตกลงกับโจทก์และสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นแทนจำเลยที่ 1 กับพวก และได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้แทนจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าข้อความในบันทึกตอนเริ่มต้นมีว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำในนามของตนเอง ประกอบกับโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะลงชื่อในท้ายบันทึกดังกล่าวในฐานะผู้ให้สัญญา กรณีก็อาจตีความได้เป็นสองนัยว่า ลงชื่อในฐานะเป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 หรือในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรงก็ได้ ศาลจึงตีความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นแทนลูกค้า: สิทธิหน้าที่ของตัวแทน, ลูกค้า, และการรับสภาพหนี้
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนลูกค้านั้นบริษัทผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้นประเภทจำนวนและราคาตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาดกรรมสิทธิ์ในหุ้นย่อมตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่ได้มีการซื้อขายกันการจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นการกระทำเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นนั้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นหาเกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นแต่ประการใดไม่ดังนี้แม้โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยตามข้อตกลงกันแล้วโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129ก็ยังถือว่าโจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่1และเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่1ไปก่อนจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องใช้เงินที่โจทก์ได้ออกแทนไปพร้อมทั้งค่านายหน้าและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่จำเลยที่1ตกลงไว้กับโจทก์. จำเลยที่1ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาหนี้ให้โจทก์โดยมีมูลหนี้เกิดจากที่โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์และได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่1ไปจำเลยที่1ย่อมต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้นั้นและกรณีนี้มีอายุความ10ปีนับแต่วันที่จำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว. จำเลยที่2ให้การต่อสู้คดีและเบิกความว่าจำเลยที่2ตกลงกับโจทก์และสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นแทนจำเลยที่1กับพวกและได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้แทนจำเลยที่1ปรากฏว่าข้อความในบันทึกตอนเริ่มต้นมีว่าจำเลยที่2ได้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่1ไม่ได้ทำในนามของตนเองประกอบกับโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวดังนั้นแม้จำเลยที่2จะลงชื่อในท้ายบันทึกดังกล่าวในฐานะผู้ให้สัญญากรณีก็อาจตีความได้เป็นสองนัยว่าลงชื่อในฐานะเป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่1หรือในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรงก็ได้ศาลจึงตีความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่2ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนบริษัทต่างประเทศไม่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไร หากลูกค้าส่งเงินค่าสินค้าโดยตรงไปยังบริษัทต่างประเทศ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) ทำสัญญาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยโจทก์ลงชื่อในสัญญาเป็นผู้ขายในฐานะเป็นตัวแทน โจทก์จึงเป็นตัวแทนของบริษัท น. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้จากการขายสินค้า มิใช่เป็นเพียงลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อของบริษัท น.เท่านั้นโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้สำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) มีหุ้นอยู่ในห้างโจทก์ 99.5 เปอร์เซ็นต์โจทก์จึงเป็นตัวแทนตามกฎหมายประกอบธุรกิจแต่บางส่วนให้กับบริษัทดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็น 'สถานประกอบการถาวร' ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ มิใช่เป็นแต่ นายหน้า ตัวแทนค้าต่าง หรือตัวแทนอื่น ๆ ที่มีสถานภาพเป็นอิสระ อย่างแท้จริง ซึ่งกระทำการแต่เพียงเป็นสื่อกลางระหว่างวิสาหกิจหนึ่งของรัฐ ผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งกับผู้ที่จะเป็นลูกค้าในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง โจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามอนุสัญญาดังกล่าว
เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ และภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ โดยโจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินได้ที่บริษัท น.(ประเทศญี่ปุ่น) ได้รับตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านจำนวนเงินดังกล่าวในชั้นศาล
โจทก์ทราบที่มาของการประเมินทุกขั้นตอนของจำเลยที่ให้โจทก์ในฐานะตัวแทนของบริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) เสียภาษีในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ และโจทก์เข้าใจดีแล้ว ดังนั้นแม้คำสั่งของจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะไม่กล่าว ให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาหรือที่มาของจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ จะต้องชำระก็ไม่เป็นการเคลือบคลุมและไม่เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริง หรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไร เงินที่ลูกค้าในประเทศไทยที่ส่งไปให้แก่ บริษัท น. ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเงินค่าสินค้าซึ่งลูกค้าเป็นผู้ส่งเองโดยทางเลตเตอร์ออฟเครดิต ถือไม่ได้ว่ามีการจำหน่ายเงินกำไรด้วยเพราะโจทก์มิได้เป็นผู้จำหน่ายเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4/2521 และคำพิพากษาฎีกาที่ 358/2524) (วรรคสี่ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2525)
of 3