คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้างทดลองงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องเกิดขึ้นขณะเลิกจ้าง การกระทำหลังเลิกจ้างมิอาจเป็นเหตุเลิกจ้างได้ และลูกจ้างทดลองงานก็มีสิทธิได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ
++ เรื่อง คดีแรงงาน
++ คดีแดงที่ 4530-4534/2543
++
การกระทำความผิดของลูกจ้างที่จะทำให้นายจ้างเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น จะต้องเป็นการกระทำความผิดที่นายจ้างถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างซึ่งจะต้องเป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2541แต่การกระทำของโจทก์ทั้งหกที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรงนั้นเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกแล้วการกระทำดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างย้อนหลังเพื่อเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกในวันที่ 24 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างได้ แม้จะให้การเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มีนาคม 2541 ก็ตาม
จำเลยก็ไม่ได้ออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกใหม่อีกครั้งโดยยกเอาการกระทำภายหลังดังกล่าวของโจทก์ทั้งหกเป็นเหตุเลิกจ้าง ฉะนั้นไม่ว่าการกระทำภายหลังของโจทก์ทั้งหกดังกล่าวจะเป็นความผิดตามที่จำเลยอุทธรณ์หรือไม่ ก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างได้กำหนดไว้ในข้อ 2ว่า "ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โดยไม่ได้กำหนดว่าลูกจ้างทดลองงานไม่ให้ถือว่าเป็นลูกจ้างตามความหมายแห่งประกาศข้อดังกล่าว โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ตั้งแต่เป็นลูกจ้างทดลองงานแล้ว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 12 กันยายน 2539 ข้อ 7 ที่กำหนดว่า ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในส่วนที่จ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามประกาศดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทดลองงานได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ สิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นลูกจ้างทดลองงานก็มีฐานะเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กล่าวหาว่านายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 14 ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวของจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทดลองงานได้รับการคุ้มครองตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ สิทธิในการยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้จำเลยที่1และที่2เป็นลูกจ้างทดลองงานก็มีฐานะเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518จำเลยที่1และที่2จึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กล่าวหาว่านายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา123และจำเลยที่3ถึงที่14ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวของจำเลยที่1และที่2ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงาน, ปิดงาน, และสิทธิลูกจ้างทดลองงาน: การคำนวณระยะเวลาทำงานและสิทธิการเลิกจ้าง
การปิดงานและการนัดหยุดงาน เป็นขั้นตอนที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการระงับกรณีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาแรงงาน การที่นายจ้างปิดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง แม้ว่าจะมีบทบัญญัติในมาตรา ๓๑ ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง และกรณีที่มีการฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาตามมาตรา ๑๓๖ และความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ก็ตาม แต่การที่ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลาหรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำระยะเวลาดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลย ทำหน้าที่พนักงานทั่วไป มีระยะเวลาจ้างไม่เกิน ๑๒๐ วัน และขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์ยังเป็นลูกจ้างทดลองงานอยู่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงาน การพิพากษาของศาลต้องวินิจฉัยเหตุผลความจำเป็นและความเพียงพอของการเลิกจ้าง
ลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างประจำ แต่หาใช่ลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันจะพึงมีสิทธิตามกฎหมายเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่ เพราะนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างเสียได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าเหตุผลที่การทดลองปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจเกิดแต่เหตุอันใด พฤติการณ์เป็นอย่างใด มีความจำเป็นแท้จริง และเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง มีเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาในประเด็นนี้ใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน: สิทธิในการเลิกจ้างและการคุ้มครองทางกฎหมาย
ลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงานอาจเป็นลูกจ้างประจำได้ แต่ยังหาใช่เป็นลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันจะพึงมีสิทธิตามกฎหมายเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่ ดังนั้น นายจ้างอาจมีสิทธิเลิกจ้างได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทดลองงานลาออกไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า นายจ้างคืนเงินประกัน
ระเบียบข้อบังคับการทำงานระบุว่า ลูกจ้างผู้ประสงค์ลาออกต้องแจ้งแก่นายจ้างล่วงหน้า 30 วันนั้น ต้องเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างและได้ลาออกก่อนสิ้นอายุสัญญาว่าจ้างโจทก์ เป็นเพียงลูกจ้างทดลองงาน แม้เมื่อครบระยะทดลองงานแล้วนายจ้าง จะไม่จ้างก็ได้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างต่อกัน และยังไม่เริ่มนับอายุการทำงาน ลูกจ้างในลักษณะเช่นโจทก์นี้ไม่มีข้อกำหนดในสัญญาว่าจะต้องแจ้งการลาออกเป็นการล่วงหน้า การลาออกของโจทก์จึงมีผลตั้งแต่วันที่โจทก์แจ้งลาออกต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างการที่โจทก์ทำงานต่อมาเป็นเพียงช่วยเหลือจำเลยเป็นการชั่วคราว โดยไม่ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำโจทก์หยุดเสียก็ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทดลองงานก่อนเป็นพนักงานประจำ: อายุงานนับต่อเนื่อง มีสิทธิค่าชดเชยเมื่อครบ 1 ปี
การรับลูกจ้างทดลองงาน 3 เดือนก่อนบรรจุเป็นลูกจ้างประจำนั้นเป็นการจ้างในฐานะลูกจ้างประจำแล้ว เพียงแต่ลูกจ้างไม่มีสิทธิ ได้รับ ค่าชดเชยหากถูกเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานเท่านั้น ส่วนอายุ การทำงานในฐานะลูกจ้างประจำเริ่มนับแต่วันที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงานไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหากผลงานไม่เป็นที่พอใจตามข้อตกลง
การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงานไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามสัญญาจ้าง
การเลิกจ้างลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
of 2