คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้างป่วย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ค่าชดเชยและการแยกแยะเงินบำเหน็จ
การที่ ม. เจ็บป่วยทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกติ เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติไม่ใช่เกิดจากการกระทำของ ม. แม้ระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ 121 ว่าด้วยการแต่งตั้งและการถอนจากตำแหน่งพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 6.1 จะให้อำนาจจำเลยสั่งให้ ม. ออกจากงานหรือสัญญาของผู้เข้าทำงานธนาคารออมสินซึ่ง ม. ทำกับจำเลยข้อ 7. ให้อำนาจจำเลยที่จะถอดถอน ม. ออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยเลิกจ้าง ม. ได้เท่านั้น ไม่ใช่ข้อกำหนดว่าม. กระทำความผิด ดังนั้น การที่ ม. ป่วยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับหรือสัญญาจ้างของจำเลยเมื่อจำเลยเลิกจ้าง ม. จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ม. เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ ม. ตามระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสินหมวด 2 มีหลักเกณฑ์ในการคำนวณและการจ่ายเงินบำเหน็จแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ไม่อาจปรับเป็นเงินประเภทหรือจำนวนเดียวกันได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. จึงมีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: สิทธิค่าชดเชยเมื่อเหตุป่วยมิใช่ข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงแรงงาน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานได้กำหนดว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างกระทำการกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47(1)-(6) แต่กรณีของ บ.ลูกจ้างของจำเลยป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตาม ปกตินั้น เป็นเหตุเกิดตามสภาพร่างกายโดยธรรมชาติ ถือไม่ได้ว่า บ.กระทำการเข้าข้อยกเว้นข้อหนึ่งข้อใดตามประกาศข้อ 47 ดังกล่าวดังนี้เมื่อจำเลยเลิกจ้าง บ. ด้วยเหตุป่วยดังกล่าว บ. จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากป่วย: สิทธิในการได้รับค่าชดเชยแม้มีข้อบังคับการลา
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ได้กำหนดว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 47(1)-(6) แต่กรณีของ บ. ลูกจ้างของจำเลยซึ่งป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกตินั้นเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพร่างกายโดยธรรมชาติ ถือไม่ได้ว่าบ. กระทำการอันเข้าข้อยกเว้นตามข้อ 47 ของประกาศดังกล่าวดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้าง บ. ด้วยเหตุป่วย บ. จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ค่าชดเชยยังต้องจ่าย แม้มีระเบียบเลิกจ้างได้ เหตุเจ็บป่วยไม่ใช่ความผิด
แม้มีระเบียบของจำเลยให้อำนาจจำเลยปลดลูกจ้างที่ลาป่วยเกินระยะเวลาที่กำหนดออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างดังกล่าวได้เท่านั้นดังนี้การที่ พ. ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ ก็เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่เกิดจากการกระทำของ พ.จึงถือไม่ได้ว่าพ. กระทำการฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งของจำเลย แม้จำเลยเลิกจ้าง พ. โดยมีหนังสือตักเตือนก่อนแล้วก็ตาม จำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ พ. เมื่อเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ให้ความหมายของ "ค่าชดเชย" ไว้ว่า เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ส่วนเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง(บำเหน็จ) ที่จำเลยจ่ายให้แก่ พ. ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้นมีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณตามที่ระบุในระเบียบ กำหนดให้สิทธิเฉพาะลูกจ้างที่มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี และมิได้ออกจากงานเพราะกระทำผิดหรือเหตุอื่น ๆ ที่ระบุในระเบียบดังนี้การจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง จึงมีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณแตกต่างจากค่าชดเชยและถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย เว้นแต่ลูกจ้างกระทำผิดร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยปลดโจทก์ออกจากงานเพราะเหตุโจทก์ป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่เป็นเหตุยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่จ่ายถือว่าตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิต้องทวงถาม.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยอัมพาต นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ระเบียบธนาคารจะให้อำนาจเลิกจ้างได้
ลูกจ้างป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แม้ตามระเบียบธนาคารออมสินจะให้อำนาจนายจ้างปลดลูกจ้างออกจากงานได้เมื่อลูกจ้างลาครบกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงให้สิทธิที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น จะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 หาได้ไม่ เมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง (บำเหน็จ) เป็นเงินที่นายจ้างผูกพันต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้าง ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ46 บังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินบำเหน็จและค่าชดเชยจึงกำหนดให้โดยอาศัยกฎหมายและระเบียบต่างกัน ทั้งตามระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งมีเวลาทำงานต่ำกว่า 5 ปี ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ จึงเห็นได้ว่า ระเบียบของนายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จแตกต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันเพียงครบ 120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วดังนี้เงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยเป็นเงินคนละประเภท การที่นายจ้างจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ลูกจ้างแล้ว ไม่ทำให้นายจ้างพ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยอัมพาต นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้มีระเบียบภายใน
ลูกจ้างป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แม้ตามระเบียบธนาคารออมสิน จะให้อำนาจนายจ้างปลดลูกจ้างออกจากงานได้เมื่อลูกจ้างลาครบกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงให้สิทธิที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น จะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 หาได้ไม่ เมื่อเลิกจ้างนายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง (บำเหน็จ) เป็นเงินที่นายจ้างผูกพันต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้าง ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46บังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินบำเหน็จและค่าชดเชยจึงกำหนดให้โดยอาศัยกฎหมายและระเบียบต่างกัน ทั้งตามระเบียบกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งมีเวลาทำงานต่ำกว่า 5 ปี ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ จึงเห็นได้ว่า ระเบียบของนายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จแตกต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันเพียงครบ 120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว เงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยจึงเป็นเงินคนละประเภท การที่นายจ้างจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ลูกจ้างแล้ว ไม่ทำให้นายจ้างพ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยและการจ่ายค่าชดเชย แม้มีระเบียบ/สัญญาให้อำนาจเลิกจ้าง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยหากลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด
การที่โจทก์เจ็บป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกติเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่เกิดจากการกระทำของโจทก์ แม้ระเบียบของธนาคารจำเลยจะให้อำนาจจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงาน หรือสัญญาของผู้เข้าทำงานซึ่งโจทก์ทำกับจำเลยให้อำนาจจำเลยที่จะถอนโจทก์ออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้เท่านั้น ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือสัญญา จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนนั้น เป็นเงินที่มีวิธีการจ่ายและจำนวนเงินที่จ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จึงเป็นเงินประเภทอื่น ไม่ใช่เป็นเงินประเภทเดียวกับค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากป่วย ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนสัญญา นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์เจ็บป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกติเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่เกิดจากการกระทำของโจทก์ แม้ระเบียบของธนาคารจำเลยจะให้อำนาจจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงาน หรือสัญญาของผู้เข้าทำงานซึ่งโจทก์ทำกับจำเลยให้อำนาจจำเลยที่จะถอนโจทก์ออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้เท่านั้น ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือสัญญา จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนนั้น เป็นเงินที่มีวิธีการจ่ายและจำนวนเงินที่จ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จึงเป็นเงินประเภทอื่น ไม่ใช่เป็นเงินประเภทเดียวกับค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ค่าชดเชย, ค่าจ้างหยุดพักผ่อน, ดอกเบี้ย, และการบอกกล่าวล่วงหน้า
การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกตินั้น เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติแม้ตามระเบียบข้อบังคับ ของนายจ้างและสัญญาผู้เข้าทำงานของนายจ้างซึ่งลูกจ้างทำกับนายจ้าง จะให้อำนาจนายจ้างเลิกจ้างได้ ก็เป็นเพียงให้สิทธิไว้เท่านั้นถือไม่ได้ว่า ลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือสัญญาเมื่อนายจ้างเลิกจ้าง จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 กำหนดเพียงว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี มิได้มีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดว่าถ้าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิขอลาหยุดแล้วลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างดังกล่าว
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายกรณีเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เงินซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายทันที ที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าฉะนั้นนายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างได้บอกกล่าว หรือทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าได้บอกกล่าวหรือทวงถามลูกจ้างชอบที่จะได้ ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 จะกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ก็ตาม แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยตามกฎหมาย โดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ชัดแจ้งทั้งโจทก์เรียกร้องเงินมาหลายประเภท ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่างกันการที่ศาลให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปีจึงชอบแล้ว
of 2