คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้างรายวัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทำงานในวันหยุด: นายจ้างไม่ได้จัดวันหยุดประจำสัปดาห์ ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเพิ่ม 1 เท่า
โจทก์ให้ลูกจ้างทั้งห้าซึ่งมีหน้าที่เฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินให้แก่ธุรกิจของโจทก์ทำงานทุกวันโดยไม่ได้จัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ โจทก์ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างทั้งห้าเสมือนว่าโจทก์สั่งให้ลูกจ้างทั้งห้าทำงานในวันหยุด เมื่อลูกจ้างทั้งห้าเป็นลูกจ้างรายวันที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 56 (1) โจทก์จึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างทั้งห้าในอัตรา 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานตามมาตรา 62 (2) แต่โจทก์ได้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานให้แก่ลูกจ้างทั้งห้าไปแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์จ่ายค่าทำงานในวันหยุดขาดไปจำนวน 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างทั้งห้าเพิ่มอีก 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9586/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างรายวันบอกเลิกจ้างก่อนกำหนดจ่ายค่าจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหากไม่มีสิทธิรับค่าจ้างในช่วงนั้น
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า "การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้และให้ถือว่าการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามวรรคนี้ เป็นการจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 582 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" หมายความว่า เมื่อนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีในวันบอกเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายจนถึงวันที่เลิกสัญญาจ้างโดยให้ถือว่าค่าจ้างที่จ่ายนี้เป็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
นายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างรายวันซึ่งกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2542 เป็นการบอกเลิกจ้างก่อนวันที่ 15 เมษายน 2542 อันเป็นกำหนดจ่ายค่าจ้าง และจะมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 30 เมษายน 2542 อันเป็นกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่ในช่วงวันที่ 8 เมษายน 2542 ถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2542 เป็นช่วงปิดเทอม ลูกจ้างรายวันไม่ต้องมาทำงานและไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างเนื่องจากลูกจ้างรายวันจะได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงาน เมื่อนายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างรายวันในช่วงดังกล่าว นายจ้างจึงไม่ต้องจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9586/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าสำหรับลูกจ้างรายวันช่วงปิดเทอม: ไม่มีหน้าที่จ่าย
บทบัญญัติพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสี่ เมื่อนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีในวันบอกเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายถึงวันที่เลิกสัญญาจ้าง โดยให้ถือว่าค่าจ้างที่จ่ายนี้เป็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ว. กับพวกเป็นลูกจ้างรายวัน ทำหน้าที่เป็นพนักงานขายเครื่องดื่มประจำซุ้มในโรงเรียน ส. เฉพาะในช่วงเปิดเทอม ได้รับค่าจ้างวันละ 125บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างบอกเลิกจ้าง ว. กับพวกเมื่อวันที่ 8 เมษายน ซึ่งเป็นการบอกเลิกจ้างก่อนวันที่ 15 เมษายนอันเป็นกำหนดจ่ายค่าจ้างและจะมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 30 เมษายนอันเป็นกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่ในช่วงวันที่ 8 เมษายนถึงวันที่ 16 พฤษภาคมเป็นช่วงปิดเทอม ว. กับพวกไม่ต้องไปทำงานและไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงปิดเทอมดังกล่าว เนื่องจากเป็นลูกจ้างรายวันจะได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงานเท่านั้น ดังนั้น แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับ ว. และพวกจะมีผลเป็นการเลิกสัญญากันในวันที่ 30 เมษายน แต่โจทก์ให้ ว. กับพวกออกจากงานทันทีในวันบอกเลิกจ้างคือวันที่ 8 เมษายน โจทก์ก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ ว. กับพวกในช่วงดังกล่าว โจทก์จึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ ว. กับพวก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างลูกจ้างรายวัน: สิทธิเมื่อไม่ได้ทำงาน แม้สัญญายังไม่สิ้นสุด
โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงานแม้ว่าสัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่สิ้นสุด แต่โจทก์ก็มิได้ทำงานให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างรายวันมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่ทำงาน แม้สัญญาจ้างยังไม่สิ้นสุด หากไม่ได้ทำงาน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงาน แม้ว่าสัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่สิ้นสุด แต่โจทก์ ก็มิได้ทำงานให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงสภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างรายวันที่มีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไป
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุว่า "จำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและเงินช่วยเหลือพิเศษในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดสำหรับลูกจ้างรายวัน ตามอายุงานดังนี้ อายุงานครบ 15 ปี ไม่ครบ20 ปี เพิ่มให้ 2 เดือน อายุงานครบ 20 ปี ไม่ครบ 25 ปี เพิ่มให้ 3 เดือนอายุงานครบ 25 ปี ไม่ครบ 30 ปี เพิ่มให้ 4 เดือน อายุงานครบ 30 ปี เพิ่มให้5 เดือน " จึงเห็นได้ว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินทั้ง 2 ประเภท คือ ค่าชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่ลูกจ้างเฉพาะค่าชดเชยเป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย ส่วนเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าชดเชยจำเลยตกลงจ่ายเงินเพิ่มให้เฉพาะลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไปที่เกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์มิใช่ลูกจ้างที่เกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพจ้าง: เงินช่วยเหลือพิเศษจ่ายเฉพาะลูกจ้างรายวันเกษียณอายุหรือถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด การใช้คำว่า 'และ' ทำให้สิทธิลูกจ้างรายวันถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไม่ครอบคลุม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อเรียกร้องที่ 9ระบุว่า "บริษัทฯ ตกลงจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและเงินช่วยเหลือพิเศษในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุและถูกเลิกจ้าง โดยไม่มีความผิดสำหรับลูกจ้างรายวันตามอายุงาน" เห็นได้ว่าตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยตกลงจ่ายเงินทั้งสองประเภทคือค่าชดเชยและ เงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่กลุ่มลูกจ้าง เฉพาะค่าชดเชย เป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมายส่วนเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าชดเชย แต่จำเลยตกลงจ่ายเพิ่มให้เฉพาะลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไปที่เกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยกำหนดให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เกษียณอายุ แม้โจทก์ทั้งห้าร้อยหกสิบสองเป็นลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ15 ปีขึ้นไปและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดแต่เมื่อโจทก์ทั้งห้าร้อยหกสิบสองมิใช่ลูกจ้างที่เกษียณอายุจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว หากสหภาพแรงงาน ท. กับจำเลยมีเจตนาจะให้จำเลยจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษแก่ลูกจ้างรายวันซึ่งทำงานครบ15 ปีขึ้นไปในกรณีที่ลูกจ้างดังกล่าวเกษียณอายุประเภทหนึ่งและในกรณีที่ลูกจ้างดังกล่าวถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดอีกประเภทหนึ่ง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อเรียกร้องที่ 9 ควรใช้คำว่า "หรือ" แทนที่จะใช้คำว่า "และ"ตามที่ระบุไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงสภาพการจ้างเฉพาะลูกจ้างรายวันเกษียณอายุหรือถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุว่า "จำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและเงินช่วยเหลือพิเศษในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดสำหรับลูกจ้างรายวันตามอายุงานดังนี้ อายุงานครบ 15 ปี ไม่ครบ 20 ปี เพิ่มให้ 2 เดือน อายุงานครบ 20 ปี ไม่ครบ 25 ปี เพิ่มให้ 3 เดือน อายุงานครบ 25 ปี ไม่ครบ 30 ปี เพิ่มให้ 4 เดือน อายุงานครบ 30 ปี เพิ่มให้ 5 เดือน" เห็นได้ว่า จำเลยตกลง จ่ายเงินทั้ง 2 ประเภท คือ ค่าชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษ ให้แก่ลูกจ้าง เฉพาะค่าชดเชยเป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย ส่วนเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการ จ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าชดเชย จำเลยตกลงจ่ายเงินเพิ่ม เฉพาะลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไปที่เกษียณอายุ และถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์ มิใช่ลูกจ้างที่เกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับ เงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างลูกจ้างรายวัน กรณีไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากถูกจับกุมจากการแจ้งความของนายจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยจะได้รับค่าจ้างซึ่งเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานเป็นรายวันเฉพาะในวันที่จำเลยมาทำงานให้แก่โจทก์เท่านั้น หากวันใดโจทก์ไม่มาทำงานก็จะไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์ไม่ได้มาทำงานให้แก่จำเลยเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและควบคุมตัวไว้สอบสวนจนถึงวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ แม้จำเลยจะเป็นผู้แจ้งความดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยและโจทก์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมตัวไว้ โจทก์จึงมาทำงานให้แก่จำเลยไม่ได้ ก็ไม่ใช่เป็นเหตุที่จำเลยจะต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างลูกจ้างรายวันเมื่อถูกจับกุม: ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างช่วงถูกควบคุมตัว
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยถูกตำรวจจับกุมตัวและควบคุมตัวไว้จนกระทั่งถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ แม้ว่าจำเลยจะเป็นผู้แจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีกับโจทก์ก็ตาม จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นให้โจทก์ เพราะโจทก์จะได้รับค่าจ้างเฉพาะในวันที่โจทก์มาทำงานให้แก่จำเลยเท่านั้น
of 3