คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้ร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 224 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8215/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่สละสิทธิในการเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันระบุว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระภาษี เมื่อโจทก์แจ้งจำนวนภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระก่อน และสละสิทธี่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 688 และ 689 อันมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 หรือที่ 2 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นเชิง จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท เท่านั้น ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 24 แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง ทั้งๆ ที่โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในศาลภาษีอากรกลางอันเป็นการไม่ถูกต้อง และต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8215/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันภาษีอากร: ผู้ค้ำประกันสละสิทธิให้เรียกผู้ขอผ่อนชำระก่อน ทำให้เป็นลูกหนี้ร่วม
สัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีอากรระบุว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระภาษีอากร เมื่อโจทก์ได้แจ้งจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 จะนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์ภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง โดยจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขอผ่อนชำระภาษีอากรโดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระก่อน ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระก่อนและสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 688 และ 689 อันมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 หรือที่ 2 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นเชิง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 24 แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องทั้ง ๆ ที่โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในศาลภาษีอากรกลางอันเป็นการไม่ถูกต้อง และต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วมกันและผลกระทบต่อการล้มละลาย
โจทก์กับจำเลยที่ 2 และ 3 ต่างเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อบรรษัทเงินทุน อ. แม้วงเงินค้ำประกันจะไม่เท่ากัน โจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อบรรษัทเงินทุน อ. อย่างลูกหนี้ร่วมกับ ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่บรรษัทเงินทุน อ. แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้ว4,838,567.40 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของบรรษัทเงินทุน อ. ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตามส่วนเท่าๆ กัน ตามมาตรา 229 (3) และมาตรา 296 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์คนละ 1,612,855.80 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินให้แก่บรรษัทเงินทุน อ. จนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยตรง สัญญาค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ทำให้มีสิทธิฟ้องแทน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ดังนั้น การบรรยายฟ้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 อย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้ และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5181/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันครอบคลุมหนี้ทั้งปวงของผู้ค้ำและลูกหนี้ร่วม การบังคับตามหนังสือประกันทำได้แม้ลูกหนี้คนหนึ่งพ้นความรับผิด
จำเลยอุทธรณ์และได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ โดยจำเลยทั้งสองนำหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ก. ที่ออกให้เพื่อค้ำประกันเฉพาะจำเลยที่ 1 มาวางเป็นหลักประกันพร้อมทำหนังสือประกันต่อศาลชั้นต้น กรณีดังกล่าวถือว่านอกจากจำเลยที่ 1 จะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีฐานะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยทั้งสองตามหนังสือประกันที่ทำต่อศาล เมื่อปรากฏว่าต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 และศาลฎีกาพิพากษายืน ก็เพียงแต่เป็นผลให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นระงับสิ้นไป แต่ความรับผิดตามหนังสือประกันหาได้ระงับไปด้วยไม่ เพราะไม่มีข้อความใดระบุว่าหนังสือประกันดังกล่าวให้มีผลบังคับเฉพาะในชั้นอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นการทำหนังสือประกันเพื่อได้รับการทุเลาการบังคับเฉพาะจำเลยคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองยอมรับผิดร่วมกันในฐานะผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้แทนจำเลยทั้งสองหรือจำเลยคนใดคนหนึ่งหากไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา แต่จำเลยที่ 2 ไม่ชำระ โจทก์ก็มีสิทธิบังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองนำมาวางเป็นหลักประกันตามสัญญาค้ำประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4057/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: การตีความขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันต้องเคร่งครัดตามสัญญา
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความให้ผู้ค้ำประกันรับผิดจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด จะตีความไปในทางขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้เกินเลยไปกว่าข้อความที่ปรากฏชัดแจ้งในสัญญาค้ำประกันไม่ได้ จำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ภ. วันใดย่อมหมายถึงจำเลยยอมค้ำประกันการทำงานของ ภ. นับแต่วันที่ทำสัญญาค้ำประกันนั้นเป็นต้นไป มิใช่หมายความถึงยอมค้ำประกันหนี้ที่ ภ. เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้วก่อนหน้าวันที่จำเลยตกลงยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกัน หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยรับผิดในหนี้ที่ ภ. ก่อให้เกิดขึ้นก่อนหน้าวันที่จำเลยเข้าเป็นผู้ค้ำประกันก็ต้องระบุไว้ให้ชัดเจน เมื่อสัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับผิดในหนี้ที่ ภ. ก่อให้เกิดขึ้นแล้วก่อนวันทำสัญญา แต่หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่ ภ. ก่อให้เกิดขึ้นก่อนวันที่จำเลยเข้าเป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2697/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: อายุความ, ลูกหนี้ร่วม, และข้อยกเว้นการฟ้อง
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 เป็นการกำหนดให้สิทธิแก่บิดามารดากับบุตรสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างกันได้เท่านั้น ส่วนการดำเนินการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูมีบทบัญญัติมาตรา 1565 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการเป็นผู้ยกคดีขึ้นว่ากล่าวแล้วยังกำหนดให้บิดาหรือมารดาสามารถนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้เองด้วย และบทบัญญัติมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 296 โจทก์จำเลยได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยตกลงให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ แต่มิได้ตกลงว่าโจทก์ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว เมื่อโจทก์ได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ฝ่ายเดียวจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ได้ออกไปก่อนนับแต่วันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะจากจำเลย เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมและเข้าใช้หนี้นั้นตามมาตรา 229 (3) แม้ขณะยื่นฟ้องนั้นบุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรสมควรจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลมีอำนาจกำหนดตามมาตรา 1522
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไปซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา 193/12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องบรรยายคำฟ้องให้เข้าหลักเกณฑ์ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ และลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดชอบหนี้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันจะฟ้องให้จำเลยล้มละลายจะต้องบรรยายคำฟ้องให้เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 คดีนี้โจทก์ได้บรรยายคำฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา 3 คดี เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท จำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวและหนี้ดังกล่าวนั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน คำฟ้องของโจทก์จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ กำหนดไว้แล้ว ส่วนจำเลยจะเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวอยางไร จำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นข้อที่ต้องไปว่ากล่าวในชั้นพิจารณา
มูลหนี้ตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้จำเลยกับพวกหลายคนร่วมกันรับผิดชำระหนี้ จำเลยแต่ละคนซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง และขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ก็ได้ เมื่อจำเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการชำระหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินจำนอง แต่ไม่ปรากฏว่ามีมูลค่าเพียงพอชำระหนี้ทั้งหมด
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ตามคำพิพากษาจำนวน 5,495,094.53 บาท และไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากที่ดิน 3 แปลงที่จำนองเป็นประกันไว้แก่เจ้าหนี้รายอื่น โดยไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินที่จำนองเป็นประกันมีราคามากกว่าหนี้ที่จำนองเป็นประกันหรือไม่ จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม แต่มิได้ขวนขวายที่จะนำเงินมาชำระหนี้ จนโจทก์นำยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยทั้งสามจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสามล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ระงับหนี้เดิม สิทธิเรียกร้องยังคงอยู่ ผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วมกันรับผิด
สัญญาประนีประนอมยอมความคือสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 3 ซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญาที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์มาแต่เดิม มาพบกับทนายความของโจทก์ แต่มิได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของตนมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญายอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยโดยขอผ่อนชำระจึงเป็นการตัดสินใจกระทำไปโดยลำพังด้วยความสมัครใจของจำเลยที่ 3 เอง และข้อความในสัญญาดังกล่าวระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องเรียกร้องหนี้ที่ค้างชำระจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมแสดงชัดเจนแล้วว่าสัญญาที่ทำขึ้นนี้ไม่ทำให้หนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ระงับสิ้นไป แม้จะใช้ชื่อว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็หาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความตามกฎหมายไม่ เป็นเพียงสัญญาซึ่งจำเลยที่ 3 ที่เป็นบุคคลภายนอกยอมผูกพันตนเข้าร่วมชำระหนี้ของลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งเป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่โจทก์และจำเลยที่ 3 กระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้
จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ส่วนที่ยังค้างชำระตามสัญญาได้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ไม่ต้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นไปอย่างลูกหนี้ร่วมกัน และเมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวนเดียวกันกับหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนตามแต่จะเลือก และการที่จำเลยคนหนึ่งชำระหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยอื่นด้วย ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ ศาลย่อมอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องชำระได้
of 23