คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล้างมลทิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดซ้ำระหว่างพักการลงโทษ ทำให้ไม่ได้รับการล้างมลทิน และศาลมีอำนาจเพิ่มโทษได้
การที่จำเลยกระทำผิดอาญาคดีนี้ขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ฯ กฎกระทรวงมหาดไทย ข้อ 93ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ฯ มาตรา 58 และพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษฯ มาตรา 6 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปีฯ ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปีฯ มาตรา 4 ศาลชั้นต้น ย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยได้
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 กับพวก มีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิดกรรมวิธีในการผลิตมีหลายขั้นตอนตั้งแต่จัดหาสถานที่จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี และแรงงาน ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดตอนหนึ่ง ย่อมถือว่าเป็นตัวการร่วมจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาเครื่องอัดเม็ดและสารเคมี โดยค้นพบผงเมทแอมเฟตามีนหัวเชื้อ อุปกรณ์การผลิตได้ที่บ้านของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกถือว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นตัวการร่วมกันผลิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทินไม่ลบล้างประวัติความผิดเดิม ศาลใช้ประกอบดุลยพินิจลงโทษได้
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่ง พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษพ.ศ. 2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ มีผลเพียงให้ถือว่าผู้ต้องโทษไม่เคยถูกลงโทษจำคุกเท่านั้น มิได้มีผลถึงกับให้ถือว่าความประพฤติหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้บุคคลผู้นั้นถูกลงโทษจำคุกถูกลบล้างไปด้วย ศาลล่างทั้งสองจึงนำข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจ มาประกอบการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลล่างทั้งสองจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐาน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ต่อการพิจารณาโทษจำเลย และอำนาจศาลในการลงโทษจากคำรับสารภาพ
พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ มีผลเพียงให้ถือว่าผู้ต้องโทษไม่เคยถูกลงโทษจำคุกเท่านั้น มิได้มีผลถึงกับให้ถือว่าความประพฤติหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้บุคคลผู้นั้นถูกลงโทษจำคุกถูกลบล้างไปด้วย ศาลล่างทั้งสอง จึงนำข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจ มาประกอบการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลล่างทั้งสองจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้างมลทินและผลต่อการพิจารณาโทษซ้ำ: ศาลล่างนำประวัติอาชญากรรมมาพิจารณาได้หรือไม่
บทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539ให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ มีผลเพียงให้ถือว่าผู้ต้องโทษไม่เคยถูกลงโทษจำคุกเท่านั้น มิได้มีผลถึงกับให้ถือว่าความประพฤติหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้บุคคลนั้นถูกลงโทษจำคุกถูกลบล้างไปด้วย ศาลจึงนำข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 เคยกระทำความผิดมาก่อนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจ มาประกอบการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์เรื่องการรับสารภาพและผลกระทบของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษ
อุทธรณ์ของจำเลยข้อที่ว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพเพราะสงสาร เพื่อนที่ไปด้วยและพนักงานสอบสวนให้คำมั่นสัญญา ว่าจำเลยจะไม่ถูกลงโทษจำคุกนั้น เป็นอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพ ของจำเลย ต้องถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงชอบแล้ว ตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษา ของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษ ในความผิดตามคำพิพากษานั้น นอกจากต้องเป็น ผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อน หรือในวันที่ 11 กันยายน 2539 อันเป็นวันที่ พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับด้วย เมื่อปรากฏว่า จำเลยถูกจำคุกครบกำหนดโทษและถูกปล่อยตัวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2539 อันเป็นเวลาภายหลังพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทิน พ.ศ.2539 ผู้ต้องโทษต้องพ้นโทษก่อนหรือพร้อมกับวันบังคับใช้
ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในความผิดตามคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีพ.ศ.2539 มาตรา 4 นั้น นอกจากเป็นผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 11 กันยายน 2539อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่ผู้นั้นได้รับโทษตามคำพิพากษาอยู่ และยังไม่พ้นโทษในวันที่ 11 กันยายน 2539 ก็ต้องได้รับอภัยโทษปล่อยตัวหรือพ้นโทษออกมาตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ.2539 แล้วแต่กรณี การที่จำเลยต้องคำพิพากษาจำคุก 6 เดือน แต่รอการลงโทษไว้ จำเลยจึงยังมิได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา กรณีของจำเลยจึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าว จำเลยย่อมไม่ได้รับผลตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษเช่นเดียวกัน
จำเลยฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรให้รอการลงโทษให้แก่จำเลยและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติไว้ แต่เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบ เห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง และเมื่อรอการลงโทษจำคุกในคดีนี้ ย่อมไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้างมลทินในวโรกาส 50 ปีครองราชย์ และผลต่อการบวกโทษคดีเก่า
ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในความผิดตามคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 4 นั้นนอกจากเป็นผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 11 กันยายน 2539 อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่ผู้นั้นได้รับโทษตามคำพิพากษาอยู่ และยังไม่พ้นโทษในวันที่11 กันยายน 2539 ก็ต้องได้รับอภัยโทษปล่อยตัวหรือพ้นโทษออกมาตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2539แล้วแต่กรณี การที่จำเลยต้องคำพิพากษาจำคุก 6 เดือนแต่รอการลงโทษไว้ จำเลยจึงยังมิได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา กรณีของจำเลยจึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจำเลยย่อมไม่ได้รับผลตามพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษเช่นเดียวกัน จำเลยฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรให้รอการลงโทษให้แก่จำเลยและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติไว้ แต่เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบเห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง และเมื่อรอการลงโทษจำคุกในคดีนี้ ย่อมไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทินไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องประโยชน์ย้อนหลัง แม้ถูกล้างมลทินแล้ว
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์กระทำความผิดก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2539 ก่อน พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 ใช้บังคับ ต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษ จำเลยจึงต้องรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งเดิม เงินเดือนเดิม พร้อมค่าจ้างนับแต่วันออกจากงานถึงวันรับกลับเข้าทำงานและเงินโบนัสแก่โจทก์ พ.ร.บ.ดังกล่าวที่โจทก์อ้างเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้
โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และแม้โจทก์ได้กระทำความผิดวินัยก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยมีคำสั่งลงโทษทางวินัยลงวันที่ 27 สิงหาคม2539 ให้ออกจากงานโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2539 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 ใช้บังคับ ซึ่งต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา 5 ก็ตาม แต่เนื่องจากมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้บัญญัติว่าการล้างมลทินตามมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น การล้างมลทินให้โจทก์จึงเป็นเพียงให้ถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัย ไม่มีมลทิน ไม่เสียสิทธิหรือขาดคุณสมบัติภายภาคหน้าเท่านั้น ดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าตำแหน่งเดิมหรือเรียกค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้างมลทินตาม พรบ.ฉลองครองราชย์ 50 ปี ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องประโยชน์ใดๆ แม้ถูกลงโทษก่อนใช้บังคับ
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์กระทำความผิดก่อน วันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออก จากงานเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2539 ก่อน พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ ต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษ จำเลยจึง ต้องรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งเดิม เงินเดือนเดิม พร้อมค่าจ้างนับแต่วันออกจากงานถึงวันรับกลับเข้าทำงาน และเงินโบนัสแก่โจทก์ พระราชบัญญัติดังกล่าวที่โจทก์อ้าง เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้ โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และแม้โจทก์ได้กระทำความผิดวินัยก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยมีคำสั่งลงโทษทางวินัยลงวันที่ 27 สิงหาคม 2539 ให้ออกจากงานโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2539 ก่อนวันที่ พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับซึ่งต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา 5 ก็ตาม แต่เนื่องจากมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติว่าการล้างมลทินตามมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น การล้างมลทินให้โจทก์จึงเป็นเพียงให้ถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัยไม่มีมลทิน ไม่เสียสิทธิหรือขาดคุณสมบัติภายภาคหน้าเท่านั้นดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยต้องรับ โจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ตำแหน่งเดิมหรือเรียกค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทิน และผลต่อการนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษมาบวกกับโทษใหม่
ตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า"ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษพ.ศ. 2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ" หมายความว่า ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในความผิดตามคำพิพากษานั้น นอกจากเป็นผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 1 ตุลาคม 2539อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับหรือในกรณีที่ผู้นั้นรับโทษตามคำพิพากษาอยู่ และยังไม่พ้นโทษในวันที่ 1 ตุลาคม 2539 ก็ต้องได้รับอภัยโทษปล่อยตัวหรือพ้นโทษออกมาตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 แล้วแต่กรณีการที่จำเลยต้องคำพิพากษาจำคุก 1 ปี แต่ศาลได้รอการลงโทษไว้จำเลยจึงยังมิได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา กรณีของจำเลยจึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และไม่ได้รับผลตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษฯเช่นเดียวกัน
โจทก์ขอให้บวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อน ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีก่อน เพียงแต่ให้การรับสารภาพในความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบในข้อนี้ เมื่อโจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏก็ไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 11