คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วันกระทำผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องวันกระทำผิดไม่ชัดเจนเพียงใด จำเลยยังเข้าใจได้ ถือใช้ได้
บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดประมาณต้นเดือนกันยายน 2532 เวลากลางวันวันใดไม่แน่ชัดนั้น ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเกี่ยวกับวันเกิดเหตุเช่นเดียวกับที่กล่าวในฟ้อง จำเลยเองก็นำสืบอ้างฐานที่อยู่แสดงว่าไม่ได้หลงข้อต่อสู้แต่อย่างใด จึงเป็นการบรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันกระทำความผิดพอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค: วันที่ลงเช็คเป็นวันกระทำผิด ธนาคารทราบความผิดทันที
จำเลยออกเช็คลงวันที่ 5 เมษายน 2526 สั่งจ่ายเงินให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดวันที่ระบุในเช็ค ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์นำเช็คพิพาทและบัญชี ของจำเลยมาตรวจดู ปรากฏว่าจำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่ายเช่นนี้ถือว่าธนาคารโจทก์ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คในวันที่ที่ลงในเช็ค แล้ว วันที่ที่ลงในเช็คจึงเป็นวันที่จำเลยกระทำผิดโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์และฟ้องจำเลยเมื่อเกิน 3 เดือนนับแต่นั้น คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเช็ค: วันที่กระทำผิดต้องหลังวันที่ออกเช็ค การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนทำให้ศาลยกฟ้อง
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหายเมื่อเดือนธันวาคม 2528 สั่งจ่ายเงินในวันที่ 15 มกราคม 2528 และผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปเบิกเงินจากธนาคารตามเช็คในวันที่4 เมษายน 2528 ในวันเดียวกันเวลากลางวัน ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค วันที่ความผิดเกิดก็คือวันที่ 4 เมษายน 2528ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งเป็นวันที่ย้อนหลังจากวันที่จำเลยมอบเช็คให้ผู้เสียหาย จึงเป็นไปไม่ได้ที่วันที่กระทำผิดจะเกิดก่อนวันที่จำเลยมอบเช็คพิพาทให้ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นความผิด กรณีเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลพิพากษายกฟ้องได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุวันกระทำผิดในฟ้องคดีเช็ค: รายละเอียดสำคัญที่จำเลยต้องเข้าใจ ไม่ใช่ขาดองค์ประกอบความผิด
คดีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้นการที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นการกระทำอย่างหนึ่งที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ส่วนวันที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นเป็นวันที่มีการกระทำผิดซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิด ดังนั้นเมื่อโจทก์กล่าวในฟ้องว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยมิได้ระบุว่าปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันใด จึงเป็นฟ้องที่ขาดรายละเอียดที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น มิใช่ฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิด โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ หรือเพิ่มเติมฟ้องได้ในเมื่อจำเลยมิได้เสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163,164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุวันกระทำความผิดในคดีเช็ค: จำเป็นต้องระบุวันที่ชัดเจน ไม่สามารถระบุเพียงเดือนและปี
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้น เกิดขึ้นในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโดยบรรยายฟ้องว่า "......เมื่อวันที่ .... พฤษภาคม 2523(ไม่ได้ระบุวันที่) โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคาร แต่ธนาคาปฏิเสธการจ่ายเงิน" ถือไม่ได้ว่าเป็นการระบุวันกระทำผิดหรือวันที่ความผิดเกิดขึ้น จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาคดีอาญาของทหารประจำการตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร โดยดูสถานะ ณ วันกระทำผิด
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 13, 16 (3) กำหนดเอาวันกระทำผิดเป็นข้อสำคัญว่า ทหารประจำการทำผิดคดีใดจะให้ฟ้องต่อศาลทหารหรือศาลพลเรือน
แม้ตามคำฟ้องจะมีชื่อจำเลยว่า สิบเอกประยุทธ และทางไต่สวนมูลฟ้องจะปรากฏในคดีอื่นที่โจทก์อ้างเป็นพยานว่า จำเลยมียศเป็นสิบเอก เป็นข้าราชการสังกัดกรมแพทย์ทหารบกก็ตาม แต่เป็นยศและหลักฐานประจำการก่อนเกิดเหตุคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏตามคำฟ้องหรือทางไต่สวนมูลฟ้องว่า ขณะกระทำผิดจำเลยยังคงเป็นทหารประจำการอยู่ ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องแล้วซึ่งถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาจำเลยจึงยื่นคำร้องและแสดงหลักฐานซึ่งรับฟังได้ว่า จำเลยยังรับราชการเป็นนายทหารชั้นประทวนประจำการ จึงเป็นการที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและการแก้ไขวันกระทำผิดในบันทึก ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัสและกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก ปรากฏในบันทึกคำฟ้องของศาลว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 31มิถุนายน 2524 อันเป็นวันภายหลังที่โจทก์ฟ้อง แต่ปรากฏตามบันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายและคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2524 และต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2524 จำเลยมอบตัวต่อพนักงานสอบสวนและให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน ในวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยก็ยังได้ยื่นคำร้องยอมรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริงแสดงว่าจำเลยทราบดีถึงการกระทำความผิดของจำเลย ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ การที่ศาลบันทึกวันกระทำผิดของจำเลยผิดพลาดไปเป็นเรื่องของความพลั้งเผลอจึงหาใช่เป็นการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดภายหลังวันที่โจทก์ฟ้องไม่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของวันกระทำผิดในฟ้อง ไม่ถือเป็นข้อสารสำคัญ ศาลลงโทษได้หากจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในวันที่4 มิถุนายน 2522 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดวันที่ 14 มิถุนายน 2522 ดังนี้ เป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 10)พ.ศ.2522 มาตรา 5 บัญญัติว่ามิให้ถือว่าต่างกันในข้อสารสำคัญ เมื่อ จำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแร่ดีบุก: วันกระทำผิดคือวันครอบครองเกินโควต้า แม้ต่อมาจะขอเพิ่มโควต้า
จำเลยขุดแร่ดีบุกไว้ในครอบครองเกินโควต้าที่ได้รับอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก พ.ศ.2514 มาตรา 20,31 ซึ่งมีโทษปรับอย่างเดียวนั้นอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 เจ้าพนักงานเข้าตรวจระหว่างวันที่ 17-20 กันยายน 2518 พบว่าจำเลยมีแร่ดีบุกไว้ในครอบครองเกินโควต้า ต้องถือว่าวันที่17 กันยายน 2518 เป็นวันที่จำเลยกระทำความผิดโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2519 เกิน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
แม้จำเลยจะได้รับอนุมัติให้เพิ่มโควต้าในภายหลังก็ไม่ทำให้ความผิดที่จำเลยได้กระทำไปแล้วกลายเป็นไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: พิจารณาคดีตามสถานะผู้กระทำผิด ณ วันกระทำความผิด
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 13 กำหนดเอาวันกระทำผิดเป็นข้อสำคัญว่า คดีใดจะให้ฟ้องต่อศาลทหารหรือศาลพลเรือน
ถ้าจำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตร ได้กระทำผิดในขณะที่ยังเป็นนายทหารประจำการอยู่ ต้องฟ้องต่อศาลทหารโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้นจำเลยเป็นนายทหารนอกประจำการแล้วหรือไม่ และการที่จำเลยเป็นรัฐมนตรีอยู่ด้วยในขณะกระทำผิด ก็ไม่ทำให้ข้อวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16 (2) เป็นบทบัญญัติให้นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่กระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหารภายหลังที่เป็นนายทหารนอกประจำการแล้วต้องอยู่ในอำนาจศาลทหารด้วยเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดที่ได้ทำไว้เมื่อยังประจำการอยู่
of 4