คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วันเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายรายละเอียดวันเวลาการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) จำเป็นต้องชัดเจนและเฉพาะเจาะจง
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมปลอมแกล้งให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นหนี้จำเลยที่ 4 จำนวนอันไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 แต่โจทก์มิได้บรรยายให้แน่ชัดว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมปลอมเมื่อใด ส่วนวันเวลาที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องและตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนั้น เป็นพียงวันเวลาที่แสดงว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อใด และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ไปยังบุคคลอื่นเมื่อใดเท่านั้น จะถือเอาวันเวลาระหว่างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบกันเพื่อจะให้เข้าใจเอาเองว่า ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เกิดขึ้นในระหว่างวันและเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ ถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดที่เกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจนวันเวลาใช้เอกสารปลอม ทำให้ฟ้องฐานใช้เอกสารปลอมไม่ได้ แม้พยานหลักฐานไม่เพียงพอ
โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องข้อ (ข)และ(ง) สรุปได้ว่า หลังจากที่ จำเลยปลอมเอกสารสิทธิใบวางบิลดังกล่าวในฟ้องข้อ (ก) และ (ค) แล้วจำเลยบังอาจนำเอกสารสิทธิดังกล่าวไปใช้อ้างแก่โจทก์ร่วมเพื่อเป็นหลักฐานในการแจ้งสรุปยอดปริมาณการขายสินค้าเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่า ใบวางบิลดังกล่าวได้วางให้แก่ลูกค้าและลูกค้าลงลายมือชื่อในช่อง ผู้รับวางบิลแล้ว ทั้งนี้ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม และประชาชน คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวมิได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยนำใบวางบิลไปใช้อ้างแก่โจทก์ร่วมมาโดยชัดแจ้ง เป็นคำฟ้องที่ไม่เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีจึงเป็นคำฟ้อง ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องยักยอกทรัพย์: ฟ้องไม่เคลือบคลุมหากบรรยายรายละเอียดการกระทำได้ชัดเจน แม้ไม่ระบุวันเวลาที่แน่นอน
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่า จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2539 ถึงเดือนตุลาคม 2540 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดทั้งเวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน ได้ร่วมกันยักยอกเงินของบริษัท พ. โดยร่วมกันเบิกถอนเงินของบริษัทจากธนาคาร ก. หลายครั้งหลายคราวแล้วเบียดบังเอาเงินที่ถอนดังกล่าวไปเป็นของตนเองหรือพวกของจำเลยรวมเป็นเงินประมาณ 100,000,000 บาท โดยเจตนาทุจริตอันเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำผิดเป็นช่วงวัน เวลาใดและจำนวนเงินที่อ้างว่าจำเลยได้ร่วมกันเบียดบังยักยอกไปหลายครั้งในระหว่างวันเวลาที่โจทก์ได้ระบุไว้ในคำฟ้องนั้นรวมเป็นเงินเท่าใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 แล้ว กรณีหาจำต้องระบุวันเวลาให้แน่นอนไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9664/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันเวลาการกระทำผิดเป็นรายละเอียดในฟ้อง ไม่ใช่สาระสำคัญ หากจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงได้
วันเวลากระทำผิดเป็นเพียงรายละเอียดที่จะต้องกล่าวไว้ในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ข้อแตกต่างในเรื่องวันกระทำผิดจึงไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ หากจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง คดีนี้จำเลยให้การและเบิกความว่าไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง และนำสืบข้อเท็จจริงตรงตามที่โจทก์นำสืบมา ถือไม่ได้ว่าจำเลยหลงต่อสู้ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างวันเวลากระทำผิดในฟ้อง ไม่ถึงสาระสำคัญ ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2536 ถึงวันที่ 8มีนาคม 2536 แต่พยานโจทก์เบิกความว่า เกิดเมื่อระหว่างปี 2535 ถือได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเป็นผลให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องนั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดี ดังนั้นการที่พยานโจทก์เบิกความเกี่ยวกับวันเวลากระทำความผิดแตกต่างจากที่โจทก์ฟ้องก็ตาม ซึ่งเป็นเพียงรายละเอียด และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฉ้อโกงและการเบียดบังทรัพย์ในความผิดยักยอก: การระบุรายละเอียดวันเวลาที่กระทำผิด
ตามคำฟ้องแยกข้อหาฉ้อโกงไว้ข้อ ก. ข. และ ง. และข้อหายักยอกไว้ ข้อ ค. เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องข้อ ก. ข. และ ง.แล้ว มีความหมายพอเข้าใจได้ว่า โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้งโดยหลอกลวงโจทก์ร่วมในฟ้องข้อ ก.ว่าโจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน 147,053 บาท และในฟ้องข้อ ข.และ ง. ว่า โจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน 60,813.58 บาทและ 71,999.20 บาท ซึ่งเป็นความเท็จ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องตอนต่อมาในข้อ ก.ว่า จำเลยกลับไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่อกรมสรรพากรเพียง 122,543.65 บาทและใน ข. และ ง. ว่า จำเลยกลับทำแบบแสดงรายการภาษีโดยไม่ต้องชำระภาษีต่อกรมสรรพากรนั้นเท่ากับโจทก์ได้บรรยายว่า ความจริงแล้วโจทก์ต้องเสียภาษีในฟ้องข้อ ก.เพียงใด หรือไม่ต้องเสียภาษีในฟ้องข้อ ข. และ ง. เลยจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อได้จ่ายเงินให้จำเลยไปตามที่จำเลยขอเบิก แล้วจำเลยได้เอาเงินส่วนที่เบิกเกินไปตามข้อ ก. และส่วนที่ไม่ได้ชำระภาษีเลยตามข้อ ข. และ ง.ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดในข้อหาฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา341 แล้ว
การบรรยายคำฟ้องในการกระทำผิดข้อหายักยอกนั้น ต้องระบุถึงวันเวลาที่จำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ซึ่งเป็นวันกระทำผิดมาในฟ้องด้วย ส่วนวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ไม่ใช่วันกระทำผิดเพราะผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นไว้แต่ไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นย่อมไม่มีความผิดข้อหายักยอกตามคำฟ้องข้อ ค. ที่กล่าวแต่เพียงวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ของโจทก์แต่ไม่มีข้อความแสดงว่าจำเลยได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนวันเวลาใดจะถือเอาวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์เป็นวันที่จำเลยกระทำผิดหาได้ไม่ เพราะไม่มีข้อความตอนใดที่จะให้เข้าใจได้เช่นนั้น จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.อ.มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของวันเวลาในฟ้องอาญา การระบุช่วงเวลาที่โจทก์สามารถระบุได้ถือว่าไม่เคลือบคลุม
บรรยายฟ้องคดีอาญาฐานลักทรัพย์ว่าเหตุเกิดระหว่างต้นเดือนมีนาคม 2534 ถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดเป็นฟ้องที่บอกวันเวลาตามที่สามารถจะบอกให้จำเลยเข้าใจดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างวันเวลากระทำความผิดไม่เป็นเหตุให้ยกฟ้อง หากไม่ใช่สาระสำคัญของคดี
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาที่แตกต่างกับข้อเท็จจริงตามฟ้องอันจะเป็นผลให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องของโจทก์นั้นจะต้องเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดี ข้อแตกต่างเกี่ยวกับวันเวลากระทำความผิดตามฟ้องเป็นเพียงรายละเอียดไม่ถือเป็นข้อสำคัญอันศาลจะต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าสัตว์ต้องเป็นไปตามวันเวลาในใบอนุญาต เนื้อสัตว์ที่ฆ่าผิดเวลาถือเป็นเนื้อสัตว์ที่ฆ่าโดยไม่ได้รับอนุญาต
เนื้อกระบือที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นเนื้อของกระบือที่ได้รับอนุญาตให้ฆ่าโดยถูกต้อง แต่มิได้ฆ่าภายในกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 กำหนดให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ฆ่าสัตว์จะต้องฆ่าสัตว์นั้นตามวันเวลาระหว่างที่ระบุไว้ในใบอนุญาตแสดงให้เห็นว่ากฎหมายกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดวันเวลาที่จะฆ่าไว้ในใบอนุญาต การฆ่าสัตว์จึงต้องปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต จึงจะถือเป็นการปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อกระบือมิได้ฆ่าตามวันและระหว่างเวลาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ถือได้ว่ามิได้ฆ่าโดยชอบด้วยกฎหมาย เนื้อกระบือที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายจึงเป็นเนื้อสัตว์ที่ฆ่าโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2502มาตรา 16,19.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การระบุวันเวลาและพนักงานสอบสวนในการแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 ถึง 6 มีนาคม 2528 เวลากลางคืนและกลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยนำความเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ว่า โจทก์ทำร้ายร่างกายจำเลยและชิงทรัพย์คือสร้อยคอทองคำขาว 1 เส้น พร้อมจี้เพชรของจำเลย เพื่อแกล้งให้โจทก์รับโทษทางอาญา โจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ใดก็สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ทั้งเป็นการกล่าวแสดงเจตนาของจำเลยในตัวว่า จำเลยทราบแล้วว่าความจริงไม่เป็นดังที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
of 11