พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัยค้ำจุน: นับจากวันเกิดวินาศภัย 2 ปี ศาลฎีกายกฟ้องข้ออ้างขาดอายุความ
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัย ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ชนรถยนต์ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ไปแล้วนั้น เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ซึ่งมีอายุความ2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882 เหตุวินาศภัยเกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่1 มีนาคม 2536 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223ทวิ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วจำเลยจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1ข้อ 2(ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัยค้ำจุน: 2 ปีนับจากวันเกิดเหตุวินาศภัย
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัยฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ชนรถยนต์ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ไปแล้วนั้นเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ2ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882เหตุวินาศภัยเกิดเมื่อวันที่2มีนาคม2534โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่1มีนาคม2536คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วจำเลยจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง200บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง1ข้อ2(ก)เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัยค้ำจุน: นับแต่วันเกิดวินาศภัย ไม่ใช่อายุความละเมิด
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัย ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ชนรถยนต์ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ไปแล้วนั้น เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนอันเป็นมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรกจะนำเอาอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคแรกมาบังคับใช้ไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนไว้เป็นฝ่ายทำละเมิด แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าเสียหายเพราะเห็นว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อโจทก์จำเลยได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุน: 2 ปีนับจากวันเกิดวินาศภัย ไม่ใช่อายุความละเมิด
การฟ้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก หาใช่นำอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้ไม่ การยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้รับประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 และป.วิ.พ. มาตรา 57(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุน: นับจากวันเกิดวินาศภัย ตาม พ.ร.บ.แพ่งฯ มาตรา 882 ไม่ใช่อายุความละเมิด
จำเลยร่วมที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่ 1ที่ให้จำเลยร่วมที่ 1 เช่าซื้อไป และลูกจ้างได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปชนรถยนต์ของโจทก์ การฟ้องให้จำเลยร่วมที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรกจึงนำอายุความในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มาใช้ไม่ได้เมื่อเกิดเหตุรถยนต์ชนกันวันที่ 28 ตุลาคม 2524 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้ว จำเลยร่วมที่ 1ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2526 ถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องให้จำเลยร่วมที่ 2 ใช้ค่าทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) และอยู่ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัย คดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยร่วมที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3243/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยวินาศภัย: การชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวนเมื่อทรัพย์สินเสียหายทั้งหมด และหลักการสันนิษฐานมูลค่าความเสียหาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 877 วรรคสองบัญญัติให้เป็นคุณแก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ทรัพย์ที่เอาประกันภัยถูกวินาศภัยไปทั้งหมด ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เอาประกันภัย เว้นแต่ผู้รับประกันภัยพิสูจน์หักล้างได้ว่าความเสียหายของทรัพย์นั้นต่ำกว่าจำนวนเงินที่เอาประกันภัย จึงจะถือเอาความเสียหายที่เป็นจริงซึ่งต่ำกว่าได้จำเลยทั้งหกรับประกันภัยโกดังและสินค้าของโจทก์โดยรับประกันภัยโกดังในวงเงิน 1,000,000 และรับประกันภัยสินค้าในวงเงิน6,000,000 บาท เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์สินของโจทก์ที่เอาประกันภัยมีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 7,000,000 บาท จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตามที่ได้เอาประกันภัยไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยค้ำจุน: ใช้มาตรา 882 ไม่ใช่ 448
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ที่ชนรถยนต์ของโจทก์ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก จะนำอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุน: ประเมินจากวันเกิดเหตุวินาศภัย ไม่ใช่มูลละเมิด
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ที่ชนรถยนต์ของโจทก์ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก จะนำอายุความในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเหตุวินาศภัยทันทีตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย: การแจ้งภายในวันเดียวกันถือว่าไม่ชักช้า
การที่ผู้เอาประกันภัยแจ้งเรื่องให้ผู้รับประกันภัยทราบในวันเดียวกับที่ตนทราบว่ารถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้หายไปเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งกำหนดให้แจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบโดยไม่ชักช้าเมื่อมีความเสียหายหรือความรับผิดเกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยวินาศภัย: เพลิงไหม้ต้องเป็นสาเหตุโดยตรงของความเสียหาย เพื่อให้ประกันภัยรับผิดชอบ
จำเลยทำสัญญารับประกันภัยทรัพย์สินของโจทก์ กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่ารับประกันวินาศภัยเฉพาะเพลิงไหม้หรือฟ้าผ่า ปรากฏว่าได้เกิดวินาศภัยแก่ทรัพย์สินของโจทก์ ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยโดยหม้อน้ำระเบิด ทำให้ทรัพย์สินหลายอย่างต้องวินาศไป สาเหตุเกิดจากสายไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับเครื่องมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับใช้กับเครื่องปั๊มน้ำเย็นได้ รับความร้อนสูงเกินขนาดจนฉนวนชำรุดไหม้ละลาย สายลวดทองแดงกระทบกันเกิดการลัดวงจร เป็นเหตุให้มอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องปั๊มน้ำหยุดทำงาน ไม่ส่งน้ำเย็นเข้าหม้อต้มน้ำส่วนน้ำร้อนที่มีอยู่ในหม้อต้มน้ำก็จะไหลออกแต่อย่างเดียว ในขณะเดียวกันเตาเหล็กซึ่งใช้ระบบหัวฉีดก็ยังพ่นความร้อนเข้าไปในท่อให้ความร้อนภายในหม้อต้มน้ำอยู่ตลอดเวลา ไอน้ำในหม้อต้มน้ำได้รับความร้อนสูงเรื่อย ๆ ก็ขยายตัว มีความดันเกินกว่าหม้อต้มน้ำร้อนจะทนทานได้ จึงเกิดระเบิดขึ้นดังนี้ ความวินาศของโจทก์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ยังไม่พอฟังว่าเกิดเพราะเพลิงไหม้อันจำเลยจำต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย