คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วินิจฉัยนอกฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองโมฆะเนื่องจากสำคัญผิดในสาระสำคัญ และการวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 โดยประสงค์จะทำสัญญาซื้อขายต่อไป แต่จำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ให้ทำสัญญาจำนอง โจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญาจำนองและไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนอง ขอให้เพิกถอนสัญญาจำนอง จำเลยทั้งสองให้การว่าสัญญาจำนองกระทำโดยชอบและสุจริต ไม่มีเหตุเพิกถอนตามคำคู่ความดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าการทำสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ ทั้งปัญหาว่าสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาว่าสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ก็สามารถยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามคำคู่ความมีประเด็นเพียงว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองเพื่อประกันเงินกู้และโจทก์ได้รับเงินตามสัญญากู้หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญาจำนองที่ดินเป็นโมฆียะเพราะโจทก์กระทำโดยถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้กลฉ้อฉลหรือไม่นั้น จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาตามประเด็นที่ถูกต้องศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย แต่เนื่องจากคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ประสงค์ทำนิติกรรมจะขายที่ดินโดยไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น การทำสัญญาจำนองของโจทก์จึงเป็นการกระทำไปโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม สัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิวางท่อระบายน้ำในที่ดินทางจำเป็น ค่าทดแทน และประเด็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยยินยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำในที่ดินของจำเลยซึ่งตกเป็นทางจำเป็น โดยโจทก์ยอมใช้ค่าทดแทนให้ 30,000 บาท จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะวางท่อระบายน้ำผ่าน แต่หากศาลเห็นว่าจะต้องวางท่อระบายน้ำผ่านก็ขอให้โจทก์ใช้เงินค่าทดแทนแก่จำเลย 5,000,000 บาทการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า โจทก์จะใช้สิทธิวางท่อระบายน้ำในที่ดินของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352ได้หรือไม่เพียงใดนั้น ย่อมรวมถึงประเด็นเรื่องค่าทดแทนอยู่ในตัวเพราะโจทก์จะใช้สิทธิดังกล่าวได้หรือไม่เพียงใดจะต้องพิจารณาถึงค่าทดแทนที่โจทก์เสนอด้วย การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 50,000 บาท จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องหรือนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4718/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกฟ้อง: ศาลมิควรวินิจฉัยประเด็นนอกเหนือจากที่ได้ยกขึ้นเป็นข้อพิพาท
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์นำรถยนต์พิพาทไปว่าจ้างจำเลยที่ 1 ซ่อมแต่จำเลยที่ 1 มิได้ซ่อมแซม เมื่อโจทก์ขอรับรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ขัดขวางไม่ยอมให้โจทก์เอารถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่ารถยนต์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยซื้อมาจากโจทก์ จึงมีสิทธิป้องปัดขัดขวางไม่ให้โจทก์เอารถยนต์พิพาทไปจากอู่ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาท ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ว่า โจทก์ยังคงเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทหรือได้ขายให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว เมื่อคดีไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาท การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นหลักประกันเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมจำเลยที่ 2 ไปจึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกคำให้การและไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3832/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก สินสมรส และการวินิจฉัยนอกฟ้อง: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาเรื่องข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์และฎีกาที่ไม่เป็นสาระ
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ที่ 1 ฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจำนวน 1 ใน 7 ส่วน คิดเป็นเงิน 220,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจำนวน 1 ใน14 ส่วน คิดเป็นเงิน 110,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอให้แบ่งที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ใน 7 ส่วนตามฟ้องแม้คดีทั้งสองสำนวนนี้จะรวมพิจารณาและโจทก์ที่ 1 จะยื่นฎีการวมกันมากับโจทก์ที่ 2 แต่การคำนวณทุนทรัพย์ในการที่จะใช้สิทธิฎีกานี้ต้องแยกต่างหากจากกันดังนั้นทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์ที่ 1 คือส่วนแบ่งอีกจำนวน 1 ใน14 ส่วน คิดเป็นเงิน 110,000 บาท จึงไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาว่า ที่ดินทั้งสองแปลงไม่ใช่สินสมรสระหว่าง บ.และ ส. นั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับฎีกาโจทก์ที่ 1 ที่ว่า นางสอนต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก กับที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าบุคคลเหล่านี้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งด้วยเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปในทางใดก็ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ที่ 1 ในการได้รับส่วนแบ่งมรดกน้อยลงหรือทำให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเพิ่มขึ้นแต่ประการใด ดังนี้ ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่172 เดิมมีชื่อ ส.ภริยาเป็นเจ้าของ ส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 173 มีชื่อ บ.สามีเป็นเจ้าของ ส.และ บ.ต่างนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวไปขายฝากไว้กับ อ.มีกำหนด 5 ปี แล้วไม่ไถ่ถอน ต่อมา บ.ได้ซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวจาก อ. ซึ่งขณะนั้น บ.และ ส.เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินที่นำไปซื้อที่ดินเป็นเงินจากการขายสวนของ บ.ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่าง บ.และ ส. ดังนั้น ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงเป็นสินสมรสระหว่าง บ.และ ส.
โจทก์มิได้ฟ้อง ส.กับพวกซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ บ.เจ้ามรดกเป็นจำเลย แม้ ส.กับพวกจะเคยยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมแต่ในที่สุดก็ได้ถอนคำร้องดังกล่าวไปโดยโจทก์มิได้คัดค้านและศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ ส.กับพวกถอนคำร้องสอดไปแล้ว ส.กับพวกดังกล่าวจึงมิได้มีฐานะเป็นคู่ความต่อไป จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่า นางสอนกับพวกดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ส. จึงต้องฟังว่านางสอนกับพวกดังกล่าวซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ บ.ยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายสมบูรณ์ตามสัดส่วนของตน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งมรดก ซึ่งจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์มรดกมีอะไรบ้าง ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกมีกี่คน แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกเท่าใด การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่านางสอน นายเฉลิมนายถนอม นายสมัยมีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาทเพียงใดก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีส่วนแบ่งเท่าใดเท่านั้น ซึ่งอยู่ในประเด็นที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาททั้งสองหรือไม่เพียงใดนั่นเอง จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3832/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, การยักย้ายมรดก, สิทธิการรับมรดก, การวินิจฉัยนอกฟ้อง, การแบ่งมรดก
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ที่ 1 ฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจำนวน 1 ใน 7 ส่วน คิดเป็นเงิน 220,000บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจำนวน 1 ใน 14 ส่วน คิดเป็นเงิน110,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ที่ 1 ฎีกา ขอให้แบ่งที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ใน 7 ส่วนตามฟ้องแม้คดีทั้งสองสำนวนนี้จะรวมพิจารณาและโจทก์ที่ 1จะยื่นฎีการวมกันมากับโจทก์ที่ 2 แต่การคำนวณทุนทรัพย์ในการที่จะใช้สิทธิฎีกานี้ต้องแยกต่างหากจากกันดังนั้นทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์ที่ 1 คือ ส่วนแบ่งอีกจำนวน1 ใน 14 ส่วน คิดเป็นเงิน 110,000 บาท จึงไม่เกินสองแสนบาทซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาว่า ที่ดินทั้งสองแปลงไม่ใช่สินสมรสระหว่าง บ. และ ส. นั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สำหรับฎีกาโจทก์ที่ 1 ที่ว่า นางสอนถูกกำจัดมิให้รับมรดก กับที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าบุคคลเหล่านี้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งด้วยเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปในทางใดก็ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ที่ 1 ในการได้รับส่วนแบ่งมรดกน้อยลงหรือทำให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเพิ่มขึ้นแต่ประการใด ดังนี้ ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 172เดิมมีชื่อ ส. ภริยาเป็นเจ้าของ ส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 173 มีชื่อ บ. สามีเป็นเจ้าของส. และ บ.ต่างนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวไปขายฝากไว้กับ อ. มีกำหนด 5 ปี แล้วไม่ไถ่ถอน ต่อมา บ.ได้ซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวจาก อ. ซึ่งขณะนั้นบ. และ ส. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินที่นำไปซื้อที่ดินเป็นเงินจากการขายสวนของ บ. ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่าง บ. และ ส. ดังนั้น ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงเป็นสินสมรสระหว่าง บ. และ ส. โจทก์มิได้ฟ้อง ส. กับพวกซึ่งเป็นภริยาและบุตรของบ. เจ้ามรดกเป็นจำเลย แม้ ส. กับพวกจะเคยยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมแต่ในที่สุดก็ได้ถอนคำร้องดังกล่าวไปโดยโจทก์มิได้คัดค้านและศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ ส.กับพวกถอนคำร้องสอดไปแล้ว ส. กับพวกดังกล่าวจึงมิได้มีฐานะเป็นคู่ความต่อไป จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่านางสอนกับพวกดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ส. จึงต้องฟังว่านางสอนกับพวก ดังกล่าวซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ บ. ยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายสมบูรณ์ ตามสัดส่วนของตน โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งมรดก ซึ่งจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์มรดกมีอะไรบ้าง ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกมีกี่คน แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกเท่าใด การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่านางสอน นายเฉลิม นายถนอมนายสมัยมีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาทเพียงใดก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีส่วนแบ่งเท่าใดเท่านั้น ซึ่งอยู่ในประเด็นที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาททั้งสองหรือไม่เพียงใดนั่นเอง จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการเบิกจ่ายเงินโดยประมาทเลินเล่อของพนักงาน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ถือว่าวินิจฉัยนอกฟ้อง
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่1เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าม. ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่1เช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของม.จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่1ตามคำฟ้องนั่นเองหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้, ฟ้องซ้อน, การวินิจฉัยนอกฟ้อง, การโอนที่ดินตามสัญญาหย่า, และการต่อสู้คดีของจำเลยในฐานะอนาถา
จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดตามฟ้องโจทก์ทั้งที่ไม่มีข้อตกลงว่าหาก ป. ผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดนั้นเมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เมื่อหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เป็นมูลหนี้ที่ชอบมีผลบังคับได้ตามกฎหมายส่วนมูลหนี้จะเกิดจากการกู้ยืมหรือเกิดจากการขายที่ดินหาใช่ข้อสำคัญไม่ ข้อตกลงที่ ป. จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาหย่ามิใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรงแต่เป็นการให้ที่เกิดจาก ข้อตกลงตามสัญญา แบ่งทรัพย์สินในการหย่าระหว่าง ป.กับโจทก์ดังนี้ข้อตกลงจะให้ที่ดินดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้โดย ไม่ต้อง จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. รับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป. ทำไว้กับโจทก์ส่วนคดีแพ่งของศาลจังหวัดลพบุรีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้อง ป. เป็นจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาหย่าที่ ป. ทำไว้กับโจทก์ดังนี้จำเลยในคดีนี้กับจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นคนละคนข้อพิพาทก็เป็นคนละประเด็นกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึง ไม่เป็น ฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้องและบังคับรื้อถอนได้ แม้จำเลยให้การว่าซื้อโดยสุจริต
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเสารั้วพร้อมลวดหนามซึ่งรุกล้ำที่ดินโจทก์ออกไปจากที่ดินโจทก์จำเลยที่3ให้การสู้คดีไว้แต่เพียงว่าจำเลยที่3ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตไม่ได้ให้การว่าจำเลยที่3ปลูกสร้างทาวน์เฮาสส์รุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริตการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการก่อสร้างรุกล้ำของจำเลยเป็นการก่อสร้างโดยสุจริตและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่3แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312นั้นจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา คำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่3รื้อถอนส่วนที่รุกล้ำออกไปจากแนวเขตที่ดินโจทก์หากจำเลยที่3ไม่ยอมรื้อถอนให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนโดยจำเลยที่3เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้นหากจำเลยที่3ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลโจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296ทวิได้อยู่แล้วโจทก์จะขอรื้อถอนกำแพงทาวน์เฮาส์ส่วนที่รุกล้ำของจำเลยที่3เองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยที่3เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4890/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการทุจริตยักยอกเงินและการวินิจฉัยนอกฟ้อง ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามีคำพิพากษาชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกของย.จำเลยที่2ถึงที่4ในฐานะผู้บังคับบัญชาของย. ให้ร่วมรับผิดในการที่ย. ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ไปศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาว่าย. ไม่ได้ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์แต่การที่ย.ไม่เก็บรักษาใบสำคัญการจ่ายเงินไว้เพื่อให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบเป็นการประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายการกระทำของย. จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นจึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นและโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวการที่โจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่2ถึงที่4รับผิดต่อโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่2ถึงที่4ไม่ควบคุมดูแลให้ย.เก็บรักษาใบสำคัญการจ่ายเงินไว้จึงเป็นการอุทธรณ์นอกฟ้องนอกประเด็นและเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า (1) ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ (2) โจทก์หรือจำเลยทั้งหกเป็นฝ่ายผิดสัญญา (3) โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือไม่ เพียงใด โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขาย และตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นการฎีกาในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายกล่าวอ้างมาในฟ้องและที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบด้วย มาตรา 246 ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม มาตรา 249 แห่งบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 5