คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ว.พ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7688/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คดี และหน้าที่การปฏิบัติตามมาตรา 234 ว.พ.พ. แม้ยังไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษา
แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาก็ตาม หากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมจะถูกยกไปในตัว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำขอให้พิจารณาคดีใหม่หากจำเลยยังประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจำเลยก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234โดยต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง หาใช่ไม่ต้องนำเงินมาชำระหรือประกันให้ไว้ต่อศาลไม่แต่เมื่อจำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงว่า "รับอุทธรณ์คำสั่ง สำเนาให้โจทก์แก้" โดยที่มิได้สั่งเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยไม่วางเงินหรือหาประกันมาวางเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงมีเหตุน่าเชื่อว่าจำเลยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนที่จะไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าวให้ถูกต้องเสียก่อนยังไม่ควรด่วนยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7422/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเฉลี่ยทรัพย์พ้นกรอบ 10 ปี มาตรา 271 ว.พ.พ. ไม่อาจอาศัยหมายบังคับคดีอื่น
การขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้เป็นวิธีการบังคับคดีที่โจทก์ในคดีอื่นสามารถยื่นคำขอเข้ามาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290เป็นวิธีการบังคับคดีอย่างหนึ่งที่แตกต่างกับการบังคับคดีด้วยการยึดทรัพย์และขายทอดตลาดซึ่งเป็นวิธีการที่กำหนดในหมายบังคับคดีในคดีอื่นตามมาตรา275(3)คำขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องในคดีนี้จึงนอกเหนือจากและมิอาจอาศัยตามหมายบังคับคดีที่ออกตามคำพิพากษาในคดีอื่นนั้นผู้ร้องเพิ่มมายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาในคดีอื่นนั้นแล้วจึงไม่ชอบด้วยมาตรา271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคลขัดต่อมาตรา 94(ข) ว.พ.พ.
สัญญากู้และสัญญาจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งและมาตรา 714 บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อโจทก์มีสัญญากู้และสัญญาจำนองมาแสดง จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมไปกว่าข้อความที่มีอยู่ในสัญญาทั้งสองนั้นอยู่อีก จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อค้นหาทรัพย์สินเพิ่มเติมตามมาตรา 277 ว.พ.พ.
จำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้จำนองที่ดินเป็นเงินจำนวน 30ล้านบาท เงินจำนวนนี้อาจมีเหลืออยู่ อันเป็นเหตุผลพิเศษที่โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบ จึงมีเหตุให้ศาลทำการไต่สวนและออกหมายเรียกจำเลยมาให้ถ้อยคำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 277
โจทก์ทราบเกี่ยวกับทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องอยู่แล้วเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องสืบเสาะหาราคาเองว่าทรัพย์ที่จำนองไว้ราคาเท่าใดและจำนองไว้เท่าใด ทั้งคำร้องของโจทก์ก็ไม่ได้เจาะจงระบุชื่อนามสกุลบุคคลที่ขอให้ศาลหมายเรียกมาเพื่อให้ศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุผลว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถให้ถ้อยคำที่เป็นประโยชน์จริงหรือไม่ โจทก์จะขอให้หมายเรียกเจ้าหนี้บุริมสิทธิของจำเลย ผู้รับโอนและเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังมาให้ถ้อยคำไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความ: มาตรา 143 ว.พ.พ. ไม่ครอบคลุม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เป็นแต่ให้อำนาจศาลอาจแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจสำหรับในกรณีอื่นดังเช่นที่ผิดพลาดหรือผิดหลงในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอม ศาลจึงไม่จำต้องชี้ว่าข้อที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความ: มาตรา 143 ว.พ.พ. ไม่ครอบคลุม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เป็นแต่ให้อำนาจศาลอาจแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้นไม่ได้ให้อำนาจสำหรับในกรณีอื่นดังเช่นที่ผิดพลาดหรือผิดหลงในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมศาลจึงไม่จำต้องชี้ว่าข้อที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยทรัพย์ที่ยึด: เจ้าของร่วมไม่มีสิทธิขอปล่อยทรัพย์ตาม ม.288 ว.พ.พ.
การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ยึด หากจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ยึดร่วมกับผู้ร้อง ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
ศาลชั้นต้นชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยให้งดสืบพยานของคู่ความแล้วพิพากษาให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาเพียงขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามลำดับ ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดีหรือขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2 ข.
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินที่ยึดทั้งแปลง โดยอ้างว่าผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของรวมครึ่งหนึ่ง ผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์จากราคาที่ดินทั้งแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ ไม่ใช่ฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์โดยตรง จึงไม่เข้า ม.4(1) ว.พ.พ.
คำฟ้องที่ขอให้โอนชื่อในทะเบียนรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยมาเป็นของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ เป็นการขอบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา มิได้บังคับเอาแก่ตัวทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นโดยตรงจะฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์พิพาทนั้นตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุญาตฎีกาของผู้พิพากษา: ดุลยพินิจเด็ดขาดตามมาตรา 221 ว.พ.พ.
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
กฎหมายมอบให้เป็นดุลยพินิจอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2523)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนผู้จัดการมรดก: คำร้องคุ้มครองชั่วคราวไม่ชอบตามมาตรา 264 ว.พ.พ.
ผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับการที่จะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินมรดกของผู้ตาย คงพิพาทกันเพียงว่า สมควรเพิกถอนผู้คัดค้านออกเสียจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และตั้งให้ผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกแทนหรือไม่เท่านั้น ไม่ได้อยู่ที่การจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินมรดกของผู้ตายแต่อย่างใด การที่ผู้ร้องทั้งสอง ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาประโยชน์ในทรัพย์สินมรดกนั้น จึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
of 3