พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำ – ฟ้องซ้อน: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ชี้ขาดประเด็นสิทธิไม่เหมือนกัน ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ว่าประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและไม่ใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ฟ้องซ้ำ และฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144,173 วรรคสอง (1) และมาตรา 148 นั้น มิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อซึ่งจะอุทธรณ์ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรคสองมาตรา 227 และมาตรา 228(3) แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ เพราะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย: สิทธิบอกเลิกสัญญา vs. ค่าปรับรายวัน ศาลชี้ขาดสิทธิเรียกร้องตามสัญญา
ตามสัญญาข้อ9เป็นเรื่องกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวนและผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญาต่อผู้ขายส่วนสัญญาข้อ10กำหนดค่าปรับในกรณีผู้ซื้อไม่บอกเลิกสัญญาต่อผู้ขายและยังคงยินยอมให้ผู้ขายนำสิ่งของที่ตกลงขายตามสัญญามาส่งให้ผู้ซื้อต่อไปผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นรายวันได้ซึ่งต้องปรากฏว่าผู้ขายได้มีการส่งมอบสิ่งของแล้วจะครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ก็ตามแต่ตามข้อเท็จจริงในคดีนี้เนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของทั้งหมดภายในกำหนดสัญญาโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันซึ่งเป็นการปฏิบัติตามสัญญาข้อ9โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ10อีก โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันตามสัญญาการที่ศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันแต่ใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน10,000บาทโดยอาศัยนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391นั้นเป็นการพิพากษาเกินกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคแรกและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทร้องสอด, การแบ่งมรดก, เจ้าของรวม, ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ช. คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็น ทายาทของ ช. ย่อมมีสิทธิ ร้องสอดเข้ามาเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้จึงเป็น คู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)แม้ผู้ร้องทั้งสามจะมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่าเมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไปแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดีคดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดการที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีใหม่ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ร้องทั้งสามด้วยจึงไม่ชอบ โจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นจำนวนเงินตามฟ้องแต่ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้1ส่วนใน5ส่วนการแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วนเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์มรดกระหว่าง เจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวฟังได้เป็นยุติแล้วศาลก็ต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์การที่ศาลวินิจฉัยว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมายแล้วไม่จำต้องพิพากษาให้และยกคำขอส่วนนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับคืนโฉนดที่ดินหลังการบังคับคดีสำเร็จ การสอบถามความเห็นคู่ความก่อนศาลมีคำสั่ง
โจทก์บังคับคดียึดที่ดินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดโดยโจทก์เป็นผู้มอบโฉนดที่ดินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อประกอบการยึดต่อมาจำเลยชำระเงินให้โจทก์พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีครบถ้วนและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ถอนการบังคับคดีแล้วการบังคับคดีย่อมสำเร็จบริบูรณ์หากโจทก์ละเลยเพิกเฉยไม่ไปขอรับโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีความเสียหายย่อมตกแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยฉะนั้นเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอรับโฉนดคืนศาลชั้นต้นชอบที่จะนัดพร้อมโจทก์จำเลยเพื่อสอบถามว่าโจทก์จะคัดค้านประการใดหรือไม่เพื่อจะได้ทำคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา302ต่อไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่นัดพร้อมเพื่อสอบถามคู่ความที่เกี่ยวข้องก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4507/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดก่อนศาลมีคำสั่งชี้ขาดเรื่องรวม/แยกทรัพย์สินเป็นโมฆะ
ในชั้นบังคับคดี จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแยกขายที่ดินทีละแปลง โดยอ้างว่าการขายที่ดินบางแปลงอาจจะได้เงินมาพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากขายรวมกันทุกแปลงแล้วจำเลยที่ 1จะเสียหายมาก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการชั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนให้ยกคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่คำสั่งชี้ขาดในเรื่องให้รวมหรือแยกทรัพย์สินขายทอดตลาดอันจะทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะเลื่อนการขายทอดตลาดไปจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งชี้ขาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 วรรคสอง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไปในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการกระทำโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดี จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิยื่นคำร้องขอ ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดได้ตามมาตรา 296 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน: เสียงข้างมากมีอำนาจตัดสินใจ ไม่จำเป็นต้องให้ศาลชี้ขาดเมื่อเสียงไม่เท่ากัน
ผู้ร้องทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ร่วมกันตามคำสั่งของศาลเมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 ยินยอมให้ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้เข้ารับโอนใบอนุญาตโรงเรียนสืบต่อจาก น. แต่ผู้ร้องที่ 2คัดค้าน ดังนี้เป็นการจัดการมรดกซึ่งผู้จัดการมรดกทำการตามหน้าที่โดยเป็นฝ่ายเสียงข้างมาก ไม่ใช่เสียงเท่ากันในอันที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726
ตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดได้ จึงไม่จำเป็นที่ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวส่วนการที่ผู้ร้องที่ 2 โต้แย้งคัดค้านการที่ผู้ร้องที่ 1 ขอเข้าเป็นผู้รับโอนใบอนุญาตโรงเรียนนั้น หากต้องเสียหาย ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับผู้ร้องที่ 2เป็นคดีใหม่.
ตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดได้ จึงไม่จำเป็นที่ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวส่วนการที่ผู้ร้องที่ 2 โต้แย้งคัดค้านการที่ผู้ร้องที่ 1 ขอเข้าเป็นผู้รับโอนใบอนุญาตโรงเรียนนั้น หากต้องเสียหาย ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับผู้ร้องที่ 2เป็นคดีใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดกเสียงข้างมาก ไม่ต้องขอศาลชี้ขาดหากไม่ใช่กรณีเสียงเท่ากัน
ผู้ร้องทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ร่วมกันตามคำสั่งของศาลเมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 ยินยอมให้ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้เข้ารับโอนใบอนุญาตโรงเรียนสืบต่อจาก น. แต่ผู้ร้องที่ 2คัดค้าน ดังนี้เป็นการจัดการมรดกซึ่งผู้จัดการมรดกทำการตามหน้าที่โดยเป็นฝ่ายเสียงข้างมาก ไม่ใช่เสียงเท่ากันในอันที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดได้ จึงไม่จำเป็นที่ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวส่วนการที่ผู้ร้องที่ 2 โต้แย้งคัดค้านการที่ผู้ร้องที่ 1 ขอเข้าเป็นผู้รับโอนใบอนุญาตโรงเรียนนั้น หากต้องเสียหาย ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับผู้ร้องที่ 2เป็นคดีใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกต้องปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน หากขัดแย้งจนจัดการมรดกไม่ได้ จึงขอให้ศาลชี้ขาดได้ ธนาคารไม่เกี่ยวข้อง
การที่จะขอให้ศาลชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันแล้วมีความเห็นแตกต่างกันจนไม่สามารถจัดการมรดกได้ และเกิดมีเสียงเท่ากัน การที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันละเลยเพิกเฉยไม่ยอมเข้าปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับผู้ร้องในอันที่จะจัดการมรดกนั้น มิใช่เป็นกรณีที่จะมาขอให้ศาลชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ผู้จัดการมรดกจะมาร้องขอให้ศาลออกคำสั่งเรียกให้ธนาคารส่งและแจ้งบัญชีเงินฝากรวมทั้งหลักฐานการเบิกถอนและสรรพเอกสารที่เกี่ยวข้องของผู้ตายหรือของผู้คัดค้านต่อศาลเพื่อให้ตนตรวจสอบหาได้ไม่ เป็นเรื่องที่ผู้จัดมรดกจะต้องดำเนินการเองตามสิทธิและหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและแพ่ง
ผู้ประกันยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ให้ลดค่าปรับเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา198 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคำร้องของผู้ประกันในกรณีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นลดค่าปรับโดยอ้างเหตุเดิมอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของผู้ประกันฉบับหลังว่า ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม และผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจที่จะรับวินิจฉัยให้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพไม่เป็นเหตุลดโทษหากศาลใช้พยานหลักฐานอื่นชี้ขาดความผิด
คำรับสารภาพของจำเลยอันจะถือเป็นเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จะต้องเป็นกรณีที่ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงจะพิจารณาลดโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ การพิจารณาของศาลชั้นต้นปรากฏว่าโจทก์มีพยานหลักฐานมั่นคง ฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงโดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยและศาลชั้นต้นได้อาศัยพยานหลักฐานดังกล่าวในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงและพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ได้อาศัยคำรับสารภาพของจำเลยแต่ประการใดเลยคำรับสารภาพของจำเลยในกรณีเช่นนี้จึงไม่ถือว่า เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จึงไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษอันจะพึงลดโทษให้แก่จำเลยได้