พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้
โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว แต่ยังคงค้างชำระค่าปรับ ปัญหาที่ว่าโจทก์ค้างชำระค่าปรับกรณีชำระค่าเช่าซื้อล่าช้าหรือไม่ และต้องชำระค่าปรับให้แก่จำเลยหรือไม่ เพียงใด เป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับประเด็นที่ว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อแก่จำเลยหรือไม่ โจทก์รับว่าค้างชำระค่าปรับแก่จำเลยตามสัญญาจริงเพียงแต่โต้แย้งว่าค่าปรับสูงเกินไป คดีจึงมีปัญหาว่าค่าปรับตามสัญญา เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนหรือไม่ เมื่อสัญญาเช่าซื้อมีข้อสัญญาว่า โจทก์ (ผู้ซื้อ) ต้องชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลย (ผู้ขาย) โดยผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นระยะเวลา 20 เดือน เป็นรายวัน วันละ 650 บาท ทุก 7 วัน เป็นเงิน 4,550 บาท หากไม่ส่งตามที่กำหนดปรับวันละ 100 บาท ปรับทุกครั้งไปจนกว่าชำระเสร็จให้แก่จำเลย ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ การชำระค่าเช่าซื้อของโจทก์ชำระงวดละ 4,550 บาท ถ้าโจทก์ผิดนัดจะต้องเสียค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จ เท่ากับโจทก์ต้องเสียค่าปรับ 803 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7976/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักชำระหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระ ศาลมีอำนาจนำเงินที่จำเลยชำระแล้วมาหักออกจากยอดหนี้ตามคำฟ้องได้
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองจำเลยในต้นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันจดทะเบียนจำนองจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 8 ปีเศษ โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวจำเลยได้ชำระให้แก่โจทก์บางส่วนและนำมาหักจากดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าครบกำหนดชำระดอกเบี้ยจำเลยไม่ชำระ จึงต้องถือว่าตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์คิดคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระจากจำเลยเต็มจำนวนตั้งแต่วันจดทะเบียนจำนองจนถึงวันฟ้อง แม้ในตอนท้ายของคำฟ้อง โจทก์จะมีคำขอบังคับให้ชำระดอกเบี้ยเพียง 5 ปี เป็นจำนวน 225,000 บาท แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ยอมรับว่า จำเลยได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์บางส่วนแล้ว จำนวน 150,000 บาท ซึ่งทำให้ยอดหนี้ค่าดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องลดลง ศาลจึงมีอำนาจที่จะนำเงินที่จำเลยชำระมาหักออกจากดอกเบี้ยที่ค้างชำระที่โจทก์ขอมาก่อนวันฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อหักค่าดอกเบี้ยที่จำเลยชำระมาแล้วจำนวน 150,000 บาท จึงคงเหลือจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์จำนวน 75,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โฉนดที่ดินออกโดยคลาดเคลื่อน ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้ แม้จำเลยมิได้ขอ
การได้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้วและที่ดินที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อได้ความว่าโจทก์จดทะเบียนรับโอนอาคารและที่ดินโฉนดเลขที่ 24286 โดยไม่มีเจตนาซื้อที่ดินรวมไปถึงที่ดินพิพาท จำเลยจดทะเบียนรับโอนที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาท และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา แต่การออกโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อนไม่ตรงตามเจตนาของผู้ขอออกโฉนดที่ดิน ทำให้ที่ดินพิพาทซึ่งต้องอยู่ในโฉนดที่ดินเลขที่ 24285 กลับไปอยู่ในโฉนดที่ดินเลขที่ 24286 ของโจทก์ ดังนี้ โจทก์จะอ้างสิทธิใดๆ ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 24286 ซึ่งคลาดเคลื่อนไปหาได้ไม่
ป. ที่ดินฯ มาตรา 61 วรรคหนึ่ง ให้อธิบดีกรมที่ดินหรือรองอธิบดีซึ่งอธิบดีมอบหมายใช้อำนาจบริหารในการเพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดินซึ่งออกโดยคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมายเสียได้ เมื่อคดีมาสู่ศาลและศาลเห็นว่าโฉนดที่ดินออกโดยคลาดเคลื่อน ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินในส่วนที่ออกโดยคลาดเคลื่อนได้ มาตรา 61 วรรคแปด กำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาถึงที่สุดไว้แล้ว ศาลไม่จำต้องพิพากษาบังคับให้คู่ความไปดำเนินการขอรังวัดแบ่งแยกโฉนดอีก
จำเลยและจำเลยร่วมยื่นอุทธรณ์มาในฉบับเดียวกัน และเสียค่าขึ้นศาลร่วมกัน เมื่อศาลไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยร่วม คงวินิจฉัยแต่อุทธณณ์ของจำเลย จึงไม่มีค่าขึ้นศาลที่ต้องคืนให้จำเลยร่วม
ป. ที่ดินฯ มาตรา 61 วรรคหนึ่ง ให้อธิบดีกรมที่ดินหรือรองอธิบดีซึ่งอธิบดีมอบหมายใช้อำนาจบริหารในการเพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดินซึ่งออกโดยคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมายเสียได้ เมื่อคดีมาสู่ศาลและศาลเห็นว่าโฉนดที่ดินออกโดยคลาดเคลื่อน ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินในส่วนที่ออกโดยคลาดเคลื่อนได้ มาตรา 61 วรรคแปด กำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาถึงที่สุดไว้แล้ว ศาลไม่จำต้องพิพากษาบังคับให้คู่ความไปดำเนินการขอรังวัดแบ่งแยกโฉนดอีก
จำเลยและจำเลยร่วมยื่นอุทธรณ์มาในฉบับเดียวกัน และเสียค่าขึ้นศาลร่วมกัน เมื่อศาลไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยร่วม คงวินิจฉัยแต่อุทธณณ์ของจำเลย จึงไม่มีค่าขึ้นศาลที่ต้องคืนให้จำเลยร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลยผู้เป็นพนักงานอัยการ ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาได้
ตามพฤติการณ์แห่งคดี จำเลยขอเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาโดยตลอด ทั้งที่พยานจำเลยมีเพียง 2 ปาก ซึ่งรวมทั้งตัวจำเลยด้วย ทั้งคดีเช็คนี้เป็นคดีไม่ยุ่งยาก ศาลชั้นต้นก็ให้โอกาสจำเลยเพื่อนำพยานมาสืบ ครั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้สืบพยานจำเลยใหม่ก็มีการขอถอนทนายจำเลยและเมื่อจำเลยทราบเรื่องการถอนตัวของทนายจำเลยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2542 จำเลยก็ไม่ขวนขวายแต่งทนายความคนใหม่จนกระทั่งถึงวันนัดจึงได้แต่งทนายความคนใหม่ ทั้งที่ศาลนับสืบพยานจำเลยวันที่ 8 ตุลาคม 2542 และในวันนัดจำเลยก็ไม่มาศาลทั้งที่จำเลยเป็นพนักงานอัยการทำงานอยู่ใกล้กับศาลชั้นต้น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดี ที่จำเลยฎีกาว่าทนายความคนใหม่ติดว่าความคดีอื่นนั้น ตามพฤติการณ์แล้วน่าเชื่อว่าจำเลยจงใจที่จะแต่งตั้งทนายความที่ติดว่าความคดีอื่นเพื่อขอเลื่อนคดีต่อไป จำเลยเป็นพนักงานอัยการคดีแพ่งก็ย่อมทราบเรื่องคดีตัวเองดี ถึงแม้ทนายจำเลยจะติดว่าความคดีอื่น จำเลยสามารถที่จะมาศาลและอ้างตนเองเข้าเบิกความเป็นพยานได้ด้วยตนเองและจำเลยทราบล่วงหน้าแล้วว่าศาลนัดสืบพยานจำเลย จำเลยย่อมมีเวลาที่จะหาทนายความคนใหม่ที่มีวันว่างที่จะมาศาลได้ เหตุที่จำเลยอ้างจึงไม่เป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และจำเลยก็ไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่าถ้าศาลไม่ให้เลื่อนต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวทางภารจำยอม/จำเป็น: ศาลมีอำนาจสั่งคุ้มครองหากมีมูลและเหตุเพียงพอ แม้ยังต้องพิสูจน์ในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาว่า ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็น ขอให้ห้ามจำเลยปิดกั้นหรือทำลายทางพิพาทเพื่อให้โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยขอให้มีคำสั่งห้ามจำเลยปิดกั้นและทำลายทางพิพาทและให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นส่วนหนึ่งเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2)เมื่อศาลชั้นต้นพอใจว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้แล้ว จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ยกคำร้องของโจทก์ จำเลยจะต้องโต้เถียงว่า วิธีการที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวมาใช้หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่ศาลจะมีคำสั่งต่อไปตามมาตรา 261 วรรคสาม การที่จำเลยอุทธรณ์ยกเหตุโต้เถียงเพียงว่า ทางพิพาทไม่เคยมีมาก่อน หรือทางพิพาทกว้างประมาณ 3 วา และยาวประมาณ 15 วา นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นพิจารณา ไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ แม้ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลยังคงมีอำนาจกำหนดค่าทนายความได้ หากทนายโจทก์ได้ปฏิบัติในการว่าคดี
ทนายโจทก์เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์ แต่ทนายโจทก์ได้ปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดซ้ำระหว่างพักการลงโทษ ทำให้ไม่ได้รับการล้างมลทิน และศาลมีอำนาจเพิ่มโทษได้
การที่จำเลยกระทำผิดอาญาคดีนี้ขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ฯ กฎกระทรวงมหาดไทย ข้อ 93ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ฯ มาตรา 58 และพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษฯ มาตรา 6 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปีฯ ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปีฯ มาตรา 4 ศาลชั้นต้น ย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยได้
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 กับพวก มีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิดกรรมวิธีในการผลิตมีหลายขั้นตอนตั้งแต่จัดหาสถานที่จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี และแรงงาน ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดตอนหนึ่ง ย่อมถือว่าเป็นตัวการร่วมจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาเครื่องอัดเม็ดและสารเคมี โดยค้นพบผงเมทแอมเฟตามีนหัวเชื้อ อุปกรณ์การผลิตได้ที่บ้านของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกถือว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นตัวการร่วมกันผลิต
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 กับพวก มีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิดกรรมวิธีในการผลิตมีหลายขั้นตอนตั้งแต่จัดหาสถานที่จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี และแรงงาน ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดตอนหนึ่ง ย่อมถือว่าเป็นตัวการร่วมจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาเครื่องอัดเม็ดและสารเคมี โดยค้นพบผงเมทแอมเฟตามีนหัวเชื้อ อุปกรณ์การผลิตได้ที่บ้านของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกถือว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นตัวการร่วมกันผลิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา ศาลมีอำนาจสั่งได้ แม้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหาย
การที่จำเลยวางเงินต่อศาลเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไป ก็เพื่อเป็นการบรรเทาผลร้ายจากการกระทำผิดของจำเลย และจำเลยยังประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการลงโทษจำเลยสถานเบาด้วยซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเหตุบรรเทาโทษให้จำเลยแล้วทั้งการวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับนั้นย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยจะไม่ถอนเงินออกไปหากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้นการที่ผู้เสียหายไม่ยอมรับเงินในครั้งแรกก็เนื่องด้วยเห็นว่าเป็นจำนวนน้อยเกินไปมิใช่ไม่ประสงค์จะเรียกค่าเสียหายหรือไม่ประสงค์จะรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลและเมื่อศาลได้สอบถามแล้วผู้เสียหายประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจถอนเงินจำนวนดังกล่าวได้
แม้คดีนี้จะเป็นคดีอาญาและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือมีคำขอเกี่ยวกับเงินค่าเสียหาย แต่จำเลยเป็นผู้ขอวางเงินชดใช้ค่าเสียหายโดยประสงค์จะให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการวางโทษจำเลยสถานเบาการวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคดีศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าวได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
แม้คดีนี้จะเป็นคดีอาญาและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือมีคำขอเกี่ยวกับเงินค่าเสียหาย แต่จำเลยเป็นผู้ขอวางเงินชดใช้ค่าเสียหายโดยประสงค์จะให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการวางโทษจำเลยสถานเบาการวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคดีศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าวได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8707/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารที่ไม่ส่งสำเนาก่อนสืบพยาน: ศาลมีอำนาจหากเป็นประโยชน์แก่ความยุติธรรมและเกี่ยวข้องประเด็นสำคัญ
แม้สำเนาสัญญาเช่าซึ่งโจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลในภายหลังจะมิใช่หลักฐานโดยตรงในเรื่องการเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ถือเป็นพยานสำคัญในการชั่งน้ำหนักพยานโจทก์ แล้วนำไปเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้เป็นผู้เช่าที่นาของโจทก์ ปัญหาเรื่องการรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวหรือไม่ นับว่ามีผลต่อรูปคดี อย่างมาก เพราะอาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้ จึงเป็นข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้แล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาอีก
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) บัญญัติ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยาน หลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้น ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 88 และ 90 แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าภาพถ่ายสัญญาเช่าซึ่งโจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลในภายหลังโดยโจทก์มิได้ส่งสำเนาให้จำเลย เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่จะนำข้อเท็จจริงไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานนี้ได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) บัญญัติ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยาน หลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้น ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 88 และ 90 แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าภาพถ่ายสัญญาเช่าซึ่งโจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลในภายหลังโดยโจทก์มิได้ส่งสำเนาให้จำเลย เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่จะนำข้อเท็จจริงไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยต้องยื่นคำร้องก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น ศาลมีอำนาจเพิกถอน/แก้ไขกระบวนการ
คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตาม น.ส. 3 รวม 12 แปลง เป็นของโจทก์และขับไล่จำเลย และบริวารออกจากที่ดินพิพาทและให้ใช้ค่าเสียหาย จำเลยไม่ส่งมอบที่ดิน 12 แปลงแก่โจทก์ตามคำพิพากษา หลังจากศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่หลายร้อยไร่และยังมีปัญหาโต้แย้งแนวเขต ที่ดินกับจำเลย จะมีปัญหาในการบังคับคดี ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้น เห็นว่าโจทก์และจำเลยยังโต้แย้งในเนื้อที่ดินพิพาท จึงให้นัดไต่สวน ต่อมาเมื่อสืบพยานโจทก์ไปบางส่วนแล้วศาลชั้นต้น มีคำสั่งงดการไต่สวนโดยวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไปว่ากล่าวเป็นคดีต่างหาก ถ้าการบังคับคดีเป็นที่เสียหายแก่จำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นอำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งเช่นนั้นได้
เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จลงเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จลงเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542