คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลยุติธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น: การยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมหรือไม่ชอบตามกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ มีเจตนารมณ์ที่ให้อำนาจการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ตั้งแต่เริ่มจัดการการเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง ผู้ที่ร้องในคดีนี้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่านาย ย. เสียสิทธิในการรับสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย เนื่องจากขาดคุณสมบัติไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งอันเป็นการยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นฯ มาตรา 50 ประกอบมาตรา 49 ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้บัญญัติให้ยื่นต่อศาลยุติธรรมการที่ผู้ร้องยื่นต่อศาลยุติธรรมจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลยุติธรรมอ้างอิงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และหลักการไม่ส่งเรื่องให้วินิจฉัยซ้ำ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคท้าย บัญญัติว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้ว ศาลยุติธรรมย่อมยกขึ้นอ้างในคดีได้โดยไม่ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยซ้ำอีก
ที่จำเลยทั้งสามอ้างว่า พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 30, 32, 42 ทวิ, 45 ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 46, 50, 87 นั้น จำเลยทั้งสามมิได้ให้เหตุผลว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างไร จึงมิใช่กรณีที่ศาลฎีกาจะต้องส่งข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสามไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยคำโต้แย้งขัดรัฐธรรมนูญ: ศาลยุติธรรมมีอำนาจเบื้องต้นก่อนส่งศาลรัฐธรรมนูญ
แม้อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ไว้พิจารณาจะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264 วรรคสอง แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่า คำโต้แย้งของคู่ความเข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่นั้น เป็นอำนาจของศาลยุติธรรมตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง
คำโต้แย้งของจำเลยที่ 3 ไม่ชัดแจ้งว่า บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30 อย่างไร หรือเป็นเพราะเหตุใดบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวก่อให้เกิดผลที่จะทำให้บุคคลไม่มีความเสมอกันในกฎหมายหรือได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่เท่าเทียมกันเป็นคำโต้แย้งที่ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการส่งคำโต้แย้งรัฐธรรมนูญ: ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนส่งศาลรัฐธรรมนูญ
อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ไว้พิจารณา เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264 วรรคสอง แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่าคำโต้แย้งของคู่ความเข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่เป็นอำนาจของศาลยุติธรรมตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง มิใช่ว่าหากคู่ความมีคำโต้แย้งในเรื่องนี้อย่างไรแล้วศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยทุกกรณีไป
คำโต้แย้งของจำเลยที่ 3 ที่กล่าวอ้างในคำร้องมีใจความเพียงว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 มิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลที่จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลตามมาตรา 229 ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 229 ที่ใช้บังคับแก่คดีจึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 30 จำเลยที่ 3 จึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่เท่าเทียมกัน บทบัญญัติมาตรา 229 ใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 คำโต้แย้งดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่า บทบัญญัติมาตรา 229 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 30 อย่างไรหรือเป็นเพราะเหตุใดบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวก่อให้เกิดผลที่จะทำให้บุคคลไม่มีความเสมอกันในกฎหมายหรือได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่เท่าเทียมกัน เป็นคำโต้แย้งที่ไม่ต้องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 ศาลปฏิเสธไม่ส่งคำโต้แย้งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้และคำสั่งของศาลมิใช่เป็นการวินิจฉัยว่าบทบัญญัติกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลยุติธรรมต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการโอนคดีให้ศาลปกครองตาม พ.ร.บ.ชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและเป็นการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (8) เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอีกศาลหนึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 บัญญัติให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่ศาลรับฟ้องเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ถ้าศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลที่ส่งความเห็น ให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อให้มีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลนั้นหรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ แต่ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติถึงกระบวนการชี้ขาดเรื่องอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล กล่าวคือหากศาลยุติธรรมเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัตินี้
เมื่อศาลชั้นต้นที่เป็นศาลยุติธรรมเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองซึ่งกรณีนี้คือศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลชั้นต้นต้องจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองเชียงใหม่ หากศาลปกครองเชียงใหม่เห็นว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะโอนคดีไปยังศาลปกครองเชียงใหม่หรือจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์ไปฟ้องคดีที่ศาลปกครองเชียงใหม่ แต่ถ้าศาลปกครองเชียงใหม่มีความเห็นแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนี้ ศาลชั้นต้นก็ต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์ทันทีนั้นไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ศาลยุติธรรมต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการโอนคดีไปยังศาลปกครองเมื่อเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลปกครอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับฟ้องโจทก์ไว้เป็นไม่รับฟ้องโดยให้เหตุผลว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลนี้ที่จะพิจารณาพิพากษา คำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีของโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542มาตรา 9(1) นั่นเอง ศาลชั้นต้นต้องทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับฟ้องไว้เป็นไม่รับฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีเก่าก่อนพ.ร.บ.ศาลยุติธรรม 2543 และการคิดดอกเบี้ย
ตามมาตรา 5 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมพ.ศ. 2543 บัญญัติว่า "บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าคดีจะถึงที่สุด" คำว่า "จนกว่าคดีจะถึงที่สุด" นั้น หมายถึง ถึงที่สุดตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 147 คือ คดีที่ได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกา และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้ว กรณีหาได้มีความหมายว่าถึงที่สุดในแต่ละชั้นศาล ปรากฏว่าคดีนี้โจทก์ได้ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 อันเป็นวันก่อนพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับนี้ใช้บังคับ คดียังมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อมา คดีจึงยังไม่ถึงที่สุดจึงต้องบังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนคือ พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 และพระธรรมนูญศาลยุติธรรมซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับเดิม มาตรา 10(4)(1) ให้อำนาจประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีใด ๆ ของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์การหยุดละเมิดลิขสิทธิ์: ศาลต้องไต่สวนเพื่อความยุติธรรม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทำละเมิดสิทธิ์ต่อโจทก์ การที่จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีก็เป็นเรื่องที่ฝ่ายจำเลยใช้สิทธิตามที่กฎหมายวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้นมิได้หมายความว่าหลังจากใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวแล้วฝ่ายจำเลยจะต้องทำละเมิดลิขสิทธิ์ของฝ่ายโจทก์ตลอดมา เพราะฝ่ายจำเลยอาจไม่กล้าเสี่ยงที่จะดำเนินธุรกิจที่มีข้อพิพาทนี้ต่อไปหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้แล้วก็เป็นได้ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นงดไต่สวนพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยังคงทำละเมิดต่อโจทก์ตลอดมาและได้หยุดกระทำละเมิด ณ วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาให้จำเลยหยุดกระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีนั้น จึงต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา แต่ที่ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยหยุดการทำละเมิด ณ วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกามาด้วยนั้นยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองระหว่างที่ศาลปกครองยังมิได้เปิดทำการ
เมื่อประธานศาลปกครองสูงสุดยังมิได้ประกาศกำหนดให้ศาลปกครองกลางเปิดทำการในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ต้องถือว่ายังไม่มีศาลปกครองกลางที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจซึ่งเป็นศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 105 บัญญัติให้ศาลอื่นที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับ มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีนั้นถึงที่สุดเป็นเหตุผลที่แสดงว่าศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีปกครองที่ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่อไป คงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาได้เฉพาะคดีที่ยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้น มาตรา 105 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าวเพียงแต่บัญญัติรับรองอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเหล่านั้นต่อไปได้โดยไม่ต้องจำหน่ายคดีให้ไปฟ้องต่อศาลปกครองที่จะเปิดทำการในเวลาต่อมา หาใช่ประสงค์จะจำกัดอำนาจศาลยุติธรรมไม่ให้รับฟ้องคดีปกครองในระหว่างที่ศาลปกครองกลางยังไม่ได้เปิดทำการดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
แม้โจทก์อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2542 มาตรา 12 แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ในขณะที่ศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนศาลปกครองเปิดทำการ
เมื่อประธานศาลปกครองสูงสุดยังมิได้ประกาศกำหนดให้ศาลปกครองกลางเปิดทำการในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ต้องถือว่ายังไม่มีศาลปกครองกลางที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจซึ่งเป็นศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 มาตรา 105 บัญญัติให้ศาลอื่นที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่ พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับ มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีนั้นถึงที่สุดเป็นเหตุผลที่แสดงว่าศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีปกครองที่ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่อไป คงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาได้เฉพาะคดีที่ยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเพียงแต่บัญญัติรับรองอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้องคดีปกครองหรือที่คดีปกครองอยู่ในระหว่างการพิจารณาในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเหล่านั้นต่อไปได้โดยไม่ต้องจำหน่ายคดีให้ไปฟ้องต่อศาลปกครองที่จะเปิดทำการในเวลาต่อมาหาใช่ประสงค์จะจำกัดอำนาจศาลยุติธรรมไม่ให้รับฟ้องคดีปกครองในระหว่างที่ศาลปกครองกลางยังไม่ได้เปิดทำการดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
แม้โจทก์อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2542 มาตรา 12 แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองในขณะที่ศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
of 3