คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลสูง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8335/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริง: ข้อจำกัดและขอบเขตการพิจารณาของศาลสูง
ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 390 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของโจทก์ร่วมและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและสั่งรับฎีกาของโจทก์ร่วมในความผิดฐานนี้มาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกขัดแย้ง: ต้องตามคำพิพากษาศาลสูงกว่า แม้แบ่งไปแล้วก่อนหน้า
โจทก์เป็นผู้จัดการมรดก พ. มีหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การแบ่งเป็นทรัพย์มรดกเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 แม้โจทก์ได้ทำการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสามไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดให้โจทก์แบ่งที่ดินมรดกให้แก่จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วน และโจทก์ได้ทำการแบ่งแยกให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีการฟ้องร้องก่อนที่โจทก์จะแบ่งแยกที่ดินมรดกให้จำเลยทั้งสาม ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินมรดกเป็น 7 ส่วน แล้วให้ส. ได้รับส่วนแบ่ง 1 ส่วน ดังนี้ คำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลตามคดีแพ่งทั้งสองคดีดังกล่าวย่อมขัดกัน กรณีต้องถือตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลที่สูงกว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง ด้วย เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกออกเป็น 4 ส่วน แบ่งให้จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วนไม่เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์แบ่งเป็นทรัพย์มรดกรายนี้เสร็จสิ้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดพิพาทให้โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกต่อไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790-3792/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่? ศาลสูงมีอำนาจย้อนสำนวนเพื่อสืบพยานได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน
แม้คำสั่งที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจะเป็นคำสั่งที่ชอบ แต่เป็นคำสั่งที่ชอบเฉพาะประเด็นที่ว่าโจทก์ในฐานะคู่ความจะอุทธรณ์ในเรื่องขอสืบพยานใหม่ไม่ได้มิได้หมายความว่าห้ามศาลสูงมิให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ได้ ซึ่งอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในอันที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่นั้นมีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 เมื่อคดีนี้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมทั้งมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่โจทก์จึงมีสิทธิที่จะสืบพยานต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684-2689/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้รายละเอียดไม่ครบถ้วน ศาลสูงมีอำนาจย้อนสำนวนเพื่อสืบพยานเพิ่มเติม
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์รวมถึงการที่จำเลยแต่ละคนทำละเมิดเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใดและจะต้องรับผิดต่อโจทก์ให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดีไม่มีข้อความใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วแม้มิได้ระบุว่าบุกรุกอย่างไรและมีความกว้างยาวเท่าใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นนี้แม้คำสั่งศาลชั้นต้นจะเป็นคำสั่งที่ชอบแต่ก็เป็นคำสั่งที่ชอบเฉพาะประเด็นที่ว่าโจทก์ในฐานะคู่ความจะอุทธรณ์ในเรื่องขอสืบพยานใหม่ไม่ได้เท่านั้นมิได้หมายความว่าห้ามศาลอุทธรณ์มิให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ด้วยซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: โต้เถียงข้อเท็จจริงที่รับสารภาพแล้วในชั้นศาลสูง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ต่อมาธนาคารตามเช็คปฎิเสธการจ่ายเงิน จำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า ขณะที่จำเลยออกเช็คนั้นยังไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องนั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 อีกด้วย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7058/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทไม่ตรงกับคำฟ้อง-คำให้การ ศาลสูงมีอำนาจกำหนดประเด็นใหม่ได้
ตามคำฟ้องและคำให้การ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้ตามฟ้องเป็นการแสดงเจตนาลวงหรือไม่ เมื่อคดีมีประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่า จำเลยให้คำมั่นว่าจะขายที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์หรือไม่ จึงไม่ตรงกับคำฟ้องและคำให้การเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้คัดค้านไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามมาตรา 226 (2) แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลสูงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเดิมแก้ไขไม่ได้ ต้องรอคำพิพากษาศาลสูงกว่า การฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งเดิมในคดีเดิมเป็นเรื่องข้อปลีกย่อย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้จัดการมรดกของล. เป็นโมฆะนั้นตามกฎหมายคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีจะถูกศาลพิพากษาเป็นโมฆะไม่ได้เว้นแต่จะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสียโดยคำพิพากษาของศาลในลำดับที่สูงกว่าและที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่าใบแต่งทนายความและกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งคำเบิกความของพยานก็รบฟังไม่ได้นั้นก็เป็นกระบวนพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาดก็ดีเมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ในคดีของศาลชั้นต้นจึงมีผลเช่นเดียวกับการขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นโมฆะเช่นกันส่วนที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่1เป็นโมฆะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมนั้นการจะพิพากษาให้บังคับตามคำขอนี้ได้จะต้องให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นตกเป็นโมฆะเสียก่อนเมื่อคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ขอให้ศาลพิพากษาในข้อที่ไม่อาจจะพิพากษาให้ได้โดยชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้ฎีกาของโจทก์ซึ่งล้วนกล่าวอ้างข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้พิจารณาจึงเป็นข้อปลีกย่อยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและเมื่อคำฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจจะพิพากษาให้ได้เช่นนี้ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการยึด/ขายทอดตลาดหลังพ้นกำหนดเวลา – ต้องห้ามมิให้ยกขึ้นในชั้นศาลสูง
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดและการขายทอดตลาดเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสองแล้ว โดยมิได้มีคำร้องขอขยายเวลาตามมาตรา 23มาด้วย ปัญหาว่าควรขยายเวลาแก่จำเลยหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยจะยกขึ้นมาในชั้นศาลสูงเพื่อให้ขยายเวลาแก่จำเลยหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ต้องมีบันทึกเหตุผลชัดเจนตามกฎหมาย
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นผู้มีอำนาจที่จะอนุญาตให้คดีขึ้นสู่ การพิจารณาของศาลสูง จะต้อง บันทึกข้อความลงไว้ให้ครบหลักเกณฑ์ ทั้งสองประการตาม ที่มีกำหนดไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี โดย ชัดเจนคือ จะต้อง บันทึกความเห็นของตน ให้ได้ความว่า ข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งจะต้อง บันทึกยืนยันด้วย ว่าตน อนุญาตให้อุทธรณ์ได้ การที่สั่งว่า"อนุญาตให้อุทธรณ์" เพียงเท่านี้ ยังถือ ไม่ ได้ว่ามีการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงโดย ชอบด้วย กฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลสูงมีอำนาจกำหนดโทษกระทงเบาได้ แม้กระทงหนักถูกยกฟ้อง
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ตามมาตรา 357 และพกพาอาวุธไปในที่ชุมชนตามมาตรา 371 แต่ให้ลงโทษกระทงหนักตามมาตรา 357 และจำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์เฉพาะข้อฐานรับของโจร นั้น ความผิดของจำเลยฐานพกพาอาวุธไปในที่ชุมนุมชนตามมาตรา 371 ที่ยุติแล้ว ก็ยังคงมีอยู่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลสูง(ศาลอุทธรณ์)พิพากษายกฟ้องฐานรับของโจรอันเป็นกระทงหนัก ศาลสูง(ศาลอุทธรณ์)ก็มีอำนาจกำหนดโทษในความผิดกระทงเบาฐานพกพาอาวุธไปในที่ชุมชนที่ยังมีอยู่นั้นได้ ไม่เป็นการนอกเหนือกฎหมาย ตามนัยฎีกาที่ 1196/2502 และเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดโทษ ศาลฎีกาก็กำหนดโทษไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์กำหนดได้.
of 3