คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลเจ้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4806/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของศาลเจ้า: กุศลสถานประเภทศาลเจ้ามีอำนาจฟ้องคดีได้ แม้มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน
กฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า ลงวันที่ 15 มีนาคมพุทธศักราช 2463 ข้อ 4 กำหนดว่า ที่ดินที่ศาลเจ้าตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐบาลก็ดีหรือในที่ดินของเอกชน แต่ได้อุทิศให้เป็นสมบัติสำหรับศาลเจ้าโดยสิทธิขาดแล้วก็ดีในหัวเมืองนอกจากเขตกรุงเทพมหานครให้มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินไว้ในนามกรมปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตามโฉนดที่ดินระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ว่ากรมพะลำภังค์ กระทรวงมหาดไทย (ศาลเจ้าเจตึ๊ง) เมื่อกรมพะลำภังค์ กระทรวงมหาดไทย ก็คือกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในปัจจุบันนี้ ตามกฎเสนาบดีดังกล่าว ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการปกครองศาลเจ้าโจทก์ได้ตามกฎเสนาบดีดังกล่าวข้อ 13 และตามกฎเสนาบดีข้อ 14 กำหนดให้ผู้จัดการปกครองศาลเจ้ามีอำนาจหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาลเจ้าในฐานะและกาลอันสมควร และมีอำนาจหน้าที่เข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยในอรรถคดีทั้งแพ่งและอาญาอันเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทก็ตาม
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า โจทก์เป็นกุศลสถานประเภทศาลเจ้า มี ว.เป็นผู้จัดการปกครองศาลเจ้า ที่ดินของโจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยกระทรวงมหาดไทย ตามสำเนาแผนที่จำลองในโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ดังนั้น โจทก์จึงนำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ไม่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำฟ้อง
การประกาศเปลี่ยนชื่อหน่วยราชการเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลรู้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4806/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของศาลเจ้า: แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่มีผู้จัดการที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าฯ สามารถฟ้องได้ตามกฎหมาย
กฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า ลงวันที่ 15 มีนาคมพุทธศักราช 2463 ข้อ 4 กำหนดว่า ที่ดินที่ศาลเจ้าตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐบาล ก็ดีหรือในที่ดินของเอกชน แต่ได้อุทิศให้เป็นสมบัติสำหรับศาลเจ้าโดยสิทธิขาดแล้วก็ดีในหัวเมืองนอกจากเขตกรุงเทพมหานครให้มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินไว้ในนามกรมปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตามโฉนดที่ดินระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ว่ากรมพะลำภังค์กระทรวงมหาดไทย(ศาลเจ้าเจตึ๊ง)เมื่อกรมพะลำภังค์ กระทรวงมหาดไทย ก็คือกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ในปัจจุบันนี้ ตามกฎเสนาบดีดังกล่าวผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการปกครองศาลเจ้าโจทก์ได้ตามกฎเสนาบดีดังกล่าวข้อ 13 และตามกฎเสนาบดีข้อ 14กำหนดให้ผู้จัดการปกครองศาลเจ้ามีอำนาจหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาลเจ้าในฐานะและกาล อันสมควรและมีอำนาจหน้าที่เข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยในอรรถคดีทั้งแพ่งและอาญาอันเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทก็ตาม โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า โจทก์เป็นกุศลสถานประเภทศาลเจ้า มีว.เป็นผู้จัดการปกครองศาลเจ้า ที่ดินของโจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยกระทรวงมหาดไทย ตามสำเนาแผนที่จำลองในโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องดังนั้น โจทก์จึงนำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ไม่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำฟ้อง การประกาศเปลี่ยนชื่อหน่วยราชการเป็นข้อเท็จจริง ที่รู้กันอยู่ทั่วไป ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลรู้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ในศาลเจ้า: เงินบริจาคไม่ใช่ทรัพย์ทางศาสนา ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 340 ทวิ
เงินในตู้บริจาคของศาลเจ้าและเงินของผู้ดูแลศาลเจ้า แม้จะเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้า ก็มิใช่วัตถุในทางศาสนา การที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้กระทำต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก และไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสองได้ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 340 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ในศาลเจ้า: เงินในศาลเจ้าไม่ใช่ทรัพย์ทางศาสนา ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 340 ทวิ
เงินในตู้บริจาคของศาลเจ้าและเงินของผู้ดูแลศาลเจ้าแม้จะเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้า ก็มิใช่วัตถุในทางศาสนา การที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้กระทำต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 ทวิ วรรคแรก และไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิวรรคสอง ได้ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 340 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ในศาลเจ้า: เงินบริจาคไม่ใช่ทรัพย์ทางศาสนา, ความผิดตาม ม.340 ไม่ใช่ ม.340ทวิ
เงินในตู้บริจาคของศาลเจ้าและเงินของผู้ดูแลศาลเจ้า แม้จะเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้า ก็มิใช่วัตถุในทางศาสนา การที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้กระทำต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ วรรคแรกและไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสองได้ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 340 ทวิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนตามกฎหมายอาญา: การประกาศข้อเท็จจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของศาลเจ้าและการกุศลสาธารณะ
เดิมโจทก์เป็นผู้เช่าอาคารและบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีต่อมาสัญญาเช่าหมดอายุ ทางราชการได้อนุมัติให้ ธ เป็นผู้เช่าในนามของคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมือง โจทก์ก็ยังคงอยู่ในที่เช่าและคงขายธูป เทียน และทองอีกต่อไปจำเลยได้ออกประกาศมีข้อความว่า 'โปรดทราบ ดอกไม้ ธูป เทียนทอง น้ำมัน ของเจ้าพ่อมีจำหน่ายที่ศาลาเพียงแห่งเดียว รายได้ทั้งนำมาบำรุงเจ้าพ่อ ร้านที่ขายอยู่เก่าหมดสัญญาแล้ว แต่ยังดื้อขายอยู่เพื่อเอารายได้เป็นของตัวเอง คณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี' เมื่อโจทก์ยอมรับว่าตั้งแต่ครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ไม่เคยนำเงินรายได้และค่าเช่าไปมอบให้ทางราชการเลย แสดงว่าโจทก์จำหน่ายสิ่งของดังกล่าวแล้วเอารายได้เป็นของตนเอง พฤติการณ์ของโจทก์จึงเป็นความจริงตามประกาศของจำเลย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีมีหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินกิจการศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นลูกจ้างคนงานของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จำเลยทั้งหกจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินกิจการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองซึ่งเป็นการกุศลสาธารณประโยชน์และประชาชนทั่วไปมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งหกประกาศข้อความดังกล่าวโดยสุจริตเพื่อชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของศาลเจ้าฯ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
เดิมโจทก์เป็นผู้เช่าอาคารและบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีต่อมาสัญญาเช่าหมดอายุทางราชการได้อนุมัติให้ธเป็นผู้เช่าในนามของคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองโจทก์ก็ยังคงอยู่ในที่เช่าและคงขายธูปเทียนและทองอีกต่อไปจำเลยได้ออกประกาศมีข้อความว่า'โปรดทราบดอกไม้ธูปเทียนทองน้ำมันเจ้าพ่อมีจำหน่ายที่ศาลาเพียงแห่งเดียวรายได้ทั้งนำมาบำรุงเจ้าพ่อร้านที่ขายอยู่เก่าหมดสัญญาแล้วแต่ยังดื้อขายอยู่เพื่อเอารายได้เป็นของตัวเองคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี'เมื่อโจทก์ยอมรับว่าตั้งแต่ครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วโจทก์ไม่เคยนำเงินรายได้และค่าเช่าไปมอบให้ทางราชการเลยแสดงว่าโจทก์จำหน่ายสิ่งของดังกล่าวแล้วเอารายได้เป็นของตนเองพฤติการณ์ของโจทก์จึงเป็นความจริงตามประกาศของจำเลยจำเลยที่1ถึงที่4เป็นกรรมการในคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีมีหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินกิจการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจำเลยที่5ที่6เป็นลูกจ้างคนงานของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจำเลยทั้งหกจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินกิจการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองซึ่งเป็นการกุศลสาธารณประโยชน์และประชาชนทั่วไปมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องด้วยการที่จำเลยทั้งหกประกาศข้อความดังกล่าวโดยสุจริตเพื่อชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา329(1)จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ในคดีขับไล่ และอำนาจฟ้องของศาลเจ้า รวมถึงการนำสืบหลักฐานการแต่งตั้งผู้จัดการ
อสังหาริมทรัพย์ที่ฟ้องขับไล่อาจให้เช่าได้เดือนละไม่เกิน 5,000 บาท หรือไม่เมื่อโจทก์มิได้กล่าวความข้อนี้มาในฟ้อง ก็ต้องพิจารณาจาก ข้อเท็จจริงในสำนวนเมื่อบ้านพิพาทปลูกสร้างมาไม่น้อยกว่า 50 ปี บนเนื้อที่ประมาณ 20 ตารางวา ดังนี้ จึงอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ5,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคสอง ผู้จัดการปกครองและผู้ตรวจตราสอดส่องศาลจ้าวมีอำนาจฟ้องแทนศาลจ้าวได้ และการนำสืบการแต่งตั้งผู้จัดการปกครองและผู้ตรวจตราศาลจ้าวตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 นั้น มิได้ บัญญัติว่าจะต้องมีเอกสาร (หมายตั้ง) มาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายเฉพาะ (กฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถาน) เหนือกฎหมายทั่วไป (ประมวลกฎหมายอาญา) ในคดีบุกรุกศาลเจ้า
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัยในศาลาโรงธรรมบ้านขมิ้นตั้งอยู่ที่ดินของกระทรวงมหาดไทย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 364,365 ทางพิจารณาได้ความว่าศาลาโรงธรรมบ้านขมิ้นได้ขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าไว้แล้ว จึงต้องบังคับตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้าข้อ 22 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นกฎหมายทั่วไปที่ใช้บังคับภายหลังและมิได้บัญญัติยกเลิกกฎเสนาบดีดังกล่าวหาได้ไม่ ทั้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าวเป็นการอ้างกฎหมายผิดเป็นคนละเรื่อง มิใช่เป็นการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ศาลจะลงโทษจำเลยตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้าข้อ 22 มิได้ เพราะขัดต่อมาตรา 192 วรรคแรก จึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายเฉพาะ (กฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถาน) เหนือกฎหมายทั่วไป (ประมวลกฎหมายอาญา) ในคดีบุกรุกศาลเจ้า
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัยในศาลาโรงธรรมบ้านขมิ้นตั้งอยู่ในที่ดินของกระทรวงมหาดไทย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,364,365 ทางพิจารณาได้ความว่าศาลาโรงธรรมบ้านขมิ้นได้ขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าไว้แล้ว จึงต้องบังคับตามเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ข้อ 22 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นกฎหมายทั่วไปที่ใช้บังคับภายหลังและมิได้บัญญัติยกเลิกกฎเสนาบดีดังกล่าวหาได้ไม่ ทั้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว เป็นการอ้างกฎหมายผิดเป็นคนละเรื่อง มิใช่เป็นการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคห้า ศาลจะลงโทษจำเลยตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ข้อ 22 มิได้ เพราะขัดต่อมาตรา 192 วรรคแรก จึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้อง
of 3