พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องระหว่างไต่สวนมูลฟ้องไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลเพิกถอนคำสั่งอนุญาตแก้ไขและงดสืบพยานไม่ชอบ
การยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำฟ้องในระหว่างการไต่สวนมูลฟ้องซึ่งจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคท้าย ย่อมไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบเพราะศาลชั้นต้นยังมิได้ประทับฟ้องไว้พิจารณา และจำเลยก็ยังไม่ได้ต่อสู้คดีหรือนำพยานเข้าสืบ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 164 คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้หรือเพิ่มเติมคำฟ้องได้ จึงเป็นคำสั่งโดยชอบหาใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้หรือเพิ่มเติมคำฟ้องและให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้มีการสืบพยานโจทก์จำเลยให้สิ้นกระแสความก่อน ย่อมเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีโดยมีเหตุสุดวิสัยและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่ผิดระเบียบ
ตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์อ้างว่า ทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้เนื่องจากรถยนต์ที่ใช้เดินทางกลับจากการทำธุรกิจที่จังหวัดเชียงใหม่เสียกะทันหันและอยู่ไกลร้านซ่อมรถไม่สามารถซ่อมรถได้ทันทนายโจทก์จึงไปที่ศาลจังหวัดฝาง เมื่อเวลาประมาณ 14 นาฬิกา เพื่อยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดฝางในขณะนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 และเป็นอำนาจของศาลจังหวัดฝางที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของทนายโจทก์ว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้อง
ศาลจังหวัดฝางมีคำสั่งในคำร้องของทนายโจทก์ว่าจัดการให้ แม้จะไม่ชัดแจ้งว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแต่ต้องถือเป็นคำสั่งที่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปได้โดยปริยายถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้นที่โจทก์ไม่ไปศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจึงมิอาจถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีก่อนทราบคำสั่งของศาลจังหวัดฝางดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลงต้องถือว่ามีกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในศาลชั้นต้นที่ต้องสั่งเพิกถอนแล้ว เมื่อศาลจังหวัดฝางส่งคำร้องของทนายโจทก์และคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทราบทางโทรสารศาลชั้นต้นจึงชอบที่สั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
ศาลจังหวัดฝางมีคำสั่งในคำร้องของทนายโจทก์ว่าจัดการให้ แม้จะไม่ชัดแจ้งว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแต่ต้องถือเป็นคำสั่งที่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปได้โดยปริยายถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้นที่โจทก์ไม่ไปศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจึงมิอาจถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีก่อนทราบคำสั่งของศาลจังหวัดฝางดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลงต้องถือว่ามีกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในศาลชั้นต้นที่ต้องสั่งเพิกถอนแล้ว เมื่อศาลจังหวัดฝางส่งคำร้องของทนายโจทก์และคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทราบทางโทรสารศาลชั้นต้นจึงชอบที่สั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลความไม่ชอบด้วยกฎหมายและโอกาสชนะคดี มิฉะนั้นศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับคำร้องได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อ้างว่า จำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ตามฟ้อง การส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้อง หมายนัดและคำบังคับแก่จำเลยที่บ้านเลขที่ตามฟ้อง จึงไม่ชอบ จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา หากจำเลยได้ทราบถึงการฟ้องคดีแต่ต้น จำเลยย่อมต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีเนื่องจากเป็นคดีมีทุนทรัพย์สูง และจำเลยมีหลักฐานเอกสารที่จะเสนอต่อศาลเพื่อหักล้างข้อกล่าวอ้างของโจทก์อันอาจเป็นเหตุให้ศาลพิพากษาคดีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และเหตุที่จำเลยยื่นคำร้องล่าช้าเพราะจำเลยเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวอ้างแต่เหตุที่จำเลยขาดนัดและเหตุแห่งการที่ยื่นคำขอล่าช้าเท่านั้นจำเลยไม่ได้กล่าวอ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดี ไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไร และไม่ได้แสดงเหตุผลว่าหากมีการอนุญาตให้พิจารณาใหม่ จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร จำเลยไม่ได้กล่าวว่าพยานหลักฐานใดของโจทก์ที่รับฟังไม่ได้ว่า จำเลยต้องรับผิดตามฟ้อง และมิได้กล่าวถึงพยานหลักฐานของจำเลยว่ามีอย่างใดบ้างที่จะทำให้จำเลยชนะคดีได้ จึงไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้าย
แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยและได้ทำการไต่สวนพยานจำเลยไปบ้างแล้ว แต่เมื่อต่อมาได้ปรากฏต่อศาลชั้นต้นเองว่า การสั่งรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยนั้น มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้าย ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งไม่รับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเพื่อให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีดังที่บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 27 ให้อำนาจไว้
การสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งได้เมื่อเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านว่าคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายไม่ครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 208ก็หาเป็นการลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นอาศัยอำนาจตามป.วิ.พ.มาตรา 27 สั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยและสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยและได้ทำการไต่สวนพยานจำเลยไปบ้างแล้ว แต่เมื่อต่อมาได้ปรากฏต่อศาลชั้นต้นเองว่า การสั่งรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยนั้น มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้าย ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งไม่รับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเพื่อให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีดังที่บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 27 ให้อำนาจไว้
การสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งได้เมื่อเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านว่าคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายไม่ครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 208ก็หาเป็นการลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นอาศัยอำนาจตามป.วิ.พ.มาตรา 27 สั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยและสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะจากการสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมยกที่ดินให้เป็นสาธารณประโยชน์ ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้
ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อน แต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วคงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาก่อนกรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 การที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในคำขอยกที่ดิน 2 แปลงของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ระบุไว้ว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1ทำสัญญาจะขายให้โจทก์และโจทก์ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงหนึ่งแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย กับก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีจึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรก
โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทก็ต้องตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ในคำขอยกที่ดิน 2 แปลงของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ระบุไว้ว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1ทำสัญญาจะขายให้โจทก์และโจทก์ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงหนึ่งแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย กับก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีจึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรก
โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทก็ต้องตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่น แม้กฎหมายแก้ไขภายหลังก็ใช้ไม่ได้
ในการยื่นบัญชีระบุพยานจำเลยจำเลยต้องกระทำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นบัญชีระบุพยานมิใช่กระทำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลังบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นบัญชีระบุพยานคือบทบัญญัติมาตรา88วรรคแรกและวรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดวันชี้สองสถานในวันที่7กรกฎาคม2537จำเลยจึงต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันที่7กรกฎาคมไม่น้อยกว่าสิบห้าวันที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเมื่อวันที่22มิถุนายน2537นั้นเป็นการยื่นก่อนวันชี้สองสถานเพียง14วันจึงเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา88วรรคแรกดังกล่าวแม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในบัญชีระบุพยานจำเลยว่า"สำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายรวมสำนวน16อันดับ"ก็ตามแต่เมื่อต่อมาความปรากฎแก่ศาลชั้นต้นว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งรับบัญชีระบุพยานของจำเลยไว้โดยไม่ถูกต้องนั้นได้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า"ปรากฎว่าคดีนี้จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานคดีไม่มีประเด็นที่สืบพยานจำเลย"นั้นถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้เพิกถอนคำสั่งรับบัญชีระบุพยานของจำเลยซึ่งสั่งโดยไม่ถูกต้องไว้แต่เดิมนั้นโดยปริยายแล้วต้องถือว่าจำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสิบห้าวันและไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขออ้างพยานหลักฐานเช่นนั้นว่าต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยานโดยแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ตามมาตรา88วรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งทั้งกรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานมาสืบแต่อย่างใดที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยหรือไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบนั้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ประชุมใหญ่เลิกบริษัท แม้การเรียกประชุมไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ก็มีผลบังคับใช้ได้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเพิกถอน
ส.กรรมการของโจทก์ได้เรียกประชุมใหญ่โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการด้วยไม่ได้มีมติให้นัดเรียกประชุมใหญ่ การนัดเรียกประชุมใหญ่จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ลักษณะหุ้นส่วนบริษัท แต่หาทำให้การประชุมใหญ่และมติที่เกิดขึ้นเสียไปหรือตกเป็นโมฆะไม่ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสียก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1195
เมื่อยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว ต้องถือว่าการนัดเรียกประชุมและการประชุมใหญ่ที่ได้ลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีซึ่งศาลยังไม่ได้พิพากษาเพิกถอน มีผลเป็นการนัดเรียกประชุมและประชุมใหญ่ตามกฎหมายแล้วมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย โจทก์โดยผู้ชำระบัญชีจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองหยุดประกอบกิจการในนามของโจทก์และส่งมอบเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์ให้แก่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ได้
เมื่อยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว ต้องถือว่าการนัดเรียกประชุมและการประชุมใหญ่ที่ได้ลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีซึ่งศาลยังไม่ได้พิพากษาเพิกถอน มีผลเป็นการนัดเรียกประชุมและประชุมใหญ่ตามกฎหมายแล้วมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย โจทก์โดยผู้ชำระบัญชีจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองหยุดประกอบกิจการในนามของโจทก์และส่งมอบเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์ให้แก่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของนายจ้างในการไม่อนุมัติลาออกและการไล่ออกลูกจ้าง ศาลเพิกถอนคำสั่งได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้วมีสิทธิ ได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การที่จำเลยกลับมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งที่จะไม่จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพิกถอนคำสั่งเรื่องไล่ออกจากงานของจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโจทก์ไม่มี สิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเรื่องไล่ออกจากงานหรือไม่ และจำเลยต้องจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่โจทก์หรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานและพฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยที่กระทำต่อโจทก์ว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นใบลาออก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ ถือว่าเป็นการลดตำแหน่งและจำเลยไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนกับจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์โดยไม่เคยกล่าวหา ว่าโจทก์กระทำผิดหรือตั้งกรรมการสอบสวนความผิดเมื่อถึงกำหนดใบลาออก โจทก์มิได้ไปทำงานจำเลยมิได้ไล่โจทก์ออกจากงานในเวลาที่สมควรนั้น เพื่อให้เห็นว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต อันจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรง มิใช่นอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจากการกลั่นแกล้งนายจ้าง ศาลเพิกถอนคำสั่งและให้จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้วมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การที่จำเลยกลับมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งที่จะไม่จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพิกถอนคำสั่งเรื่องไล่ออกจากงานของจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเรื่องไล่ออกจากงานหรือไม่ และจำเลยต้องจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่โจทก์หรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานและพฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยที่กระทำต่อโจทก์ว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นใบลาออก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ ถือว่าเป็นการลดตำแหน่งและจำเลยไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนกับจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์โดยไม่เคยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดหรือตั้งกรรมการสอบสวนความผิดเมื่อถึงกำหนดใบลาออก โจทก์มิได้ไปทำงานจำเลยมิได้ไล่โจทก์ออกจากงานในเวลาที่สมควรนั้น เพื่อให้เห็นว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต อันจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรง มิใช่นอกฟ้องนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่เกิดจากการถูกฉ้อฉล ศาลเพิกถอนได้
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลเพราะถูกโจทก์หลอกว่าเป็นการทำเรื่องถอนฟ้อง โดยโจทก์จะเอาเงินจากจำเลยเพียง 140,000 บาท แต่ความจริงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยชำระหนี้โจทก์เป็นเงินกว่า 270,000 บาท เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะถูกโจทก์ฉ้อฉล จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลเพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากมารดาผู้เยาว์ หากไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ศาลเพิกถอนได้
การจดทะเบียนรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยมารดาของผู้เยาว์ดังกล่าวมิได้ให้ความยินยอมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลตามกฎหมายศาลเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมนั้นได้.