พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน, ดอกเบี้ยผิดสัญญา, และการแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 5 ให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 5 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์จริง เมื่อหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้ปิดแสตมป์หรือเสียอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 5 ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้แล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งร่วมกับจำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาทรัสต์รีซีทต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันด้วย แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
ในการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระตามสัญญาทรัสต์รีซีทโจทก์จะต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งตามสัญญาทรัสต์รีซีทในข้อ 4 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาทรัสต์รีซีท โดยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามประกาศของโจทก์นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใดๆ เกี่ยวกับหนี้ทรัสต์รีซีท และในสัญญาข้อ 7 ระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4 เมื่อตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้เพียงตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และข้อความในสัญญาข้อ 4 ดังกล่าวข้างต้นเป็นกรณีระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดซึ่งแม้สัญญาข้อ 4 นี้ จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของโจทก็ตาม ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ฉะนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้เพียงในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศของโจทก์เท่านั้น มิใช่อัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญา เพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้วเท่านั้น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้แล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งร่วมกับจำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาทรัสต์รีซีทต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันด้วย แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
ในการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระตามสัญญาทรัสต์รีซีทโจทก์จะต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งตามสัญญาทรัสต์รีซีทในข้อ 4 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาทรัสต์รีซีท โดยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามประกาศของโจทก์นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใดๆ เกี่ยวกับหนี้ทรัสต์รีซีท และในสัญญาข้อ 7 ระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4 เมื่อตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้เพียงตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และข้อความในสัญญาข้อ 4 ดังกล่าวข้างต้นเป็นกรณีระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดซึ่งแม้สัญญาข้อ 4 นี้ จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของโจทก็ตาม ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ฉะนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้เพียงในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศของโจทก์เท่านั้น มิใช่อัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญา เพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยดำเนินคดีและการทิ้งฟ้อง: การแถลงเจรจาประนีประนอมและการสืบพยานต่อได้
ทนายโจทก์แถลงว่าหากการเจรจาประนีประนอมยอมความกันไม่ได้ ทนายโจทก์ก็จะติดต่อนัดหมายให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยแม้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาล แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงให้ศาลทราบแล้วถึงเหตุที่ไม่มาศาลว่าเพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ได้พิจารณาข้อเสนอของฝ่ายจำเลยที่ขอชำระหนี้เพียง 600,000 บาท โดยขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 48 เดือน แล้ว ไม่อาจตกลงกันได้ จึงไม่ขอมาศาล ซึ่งหากมาศาลก็คงแถลงดังที่ทนายโจทก์แถลง เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็ต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ซึ่งทนายโจทก์มาศาลแล้ว ศาลสามารถสืบพยานจำเลยต่อไปได้ ดังนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันจะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572-3583/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษจำคุกหลายกระทงตาม ป.อ.มาตรา 91 ต้องพิจารณาอัตราโทษสูงสุดของความผิดที่ลงโทษจริง ไม่ใช่โทษที่ศาลใช้ดุลพินิจ
กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (1) หมายความถึงอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่ลงโทษจำเลย มิใช่โทษจำคุกที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดในการลงโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี โทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีนี้จึงเกินกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี กรณีเป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) แม้ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกจำเลยเพียงกระทงละ 3 ปี ก็ไม่ทำให้เป็นกรณีตามบทบัญญัติมาตรา 91 (1)
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี โทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีนี้จึงเกินกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี กรณีเป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) แม้ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกจำเลยเพียงกระทงละ 3 ปี ก็ไม่ทำให้เป็นกรณีตามบทบัญญัติมาตรา 91 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9216/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสืบเสาะฯ และการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษ – ศาลมีอำนาจใช้รายงานได้หากจำเลยไม่คัดค้าน
ศาลชั้นต้นแจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่ได้คัดค้าน ศาลล่างทั้งสองมีอำนาจที่จะหยิบยกเอารายงานการสืบเสาะและพินิจดังกล่าวมาประกอบการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาฯ มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้ แม้ตกลงกันไว้ล่วงหน้า
การที่จำเลยตกลงยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นหลังจากผิดนัดชำระหนี้ ข้อสัญญาเรื่องดอกเบี้ยเช่นนี้ จึงมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายในรูปดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดไว้ล่วงหน้า อันถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 หากศาลเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนก็มีอำนาจที่จะให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12510/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 90 ศาลทำได้แม้โจทก์มิได้ขอ ชี้การกระทำเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 90 มิใช่บทกฎหมายที่ใช้ลงโทษตรง หากแต่เป็นเพียงบทกฎหมายที่กำหนดวิธีการลงโทษซึ่งเป็นวิธีการที่ศาลจะใช้เอง โดยโจทก์มิต้องขอมาในคำขอท้ายฟ้อง การที่ศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยโดยอ้างหลักเกณฑ์ตามมาตรา 90 จึงชอบแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนบัญชีระบุพยานที่ยื่นไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง และมาตรา 87(2) บัญญัติวางหลักเบื้องต้นของกฎหมายไว้ ก็เพื่อให้คู่ความแต่ละฝ่ายมีโอกาสทราบว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะอ้างพยานหลักฐานใดบ้าง ป้องกันไม่ให้เกิดการจู่โจมทางพยาน จึงเป็นบทบัญญัติที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมการที่จำเลยมิได้ปฏิบัติเช่นนั้นและศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคหนึ่ง แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดขอก็ตาม สำหรับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ต้องเสียหายเป็นผู้ยกขึ้นอ้าง จึงจะตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสองจึงไม่เกี่ยวกับกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจ เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นบัญชีระบุพยานฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ทั้งจำเลยทั้งสามมิได้ดำเนินการแก้ไขข้อผิดหลงของจำเลยทั้งสามขอให้ศาลรับบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสุดท้าย หรือขอให้ศาลสืบพยานหลักฐานจำเลยทั้งสามโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่ง ตามมาตรา 87(2) ศาลชั้นต้นชอบที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำหน่ายคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ศาลใช้ดุลพินิจชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีนี้อันเป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์และมีคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเพื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการทวงหนี้แก่จำเลยทั้งสอง ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งให้งดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ คดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แม้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การยกข้อต่อสู้คดีหลายประการ แต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดในคดีล้มละลายการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเท่ากับเป็นการให้โอกาสแก่จำเลยที่ 2 ได้ตกลงเจรจากับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของโจทก์แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องเสียหายไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจจำหน่ายคดีของโจทก์จึงเป็นการชอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 และคำสั่งดังกล่าวก็มิได้อยู่ในบังคับที่ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131และมาตรา 132 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการซื้อขายสินค้าลักษณะทางการค้า, ค่าฤชาธรรมเนียม, ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจ
บริษัทโจทก์ประกอบการค้าด้วยการผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรจำเลยประกอบพาณิชยกิจโดยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์นำไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่งซึ่งต่อมาจำเลยค้างชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(5)
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมก็ได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมก็ได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายได้ หากฎีกาข้อเท็จจริงในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เบี้ยปรับคือค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้า เบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ทั้งมาตรา 380 วรรคสอง ก็ให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เสียไปโดยให้คิดเบี้ยปรับรวมอยู่ในนั้นด้วยในฐานที่เป็นจำนวนน้อยที่สุดของค่าเสียหายเมื่อศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคาที่โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นพร้อมเบี้ยปรับแสดงให้เห็นถึงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตามจำนวนเงินที่กำหนดให้จริง ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในทำนองว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้ตนชำระค่าเสียหายเป็นค่าซื้อทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ชำระเงินประกันสัญญา และชำระค่าปรับขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลซึ่งเป็นฎีกาข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง