คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาสนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนด้วยการหลอกลวงทางศาสนา ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามครบองค์ประกอบความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ปัญหานี้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดการศพของผู้มีส่วนได้เสียทางศาสนา: กรณีผู้ตายเปลี่ยนศาสนาและมีพิธีศพตามหลักศาสนาใหม่
ผู้ตายได้อยู่กินเป็นภริยาจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 10 กว่าปี และเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามนับแต่นั้น จนถึงแก่ความตายเมื่อกลางปี 2540 ขณะมีอายุ 65 ปี จำเลยที่ 1 ได้ทำพิธีศพของผู้ตายตามประเพณีที่ผู้ตายนับถือ แม้จำเลยที่ 1 มิได้เป็นทายาทของผู้ตายและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำศพผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 อยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ตายมานานกว่า 10 ปี นับได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้ หากเห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกมากที่สุดอันมีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพของผู้ตายไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดีพอถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่เมื่อศพผู้ตายได้มีการฝังแล้วตามหลักศาสนาอิสลาม จึงหมดความจำเป็นที่จะนำศพผู้ตายขึ้นมาจัดการทำศพ โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกให้ส่งมอบศพผู้ตายให้แก่โจทก์เพื่อจัดการทำศพอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดการศพของผู้เปลี่ยนศาสนา: ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอจัดการศพตามศาสนาที่เปลี่ยนไปได้
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นทายาทของผู้ตายและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายมานานกว่า 10 ปี โดยผู้ตายนั้นมานับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 นับได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้ หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกมากที่สุด อันมีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพของผู้ตายไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดีพอถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เมื่อศพผู้ตายได้มีการจัดการฝังแล้วตามหลักศาสนาอิสลามที่ผู้ตายนับถือจึงหมดความจำเป็นที่จะนำศพผู้ตายขึ้นมาจัดการทำศพ โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกให้ส่งมอบศพผู้ตายให้แก่โจทก์เพื่อจัดการทำศพอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา: ไม่ถึงขั้นเหยียดหยามศาสนา
จำเลยขณะเป็นภิกษุ ได้ร่วมประเวณีกับหญิงในกุฏิของจำเลยบนเขาวัง จังหวัดเพชรบุรีมีกูฏิพระใกล้เคียงหลายหลัง มีพระพุทธรูปพระฉาย บนเขาวัง เป็นสถานที่ที่ประชาชน เคารพนับถือ นั้น เห็นได้ว่า เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง แต่จะถือว่า เป็นการเหยีดหยามศาสนาตามความในมาตรา 206 ยังไม่ถนัด (ประชุมครั้งใหญ่ ครั้งที่
16/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารในศาสนสถาน: เจตนาเหยียดหยามศาสนาหรือไม่
จำเลยขณะเป็นพระภิกษุ ได้ร่วมประเวณีกับหญิงในกุฏิของจำเลยบนเขาวังจังหวัดเพชรบุรีมีกุฏิพระใกล้เคียงหลายหลัง มีพระพุทธรูปพระฉายบนเขาวัง เป็นสถานที่ที่ประชาชนเคารพนับถือนั้นเห็นได้ว่าเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งแต่จะถือว่าเป็นการเหยียดหยามศาสนาตามความในมาตรา 206ยังไม่ถนัด (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเป็น 'พิธีกรรมทางศาสนา' ในความหมายกฎหมาย: การแห่นาค
การแห่นาคไปวัดเพื่อจะทำการอุปสมบท เป็นการกระทำตามประเพณีนิยมของชนบางหมู่ ยังไม่ถึงขั้นกระทำพิธีกรรมทางศาสนา ตามความหมายใน ม.173.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแห่นาคไม่ถึงขั้นเป็นพิธีกรรมทางศาสนาตาม ม.173 อาญา
การแห่นาคไปวัดเพื่อจะทำการอุปสมบท เป็นการกระทำตามประเพณีนิยมของชนบางหมู่ยังไม่ถึงขั้นกระทำพิธีกรรมทางศาสนา ตามความหมายใน ม.173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสของชาวต่างชาติที่ถูกต้องตามกฎหมายไทย: ไม่ต้องมีพิธีทางศาสนา
ชนชาติอินเดีย นับถือศาสนาอิสลาม บังคับอังกฤษ. สมรสกับหญิงไทย ในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมายไทย. การสมรสนั้นย่อมสมบูรณ์ไม่จำต้องมีพิธีตามศาสนาอิสลาม. การที่ไม่ได้จดชื่อภริยาและบุตรในหนังสือสำหรับตัวไม่เป็นการลบล้างการสมรสซึ่งสมบูรณ์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดเจดีย์เพื่อค้นหาทรัพย์ แม้ไม่เจตนาทำลายศาสนา ยังมีความผิดตามกฎหมายอาญา
การขุดเจดีย์ซึ่งเป็นที่สักการะเขาในทางพุทธสาสนา แม้จะมุ่งเพื่อค้นหาทรัพย์ก็ดีก็มีความผิดตามกฎหมายอาญา ม. 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทรงเจ้าเข้าผีกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพทางศาสนาและความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ประกาศห้ามมิให้ทรงเจ้าในทีต่าง ๆ ร.ศ.109 และแก้ไขเพิ่มเติม ร.ศ. 110 กับ 114 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร์สยาม มาตรา 13
ประกาศเรื่องทรงเจ้าเข้าผีไม่เปนบทกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ม.13 เพราะเปนกฎหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ผู้ใดทรงเจ้าเข้าผีแม้ภายในเขตต์บ้านและภายในวงครอบครัวของตนเองก็ตามก็ต้องมีความผิด+
of 2