พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน 18 ปี และการแก้ไขคำพิพากษาเดิมเมื่อจำเลยพ้นสภาพผู้เยาว์ รวมถึงการริบของกลาง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จนกว่าจำเลยจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยมีอายุครบ 18 ปีแล้ว จึงไม่อาจส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74 (5) ได้ จึงเห็นควรมอบตัวจำเลยให้บิดามารดาจำเลยโดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาจำเลยปฏิบัติตามและกำหนดวิธีการดำเนินการและเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 80, 288, 371 และขอให้ริบปลอกมีดของกลาง แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และการริบทรัพย์สินของกลางไม่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 เมื่อปลอกมีดของกลางเป็นส่วนประกอบของมีดที่จำเลยใช้กระทำความผิด จึงให้ริบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 80, 288, 371 และขอให้ริบปลอกมีดของกลาง แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และการริบทรัพย์สินของกลางไม่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 เมื่อปลอกมีดของกลางเป็นส่วนประกอบของมีดที่จำเลยใช้กระทำความผิด จึงให้ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาส่งตัวเยาวชนเข้าสถานพินิจต้องไม่เกินอายุ 24 ปีบริบูรณ์ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104 (2) ต้องไม่เกินกว่าที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งตามวรรคสุดท้ายของมาตรา 104 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายจะต้องระบุให้ชัดเจนในคำพิพากษาด้วยว่าเมื่อจำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนดด้วย คดีนี้จำเลยเกิดวันที่ 25 พฤษภาคม 2525 แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์วันที่ 24 พฤษภาคม 2549 ดังนั้น กำหนดเวลาในการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 3 ปี 10 เดือน จึงเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่พนักงานอัยการควบคุมตัวเยาวชนมาศาลเมื่อฟ้องคดีอาญา แม้สถานพินิจปล่อยตัวชั่วคราว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องที่พนักงานอัยการโจทก์มีหน้าที่ต้องควบคุมตัวจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมาศาลขณะยื่นฟ้องหรือไม่ แต่มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาบังคับใช้แก่คดี ซึ่งตามมาตรา 165 ที่กำหนดให้พนักงานอัยการโจทก์คุมตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้องนั้นสามารถนำมาใช้บังคับแก่คดีเด็กหรือเยาวชนได้ และไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องควบคุมตัวจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมาศาลขณะยื่นฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยถูกควบคุมตัวที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาแล้วมีการประกันตัวไป แต่ภายหลังสถานพินิจดังกล่าวไม่อาจส่งตัวจำเลยต่อศาลในวันฟ้องได้เนื่องจากจำเลยถูกจับกุมในอีกคดีหนึ่งที่จังหวัดลพบุรี กรณีจึงเป็นเรื่องระหว่างการควบคุมตัวจำเลยในชั้นสอบสวนโดยอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาลประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ที่แก้ไขใหม่ก็มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นผู้รับผิดชอบงานของสถานพินิจทั่วราชอาณาจักรดังที่บัญญัติไว้เดิมทั้งในปัจจุบันสถานพินิจทั่วราชอาณาจักรก็เป็นหน่วยงานที่แยกออกไปจากศาลแล้ว ดังนั้น ในชั้นควบคุมตัวจำเลยในสถานพินิจจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาล ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเด็ก delinquency หลังอายุเกิน 18 ปี: จากสถานพินิจเป็นอบรมสั่งสอนโดยมารดา
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ส่งจำเลยไปรับการฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนดตั้งแต่ 2 ปี ถึง 3 ปี ขณะเกิดเหตุเมื่อปี 2539 จำเลยอายุ 14 ปี แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยอายุ 19 ปี ซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 74 (5) บัญญัติว่าเด็กอายุกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็กตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่อย่าให้เกินกว่าที่เด็กนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปี เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกาว่า จำเลยอายุเกิน 18 ปี แล้ว จึงไม่อาจส่งจำเลยไปรับการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองได้ ถือว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้ ตามป.อ. มาตรา 74 วรรคท้าย เป็นให้มารดาจำเลยรับตัวจำเลยไปอบรมสั่งสอนและดูแลระมัดระวังมิให้จำเลยก่อเหตุร้ายหรือกระทำผิดอาญาใด ๆ ขึ้นอีกภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังได้ มิฉะนั้นศาลจะปรับครั้งละ 500 บาทตาม ป.อ. มาตรา 74 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีปล้นทรัพย์โดยใช้มีดข่มขู่ ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลล่างที่ให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 6 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 2 ปี ขั้นสูง 3 ปีนับแต่วันพิพากษา ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 104(2) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์เฉพาะในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า มิได้กระทำความผิดโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาจึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าว ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการลงโทษตามที่จำเลยฎีกาแม้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับปัญหาที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่เหมาะสมแก่สภาพแห่งความผิด ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7427/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษเป็นสถานพินิจฯ และข้อจำกัดการฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เป็นส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนไม่เกินสามปี กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121(1) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแต่เนื่องจากมาตรา 122 กำหนดว่าในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 ถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค และอนุญาตให้อุทธรณ์ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2อุทธรณ์ขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ คดีจึงขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ แต่สำหรับการฎีกานั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 124 คงมีความหมายว่า คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้นย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้วก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ด้วย กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221โดยอาศัย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2ฎีกาขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6571/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัว: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์เฉพาะการเปลี่ยนโทษเป็นสถานพินิจ และข้อยกเว้นการห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 104(2) โดยให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมยังสถานพินิจ ฯลฯ นั้น จะต้องห้ามอุทธรณ์แต่เฉพาะกรณีที่อุทธรณ์เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจเท่านั้นมิได้ห้ามจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้หรือไม่จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดาซึ่งเมื่อนำพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6มาประกอบแล้วก็คือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193 ทวิ ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งอัตราโทษตามมาตรา 277 วรรคสองระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต และตามมาตรา 277 วรรคสามระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต อันเป็นอัตราโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ จำเลยจึงอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรมในสถานพินิจสำหรับเด็กและเยาวชน ไม่ถือเป็นการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี และขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2772/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวเข้าสถานพินิจฯ ถือมิใช่การลงโทษจำคุก จึงห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย25ปีแต่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำ3ปีและชั้นสูง4ปีการเปลี่ยนโทษจำคุกดังกล่าวมิใช่เป็นการลงโทษจำคุกเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3174/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งตัวเด็กกระทำผิดไปสถานพินิจฯ ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กจังหวัดจนกว่าจะอายุครบ18ปีไม่เป็นการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา18แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามมาตรา74(5)ที่เบากว่าการลงโทษจำคุกเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218