คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สถานีตำรวจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนที่ดินที่ให้เพื่อสร้างสถานีตำรวจ เมื่อทางราชการไม่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และกฎหมายกำหนด
โจทก์ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ที่ดินมีโฉนดแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2512 โดย มีเงื่อนไขเพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจภูธร ต่อมาเมื่อ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2522 จำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อ เจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุจึงขอเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นกระทรวงการคลังจำเลยที่ 2 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ. 2518 มาตรา 5 แม้จะระบุในสารบัญจดทะเบียนว่าสงวนไว้เพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจภูธรแต่เวลาล่วงเลยมานับแต่โจทก์ให้ที่ดินถึงวันฟ้องเป็นเวลา 27 ปีเศษ ทางราชการยังไม่มีการปลูกสร้างในที่ดินที่โจทก์ ยกให้ ครั้นโจทก์ขอที่ดินคืน จำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 12 มกราคม 2539 ตอบโจทก์ว่า เนื้อที่ดินที่ทางราชการได้มา ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะสร้างสถานีตำรวจได้ปรากฏว่ามีกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุฯ ข้อ 8 กำหนดว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุคืนให้แก่ผู้ยกให้ หรือทายาทของผู้ยกให้จะกระทำได้เมื่อ (2) ทางราชการไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ หรือมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ภายในสิบปี นับแต่วันที่ยกที่ดินนั้นให้แก่ทางราชการ (3) ผู้ยกให้หรือทายาท ของผู้ยกให้ได้ยื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนภายในสองปีนับแต่วันที่ทางราชการแจ้งความประสงค์ที่จะไม่ใช้ประโยชน์หรือนับแต่ วันที่ครบระยะเวลาตาม (2) ดังนี้ จึงฟังได้ว่า ทางราชการ ไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ ของโจทก์ อีกทั้งมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ภายในสิบปีนับแต่วันที่โจทก์ให้ที่ดินแก่ทางราชการตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 8(2) และเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2539 ก็ยังอยู่ในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ทางราชการแจ้งความประสงค์ตามหนังสือลงวันที่ 12 มกราคม 2539 ที่จะไม่ใช้ ประโยชน์ ตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 3 จำเลยทั้งสองจึงต้องจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4915/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลบหนีระหว่างถูกควบคุมตัวในสถานีตำรวจ ถือเป็นความผิดสำเร็จ แม้จะยังไม่ออกจากอาคาร
จำเลยเป็นผู้ต้องหาถูกคุมขังอยู่ที่ห้องขังของสถานีตำรวจเวลา 8 นาฬิกา นายดาบตำรวจส. เสมียนคดี แจ้งความประสงค์ต่อนายดาบตำรวจก. ซึ่งปฏิบัติหน้าที่สิบเวรว่าได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวนให้มาพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลย นายดาบตำรวจก. ไขกุญแจห้องขังเปิดประตูเพื่อใส่กุญแจมือจำเลยก่อนนำจำเลย ออกจากห้องขัง แต่จำเลยวิ่งสวนทางออกมาวิ่งหลบหนีลงไป ทางบันได สิบตำรวจตรีฉ. ซึ่งยืนอยู่ตรงที่พักบันไดประสบเหตุดังกล่าวจึงเข้าสกัดจับจำเลยไว้ได้ การที่จำเลยซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ ในห้องขังสถานีตำรวจอันเป็นการควบคุมที่เจ้าพนักงานตำรวจ จัดกำหนดขอบเขตเอาไว้ ออกจากขอบเขตดังกล่าวโดยผู้มีอำนาจ ควบคุมจำเลยยังมิได้อนุญาตในลักษณะของการวิ่งหลบหนี ออกมาพ้นเขตควบคุมแล้วไม่ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะติดตามจับกุม จำเลยได้หรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการหลบหนี ไปในระหว่างที่ถูกคุมขังของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา เป็นความผิดสำเร็จแล้ว ไม่จำเป็นต้องหลบหนีให้พ้นออกไปจากตัวอาคารของสถานีตำรวจจึงจะถือว่าการหลบหนีสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหา เริ่มนับเมื่อถึงสถานีตำรวจ ไม่ใช่นับแต่เวลาจับกุม
ผู้ต้องหาถูกจับกุมเวลา 23.50 นาฬิกา ของวันที่ 12 กันยายน 2527และถูกนำตัวมาถึงสถานีตำรวจหลังเวลา 00.00 นาฬิกาของวันที่13 กันยายน 2527 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ให้เริ่มนับเวลาควบคุมตั้งแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหามาฝากขังต่อศาลในวันที่ 19 กันยายน 2527 จึงยังไม่เกินเจ็ดวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหา: เริ่มเมื่อถึงสถานีตำรวจ ไม่ใช่เวลาจับกุม
ผู้ต้องหาถูกจับกุมเวลา23.50นาฬิกาของวันที่12กันยายน2527และถูกนำตัวมาถึงสถานีตำรวจหลังเวลา00.00นาฬิกาของวันที่13กันยายน2527ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา87ให้เริ่มนับเวลาควบคุมตั้งแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหามาฝากขังต่อศาลในวันที่19กันยายน2527จึงยังไม่เกินเจ็ดวัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบริจาคที่ดินเพื่อสร้างสถานีตำรวจ: การหักลดหย่อนภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (3)
โจทก์ดำเนินการค้าจัดสรรที่ดินจำหน่ายแก่ประชาชน การที่โจทก์ บริจาคที่ดินให้กรมตำรวจเพื่อสร้างสถานีตำรวจ มิใช่เพื่อประโยชน์ของโจทก์โดยเฉพาะ แต่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปหรือแก่สาธารณชน นับเป็นการบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณะ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ตรี (3) และไม่ใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการ ของโจทก์โดยเฉพาะตาม(13) จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิได้เพียงไม่เกินร้อยละ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเจ้าพนักงานระหว่างถูกจับกุม แม้ไม่ได้เกิด ณ ที่เกิดเหตุ ก็ถือว่ากระทำผิดได้
ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมจำเลยตามหน้าที่ในข้อหาวางคานเหล็กกีดขวางทางเท้า และให้จำเลยไปสถานีตำรวจ โดยผู้เสียหายไปรออยู่ที่นั่น เพื่อนำจำเลยส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี พอจำเลยมาถึงสถานีตำรวจก็กล่าวถ้อยคำดูหมิ่นผู้เสียหายว่า "ลื้อจับแบบนี้แกล้งจับอั๊วนี่หว่า ไม่เป็นไรไว้เจอกันเมื่อไหร่ก็ได้" ดังนี้เป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ เพราะการที่ผู้เสียหายให้จำเลยไปที่สถานีตำรวจ เพื่อนำตัวส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีก็อยู่ในระหว่างจำเลยถูกจับกุมนั่นเอง เมื่อจำเลยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นผู้เสียหายในระหว่างนั้น จึงถือว่าจำเลยกล่าวขณะถูกจับกุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อทรัพย์สินของราชการ: สถานีตำรวจเป็นทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ไม่ใช่สาธารณประโยชน์
สถานีตำรวจเป็นสำนักราชการบ้านเมือง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) แต่เป็นทรัพย์สินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ มิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 จำเลยทำให้สถานีตำรวจเสียหาย ย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 360
จำเลยเสพสุราเมา แล้วประพฤติวุ่นวายขึ้นบนสถานีตำรวจ และใช้ปืนยิงขึ้นโดยใช่เหตุ กระสุนปืนถูกกระจกกรอบรูปแตก และถูกคานพื้นสถานีตำรวจเสียหาย เช่นนี้ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 378 กระทงหนึ่ง และตามมาตรา 376 กับมาตรา 358 อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำลายทรัพย์สินของราชการ (สถานีตำรวจ) ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 360 แต่ยังคงมีความผิดฐานทำร้ายทรัพย์สินและประพฤติตัววุ่นวาย
สถานีตำรวจเป็นสำนักราชการบ้านเมือง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) แต่เป็นทรัพย์สินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ มิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 จำเลยทำให้สถานีตำรวจเสียหาย ย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 360
จำเลยเสพสุราเมา แล้วประพฤติวุ่นวายขึ้นบนสถานีตำรวจ และใช้ปืนยิงขึ้นโดยใช่เหตุ กระสุนปืนถูกกระจกกรอบรูปแตก และถูกคานพื้นสถานีตำรวจเสียหาย เช่นนี้ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 378 กระทงหนึ่ง และตามมาตรา 376 กับมาตรา 358 อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จต้องอาศัยการกระทำความผิดอาญาที่เป็นเท็จ การระบุสถานีตำรวจผิดไม่ใช่ความผิดฐานฟ้องเท็จ
โจทก์ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอดำเนินสะดวกว่า จำเลยออกเช็คไม่มีเงิน แล้วจำเลยมาฟ้องว่าโจทก์ไปแจ้งความเท็จที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านแพ้ว การที่จำเลยฟ้องโจทก์โดยระบุสถานีตำรวจที่โจทก์ไปแจ้งความผิดจากความจริงไปนั้น ไม่ใช่เนื้อหาของการกระทำผิดอาญาฐานแจ้งความเท็จ จะถือว่าจำเลยกระทำผิดฐานฟ้องเท็จหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขู่ให้ไปสถานีตำรวจ ไม่ถือเป็นการหน่วงเหนี่ยวหรือทำให้ปราศจากเสรีภาพ
การที่จำเลยบอกกับโจทก์ว่า ได้แจ้งความไว้แล้ว ถ้าไม่ไปสถานีตำรวจกับจำเลย จำเลยจะนำตำรวจมาจับโจทก์นั้น หาใช่เป็นการที่จำเลยจับโจทก์ดังที่เจ้าพนักงานจับผู้ต้องหาไม่ ไม่เป็นการข่มขู่หน่วงเหนี่ยว กักขัง ทำให้โจทก์ไปไหนไม่ได้ และไม่เป็นการทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายแต่ประการใด
of 2