คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สภาพเดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4338/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทไม่ทำให้สัญญาค้ำประกันสิ้นสุด หากสภาพนิติบุคคลยังคงเดิม
การที่บริษัทโจทก์เปลี่ยนชื่อไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล โจทก์ยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลดังเดิม แม้ไม่แจ้งการเปลี่ยนชื่อให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ทราบ ก็ไม่เป็นผลให้สัญญาค้ำประกันสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในขณะทำงานให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันเรือ ความรับผิดตามสัญญา และการค้ำประกัน
ส.เจ้าของเรือของกลางทำสัญญาประกันเรือต่อโจทก์ขอรับเรือของกลางไปเก็บรักษาไว้ในระหว่างคดี โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ส.ต่อโจทก์สัญญาประกันเรือทำขึ้นที่กรุงเทพมหานคร และ ส.รับเรือของกลางไปจากท่าเทียบเรือกรมศุลกากรที่กรุงเทพมหานคร เมื่อโจทก์เรียกให้ส่งมอบเรือของกลาง ส.และจำเลยจะต้องนำเรือของกลางไปส่งมอบยังที่ที่เรือของกลางจอดอยู่ในขณะทำสัญญาประกันเรือคือท่าเทียบเรือกรมศุลกากร จำเลยจะขอส่งมอบเรือของกลางแก่โจทก์ที่จังหวัดภูเก็ตโดยโจทก์ไม่ยอมรับไม่ได้
สัญญาประกันเรือมีข้อตกลงว่า ระหว่างที่ผู้ประกันนำเรือของกลางไปเก็บรักษา ถ้าเกิดการชำรุดเสียหายหรือสูญหายไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ในสภาพเดิม ผู้ประกันยินยอมชดใช้เงินจนเต็มราคาที่ประกันไว้คือ 1,000,000 บาทซึ่งเงินจำนวน 1,000,000 บาท ดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่ประกันไว้ มิใช่ราคาเรือของกลาง เมื่อ ส.ผิดสัญญาประกันเรือจึงต้องใช้เงินตามที่ประกันไว้แก่โจทก์จำนวน 1,000,000 บาท มิใช่ใช้ตามราคาเรือของกลาง จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันส.โดยยอมรับผิดเช่นเดียวกับ ส.ผู้ประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ 1,000,000 บาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตกระดาษลูกฟูกจากกระดาษคราฟท์ ไม่ถือเป็นการนำกระดาษมาทำในสภาพเดิม จัดเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดประเภทกระดาษ
การที่โจทก์ซื้อกระดาษคราฟทมาทำเป็นกระดาษลูกฟูกโดยการนำกระดาษคราฟท 1 หรือ 2 แผ่น เข้าเครื่องอัดให้เป็นลอนที่เรียกว่าลูกฟูกแล้วนำกระดาษคราฟทอีก 2 หรือ 3 แผ่น มาทากาวติดด้านบนด้านล่างและระหว่างกลางเป็นกระดาษลูกฟูกชนิด 3 ชั้น หรือ 5 ชั้น เป็นการนำกระดาษคราฟทธรรมดามาประกอบหรือแปรรูป หรือแปรสภาพเป็นกระดาษลูกฟูกขึ้นใหม่ ฟังได้ว่าเป็นการผลิตกระดาษลูกฟูกตามมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้วมิใช่เป็นการนำกระดาษมาทำเป็นกระดาษในสภาพเดิม ทั้งโจทก์ขายกระดาษลูกฟูกที่ผลิตขึ้นนี้ให้แก่บุคคลภายนอกไปเพื่อทำเป็นกล่องกระดาษหรืออื่น ๆ ไม่เพียงแต่โจทก์จะนำมาผลิตเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกจำหน่ายเท่านั้น กรณีที่จะเป็นเครื่องใช้หรือของใช้ใด ๆ ในหมวด 5 (2) ตามบัญชีที่ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54)พ.ศ.2517 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 และ 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 156)พ.ศ.2528 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น ก็ต่อเมื่อโจทก์ซื้อกระดาษลูกฟูกมาผลิตเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกขึ้นอีกต่างหากเท่านั้น สินค้าของโจทก์จัดเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดประเภทกระดาษทุกชนิด เข้าในหมวด 8 (9) บัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 ที่ได้แก้ไขใหม่ ซึ่งมิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามพระราช-กฤษฎีกานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3303/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารต้องไม่เป็นการต่อเติมหรือขยายอาคาร แต่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมเท่านั้น
การปรับปรุงซ่อมแซมอาคารตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 83 มีความหมายเพียงว่าซ่อมหรือเปลี่ยนส่วนต่าง ๆ ของอาคารให้คงสภาพเดิม ทั้งต้องเป็นการกระทำเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสวยงามเท่านั้นหาใช่ต่อเติมหรือขยายอาคารไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบายน้ำจากที่สูงสู่ที่ต่ำ และสิทธิของเจ้าของที่ดินในการรักษาสภาพเดิม
ที่ดินของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นที่ลุ่มอยู่ต่ำกว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเจ็ด จำต้องรับน้ำซึ่งไหลตามธรรมดาจากที่ดินสูงมาในที่ดินของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1339 วรรคแรกและจำต้องรับน้ำซึ่งไหลเพราะระบายจากที่ดินสูงมาในที่ดินของตนเพราะก่อนหน้านี้น้ำจากบริเวณที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเจ็ดซึ่งเป็นที่สูงก็ได้ระบายไหลเข้ามาในที่ดินของจำเลยทั้งสองในบริเวณที่พิพาทตามธรรมดาอยู่แล้วดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1340 วรรคแรกแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางในที่พิพาทเป็นเหตุให้น้ำท่วมนาของโจทก์ทั้งสิบเจ็ดจนได้รับความเดือดร้อนเสียหายเช่นนี้ โจทก์ทั้งสิบเจ็ดย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำที่พิพาทให้เป็นลำรางระบายน้ำตามเดิมได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสิบเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในบริเวณทุ่งใหญ่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายเพราะจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางระบายน้ำซึ่งเป็นทางระบายน้ำที่ไหลจากบริเวณที่ดินโจทก์ทั้งสิบเจ็ดผ่านลำรางดังกล่าวไปสู่บึงน้ำสาธารณะมานาน 40 ถึง50 ปีแล้ว เป็นทางภารจำยอม อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสิบเจ็ดที่จะใช้ลำรางระบายน้ำนั้นได้โดยไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น ซึ่งในคดีแพ่งนั้นโจทก์ไม่จำเป็นจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นเพียงพอแล้ว ส่วนบทกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาปรับแก่คดีเอง ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1339 วรรคแรก และมาตรา 1340 วรรคแรก ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าวได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ร่วมกันขุดเปิดลำรางก็ให้โจทก์ทั้งสิบเจ็ดดำเนินการเองโดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นแทน ไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสิบเจ็ดชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483-1487/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คูขวางเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ตื้นเขินขึ้นก็ยังคงสภาพเดิม โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน
คูขวางเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้จะตื้นเขินขึ้นตามธรรมชาติก็ตาม เมื่อทางราชการยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรค 2 (1) แล้ว คูขวางย่อมยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์จะเข้าครอบครองนานกี่ปีก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่จะโอนแก่กันมิได้ และจะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินก็มิได้เช่นกัน เพราะตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305, 1306 ดังนั้นแม้โจทก์จะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาท (คูขวาง) ก็ตาม เอกสารดังกล่าวก็หามีผลผูกพันทางราชการไม่
แม้จะเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีระหว่างโจทก์กับ จ.วินิจฉัยว่าที่พิพาท (คูขวาง) เป็นของโจทก์และไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตามคำพิพากษาดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยในคดีนี้ เนื่องจากจำเลยในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว และคดีดังกล่าวพิพาทกันระหว่างเอกชน มิได้พิพาทกันระหว่างเอกชนกับเทศบาล ซึ่งมีหน้าที่ดูแลสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตเทศบาลโดยตรง
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคแรก บัญญัติว่า "บรรดา ที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้อธิบดีมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษา และดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ ตามควรแก่กรณี อำนาจหน้าที่ดังว่านี้ รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้" ดังนั้นเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้เทศบาลมีอำนาจดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตเทศบาลจำเลยที่ 1 และจำเลย ที่ 2 ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีย่อมมีอำนาจคัดค้านการขายที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2815/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมบ้านเช่าโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้เช่าต้องรับผิดชอบการทำให้กลับคืนสภาพเดิม
การที่จำเลยเช่าบ้านของโจทก์แล้วไปต่อเติมบ้านของโจทก์ โดยพลการ โดยถือว่าเป็นบ้านของตนเองนั้นเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 558 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยผู้เช่าทำให้บ้านของโจทก์กลับคืนคงสภาพเดิม ทั้งจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การดัดแปลงต่อเติมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2815/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมบ้านเช่าโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้เช่าต้องรับผิดชอบการทำให้กลับคืนสภาพเดิม
การที่จำเลยเช่าบ้านของโจทก์แล้วไปต่อเติมบ้านของโจทก์ โดยพลการ โดยถือว่าเป็นบ้านของตนเองนั้น เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 558 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยผู้เช่าทำให้บ้านของโจทก์กลับคืนคงสภาพเดิม ทั้งจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การดัดแปลงต่อเติมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้แปรรูป: การพิสูจน์สภาพเดิมของไม้เพื่ออ้างข้อยกเว้นตามกฎหมายป่าไม้
ไม้ที่มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูปตามมาตรา 4(4) วรรค 2 นั้น แยกได้เป็นสองอย่าง คือ ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นอย่างหนึ่ง กับไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว คือ เคยเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้ว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สัก และห้าปีสำหรับไม้สักอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้น ตามความหมายในกฎหมายดังกล่าว ผู้ครอบครองจะต้องพิสูจน์แต่เฉพาะกรณีที่ไม้นั้นมิได้อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือมิได้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ แต่กล่าวอ้างว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วเท่านั้น ส่วนบานประตูและบานหน้าต่างไม้สักของกลางเป็นไม้ที่ทำขึ้นใหม่ อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน จึงมิใช่ไม้แปรรูป และผู้ครอบครองหาจำต้องพิสูจน์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้ถูกดัดแปลงสภาพ ไม่อาจสันนิษฐานว่าชักลากจากป่าผิดกฎหมาย
ฟ้องว่าตรวจพบไม้สักซึ่งเป็นไม้ไม่มีดวงตราอยู่ในความครอบครองของจำเลยๆ จึงเป็นผู้ชักลากออกจากป่า ถ้าปรากฏว่าเป็นไม้ซึ่งดัดแปลงแปรสภาพไป ย่อมไม่เข้าข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันการลักลอบชักลากไม้สักฯ ข้อ 5 จะลงโทษจำเลยไม่ได้
of 2