คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมาชิก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7235/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาและอำนาจตัดค่าจ้างทำให้ขาดคุณสมบัติสมาชิกสหภาพแรงงาน
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกงบประมาณและการเงินระดับ 8 มีอำนาจในการตัดค่าจ้างหรือลดค่าจ้างแก่พนักงานหรือลูกจ้างซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของโจทก์ตามระเบียบและข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีฐานะเป็นฝ่ายบริหารของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543และเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกและกรรมการของสหภาพแรงงาน ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 51 วรรคสอง และมาตรา 56 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีร่วมกันของสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่เสียหายจากจำเลยที่ไม่ชำระเงินตามสัญญา
โจทก์แต่ละคนต่างเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ เมื่อโจทก์แต่ละคนอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 เก็บเงินจากสมาชิกไปแล้วไม่นำเงินไปชำระแก่ผู้รับประโยชน์ของสมาชิกที่ถึงแก่ความตายอันเป็นการผิดสัญญา ขอให้คืนเงินที่สมาชิกถึงแก่ความตายไปแล้วและสมาชิกที่มีชีวิตอยู่ได้ชำระไปแล้วแก่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกแต่ละคน ถือว่าโจทก์แต่ละคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีโจทก์แต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: สหภาพแรงงานฟ้องแทนสมาชิกต้องได้รับมอบอำนาจชัดเจน
การฟ้องนายจ้างฐานผิดสัญญาจ้างและเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยลูกจ้างและสหภาพแรงงานมิได้ตกลง ยินยอม ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าจ้างที่ยังจ่ายขาดแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น เป็นกรณีที่ลูกจ้างแต่ ละคนมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ที่จะได้รับหรือจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และตามสัญญาจ้างกับนายจ้างโดยตรง หากลูกจ้างคนใดจะฟ้องขอให้บังคับนายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายและสัญญาจ้างแรงงานก็จะต้องเป็นโจทก์ฟ้องต่อศาลโดยจะดำเนินคดีด้วยตนเองหรือแต่งตั้งผู้แทนหรือทนายความให้ดำเนินคดีแทน หรือจะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีแทนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 36 ก็ได้ เมื่อลูกจ้างมิได้เป็นโจทก์ฟ้องนายจ้างเองและมิได้มอบอำนาจให้สหภาพแรงงานดำเนินคดีแทน สหภาพแรงงานจึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 8 และมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์โดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้มีข้อจำกัดตามกฎหมายสหกรณ์
แม้พระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ มาตรา 42 วรรคสอง จะกำหนดว่าในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกยังไม่สิ้นสุดลง ห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกผู้นั้นก็ตาม แต่เงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้ร้องได้ชำระให้แก่ผู้ร้องไปแล้วนั้น ถือว่าเป็นเงินทุนของผู้ร้องที่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ ซึ่งตามระเบียบของผู้ร้องก็ระบุว่า จำเลยที่ 1 จะโอนหรือถอนคืนค่าหุ้นบางส่วนหรือทั้งหมดในระหว่างที่ตนเป็นสมาชิกไม่ได้ สิทธิของจำเลยที่ 1 ในการถอนคืนเงินค่าหุ้นดังกล่าวจึงมีเงื่อนไข ซึ่งการชำระเงินค่าหุ้นคืนของผู้ร้องก็มีเงื่อนไขในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตามเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกคำสั่งอายัดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 310 ทวิ ประกอบด้วยมาตรา 311 วรรคสอง ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นจะมีข้อโต้แย้ง ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขใดและได้กำหนดจำนวนไว้แน่นอนหรือไม่ก็ตาม ในเมื่อสิทธิเรียกร้องนั้นไม่อยู่ในข้อยกเว้นในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 แต่จะกำหนดในคำสั่งอายัดให้เป็นการฝ่าฝืนข้อจำกัดหรือเงื่อนไขแห่งหนี้นั้นหาได้ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดให้ผู้ร้องส่งเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อจำเลยที่ 1พ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องแล้ว จึงหามีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องไม่ ทั้งคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดียังสอดคล้องกับเงื่อนไขแห่งหนี้ที่ผู้ร้องต้องชำระแก่จำเลยที่ 1กรณีจึงไม่เป็นคำสั่งอายัดที่ขัดต่อพระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ มาตรา 42 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7906/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติสมาชิก/กรรมการสหภาพแรงงาน: ต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างเดียวกัน
คุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการหรืออนุกรรมการของสหภาพแรงงานซึ่งดำเนินการขอจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 100,101(1) คือการเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานนั้น ๆ เพราะสหภาพแรงงานต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน นอกจากนี้สหภาพแรงงานยังมีอำนาจหน้าที่ในการเรียกร้องเจรจาทำความตกลงกับนายจ้างแทนสมาชิกเพื่อประโยชน์ของสมาชิกอีกด้วย โจทก์ที่ 2 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างไปแล้วจึงขาดคุณสมบัติในข้อที่เป็นสาระสำคัญในการเป็นสมาชิกหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเล่นแชร์มีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้จัดตั้งวงแชร์ผิด พ.ร.บ.เล่นแชร์ สิทธิเรียกร้องเฉพาะสมาชิกวงแชร์
พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ฯ มาตรา 6 ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่ระบุไว้ ในมาตรา 6 และมีมาตรา 7 ให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ฝ่ายเดียวที่จะฟ้องคดี หรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่ฝ่าฝืน มาตรา 6 ไว้เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันหาได้มีบทบัญญัติ ห้ามเล่นแชร์ไม่ ทั้งการเล่นแชร์เป็นสัญญาเกิดจากการตกลงกันระหว่าง ผู้เล่นที่จะชำระเงินให้แก่ผู้ประมูลแชร์ได้ จึงมีผลผูกพันและบังคับกันได้ ตามกฎหมาย การที่ผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้ก่อนนำเช็คของจำเลย มาชำระให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ได้ การชำระหนี้ค่าแชร์ดังกล่าว จึงหาเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3302-3303/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมสมาชิก P&I Club: การบังคับตามข้อตกลงและข้อบังคับ แม้ชื่อเรียกแตกต่างกัน
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ตามสัญญาประกันภัยแบบสหการ(Mutual Insurance) ซึ่งเรียกกัน ทั่วไปว่า พี แอนด์ ไอ คลับ(P & I Club) เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 สิ้นสุดการเป็นสมาชิกจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการออกจากการเป็นสมาชิกให้แก่โจทก์ ตามข้อตกลงที่ได้มีการกำหนดไว้ในระหว่างโจทก์และสมาชิกผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็น การบังคับให้เป็นไปตามเจตนาที่แสดงไว้ในสัญญานั้น ค่าธรรมเนียมการออกจากการเป็นสมาชิกของโจทก์ย่อมพึงต้องพิจารณาตามเนื้อความแห่งกฎระเบียบและข้อบังคับเป็นหลัก ส่วนจะใช้ชื่อเรียกว่าอย่างไรนั้นไม่ใช่ ข้อสาระสำคัญ การเรียกชื่อเป็นเพียงนามเรียกขานซึ่งอาจจะเรียกแตกต่างกันไปได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมหากพ้นจากการเป็นสมาชิกของโจทก์ตามข้อบังคับของโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเดียวกับที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะต้องชำระค่าธรรมเนียมเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดในค่าธรรมเนียมดังกล่าวมานั้นหาได้ขัดต่อกฎหมาย วิธีพิจารณาความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2543

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธก่อการร้ายและอั้งยี่ พยานหลักฐานเชื่อมโยงจากพยานบุคคลและเอกสาร
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นขณะจำเลยกระทำความผิดมาเป็นพยานแต่โจทก์มีสิบเอก อ. ผู้ซึ่งสืบสวนทราบว่า จำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายบีอาร์เอ็น พันตำรวจตรี ส. ผู้จับกุม จ่าสิบโท พ. ผู้ซักถามจำเลยหลังถูกจับและพันตำรวจโท ช. พนักงานสอบสวนพยานแวดล้อมเข้าเบิกความประกอบเอกสารและภาพถ่ายสอดคล้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ก่อนจับกุมจำเลยที่สิบเอก อ. สืบทราบว่าจำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้าย บีอาร์เอ็น ที่มีนาย อ. เป็นหัวหน้า ซึ่งในช่วงปี 2540 นาย อ. กับพวกปะทะกับเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ยึดอาวุธปืน วิทยุสื่อสาร เอกสารเรียกค่าคุ้มครองและภาพถ่ายสมาชิกกลุ่มโจรก่อการร้าย รวมทั้งภาพถ่ายที่มีภาพจำเลยอยู่ด้วย จนกระทั่งหลังจำเลยถูกจับกุมได้ให้การรับสารภาพต่อพันตำรวจตรี ส. พันตำรวจโท ช. กับพันตำรวจตรี ป. ในข้อหาอั้งยี่ ตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การผู้ต้องหาทั้งจำเลยรับต่อพันตำรวจตรี ส. และจ่าสิบโท พ. ว่าก่อนถูกจับกุมจำเลยได้เข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็น และมีภาพถ่ายของจำเลยอยู่ในภาพที่พันตำรวจตรี ส. ได้มาก่อนจำเลยถูกจับและได้ลงลายมือไว้ในภาพนั้นด้วย แม้พันตำรวจตรี ส. กับสิบเอก อ. จะเบิกความแตกต่างถึงแหล่งที่มาก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะสาระสำคัญอยู่ที่บุคคลตามภาพถ่ายเป็นจำเลยหรือไม่ ซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยก็รับว่าเป็นบุคคลตามภาพถ่าย เพียงแต่นำสืบปฏิเสธว่า ถูกกลุ่มขบวนการก่อการร้ายขู่บังคับให้เข้าร่วมขบวนการ มิฉะนั้นจะถ่ายรูปส่งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองและบังคับให้แต่งชุดเดินป่าและถือปืนแล้วถ่ายภาพไว้ซึ่งขัดต่อเหตุผลเพราะหากเป็นการขู่บังคับน่าจะใช้อาวุธข่มขู่จะได้ผลดีกว่า และที่จำเลยนำสืบว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหลายฉบับ แต่ไม่ทราบข้อความเนื่องจากอ่านเขียนและพูดภาษาไทยไม่ได้และไม่มีล่ามแปลให้จำเลยฟังนั้น ในชั้นสอบสวนพันตำรวจโท ช. เบิกความว่าการสอบปากคำจำเลยได้ให้นายดาบตำรวจ ว. เป็นล่ามแปลและจำเลยได้ให้การไว้โดยละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่จริงสอดคล้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเจ้าพนักงานคงไม่สามารถบันทึกขึ้นเองได้ พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบนั้นไม่มีน้ำหนักฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้
จำเลยเข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็นกลุ่มนาย อ. มีพฤติการณ์กระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเรียกค่าคุ้มครอง ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเป็นคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีการดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงมีความผิดฐานอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเล่นแชร์ผิดกฎหมายทำให้หนี้เช็คไม่บังคับได้ นายวงแชร์ไม่มีสิทธิเรียกร้องหนี้จากสมาชิก
ตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ....ฯลฯ... (3) มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวด รวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง.... และมีกฎกระทรวงการคลัง(พ.ศ. 2534) ให้กำหนดทุนกองกลางที่ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์ หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าสามแสนบาท ดังนั้นเมื่อการเล่นแชร์ของโจทก์จำเลยกับพวกมีผู้ร่วมเล่น 18 คน มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันมีมูลค่ามากกว่าสามแสนบาท จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นย่อมตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 150 ดังนี้โจทก์เมื่อไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คฉบับเดิมหรือเช็คพิพาทได้เพราะเหตุดังกล่าว หนี้ตามเช็คพิพาทจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4
บทบัญญัติพระราชบัญญัติการเล่นแชร์พ.ศ. 2534 มาตรา 7เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ฝ่ายเดียวที่จะฟ้องเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ มิได้บัญญัติให้นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เรียกร้องหนี้สินการเล่นแชร์จากสมาชิกวงแชร์จึงไม่ใช่เป็นบทบัญญัติพิเศษที่ยกเว้นมาตรา 6
of 8