คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีป่าสงวน: การสอบสวนโดยคณะกรรมการและโทษจำคุกสำหรับความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 10 ให้มีคณะกรรมการสำหรับป่าสงวนแห่งชาติคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนป่าไม้ ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมที่ดินและกรรมการอื่นอีก 2 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีอำนาจหน้าที่ควบคุมให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีหลักเขตและป้ายหรือเครื่องหมายอื่นแสดงแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในทางการบริหาร มิใช่การสอบสวนคดีอาญา ทั้งตามมาตรา 26 บัญญัติว่าการจับกุม การปราบปรามผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิ.อ. เมื่อ ส. เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ได้ควบคุมตัวจำเลยและส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำตกเขาอีโต้ โดยกระทำความผิดจำนวน 3 คดี รวมทั้งคดีนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษทุกคดี เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีและความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ ที่ปรากฏตามภาพถ่ายในสำนวนถือได้ว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่จำเลยอ้างในฎีกาว่าจำเลยอายุมาก โดยมีอายุ 66 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัวซึ่งมีบุตร 5 คน อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน 2 คน ถ้าจำเลยต้องโทษจำคุก ย่อมทำให้ครอบครัวได้รับความลำบากยังไม่เพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนคดียาเสพติดของเยาวชน: การปฏิบัติตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมามีกำหนด 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย (ไม่ริบของกลาง) ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ใช้บังคับเฉพาะกรณีสอบปากคำจำเลยเท่านั้น ไม่ได้ใช้บังคับในการรวบรวมพยานหลักฐานอื่น ๆ ด้วย ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนนำตัวจำเลยไปชี้ที่เกิดเหตุโดยไม่มีบุคคลต่าง ๆ อยู่ด้วย กับไม่มีการบันทึกภาพและเสียงของจำเลยในขณะให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนนั้นการสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4407/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.ความลับทางการค้า ต้องได้มาซึ่งความลับจากการปฏิบัติงานตามกฎหมาย หรือการปฏิบัติราชการ/สอบสวน
การกระทำของบุคคลใดจะเป็นความผิดและต้องรับโทษตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 35 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบความผิดที่ว่า บุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าดังกล่าวเนื่องจากการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ หรือบุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าเนื่องในการปฏิบัติราชการหรือการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วย เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 เคยเป็นลูกจ้างของโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 5 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการผู้จัดการ โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยทั้งห้าได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าดังกล่าวเนื่องจากการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ หรือบุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าเนื่องในการปฏิบัติราชการหรือการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8316/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาพยายามฆ่า แม้ไม่ได้แจ้งในตอนแรก แต่หากสอบสวนแล้วพบความผิดฐานนี้ พนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ เมื่อพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแก่จำเลย แม้ไม่ได้แจ้งข้อหาพยายามฆ่า แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในข้อหาพยายามฆ่าแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพักงานทางวินัย: การปฏิบัติตามระเบียบ, กำหนดเวลาสอบสวน, และการกำหนดค่าเสียหาย
โจทก์มีพฤติกรรมในการปฏิบัติงานไม่ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานของจำเลย และมีพฤติการณ์ต้องสงสัยว่าจะมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นกับการทุจริตของ ส. ในการเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆโดยไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญคู่จ่ายประกอบการเบิกจ่ายแล้วนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ดังที่จำเลยระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งพักงานซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นกรณีความผิดร้ายแรง หากจะให้โจทก์คงปฏิบัติงานอยู่อาจจะเกิดผลร้ายแก่ธนาคารจำเลยได้ จำเลยย่อมมีอำนาจพักงานโจทก์ได้ คำสั่งพักงานของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานของจำเลย แม้จำเลยจะมิได้มีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนและวินิจฉัยโทษให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันออกคำสั่งพักงานซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบก็เป็นกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากจำเลยได้มีคำสั่งพักงานโจทก์ไปโดยชอบแล้ว หาทำให้คำสั่งพักงานที่จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งได้โดยชอบกลับกลายเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยมิได้วินิจฉัยโทษให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามที่ระเบียบกำหนดไว้ โจทก์ก็เพียงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเป็นการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น
การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้กำหนดค่าเสียหายรายเดือนเท่ากับเงินเดือนของโจทก์ มิใช่ครึ่งหนึ่งของค่าจ้างนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายเพราะเหตุจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้โจทก์ตามความเหมาะสม อุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6723/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนคดีอาญา: อำนาจพนักงานสอบสวนในการปรับเปลี่ยนข้อหาตามข้อเท็จจริง
การรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาจำเลยว่ากระทำผิดฐานยักยอกนั้นถือเป็นการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (11) ซึ่งการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานใดเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสอบสวน เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำไปแล้วเสียไป การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การเด็กที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การขาดผู้เชี่ยวชาญและพนักงานอัยการ
แม้จะได้ความว่าเด็กชาย ก. และเด็กชาย ส. เคยให้การชั้นสอบสวนว่าจำเลยเป็นคนร้ายศีรษะโล้นที่ใช้ไม้ ตีผู้ตายก็ตาม แต่คำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยไม่ปรากฏว่ามีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมด้วย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ไม่อาจรับฟังคำให้การ ชั้นสอบสวนของเด็กทั้งสองเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 243 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนผู้ต้องหาอายุ 16 ปี ก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 ถือชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20)ฯ มาตรา 6 บังคับใช้วันที่ 14 กันยายน 2542 อันเป็นเวลาภายหลังที่มีการสอบสวนจำเลยแล้ว ฉะนั้นการสอบสวนจำเลยซึ่งมีอายุ 16 ปี จึงไม่อยู่ในบังคับตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว และไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญหรือทนายความหรือบิดามารดาหรือผู้ที่จำเลยไว้วางใจอันเป็นบุคคลที่จำเลยอ้างร่วมฟังการสอบสวน การสอบสวนจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนผู้ต้องหาอายุเกิน 18 ปี และอำนาจร้องทุกข์ในคดีลักทรัพย์
บทบัญญัติตามมาตรา 134 ตรี ประกอบมาตรา 133 ทวิ วรรคห้า แห่ง ป.วิ.อ. ใช้บังคับสำหรับกรณีผู้ต้องหาอายุไม่เกินสิบแปดปีในขณะที่จะมีการสอบปากคำ เมื่อปรากฏว่าขณะที่พนักงานสอบสวนถามปากคำของจำเลยในฐานะผู้ต้องหา จำเลยมีอายุเกินสิปแปดปีแล้ว การสอบปากคำจำเลยของพนักงานสอบสวนจึงไม่จำเป็นต้องมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่จำเลยในฐานะผู้ต้องหาร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำจำเลยแต่อย่างใด แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยจะมีอายุไม่เกินสิบแปดปี
พนักงานสอบสวนไม่จำต้องสอบถามเรื่องทนายความตามมาตรา 134 ทวิ (ปัจจุบันมาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง) ก่อนเริ่มถามคำให้การผู้ต้องหา ถ้าขณะเริ่มถามคำให้การผู้ต้องหา ผู้ต้องหามีอายุเกินสิบแปดปีแล้ว แม้ขณะกระทำความผิดผู้ต้องหาจะมีอายุไม่เกินสิบแปดปี
การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบการดำเนินคดีนี้ เป็นการดำเนินการก่อนการสอบสวนผู้ต้องหา ไม่ใช่การสอบถามปากคำและมิใช่การชี้ตัวผู้ต้องหาซึ่งมีบทบัญญัติของกฎหมายโดยเฉพาะ จึงไม่จำเป็นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกินสิบแปดปีตามมาตรา 134 ตรี ประกอบมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับ
ความผิดฐานลักทรัพย์ ผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกคนร้ายลักทรัพย์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนผู้ต้องหาเยาวชน: อายุขณะสอบสวนสำคัญกว่าอายุขณะกระทำผิด และสิทธิทนายความ
บทบัญญัติตามมาตรา 134 ตรี ประกอบมาตรา 133 ทวิ วรรคห้า แห่ง ป.วิ.อ. ใช้บังคับสำหรับกรณีผู้ต้องหาอายุไม่เกินสิบแปดปีในขณะที่จะมีการสอบปากคำ เมื่อปรากฏว่าขณะที่พนักงานสอบสวนถามปากคำของจำเลยในฐานะผู้ต้องหา จำเลยมีอายุเกินสิบแปดปีแล้ว การสอบปากคำจำเลยของพนักงานสอบสวนจึงไม่จำเป็นต้องมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่จำเลยในฐานะผู้ต้องหาร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำจำเลยแต่อย่างใด แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยจะมีอายุไม่เกินสิบแปดปี
พนักงานสอบสวนไม่จำต้องสอบถามเรื่องทนายความตามมาตรา 134 ทวิ (ปัจจุบันมาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง) ก่อนเริ่มถามคำให้การผู้ต้องหา ถ้าขณะเริ่มถามคำให้การผู้ต้องหา ผู้ต้องหามีอายุเกินสิบแปดปีแล้ว แม้ขณะกระทำความผิดผู้ต้องหาจะมีอายุไม่เกินสิบแปดปี
การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบการดำเนินคดีนี้ เป็นการดำเนินการก่อนการสอบสวนผู้ต้องหา ไม่ใช่การสอบถามปากคำและมิใช่การชี้ตัวผู้ต้องหาซึ่งมีบทบัญญัติของกฎหมายโดยเฉพาะ จึงไม่จำเป็นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกินสิบแปดปีตามมาตรา 134 ตรี ประกอบมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับ
ความผิดฐานลักทรัพย์ ผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกคนร้ายลักทรัพย์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีได้
of 26