คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สังหาริมทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์มีเงื่อนไข และการเลิกสัญญาโดยสมัครใจ สิทธิเรียกร้องเงินคืน
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า คำฟ้องโจทก์ซึ่งกล่าวถึงสภาพข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาโอนสิทธิเช่าซื้อ แต่คำขอบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ จำเลยไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์ประสงค์สิ่งใดทำให้ไม่อาจสู้คดีได้ถูกต้อง คำให้การจำเลยดังกล่าวมิได้บรรยายให้เห็นว่า ฟ้องของโจทก์ส่วนใดเคลือบคลุมหรือไม่ชัดแจ้งอย่างไร หรือเนื้อหาในคำฟ้องขัดแย้งกันอย่างไร ซึ่งอ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้ ถือว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยจำเลยผู้ขายยอมให้โจทก์ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาและมีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อโจทก์ผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงราคากันตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป แม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่หากได้มีการวางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคู่กรณีก็ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ตามมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อจำเลยตกลงขายรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในราคา 200,000 บาท โจทก์ได้ผ่อนชำระแล้วเป็นเงิน 95,000 จึงถือว่าโจทก์ได้วางประจำและชำระหนี้บางส่วนแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีได้
โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย ย่อมทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อโจทก์ได้มอบรถยนต์พิพาทคืนแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ได้รับมาแก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ย โดยสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์โดยผู้แทนโดยชอบธรรม ไม่ต้องขออนุญาตศาลตาม ม.1574 หากไม่ขัดต่อข้อห้าม
การที่จำเลยในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นำไม้เคี่ยมซึ่งเป็นมรดกของสามีจำเลยในส่วนที่เป็นของ ผู้เยาว์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการนำทรัพย์สินของผู้เยาว์ไปแสวงหาผลประโยชน์อันจำเป็นต้องขออนุญาตต่อศาลก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1574 (11) แต่เป็นการทำสัญญาขายสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ซึ่งไม่ขัดต่อ มาตรา 1574 เพราะไม่มีกรณีที่ต้องห้ามตามมาตรา 1574 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ การยกข้อต่อสู้เรื่องผิดสัญญา และการนำสืบหลักฐาน
ในสัญญาซื้อขายนั้นนอกจากผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้ขายเป็นการตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 486 เมื่อจำเลยให้การยอมรับว่าได้ซื้อสินค้าตามฟ้องโจทก์จริง จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าที่ซื้อให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลย การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่มีภาระหน้าที่จะต้องชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แต่ผู้เดียวในประเทศไทยแล้วโจทก์กลับจำหน่ายสินค้าให้แก่นิติบุคคลหลายรายในประเทศไทยในราคาที่ต่ำกว่าจำหน่ายให้แก่จำเลย ทั้งโจทก์ได้รับประกันสินค้าเป็นเวลา 1 ปี นับจากวันที่ ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปแต่โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่ดำเนินการเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า จึงเป็นการที่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้ขึ้นมาใหม่เพื่อปัดความรับผิดที่จะไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เกี่ยวกับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปนั้น เมื่อได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าตามฟ้องให้จำเลยรับไปแล้วตามที่จำเลยสั่งซื้อ ถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้
ในการติดต่อซื้อขายสินค้า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจัดจำหน่าย (DISTRIBUTION AGREEMENT) กันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2537 และครั้งหลังสุดได้ทำสัญญาจัดจำหน่ายในปี 2540 โดยการตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทย และโจทก์รับประกันที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าสำหรับสินค้าที่จำเลยส่งคืนในกรณีที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้วเกิดชำรุดบกพร่องในระยะเวลาประกัน 1 ปี ตามสัญญาในเรื่องคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องระบุว่า ให้ปฏิบัติตามนโยบายของโจทก์เกี่ยวกับการคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง (Returned Merchandise Authority หรือ RMA Policy) การที่จำเลยจะขอนำสืบถึงการซื้อสินค้าคดีนี้ว่ามีข้อตกลงกันไว้ดังกล่าวและโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญานั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์: สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแม้ยังไม่ชำระราคา, การโอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้รับโอน
แม้ว่าการซื้อขายเครื่องชั่งพิพาทระหว่าง ข. กับจำเลยมีข้อตกลงกันว่า ถ้า ข. ผู้ซื้อไม่สามารถชำระเงินให้แก่จำเลยผู้ขายได้ ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ยินยอมให้จำเลยไปรับเอาเครื่องชั่งพิพาทคืนไปได้ทันทีโดยไม่จำกัดว่าเครื่องชั่งพิพาทจะอยู่สถานที่ใดก็ตาม แต่การซื้อขายเครื่องชั่งดังกล่าวเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่ระบุตัวทรัพย์และราคา แน่นอนแล้ว และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงในการซื้อขายว่า หากผู้ซื้อชำระราคาไม่ครบถ้วนทรัพย์สินที่ขายยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายอยู่จนกว่าผู้ซื้อจะชำระราคาครบถ้วนแต่อย่างใด จึงมิใช่สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไข แต่เป็นสัญญา ซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้ ข. จะยังไม่ชำระราคาให้แก่จำเลย กรรมสิทธิ์ในเครื่องชั่งพิพาทก็ย่อมโอนไปยัง ข. แล้วตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 458 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนเครื่องชั่งพิพาทมาจาก ข. ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในเครื่องชั่งพิพาทโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ทราบว่า ข. ซื้อเครื่องชั่งพิพาทมาจากจำเลยและยังไม่ได้ชำระราคาหรือไม่ เครื่องชั่งพิพาทจึงมิใช่เป็นของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9335/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเช่าสังหาริมทรัพย์และค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่า การกำหนดอายุความที่แตกต่างกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาเช่าโดยเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระอยู่ก่อนเลิกสัญญาจำนวน 24 เดือน แม้โจทก์จะฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้โดยเรียกว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย แต่ต้องถือว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระอยู่ก่อนเลิกสัญญาจำนวน 24 เดือน เพราะมิฉะนั้นแล้วจะเป็นการยอมให้โจทก์หลีกเลี่ยงการที่จะฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระมาเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย เมื่อถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมมีกำหนดอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(6) จำเลยค้างชำระค่าเช่า 24 เดือน เดือนสุดท้ายที่ค้างชำระคือวันที่ 1 พฤษภาคม 2538แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2540 จึงพ้นกำหนดเวลาสองปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดดินเช่าไปขายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ผู้เช่าครอบครองที่ดินในฐานะอสังหาริมทรัพย์ ดินที่ขุดได้ถือเป็นสังหาริมทรัพย์
การที่จำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของผู้เสียหาย มีผลเพียง แต่ทำให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในสภาพ อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อที่ดินถูกขุดดินที่ได้ย่อม เปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ และผู้เสียหายไม่ได้มอบการ ครอบครองดินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ให้จำเลยครอบครองดินดังกล่าวจึงยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย การที่ จำเลยเอา ดินดังกล่าวไปขายโดยทุจริต เป็นการแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6430/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าทรัพย์ทางวาจาและการพิสูจน์การเช่าช่วงเทียบกับการเป็นตัวแทน
โจทก์ดำเนินกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปใช้ชื่อว่าจูนคาร์เรนท์ จำเลยประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปเช่นกัน ด. ขอเช่ารถยนต์จากจำเลย แต่จำเลยไม่มีรถยนต์จึงนำรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ไปให้ ด.เช่าเป็นเวลา7 วัน โดยได้รับประโยชน์จากส่วนต่างของค่าเช่า เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากรถยนต์พิพาทชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและจำเลยได้ตกลงให้ค่าเช่าเพื่อการที่เอารถยนต์พิพาทไปแล้วการกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 แล้ว และการเช่าสังหาริมทรัพย์ กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือจึงสามารถตกลงกันด้วยวาจาได้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่ารถยนต์พิพาทไปจากโจทก์หาใช่เป็นเพียงตัวแทนของร้านจูนคาร์เรนท์เพราะถ้าหากจำเลยเป็นตัวแทนแล้วจำเลยจะต้องนำเงินที่ได้รับมามอบให้แก่โจทก์ทั้งหมดไม่มีสิทธิหักเงินบางส่วนเอาไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6430/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าทรัพย์สังหาริมทรัพย์ด้วยวาจา และการระบุลักษณะตัวแทนที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ดำเนินกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปใช้ชื่อว่าจูนคาร์เรนท์ จำเลยประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปเช่นกันด. ขอเช่ารถยนต์จากจำเลยแต่จำเลยไม่มีรถยนต์จึงนำรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ไปให้ด.เช่าเป็นเวลา7วันโดยได้รับประโยชน์จากส่วนต่างของค่าเช่าเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากรถยนต์พิพาทชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและจำเลยได้ตกลงให้ค่าเช่าเพื่อการที่เอารถยนต์พิพาทไปแล้วการกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา537แล้วและการเช่าสังหาริมทรัพย์กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือจึงสามารถตกลงกันด้วยวาจาได้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่ารถยนต์พิพาทไปจากโจทก์หาใช่เป็นเพียงตัวแทนของร้านจูนคาร์เรนท์เพราะถ้าหากจำเลยเป็นตัวแทนแล้วจำเลยจะต้องนำเงินที่ได้รับมามอบให้แก่โจทก์ทั้งหมดไม่มีสิทธิหักเงินบางส่วนเอาไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456
โจทก์และจำเลยโทรพิมพ์ติดต่อซื้อขายข้าวนึ่งต่อกัน ดังนี้สัญญาซื้อขายได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อการเจรจายุติลงตามโทรพิมพ์ดังกล่าวแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง กำหนดว่าสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันมีราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป สัญญาจะซื้อจะขาย คำมั่นในการขายทรัพย์ที่มีราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดด้วยหรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ฉะนั้นแม้จำเลยจะไม่สามารถจัดส่งข้าวนึ่งให้โจทก์ได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานการชำระหนี้บางส่วนหรือการวางมัดจำหรือลายมือชื่อของจำเลยที่ต้องรับผิดแล้ว โจทก์จึงไม่สามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าสังหาริมทรัพย์: องค์การโทรศัพท์ฯ มีอำนาจค้าได้
แม้โจทก์จะมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการโทรศัพท์ เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน อันถือได้ว่าโจทก์ดำเนินกิจการสาธารณูปโภค แต่โจทก์ก็มีอำนาจดำเนินกิจการได้หลายประการ เช่น มีอำนาจซื้อ เช่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รวมทั้งสามารถเข้าหุ้นส่วนหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลใด ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นกิจการของบุคคลจำพวกที่ค้าทั้งสิ้น การที่จำเลยเช่าคู่สายเคเบิลจากโจทก์เพื่อใช้บริการเครื่องเทเล็กซ์โดยโจทก์คิดค่าเช่าเป็นรายเดือนนั้น จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ฟ้องเรียกเอาค่าเช่าจากจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (6) มีอายุความ 2 ปี
of 6