พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาเช่าช่วงและระยะเวลาการเช่าตามสิทธิของผู้ให้เช่าช่วง โดยอิงตามสัญญาก่อสร้างและสัญญาเช่าเดิม
ตามสัญญาก่อสร้างอาคารใช้สิทธิแก่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าได้มีกำหนดเวลา20ปีนับแต่วันลงนามในสัญญาคือวันที่20พฤศจิกายน2513ถึงวันที่20พฤศจิกายน2533โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงต่อมาย่อมมีสิทธิการเช่าตามที่ระบุในสัญญาดังกล่าวจึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าได้เพียงเท่าระยะเวลาการเช่าที่ตนมีสิทธิและตามสัญญาจองอาคารระหว่างโจทก์จำเลยได้เท้าความถึงเรื่องที่โจทก์ได้ทำการก่อสร้างอาคารพิพาทขึ้นบนที่ดินราชพัสดุโดยโจทก์ได้สิทธิเช่าช่วงมาจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราดังนี้ตามสัญญาจองอาคารที่ระบุให้มีอายุการเช่า20ปีจึงย่อมเป็นที่เข้าใจระหว่างคู่สัญญาแล้วว่าหมายถึงอายุการเช่า20ปีตามที่โจทก์มีสิทธิตามสัญญาก่อสร้างอาคารหากให้เริ่มนับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่มีการทำสัญญาเช่ากันในภายหลังจะทำให้มีอายุการเช่ามากกว่า20ปีเกินกว่าสิทธิที่โจทก์ให้เช่าช่วงได้ซึ่งเป็นไปไม่ได้ขณะทำสัญญาจองอาคารโจทก์ยังไม่ได้รับสิทธิการเช่าต่ออีก5ปีเพิ่งได้รับสิทธิดังกล่าวในภายหลังเพราะเกิดมีกรณีพิพาทระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำให้การก่อสร้างล่าช้าวัสดุก่อสร้างเสียหายเพื่อชดเชยความเสียหายนี้กระทรวงการคลังจึงได้ขยายระยะเวลาการเช่าออกไปให้อีก5ปีซึ่งไม่เกี่ยวกับจำเลยจึงถือว่าอายุการเช่าอาคารพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยที่กระทำกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาจองอาคารสิ้นสุดลงเพียงวันที่20พฤศจิกายน2533จำเลยจึงบังคับให้โจทก์ทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยมีอายุ20ปีนับแต่วันทำสัญญาเช่ามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5632/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันสัญญาก่อสร้าง: สิทธิริบเงินค้ำประกันและดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระ
สัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารมิได้กำหนดให้เงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นการประกันการไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร รวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารได้สิ้นสุดลงหรือภายหลังโจทก์บอกเลิกสัญญาด้วย เงินตามสัญญาค้ำประกันมิใช่เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 โจทก์มีสิทธิริบเงินตามสัญญาค้ำประกันได้ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร โจทก์มีหนังสือให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2528 จำเลยที่ 3 ไม่ชำระถือว่าจำเลยที่ 3 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2528 แม้ภายหลังโจทก์จะมีหนังสือทวงถามซ้ำอีก โดยกำหนดวันที่นำเงินมาชำระใหม่อีกก็ตามก็ไม่ทำให้การผิดนัดของจำเลยที่ 3 ที่เกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนแปลงไปโจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 3 ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2528.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้าง - การเปลี่ยนแปลงงาน - สิทธิในการรับเงินค่าจ้าง - การชำระหนี้
หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามข้อตกลงหมาย ล.3จำเลยที่ 1 ยังก่อสร้างบ้านไม่เสร็จ แม้ว่าข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจะกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ระบุให้สิทธิในการบอกเลิกสัญญา ทั้งโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงหมาย ล.11 ให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างต่อไป แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างไม่ถือเอากำหนดเวลาในการก่อสร้างตาม ข้อตกลงเอกสารหมาย ล.3 เป็นข้อสำคัญ หากโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ก่อสร้างบ้านไม่ถูกแบบแปลนโจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ลงมือก่อสร้างโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 แก้ไข ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่แก้ไข โจทก์จึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้าง: การชำระเงินค่าจ้างและคืนเงินประกันเมื่องานแล้วเสร็จและไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น
จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารโรงงานและบ้านพักข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้ก่อสร้างครบถ้วนตามสัญญาแล้วโจทก์จึงมิใช่ฝ่ายผิดสัญญาที่จำเลยฎีกาอ้างว่าปริมาณงานในงวดสุดท้ายยังมีงานที่หลงเหลือมาจากงวดอื่นๆรวมทั้งงานเก็บกวาดทำความสะอาดและบริเวณก่อสร้างโจทก์จึงยังมิได้ดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จครบถ้วนตามสัญญานั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้เพิ่งหยิบยกข้ออ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยอ้างว่าตามสัญญาโจทก์จะต้องส่งงานงวดสุดท้ายและจัดหาให้ธนาคารพาณิชย์ค้ำประกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการก่อสร้างภายใน1ปีนับแต่จำเลยได้รับมอบงานจำเลยจึงจะคืนเงินประกันให้โจทก์เมื่อโจทก์ยังไม่จัดหาให้ธนาคารพาณิชย์ค้ำประกันความเสียหายจำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินประกันข้อเท็จจริงปรากฏว่านับแต่โจทก์ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วก็ไม่ปรากฏความเสียหายใดๆหลังจากการส่งมอบงานดังนั้นความจำเป็นที่โจทก์จะต้องนำธนาคารมาค้ำประกันความเสียหายจึงหมดไปจำเลยจึงไม่อาจยกเป็นเหตุไม่ยอมคืนเงินประกันความเสียหายแก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้าง: การชดเชยค่าจ้างจากภาวะต้นทุนสูง และผลของการยอมรับเงินชดเชยบางส่วน
การที่วัสดุก่อสร้างมีราคาสูงขึ้นไม่เป็นเหตุให้การชำระหนี้ของโจทก์ที่จะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นพ้นวิสัย โจทก์จะอ้างเรื่องวัสดุก่อสร้างที่มีราคาสูงขึ้นมาเป็นเหตุให้หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาไม่ได้
แม้คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้ผู้รับเหมา และคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบการก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของประเทศจะได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการชดเชยเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้ผู้รับเหมาไว้ ซึ่งถ้าถือตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยควรจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ตามที่คณะกรรมการได้กำหนด แต่มติคณะรัฐมนตรีและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปรับปรุงระบบการก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของ ประเทศหาได้บังคับผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาให้จำต้องปฏิบัติตามโดยเด็ดขาดไม่ เมื่อจำเลยพิจารณาจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์น้อยกว่าที่คณะกรรมการได้กำหนด โจทก์มิได้โต้แย้ง จึงถือได้ว่าโจทก์พอใจและตกลงยอมรับในจำนวนเงินดังกล่าวเพียงเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการดังกล่าวอีก
แม้คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้ผู้รับเหมา และคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบการก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของประเทศจะได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการชดเชยเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้ผู้รับเหมาไว้ ซึ่งถ้าถือตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยควรจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ตามที่คณะกรรมการได้กำหนด แต่มติคณะรัฐมนตรีและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปรับปรุงระบบการก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของ ประเทศหาได้บังคับผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาให้จำต้องปฏิบัติตามโดยเด็ดขาดไม่ เมื่อจำเลยพิจารณาจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์น้อยกว่าที่คณะกรรมการได้กำหนด โจทก์มิได้โต้แย้ง จึงถือได้ว่าโจทก์พอใจและตกลงยอมรับในจำนวนเงินดังกล่าวเพียงเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินชดเชยค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้าง: ผิดสัญญา, ค่าปรับ, การซ่อมแซมโดยจำเลย, การชำระหนี้
เมื่อปรากฏว่างานของโจทก์มีสิ่งที่บกพร่อง จำเลยบอกกล่าวให้โจทก์แก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้คืนดี หรือทำการให้เป็นไปตามสัญญาภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นแล้ว โจทก์ไม่ดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามสัญญาจนคลาดกำหนดนั้นไป จำเลยจึงจ้างบุคคลภายนอกทำการแก้ไขสิ่งยกพร่องดังกล่าวได้ โดยโจทก์จะต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตร 594
โจทก์ปลูกบ้านยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จำเลยยังไม่ได้รับมอบบานนั้นจากโจทก์ยังไม่ถือว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยมีสิทธเรียกเอาเบี้ยปรับในกรณีไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้จากโจทก์ได้ตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงกันว่า หากโจทก์ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดยอมให้จำเลยปรับเป็นรายวัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะปรับโจทก์ได้ตั้งแต่วันหมดอายุสัญญาจนถึงวันที่งานก่อสร้างแล้วเสร็จ
โจทก์ปลูกบ้านยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จำเลยยังไม่ได้รับมอบบานนั้นจากโจทก์ยังไม่ถือว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยมีสิทธเรียกเอาเบี้ยปรับในกรณีไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้จากโจทก์ได้ตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงกันว่า หากโจทก์ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดยอมให้จำเลยปรับเป็นรายวัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะปรับโจทก์ได้ตั้งแต่วันหมดอายุสัญญาจนถึงวันที่งานก่อสร้างแล้วเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ-ค่าปรับ-ค่าเสียหาย: ผู้รับเหมาผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิเรียกค่าปรับและค่าเสียหายได้
เมื่อปรากฏว่างานของโจทก์มีสิ่งที่บกพร่องจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์แก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้คืนดีหรือทำการให้เป็นไปตามสัญญาภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นแล้วโจทก์ไม่ดำเนินการแก้ไขจนล่วงเลยกำหนดนั้นแล้ว จำเลยจึงจ้างบุคคลภายนอกทำการแก้ไขสิ่งบกพร่องดังกล่าวได้ โดยโจทก์จะต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 594
โจทก์ปลูกบ้านยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จำเลยยังไม่ได้รับมอบบ้านนั้นจากโจทก์ยังไม่ถือว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับในกรณีไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้จากโจทก์ได้ตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงกันว่าหากโจทก์ก่อสร้างไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดยอมให้จำเลยปรับเป็นรายวันจำเลยจึงมีสิทธิที่จะปรับโจทก์ได้ตั้งแต่วันหมดอายุสัญญาจนถึงวันที่งานก่อสร้างแล้วเสร็จ
โจทก์ปลูกบ้านยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จำเลยยังไม่ได้รับมอบบ้านนั้นจากโจทก์ยังไม่ถือว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับในกรณีไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้จากโจทก์ได้ตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงกันว่าหากโจทก์ก่อสร้างไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดยอมให้จำเลยปรับเป็นรายวันจำเลยจึงมีสิทธิที่จะปรับโจทก์ได้ตั้งแต่วันหมดอายุสัญญาจนถึงวันที่งานก่อสร้างแล้วเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าหลังสัญญาก่อสร้างเลิก: โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเช่าเมื่อสัญญาหมดผล
กระทรวงการคลัง ทำสัญญากับโจทก์ให้โจทก์เป็นผู้ออกทุนทรัพย์ปลูกสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินราชพัสดุ ยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงการคลังและกระทรวงการคลังยอมให้โจทก์มีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี หากโจทก์ปลูกสร้างไม่เสร็จตามกำหนดสัญญา โจทก์ต้องส่งมอบสิ่งปลูกสร้างส่วนที่สร้างไม่เสร็จให้กระทรวงการคลังพร้อมกับชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังริบเอาเป็นของกระทรวงการคลัง และให้บอกเลิกสัญญาได้ทันที ปรากฏว่าโจทก์ปลูกสร้างอาคารตึกแถวงวดที่ 1 ซึ่งจะต้องทำรวม 52 คูหา เสร็จเพียง 40คูหารวมทั้งห้องพิพาทด้วย อีก 12 คูหายังไม่เสร็จกระทรวงการคลังได้บอกเลิกสัญญาทั้งหมดและบอกริบเอาตึกแถวที่สร้างเสร็จ 40 คูหา เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับกระทรวงการคลังได้ยกเลิกกันไปโดยชอบเสียก่อนแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีเหตุที่จะอาศัยข้อสัญญาที่หมดผลไปแล้วนั้น มาฟ้องขอให้บังคับกระทรวงการคลังยอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทได้ ส่วนผลงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องจากกระทรวงการคลังประการใด เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้าง, การบอกเลิกสัญญา, สิทธิผู้ก่อสร้าง, การเข้าครอบครอง, การฟ้องแย้ง
เจ้าของที่ดินทำสัญญากับผู้ก่อสร้างให้สร้างอาคารในที่ดินของตนโดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องสร้างให้เสร็จภายในระยะเวลาเท่าใด เมื่อก่อสร้างไปได้ประมาณ 1 ปี ผู้ก่อสร้างก็งดการก่อสร้าง เจ้าของที่ดินให้ทนายความมีหนังสือถึงผู้ก่อสร้าง ว่าให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาภายใน 15 วันมิฉะนั้นจะถือว่าผู้ก่อสร้างไม่ประสงค์จะดำเนินงานตามข้อสัญญา จะทำความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจะได้ฟ้องขอเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากผู้ก่อสร้าง ข้อความดังนี้เป็นแต่เพียงหนังสือเตือนให้ก่อสร้างต่อไปให้เสร็จตามสัญญา ถ้าไม่เริ่มดำเนินงานก่อสร้างต่อไปเจ้าของที่ดินจะฟ้องขอเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายเท่านั้นหนังสือดังกล่าวนี้จึงไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญา
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญากับ ม. ให้ ม. ก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ล. ด้วยเงินของ ม. มีข้อสัญญาว่าอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว ม.มีสิทธิกำหนดตัวผู้เช่า เมื่อ ล. ได้ทำสัญญากับผู้เช่าแล้วจึงให้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้น ๆ ตกเป็นของ ล. ในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาก่อสร้าง และ ล. ตายไปแล้ว ม. มีหนังสือถึงทายาทของ ล.แจ้งว่าได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่ได้สร้างขึ้น ให้ทายาทของ ล.ไปทำสัญญาเช่าให้จำเลยตามสัญญาก่อสร้าง แต่ทายาทของ ล.ก็ไม่ไปทำ จำเลยได้เข้าไปอยู่ในตึกแถวนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปอยู่โดยละเมิด
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญากับ ม. ให้ ม. ก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ล. ด้วยเงินของ ม. มีข้อสัญญาว่าอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว ม.มีสิทธิกำหนดตัวผู้เช่า เมื่อ ล. ได้ทำสัญญากับผู้เช่าแล้วจึงให้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้น ๆ ตกเป็นของ ล. ในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาก่อสร้าง และ ล. ตายไปแล้ว ม. มีหนังสือถึงทายาทของ ล.แจ้งว่าได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่ได้สร้างขึ้น ให้ทายาทของ ล.ไปทำสัญญาเช่าให้จำเลยตามสัญญาก่อสร้าง แต่ทายาทของ ล.ก็ไม่ไปทำ จำเลยได้เข้าไปอยู่ในตึกแถวนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปอยู่โดยละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้าง, การบอกเลิกสัญญา, สิทธิผู้ก่อสร้าง, การเข้าครอบครองโดยชอบ, การปฏิบัติตามสัญญา
เจ้าของที่ดินทำสัญญากับผู้ก่อสร้างให้สร้างอาคารในที่ดินของตนโดยไม่ได้ระบุว่า จะต้องสร้างให้เสร็จภายในระยะเวลาเท่าใด เมื่อก่อสร้างไปได้ประมาณ 1 ปี ผู้ก่อสร้างก็งดการก่อสร้าง เจ้าของที่ดินให้ทนายความมีหนังสือถึงผู้ก่อสร้าง ว่าให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาภายใน 15 วันมิฉะนั้นจะถือว่าผู้ก่อสร้างไม่ประสงค์จะดำเนินงานตามข้อสัญญาจะทำความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจะได้ฟ้องขอเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากผู้ก่อสร้าง ข้อความดังนี้เป็นแต่เพียงหนังสือเตือนให้ก่อสร้างต่อไปให้เสร็จตามสัญญา ถ้าไม่เริ่มดำเนินงานก่อสร้างต่อไปเจ้าของที่ดินจะฟ้องขอเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายเท่านั้นหนังสือดังกล่าวนี้จึงไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญา
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญากับ ม. ให้ ม. ก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ล. ด้วยเงินของ ม. มีข้อสัญญาว่าอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว ม.มีสิทธิกำหนดตัวผู้เช่า เมื่อ ล. ได้ทำสัญญากับผู้เช่าแล้วจึงให้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้น ๆ ตกเป็นของ ล. ในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาก่อสร้าง และ ล. ตายไปแล้ว ม. มีหนังสือถึงทายาทของ ล.แจ้งว่าได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่ได้สร้างขึ้น ให้ทายาทของ ล. ไปทำสัญญาเช่าให้จำเลยตามสัญญาก่อสร้าง แต่ทายาทของ ล. ก็ไม่ไปทำ จำเลยได้เข้าไปอยู่ในตึกแถวนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปอยู่โดยละเมิด
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญากับ ม. ให้ ม. ก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ล. ด้วยเงินของ ม. มีข้อสัญญาว่าอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว ม.มีสิทธิกำหนดตัวผู้เช่า เมื่อ ล. ได้ทำสัญญากับผู้เช่าแล้วจึงให้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้น ๆ ตกเป็นของ ล. ในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาก่อสร้าง และ ล. ตายไปแล้ว ม. มีหนังสือถึงทายาทของ ล.แจ้งว่าได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่ได้สร้างขึ้น ให้ทายาทของ ล. ไปทำสัญญาเช่าให้จำเลยตามสัญญาก่อสร้าง แต่ทายาทของ ล. ก็ไม่ไปทำ จำเลยได้เข้าไปอยู่ในตึกแถวนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปอยู่โดยละเมิด