พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากสัญญาจ้างก่อสร้างที่ล่าช้า ศาลพิจารณาความเหมาะสมของการบอกเลิกสัญญาและปรับลดค่าปรับ
จำเลยรับจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยส่งมอบงานงวดที่ 6 ล่าช้า โจทก์แจ้งสงวนสิทธิขอปรับตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง จำเลยไม่ยินยอม คู่สัญญาจึงทำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา โดยอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ขยายเวลาปฏิบัติตามสัญญาออกไปอีก 120 วัน นับแต่วันที่สัญญาสิ้นสุด จำเลยมิได้ทำงานงวดที่ 7 ถึงที่ 10 โจทก์จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาโดยขอคิดค่าปรับจากจำเลยในช่วงเวลาที่ผิดสัญญา แต่แม้ตามสัญญาจะมีการกำหนดให้คิดเบี้ยปรับไว้ แต่เบี้ยปรับดังกล่าวก็เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอาจจะสูงหรือต่ำกว่าค่าเสียหายแท้จริงก็ได้ ซึ่งต้องปรับด้วย ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก ที่ให้ศาลพิจารณาลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนลงเป็นจำนวนที่พอสมควรตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่เหมาะสมโดยมิได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยในเวลาอันสมควร การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้เอาวันหลังจากอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยและจำเลยทำหนังสือข้อตกลงขยายระยะเวลาปฏิบัติงานตามสัญญา 1 เดือนเศษ โดยการขยายระยะเวลาดังกล่าวไม่มีผลให้ปฏิบัติได้จริง เพราะมีคำวินิจฉัยเมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นแล้ว คงมีผลเพียงเพื่อลดวันที่จำเลยจะต้องชำระค่าปรับและจำเลยไม่อาจดำเนินการตามสัญญาต่อไปได้อีก เป็นวันเลิกสัญญา เป็นการใช้ดุลพินิจที่ถูกต้องเป็นธรรมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การไม่ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเป็นเหตุให้ผู้รับจ้างบอกเลิกสัญญาได้ และผู้ว่าจ้างต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
สัญญาจ้างข้อ 5 ระบุว่าโจทก์ต้องเริ่มลงมือทำงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดภายในวันที่ 25 กันยายน 2533 แสดงว่าตั้งแต่วันดังกล่าว จำเลยผู้ว่าจ้างต้องเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างพร้อมที่จะส่งมอบแก่โจทก์เพื่อลงมือก่อสร้างแล้ว แม้ในสัญญาจ้างจะมิได้ระบุเรื่องการส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าพื้นที่สำหรับก่อสร้างอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยหรือจำเลยมีสิทธิที่จะครอบครองดูแลหรือใช้ประโยชน์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์ก่อน มิฉะนั้นโจทก์ย่อมไม่อาจลงมือก่อสร้างได้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์จนล่วงพ้นกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอก เลิกสัญญาได้ และจำเลยต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์นับแต่วันที่สัญญาจ้างเลิกกันเมื่อจำเลยไม่คืน จำเลยย่อมต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคาร
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ส่งมอบงานงวดที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ล่าช้า และยังไม่รับข้อเสนอของจำเลยที่ขยายเวลาก่อสร้างให้อีก 27 วัน โจทก์จึงต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันแก่จำเลยสำหรับระยะเวลา 27 วัน เป็นเงิน 364,500 บาท ขอให้หัก ออกจากค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า จำเลยควรต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมของธนาคารให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา มิใช่นับแต่วันฟ้อง ปรากฏว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยมิได้ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอ้างในอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามจำนวนทุนทรัพย์ 7,462,320 บาท ซึ่งจำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.4 ส่วนสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.2 ไม่มีค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดอีก นอกจากค่าธรรมเนียมของธนาคารปีละ 12,500 บาท นับแต่วันฟ้อง อันเป็นค่าเสียหายในอนาคต ประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.2 หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล เพียง 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับค่าเสียหายในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ(2) และข้อ (4) ส่วนสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทุกข้อ ซึ่งต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้จำเลยทั้งหมด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 300 บาท แก่จำเลย
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ส่งมอบงานงวดที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ล่าช้า และยังไม่รับข้อเสนอของจำเลยที่ขยายเวลาก่อสร้างให้อีก 27 วัน โจทก์จึงต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันแก่จำเลยสำหรับระยะเวลา 27 วัน เป็นเงิน 364,500 บาท ขอให้หัก ออกจากค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า จำเลยควรต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมของธนาคารให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา มิใช่นับแต่วันฟ้อง ปรากฏว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยมิได้ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอ้างในอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามจำนวนทุนทรัพย์ 7,462,320 บาท ซึ่งจำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.4 ส่วนสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.2 ไม่มีค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดอีก นอกจากค่าธรรมเนียมของธนาคารปีละ 12,500 บาท นับแต่วันฟ้อง อันเป็นค่าเสียหายในอนาคต ประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.2 หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล เพียง 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับค่าเสียหายในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ(2) และข้อ (4) ส่วนสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทุกข้อ ซึ่งต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้จำเลยทั้งหมด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 300 บาท แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบพื้นที่ให้โจทก์ก่อน หากไม่ส่งมอบถือเป็นผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ก่อสร้างขยายผิวจราจรพร้อมท่อระบายน้ำ คันหินและทางเท้า โดยระบุให้เริ่มลงมือทำงาน ณ สถานที่และวันที่กำหนดไว้ แสดงว่าตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวจำเลยต้องเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างพร้อมที่จะส่งมอบแก่โจทก์เพื่อลงมือก่อสร้าง แม้ว่าในสัญญาจะมิได้ระบุเรื่องการส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างไว้ แต่ก็เข้าใจได้ว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยหรือจำเลยมีสิทธิครอบครองดูแลหรือใช้ประโยชน์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์ก่อน มิฉะนั้นโจทก์ไม่อาจลงมือก่อสร้างได้ การที่โจทก์ทราบถึงอุปสรรคในพื้นที่เกี่ยวกับเรื่องเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า ท่อประปา และมีอาคารของผู้อื่นบางส่วนกีดขวางอยู่นั้นก็เป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการแก้ไขเพราะหากโจทก์ลงมือทำงานในส่วนที่ไม่มีอุปสรรคไปก่อนก็อาจไม่ตรงตามงวดงานในสัญญาจ้าง และหากมีผลกระทบถึงที่ดินหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โจทก์ก็อาจถูกดำเนินคดีอาญาฐานบุกรุกหรือทำให้เสียทรัพย์ได้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์จนกระทั่งล่วงพ้นกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์นับแต่วันที่สัญญาจ้างเลิกกัน เมื่อจำเลยไม่คืนก็ต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438-2439/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การพิสูจน์ฝ่ายผิดสัญญา, การลดค่าเสียหายจากความล่าช้าของโจทก์, และหลักการใช้ดุลพินิจของศาล
จำเลยที่ 1 ก่อสร้างและส่งมอบงานงวดที่ 1 ถึงที่ 4 ภายในกำหนดให้แก่โจทก์โจทก์รับมอบงานและชำระค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงที่ 3 ครบถ้วน ส่วนงวดที่ 4 ชำระเพียงบางส่วน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้บอกเลิกสัญญาหลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างแล้วโจทก์ชำระค่าจ้างที่ค้างชำระในงวดที่ 4 ให้แก่จำเลยที่ 1 จากนั้นจำเลยที่ 1 ก่อสร้างและส่งมอบงานงวดที่ 5 และที่ 6 โจทก์ยอมรับมอบงานงวดที่ 5 และที่ 6 และชำระค่าจ้างให้ครบถ้วน แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1ยังคงปฏิบัติต่อกันตามสัญญาจ้างต่อไป โดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานและชำระค่าจ้างเป็นงวดเป็นสาระสำคัญ และไม่จำต้องมีการขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไปอีก แต่จำเลยที่ 1 กลับก่อสร้างงานงวดที่ 7 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายไม่แล้วเสร็จและละทิ้งงาน ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในกรณีส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญาแต่หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างแล้วคู่กรณีก็ไม่ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ วันที่มีการส่งมอบงานล่าช้าจึงไม่มีอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวัน คงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้นต่อให้เสร็จตามสัญญาจ้าง เพื่อทดแทนความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 และหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 223
จำเลยที่ 1 ละทิ้งงานงวดที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2538 ซึ่งโจทก์ควรรีบใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2538 อันเป็นเวลาห่างกันเกือบ4 เดือน จากนั้นโจทก์เพิ่งมาทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ให้ก่อสร้างงานต่อในส่วนที่เหลือ หลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วเป็นเวลาถึง 1 ปี 5 เดือนเศษ ย่อมทำให้ราคาค่าก่อสร้างงานสูงขึ้นและส่วนที่ก่อสร้างไปแล้วเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งสองสำนวนและให้ค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับโจทก์กับจำเลยที่ 4 ทั้งสองศาลทั้งสองสำนวนเป็นพับ โดยไม่แยกเป็นรายสำนวนไม่ถูกต้องเพราะสำนวนแรกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้เป็นคู่ความด้วย
แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในกรณีส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญาแต่หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างแล้วคู่กรณีก็ไม่ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ วันที่มีการส่งมอบงานล่าช้าจึงไม่มีอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวัน คงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้นต่อให้เสร็จตามสัญญาจ้าง เพื่อทดแทนความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 และหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 223
จำเลยที่ 1 ละทิ้งงานงวดที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2538 ซึ่งโจทก์ควรรีบใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2538 อันเป็นเวลาห่างกันเกือบ4 เดือน จากนั้นโจทก์เพิ่งมาทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ให้ก่อสร้างงานต่อในส่วนที่เหลือ หลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วเป็นเวลาถึง 1 ปี 5 เดือนเศษ ย่อมทำให้ราคาค่าก่อสร้างงานสูงขึ้นและส่วนที่ก่อสร้างไปแล้วเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งสองสำนวนและให้ค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับโจทก์กับจำเลยที่ 4 ทั้งสองศาลทั้งสองสำนวนเป็นพับ โดยไม่แยกเป็นรายสำนวนไม่ถูกต้องเพราะสำนวนแรกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้เป็นคู่ความด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7144/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้างที่ชอบธรรมและการมีสิทธิเรียกค่าปรับเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญา
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยแล้ว แม้จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลหรือตัวแทนของจำเลยมิได้เป็นผู้รับเอกสารนั้น การแสดงเจตนาแก่จำเลยผู้อยู่ห่างโดยระยะทางดังกล่าว ก็ถือว่าไปถึงผู้รับการแสดงเจตนาแล้ว ย่อมมีผลสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 วรรคหนึ่ง อีกทั้งก่อนบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหลายครั้ง การบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงชอบ ถือได้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงในวันที่หนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลย และเมื่อได้ความว่าโจทก์สงวนสิทธิในการเรียกค่าปรับไว้ก่อนบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาและการตอบรับที่มีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลง: สัญญาจ้างก่อสร้างเกิดขึ้นเมื่อตอบรับเงื่อนไขใหม่
ในการก่อสร้างโรงงานอาคารเตา จำเลยได้มีหนังสือเชิญชวนให้บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งโจทก์ให้ยื่นประกวดราคาก่อสร้าง ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้น เมื่อโจทก์ยื่นประกวดราคาโดยกรอกรายการบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาในแบบพิมพ์เชิญชวนให้ยื่นประกวดราคาต่อจำเลย เป็นการทำคำเสนอของโจทก์ที่ประสงค์จะเข้าทำสัญญาก่อสร้างให้จำเลย
การที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย ล.27 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง และแจ้งต่อไปว่า ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดยที่ปรึกษาด้านราคาคือ บริษัท พ. ดังนั้น หนังสือดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ซึ่งถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตาม ป.พ.พ.มาตรา359 วรรคสอง
ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อยืนยันและยอมรับต่อท้ายข้อความหนังสือเอกสารหมาย ล.27 เท่ากับเป็นการสนองตอบ สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้น โดยโจทก์กับจำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อความที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.27 ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดย บริษัท พ.ที่ปรึกษาด้านราคาและการคิดปริมาณงานและคำนวณราคาดังกล่าว ในหนังสือเอกสารหมาย ล.27 มิได้ระบุให้ยึดถือตามรายการปริมาณงานและราคาตามใบประกวดราคาเป็นหลัก บริษัทพ.จึงมีหน้าที่ที่จะต้องคิดปริมาณงานและคำนวณราคาใหม่ทั้งหมด และเมื่อคิดปริมาณงานและคำนวณราคาได้จำนวนเท่าไรแล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคาดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ก็ต้องยอมรับตามราคานั้นด้วย
การที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย ล.27 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง และแจ้งต่อไปว่า ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดยที่ปรึกษาด้านราคาคือ บริษัท พ. ดังนั้น หนังสือดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ซึ่งถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตาม ป.พ.พ.มาตรา359 วรรคสอง
ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อยืนยันและยอมรับต่อท้ายข้อความหนังสือเอกสารหมาย ล.27 เท่ากับเป็นการสนองตอบ สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้น โดยโจทก์กับจำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อความที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.27 ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดย บริษัท พ.ที่ปรึกษาด้านราคาและการคิดปริมาณงานและคำนวณราคาดังกล่าว ในหนังสือเอกสารหมาย ล.27 มิได้ระบุให้ยึดถือตามรายการปริมาณงานและราคาตามใบประกวดราคาเป็นหลัก บริษัทพ.จึงมีหน้าที่ที่จะต้องคิดปริมาณงานและคำนวณราคาใหม่ทั้งหมด และเมื่อคิดปริมาณงานและคำนวณราคาได้จำนวนเท่าไรแล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคาดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ก็ต้องยอมรับตามราคานั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การเสนอราคา, การตอบรับที่มีเงื่อนไข, และขอบเขตของสัญญา
ในการก่อสร้างโรงงานอาคารเตา จำเลยได้มีหนังสือเชิญชวน ให้บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งโจทก์ให้ยื่นประกวดราคาก่อสร้าง ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้น เมื่อโจทก์ยื่นประกวดราคาโดยกรอกรายการบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาในแบบพิมพ์เชิญชวนให้ยื่นประกวดราคาต่อจำเลย เป็นการทำคำเสนอของโจทก์ที่ประสงค์จะเข้าทำสัญญา ก่อสร้างให้จำเลย การที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย ล.27 แจ้งให้โจทก์ ทราบว่าโจทก์ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและแจ้งต่อไปว่า ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับ ของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดยที่ปรึกษาด้านราคา คือ บริษัทพ. ดังนั้น หนังสือดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข อย่างอื่นประกอบด้วย ซึ่งถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอ บางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อยืนยันและยอมรับต่อท้ายข้อความหนังสือเอกสารหมาย ล.27 เท่ากับเป็นการสนองตอบ สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นโดยโจทก์กับจำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อความที่ปรากฎในเอกสารหมาย ล.27 ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ ปริมาณงานและราคาเด็ดขาด จะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่ โดย บริษัท พ.ที่ปรึกษาด้านราคาและการคิดปริมาณงานและคำนวณราคาดังกล่าว ในหนังสือเอกสารหมาย ล.27 มิได้ระบุ ให้ยึดถือตามรายการปริมาณงานและราคาตามใบประกวดราคาเป็นหลัก บริษัท พ. จึงมีหน้าที่ที่จะต้องคิดปริมาณงานและคำนวณราคาใหม่ทั้งหมด และเมื่อคิดปริมาณงานและคำนวณราคาได้จำนวนเท่าไรแล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคาดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ก็ต้องยอมรับตามราคานั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2089/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างก่อสร้าง: การรับมอบงานโดยปริยาย, การชำระค่าจ้างไม่ตรงตามงวด, และการไม่ถือเอากำหนดเวลาเป็นสำคัญ
นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ทำงานถึงปีเศษแต่ยังไม่เสร็จสิ้นแล้วโจทก์ก็ละทิ้งงาน จำเลยจึงหาช่างมาดำเนินการต่อ ดังนี้การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการรับมอบงานในส่วนที่โจทก์ทำไปแล้วโดยปริยาย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างในการก่อสร้างในส่วนดังกล่าว และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อนที่จะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ตรงตามระยะเวลาในสัญญา เมื่อปรากฏตามสัญญาว่าจ้างว่าจำเลยจะต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์งวดละ 200,000 บาทงวดสุดท้ายชำระส่วนที่เหลือทั้งหมด แต่จำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์เฉพาะในงวดที่ 3,4 และ 5 งวดละ 100,000 บาทโดยจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างไม่ครบตามรายการสัญญาและแม้เป็นความจริงว่าโจทก์ได้ก่อสร้างครบรายการตามสัญญาแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ไม่ถือว่าจำเลยชำระค่าจ้างไม่ตรงตามงวดเป็นการผิดสัญญาคงทำงานให้จำเลยต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา ตามสัญญาจ้างมิได้ระบุวันเริ่มต้นทำการงานกันไว้คงระบุเพียงให้แล้วเสร็จภายใน 160 วัน แต่โจทก์ทำงานไม่เสร็จในระยะดังกล่าว และจำเลยยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาทำงานให้เสร็จเป็นสำคัญจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างก่อสร้าง: การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, และการชำระราคา
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงงานที่โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1ก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีตโดยมีสัญญาว่าจ้างพร้อมทั้งรายละเอียดข้อกำหนดการก่อสร้างคลองและรูปคลอง ซึ่งถือว่าแบบรูปและรายละเอียดดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่คู่สัญญาถือไว้คนละฉบับ โจทก์ได้แนบสัญญาว่าจ้างมาท้ายฟ้องด้วย โดยเฉพาะโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้โดยตรงว่า จำเลยที่ 1ผิดสัญญาในงวดที่ 3 และที่ 4 โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วและได้ว่าจ้างผู้อื่นทำงานส่วนที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าคำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 3 ย่อมทราบดีถึงขนาดของคลองส่งน้ำที่จำเลยที่ 1 รับจ้างก่อสร้าง โจทก์หาต้องบรรยายขนาด กว้าง ยาว ลึกของคลองส่งน้ำมาด้วยไม่ ส่วนงานที่โจทก์ว่าจ้าง พ. ให้ทำงานต่อจากจำเลยที่ 1 มีอะไรบ้างนั้นเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบและโจทก์ได้รับมอบงานงวดที่ 2 หลังจากสิ้นสุดการต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2 แล้วก็ตามแต่ในการรับมอบงานงวดที่ 2 นั้น เนื่องจากล่วงเลยกำหนดเวลาส่งมอบงานตามที่ขอต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2 โจทก์ได้สงวนสิทธิในการคิดเบี้ยปรับและได้หักเบี้ยปรับจากสินจ้างงวดที่ 2 ที่จ่ายให้จำเลยที่ 1 ด้วย นอกจากนี้หลังจากโจทก์ไม่รับมอบงานงวดที่ 3 และที่ 4 เพราะงานไม่เสร็จตามที่จำเลยที่ 1 ขอส่งมอบแล้ว โจทก์ก็ได้มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างอีก แสดงว่าโจทก์ยังมีเจตนายึดถือระยะเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานงวดที่ 3 และที่ 4 ไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามสัญญาการที่โจทก์มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำงานว่า ถ้าไม่ทำงานภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ โจทก์จะบอกเลิกสัญญานั้น เป็นการให้โอกาส จำเลยที่ 1 โดยโจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญาทันทีเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใดโดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องและทิ้งงานไป โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้ว ส่วนเรื่องดอกเบี้ยนั้น สัญญาว่าจ้างได้กำหนดว่าจำเลยที่ 1 ต้องเสียเบี้ยปรับหากไม่ทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเท่านั้น หาใช่กำหนดวันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น วันผิดนัดชำระเบี้ยปรับที่โจทก์จะพึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันครบกำหนดทวงถาม โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดน้อยกว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 4 จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเท่ากับจำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่เป็นธรรมต่อจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 4 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างก่อสร้างและขอบเขตความยินยอมของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องว่า อาคารต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 รับจ้างโจทก์ก่อสร้างและส่งมอบให้โจทก์เสร็จแล้วเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่โจทก์รับมอบงาน โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1ซ่อมแซมแก้ไขแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่จัดการแก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องให้เป็นที่เรียบร้อย โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในอาคารได้โดยสมบูรณ์ โจทก์จึงได้จ้าง ณ. ทำการซ่อมแซมจนเสร็จสมบูรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างที่โจทก์ได้จ้าง ณ. ทำการซ่อมแซมฟ้องของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อความชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 301 เพราะโจทก์ฟ้องบังคับตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาต่อกันอยู่อีก เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ่ายค่าจ้างที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ ณ. ไป จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาได้การฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้ต่อโจทก์ ข้อ 2ระบุว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้า เป็นการที่จำเลยที่ 3 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในกรณีที่จะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันแล้ว ส่วนข้อความตอนท้ายของสัญญาข้อ 2 ที่ระบุว่าโดยเพียงโจทก์ติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้านั้นมิใช่ข้อสาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผลเพราะข้อความตอนต้นของสัญญาข้อ 2 เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาแล้ว หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่หลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคสอง ย่อมต้องร่วมรับผิดด้วยตามสัญญาค้ำประกัน