คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้างงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างงานต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี ถือเป็นการจ้างงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านกฎหมาย มีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหากฎหมายแก่ฝ่ายกฎหมายหรือฝ่ายอื่นของจำเลย แก่ธนาคารสาขาของจำเลย บริษัทในเครือของจำเลย และแก่กรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลย อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในธุรกิจการธนาคารปกติของจำเลย งานของโจทก์เป็นการให้ความรู้ ความเห็น เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้ดุลพินิจได้รัดกุม ถูกต้อง มีคุณภาพ และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย แม้โจทก์จะสามารถแสดงความคิดเห็นให้คำปรึกษา แนะนำ และให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระตามความรู้ความสามารถในวิชาชีพกฎหมายของโจทก์โดยไม่จำต้องมีผู้บังคับบัญชาคอยควบคุมสั่งการ และลงเวลาเข้าทำงาน แต่โจทก์ก็ต้องเข้าปฏิบัติงานในที่ทำงานของจำเลยพร้อมที่จะทำหน้าที่เมื่อมีคำปรึกษาหารือเข้ามา ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยและอยู่ใต้บังคับบัญชาของกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลย แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษ เงินรางวัล เงินบำเหน็จหรือสวัสดิการต่าง ๆ ที่พนักงานอื่นได้รับ แต่โจทก์ก็ได้รับเงินค่าตอบแทนตามสัญญาเป็นรายเดือน การลากิจลาป่วยก็ต้องรายงานต่อกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลย ไม่สามารถหยุดงานได้ตามอำเภอใจของโจทก์ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงานต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ 12 ฉบับ ระยะเวลาตามสัญญาจ้างฉบับแรกถึงฉบับที่ 10 มีระยะเวลาฉบับละ 1 ปี โดยสัญญาฉบับแรกนับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 ครบสัญญาวันที่ 30 กันยายน 2537 และฉบับต่อ ๆ มาเริ่มระยะเวลาต่อเนื่องกันไปถึงฉบับที่ 10 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 30 กันยายน 2546 ฉบับที่ 11 เริ่มสัญญาต่อเนื่องไปมีกำหนด 1 เดือน และฉบับที่ 12 มีกำหนด 2 เดือน สิ้นสุดสัญญาวันที่ 31 ธันวาคม 2546 รวมระยะเวลาตามสัญญา 10 ปี 3 เดือน แต่งานที่โจทก์ทำเป็นการให้ความรู้ ความเห็น เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานของจำเลยสามารถใช้ดุลพินิจได้ถูกต้อง รัดกุม มีคุณภาพ และป้องกันความเสียหาย โดยโจทก์มีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหากฎหมายในการปฏิบัติงานปกติของธุรกิจการธนาคารของจำเลยหรือบริษัทในเครือทั้งสิ้น จึงมิใช่การจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยซึ่งมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานไว้ในสัญญา แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการจ้างไว้และเลิกจ้างเมื่อสิ้นสุดตามกำหนดระยะเวลานั้น ก็ไม่ทำให้โจทก์เป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยทั้ง 12 ฉบับ มีสาระสำคัญของสัญญาเป็นอย่างเดียวกัน งานที่ทำมีลักษณะอย่างเดียวกัน สัญญาที่ทำมีระยะเวลาต่อเนื่องกันไป จึงต้องนับระยะเวลาการทำงานต่อเนื่องติดต่อกันไป โจทก์ทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 10 ปี จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 100,000 บาท ย่อมมีสิทธิได้รับค่าชดเชย 1,000,000 บาท ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (5) จำเลยไม่จ่ายให้แก่โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ซึ่งถือเป็นวันเลิกจ้าง ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกสัญญาจ้างงานเนื่องจากตรวจพบสารเสพติด ไม่ถือเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาของผู้จัดหางาน
สัญญาจ้างแรงงานข้อที่กำหนดว่า ในกรณีลูกจ้างไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ โดยแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคที่ทางการไต้หวันไม่อนุญาตให้ทำงาน เช่น วัณโรค กามโรค? นายจ้างสามารถยกเลิกสัญญาและส่งลูกจ้างกลับประเทศโดยลูกจ้างจะได้รับค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนนั้น ต้องเป็นกรณีตรวจพบโรคต่าง ๆ ตามเงื่อนไขในสัญญาซึ่งสามารถตรวจพบได้ก่อนตกลงทำสัญญา หากตรวจพบแล้วผู้จัดหางานก็ชอบที่จะไม่ตกลงทำสัญญากับคนหางานได้ กรณีของโจทก์เป็นการตรวจพบมอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารเสพติดและไม่ได้ความว่าจำเป็นต้องใช้หรือได้รับอนุญาตจากแพทย์ในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย จึงไม่เป็นการตรวจพบโรคตามข้อสัญญาดังกล่าว แต่เป็นกรณีโจทก์ฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงานในข้อที่ว่าเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบของประเทศไต้หวัน ซึ่งตามสัญญานายจ้างสามารถยกเลิกสัญญาและส่งโจทก์กลับประเทศไทยได้โดยไม่ต้องคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้โจทก์
โจทก์ได้ทำงานแล้ว 16 วัน การที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานต่อไปเนื่องจากการตรวจพบมอร์ฟินในร่างกาย จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรับผิดชอบได้ และมิใช่กรณีจำเลยผู้จัดหางานไม่สามารถจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นคนหางานได้ทำงานตามที่ตกลงกัน อันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาตามความหมายของ พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39 และมาตรา 46 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกสัญญาจ้างงานเนื่องจากตรวจพบสารเสพติดในร่างกายลูกจ้างหลังทำงานไปแล้ว มิใช่ผิดสัญญา
สัญญาจ้างแรงงานที่ว่า ในกรณีลูกจ้างไม่ผ่านการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคที่ทางการไต้หวันไม่อนุญาตให้ทำงาน นายจ้างสามารถยกเลิกสัญญาและส่งลูกจ้างกลับประเทศไทย โดยลูกจ้างจะได้รับค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนนั้น จะต้องเป็นกรณีตรวจพบโรคต่าง ๆ ตามเงื่อนไขในสัญญาซึ่งสามารถตรวจพบได้ก่อนตกลงทำสัญญา หากตรวจพบแล้วผู้จัดหางานก็ชอบที่จะไม่ตกลงทำสัญญากับคนหางานแต่กรณีของโจทก์เป็นการตรวจพบมอร์ฟินซึ่งเป็นสารเสพติดในร่างกายภายหลังจากที่โจทก์ได้ทำงานที่ประเทศไต้หวันแล้ว 16 วัน จึงไม่เป็นการตรวจพบโรคตามที่ระบุไว้ในสัญญาการที่โจทก์ใช้สารเสพติดจึงเป็นกรณีโจทก์ฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงาน โดยเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบของประเทศไต้หวัน ซึ่งจำเลยผู้เป็นนายจ้างสามารถยกเลิกสัญญาและส่งโจทก์กลับประเทศไทยได้ โดยไม่ต้องคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้โจทก์
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39 และมาตรา 46 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองคนหางานให้ได้ทำงานตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาและเป็นบทบังคับให้ผู้จัดหางานต้องจัดให้คนหางานได้ทำงานตามข้อตกลงในสัญญาแต่โจทก์ได้ทำงานแล้ว 16 วัน ฉะนั้น การที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานต่อไปเนื่องจากการตรวจพบมอร์ฟินในร่างกาย จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรับผิดชอบได้ มิใช่กรณีจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดหางานไม่สามารถจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นคนหางานได้ทำงานตามที่ตกลงกัน อันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาตามความหมายแห่งบทบัญญัติในมาตราทั้งสองนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามข้อสัญญาและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5117/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างเบียดบังเช็คของนายจ้างเข้าบัญชีส่วนตัว การฟ้องเป็นคดีผิดสัญญาจ้างงานมีอายุความ 10 ปี
จำเลยเบิกความรับว่าได้นำเช็คของโจทก์ไปเข้าบัญชีจำเลยการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้กระทำการดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนพยานหลักฐานในสำนวนและเมื่อจำเลยมิได้ส่งมอบเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ย่อมเป็นการเบียดบังจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ดูแลด้านบัญชีและการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์,ของบริษัท ฉ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือและของนาย ฉ. จำเลยนำเช็คของโจทก์ไปเรียกเก็บเงินแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงานจึงขอให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวเป็นการฟ้องเนื่องจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียกรรมสัญญาจ้างงาน, การคืนสภาพเดิม, ค่าเสียหายจากการทำงานที่กระทำไปแล้ว, และการปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยแจ้งปีเกิดตามหลักฐานที่ผิดโดยมีเจตนาปกปิดความจริงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518ทำให้โจทก์ยอมรับโอนจำเลยเข้าเป็นพนักงานของโจทก์ โดยที่ขณะนั้นจำเลยมีอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว ต่อมาโจทก์ทราบความจริงจึงเลิกจ้างจำเลย เช่นนี้ แม้การที่จะให้จำเลยคืนเงินค่าจ้างและเงินอื่นแก่โจทก์ ไม่เป็นการพ้นวิสัย แต่การงานที่จำเลยทำให้โจทก์ไปแล้วซึ่งเป็นประโยชน์แก่โจทก์ และโจทก์ยอมรับเอาการงานของจำเลยแล้วก็ต้องกลับคืนไปยังฐานะเดิมด้วยดุจกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม เมื่อการที่จะให้การงานที่ทำไปแล้วกลับคืนยังฐานะเดิมเป็นการพ้นวิสัย โจทก์จึงต้องใช้ค่าเสียหายที่สมควรแก่หน้าที่การงานให้แก่จำเลย โดยถือว่าค่าจ้างและเงินอื่นตามฟ้องที่จำเลยได้รับไปแล้วเป็นค่าเสียหายจำนวนนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดสัญญาจ้างงานโดยการแข่งขันธุรกิจ แม้กระทำนอกเวลางานก็ถือเป็นเหตุเลิกจ้างที่เป็นธรรม
ตามคู่มือพนักงานของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ได้ออกข้อกำหนดห้ามพนักงานประกอบหรือร่วมกับบุคคลอื่นประกอบธุรกิจที่บริษัทจำเลยได้กระทำอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทจำเลย ไม่ว่าจะได้กระทำในหรือนอกเวลาปฏิบัติงานของบริษัทจำเลยก็ตาม หรือจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม พนักงานซึ่งกระทำการดังกล่าวก็ย่อมมีความผิดทั้งสิ้น กรณีคงมีข้อยกเว้นให้กระทำได้ต่อเมื่อรับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยเพียงประการเดียวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทจำเลยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบผลไม้แช่แข็งกับห้างอื่นอันเป็นธุรกิจที่บริษัทจำเลยประกอบอยู่และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทจำเลย โจทก์ก็ย่อมมีความผิดตามคู่มือพนักงานอันเป็นกรณีร้ายแรงแล้วการที่บริษัทจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสินจ้างพิเศษจากกำไร: สัญญาจ้างงานประเภทนี้มีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 165(8)
โจทก์เป็นลูกจ้างในบริษัทจำเลย เรียกร้องเอาเงินตอบแทนพิเศษจากกำไรสุทธิทางบัญชีตามสัญญาจากจำเลยเป็นเงินเปอร์เซ็นต์จึงเป็นการเรียกร้องเอาสินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ผู้รับจ้างได้กระทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(8)แล้ว มีอายุความ 2 ปี หาใช่อายุความ 10 ปีไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1763/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแรงงาน: การประเมินความรับผิดจากสัญญาจ้างงานหรือละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานตามหน้าที่เป็นเหตุให้รถของโจทก์ได้รับความเสียหายคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่บกพร่องต่อหน้าที่ อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถ ขอให้บังคับจำเลยตามสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(1)มิใช่คดีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด จึงนำอายุความหนึ่งปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 448 มาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ คำฟ้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1763/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแรงงาน: การประเมินความรับผิดจากสัญญาจ้างงาน vs. มูลละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานตามหน้าที่ เป็นเหตุให้รถของโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นคำฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ บกพร่องต่อหน้าที่ อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถ ขอให้บังคับจำเลยตามสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 8(1) มิใช่คดีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจึงนำอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามสัญญาจ้างงานที่มีระยะเวลาทำงานไม่เต็ม 15 วัน
โจทก์จำเลยตกลงกันว่าในช่วงระยะเวลา15วันโจทก์ทำงานให้จำเลย8วันหยุด7วันจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์8วันเท่ากับวันทำงานจริงโดยจ่ายให้ทุกวันที่5และ20ของเดือนต่อมาวันที่20กันยายน2528จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ให้ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายไปจนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือในวันที่5ตุลาคม2528แต่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจำเลยจ่ายค่าจ้างโดยแท้จริงให้โจทก์เท่าที่ทำงานเพียง8วันมิได้จ่ายให้คราวละ15วันการที่จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์คนละ8วันเมื่อเลิกจ้างจึงเป็นการจ่ายสินจ้างในช่วงเวลาคราวถัดไปหนึ่งช่วงตามที่ตกลงกันแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีก7วันจากจำเลย.
of 2