พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90-92/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ค่าหุ้น แม้สัญญาซื้อขายหุ้นไม่ติดอากรแสตมป์ ไม่กระทบความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 ที่บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉีกหรือส่วนของตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้นำตราสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ด้วย
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าหุ้นที่จำเลยซื้อจากโจทก์ร่วมโดยมีบันทึกสัญญาซื้อขายหุ้นมาแสดง ก็ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าหุ้นที่จำเลยซื้อจากโจทก์ร่วมโดยมีบันทึกสัญญาซื้อขายหุ้นมาแสดง ก็ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6908/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายหุ้น: ฝ่ายผิดสัญญาโอนหุ้นมีหน้าที่คืนเงินค่าหุ้น พร้อมดอกเบี้ย
ฟ้องเดิม คำให้การ และฟ้องแย้งกับคำให้การแก้ฟ้องแย้ง มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าฝ่ายใดเป็นฝ่าย ผิดสัญญาการโอนหุ้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาการโอนหุ้น พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องเดิมจำนวน 316,489 บาท พร้อมดอกเบี้ยและยกฟ้องแย้งจำเลย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้โจทก์ชำระเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องแย้ง จำเลยฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฟ้องแย้ง เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 คงวินิจฉัยเฉพาะฟ้องเดิมว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาการโอนหุ้นไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าหุ้น จากจำเลยตามฟ้องรวมทั้งไม่อาจยึดถือเงินค่าหุ้นที่จำเลยได้ชำระให้แก่โจทก์ตามฟ้องแย้ง จึงทำให้คำวินิจฉัยในส่วนที่ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนหุ้นของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาขัดกัน ต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนหุ้น ดังนั้น โจทก์ต้องคืนเงินค่าหุ้นที่ได้รับให้แก่จำเลยจำนวน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6908/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายหุ้น: โจทก์ผิดสัญญาไม่โอนหุ้น แม้จำเลยชำระค่าหุ้นแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยแย้งศาลอุทธรณ์
ตามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายหุ้นของบริษัท ณ. ระหว่างโจทก์ผู้ขายกับจำเลยผู้ซื้อ ข้อ 2 ระบุว่าจำเลยได้ชำระค่าโอนหุ้นให้แก่โจทก์ด้วยเช็ค 5 ฉบับ รวมเป็นเงิน 500,000 บาท และข้อ 4 ระบุว่า โจทก์ยินยอมลงลายมือชื่อโอนหุ้นของบริษัทดังกล่าวให้แก่จำเลยภายใน 7 วันนับจากวันทำสัญญานี้ ถือว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายหุ้นของบริษัท ณ. ยังมิใช่การดำเนินการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ต้องทำแบบที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสอง และข้อบังคับของบริษัท ณ. ในหมวด 2 ข้อ 4ว่าด้วยเรื่องหุ้นและผู้ถือหุ้น การซื้อขายหุ้นจึงหาตกเป็นโมฆะไม่
คดีนี้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยออกเช็คชำระค่าหุ้น แต่โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าหุ้นจากจำเลยรวมถึงไม่อาจยึดเงินค่าหุ้นที่จำเลยได้ชำระให้โจทก์แล้วได้ ซึ่งจำเลยฟ้องแย้งโจทก์ไว้และฎีกาขึ้นมา แต่เป็นฎีกาที่ต้องห้าม ทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาขัดกัน ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 146 วรรคหนึ่ง โดยถือตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนหุ้นให้จำเลย
คดีนี้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยออกเช็คชำระค่าหุ้น แต่โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าหุ้นจากจำเลยรวมถึงไม่อาจยึดเงินค่าหุ้นที่จำเลยได้ชำระให้โจทก์แล้วได้ ซึ่งจำเลยฟ้องแย้งโจทก์ไว้และฎีกาขึ้นมา แต่เป็นฎีกาที่ต้องห้าม ทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาขัดกัน ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 146 วรรคหนึ่ง โดยถือตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนหุ้นให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4968-5050/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพ้นวิสัยของการชำระหนี้จากเหตุสุดวิสัยทางการเงินของลูกหนี้ และผลกระทบต่อสัญญาซื้อขายหุ้น
ในวันที่โจทก์ทั้งแปดสิบสามถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างนั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะนำหุ้นในส่วนที่เหลือของโจทก์ทั้งแปดสิบสามออกขายให้แก่บุคคลอื่นตามเงื่อนไขในบันทึกเสนอขายหุ้นแล้ว เนื่องจากถูกกระทรวงการคลังมีคำสั่งห้ามมิให้ทำธุรกรรมทางการเงินหรือค้าหลักทรัพย์อีกต่อไป ถือได้ว่าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภาระหรือมีหนี้ที่จะต้องนำหุ้นออกขายให้แก่บุคคลอื่นดังกล่าวกลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้ ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ จำเลยที่ 1 จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ผิดข้อตกลงหรือยกเลิกเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ระบุในบันทึกการเสนอขายหุ้นโดยพลการ จำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระค่าหุ้น ค่าเสียหายและดอกเบี้ยแก่โจทก์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด สัญญาซื้อขายหุ้นที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ป. น. และ ส. มิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขายในสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขและไม่มีหลักฐานว่าได้มอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้ขายหุ้นของตนหรือ บริษัท ก. เป็นผู้ขายหุ้นของ ป. น. และ ส. ถือไม่ได้ว่า ป. น. และ ส. ได้ขายหุ้นของตนให้แก่โจทก์ สัญญาขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพัน ป. น. และ ส. โจทก์ไม่มีตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ ป. น. และ ส. โอนให้แก่โจทก์เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง มาแสดง ถือไม่ได้ว่าหุ้นของ ป. น. และ ส. ได้โอนไปยังโจทก์แล้ว ป. น. และ ส. ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ก.
สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตามข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นาย ว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง เพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสารการโอนหุ้นตาม มาตรา 1129 วรรคสอง ป. น. และ ส. จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.
สัญญาขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข ซึ่งมีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า "อนึ่ง ในวันทำสัญญานี้ผู้ขายได้ทำตราสารการโอนหุ้นมีผลเป็นการโอนหุ้นที่ตกลงซื้อตามข้อ 1 เสร็จ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้นาย ว. เก็บรักษาไว้จนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการตามสัญญาเสร็จ" ถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นแบบตราสารการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง เพราะข้อความดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไข ทั้งสัญญาขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขก็มิใช่แบบตราสารการโอนหุ้นตาม มาตรา 1129 วรรคสอง ป. น. และ ส. จึงยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายหุ้น: การชำระหนี้ค่าหุ้นและการโอนหุ้นเป็นสัญญาต่างตอบแทน
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องบรรยายฟ้องว่าน. บิดาของโจทก์ทั้งสามเข้าหุ้นกับจำเลยทั้งสามทำกิจการปั้นจั่นรับจ้างทั่วไปต่อมาน. และจำเลยทั้งสามตกลงกันว่าน. ขอคืนหุ้นปั้นจั่่นและหุ้นในห้างหุ้นส่วนดังกล่าวทั้งหมดให้แก่จำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสามจะคืนเงินค่าหุ้นจำนวน600,000บาทโดยแบ่งชำระเป็น3งวดให้แก่ให้น. ดังนี้ข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้แบ่งแยกราคาตามประเภทของหุ้นคงเรียกร้องรวมกันมาว่าจำเลยทั้งสามไม่ชำระราคาค่าหุ้นตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้นคดีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องแยกราคาตามประเภทของหุ้นจึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสามเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม บันทึกข้อตกลงซื้อขายหุ้นมีข้อสัญญาว่าน. บิดาของโจทก์ทั้งสามขอคืนหุ้นปั้นจั่นกับหุ้นในห้างหุ้นส่วนให้แก่จำเลยทั้งสามจำเลยทั้งสามจะชำระเงินคืนให้น. จำนวน600,000บาทโดยแบ่งชำระเป็น3งวดและน. จะเซ็นชื่อให้จำเลยทั้งสามในใบโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วนดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ต่างฝ่ายจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลงหลังสัญญาซื้อขายหุ้น การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน และอำนาจฟ้องของเจ้าของกิจการ
บรรยายฟ้องว่า บริษัทค. เป็นหนี้โจทก์ 1,811,515.90เหรียญฮ่องกงเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2526 บริษัทค. บริษัทบ.และจำเลย ได้ทำสัญญาซื้อขายหุ้นกัน โจทก์จำเลยและ บริษัทค. ตกลงให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แทนบริษัทค.เป็นเงิน 1,700,000เหรียญฮ่องกง หนี้ถึงกำหนดจำเลยไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นการบรรยายเกี่ยวกับสภาพแห่งข้อหาโดยละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้ว หาจำต้องบรรยายว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์เนื่องมาจากการแปลงหนี้ใหม่หรือการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ ส่วนที่ระบุชื่อโจทก์ในฟ้องว่า "นายสุทินฟุ้งสาธิต ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการผู้มีอำนาจรามาทัวร์แอนด์เทรดดิ้งคอมปานี และในฐานะส่วนตัว" นั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อมาว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและกิจการค้าใช้ชื่อทางการค้าว่ารามาทัวร์แอนด์เทรดดิ้งคอมปานี โดยโจทก์เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวและเป็นผู้จัดการมีอำนาจเต็มอ่านโดยตลอดแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเป็นเจ้าของกิจการดังกล่าวซึ่งมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การประกอบธุรกิจทางการค้า ผู้ประกอบธุรกิจจะตั้งชื่อร้านหรือกิจการของตนได้โดยไม่จำต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์เป็นเจ้าของกิจการจึงมีอำนาจฟ้องในฐานะส่วนตัว หนังสือสัญญาระบุว่า จำเลยตกลงจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ภายใน 90 วันนับจากวันที่ทำสัญญาซื้อขายระหว่างบริษัทค. และบริษัทบ. กับจำเลย เมื่อ บริษัทค. บริษัทบ. และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกันแล้วตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526ข้อที่จำเลยอ้างว่าสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะไม่สามารถโอนหุ้นกันได้เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาหาอาจนำมาอ้างกับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ไม่ ข้อตกลงจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526การนับระยะเวลา 90 วัน จึงเริ่มนับแต่นั้นเป็นต้นไป และครบกำหนดชำระแล้ว จำเลยเป็นคนไทยจะชำระหนี้เป็นเงินเหรียญฮ่องกง ปกติจำเลยก็ต้องไปซื้อเงินเหรียญฮ่องกงจากธนาคาร อัตราแลกเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามอัตราขายของธนาคาร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายหุ้นไม่สมบูรณ์-ขาดเจตนา-คำเสนอสิ้นผล-สิทธิเรียกร้องไม่มี
หนังสือของ จ. ตามเอกสารหมาย จ.15ข้อ4ที่ว่า"ตามที่แตง(หมายถึงโจทก์) ประสงค์จะขอซื้อหุ้นกลับคืนต่อภายหน้าเมื่อการเงินสะดวกนั้นไม่ขัดข้องแต่อย่างใดเลย จะโอนให้ทันทีโดยไม่เรียกร้องผลประโยชน์หรือดอกเบี้ย" ข้อ 5.1 ว่า "ป๋าพิจารณาแล้วเห็นเป็นการสมควรเพื่อความสะดวกเมื่อเวลาโอนหุ้นกลับคืนให้ แตงจะคิดเป็นจำนวนเงินเพียง 7,000,000(เจ็ดล้าน) บาทเท่านั้น"และข้อ 5.2 ที่ว่า "การซื้อหุ้นกลับคืนดอกเบี้ยไม่คิด" นั้นมิใช่คำสนองตอบคำเสนอของโจทก์ที่จะมีผลเป็นสัญญาซื้อขายหุ้นที่โจทก์โอนให้ จ. อาจจะถือได้เพียงแต่เป็นคำเสนอของ จ.ในการที่จะโอนหุ้นให้โจทก์กลับคืนโดยคิดเงินจากโจทก์ ตามที่โจทก์ตั้งความหวังไว้และปรารภถึงความหวังนั้นให้ จ. ทราบในเอกสารหมาย จ.13ข้อ4เท่านั้นจ.ทำเอกสารหมายจ .15 ไปถึงโจทก์ตั้งแต่ปี 2518 โจทก์ได้รับเอกสารแล้วมิได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือแสดงเจตนาใดให้ปรากฏแก่ จ. ในเรื่องนี้ จนเวลาล่วงเลยมาถึงวันที่ 1 ตุ ลาคม พ.ศ. 2524 จ. ได้ถึงแก่กรรมเอกสารหมาย จ .15 ซึ่งอาจถือว่าเป็นคำเสนอนั้นจึงสิ้นความผูกพันโจทก์จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะเรียกร้องให้ผู้จัดการมรดกของ จ.โอนหุ้นให้และรับเงินจากโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือแสดงเจตนาไม่ชัดเจน ไม่ถือเป็นสัญญาซื้อขายหุ้น ผู้จัดการมรดกไม่ต้องโอนหุ้นคืน
โจทก์เป็นหนี้บริษัท จ. โจทก์มีหนังสือถึงนาย จ. บิดาโจทก์ขอให้ชำระหนี้แทนโดยโจทก์จะโอนหุ้นของโจทก์ในบริษัทแห่งอื่นรวม 5 บริษัทให้แก่นาย จ. เป็นการชดใช้ให้ ซึ่งในหนังสือดังกล่าวโจทก์แสดงความประสงค์ไว้ว่า โจทก์ยังหวังที่จะกลับมามีส่วนในครอบครัวต่อไปภายหน้า ถ้าเป็นไปได้เมื่อไหร่ ที่โจทก์พร้อม โจทก์อยากจะขอซื้อหุ้นที่จะโอนให้แก่นาย จ. กลับคืน โดยโจทก์ยินยอมที่จะซื้อคืนมาในราคาที่โอนไปบวกดอกเบี้ยตามอัตราที่นาย จ.หรือสมาชิกของครอบครัวจะกำหนดให้ข้อความดังกล่าวไม่เป็นการแสดงเจตนาแสดงความประสงค์ของโจทก์ในลักษณะที่เป็นคำขอให้นาย จ.ทำสัญญาด้วย และไม่เป็นการชัดเจนแน่นอนว่าข้อที่จะทำให้เกิดหรือมีขึ้นคือการซื้อหุ้นดังกล่าวนั้นจะมีทางเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่เมื่อใด ข้อความที่ว่าโจทก์ยังหวังที่จะกลับมามีส่วนในครอบครัวต่อไปภายหน้าทำให้เห็นได้เป็นการแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่โจทก์คาดหวังไว้ล่วงหน้า ถ้ามีโอกาสก็จะทำอย่างนั้นซึ่งในขณะที่ทำหนังสือถึงนาย จ. นั้น โจทก์ก็ยังไม่รู้ว่าโอกาสเช่นนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ และยังไม่แน่นอนว่านาย จ. จะรับโอนหุ้น ที่โจทก์อ้างถึงเป็นการชำระหนี้หรือไม่ ทั้งยังไม่ได้มีการโอนหุ้นไปเป็นของนาย จ. ขณะนั้นจึงต้องถือว่าเรื่องการโอนหุ้นเป็นการชำระหนี้เป็นเรื่องอนาคต แม้ต่อมา นาย จ. ได้ตอบตกลงรับโอนหุ้นเป็นการชำระหนี้เงินกู้และโจทก์ได้โอนให้ นาย จ. ไปแล้วก็ตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือที่โจทก์มีถึงนาย จ. ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำเสนอที่โจทก์ขอซื้อหุ้นคืนจากนาย จ. แต่เป็นเพียงข้อปรากฎถึงสิ่งที่โจทก์คาดหวังไว้ในอนาคตเท่านั้น ไม่มีผลที่จะผูกนิติสัมพันธ์อย่างใดกับผู้ที่ได้รับการปรารถเช่นนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ชำระบัญชี และความรับผิดในสัญญาซื้อขายหุ้นหลังเพิกถอนใบอนุญาต
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ถอนใบอนุญาตของโจทก์และแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี เมื่อคณะผู้ชำระบัญชีประชุมมีมติให้ผู้ชำระบัญชี 2 คนมีอำนาจลงชื่อร่วมกันแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีได้ ผู้ชำระบัญชี 2 คนจึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องจำเลยได้
โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ การที่โจทก์จัดการซื้อหุ้นตลอดจนออกเงินทดรองค่าหุ้นให้แก่จำเลยไปนั้น จำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าที่โจทก์ดำเนินกิจการดังกล่าวไปก็เพื่อประโยชน์ที่จะได้ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ย หาได้กระทำให้เปล่าโดยไม่มีประโยชน์ตอบแทนไม่จำเลยจึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์
จำเลยสั่งซื้อหุ้นจำนวน 500 หุ้น แต่จำเลยได้สั่งขายหุ้นดังกล่าวไป 300 หุ้น จึงเหลือหุ้นที่จำเลยสั่งซื้อไว้และยังไม่ได้ขายอีก 200 หุ้นจำเลยต้องรับผิดใช้เงินค่าหุ้นที่เหลือจำนวนนี้แก่โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ การที่โจทก์จัดการซื้อหุ้นตลอดจนออกเงินทดรองค่าหุ้นให้แก่จำเลยไปนั้น จำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าที่โจทก์ดำเนินกิจการดังกล่าวไปก็เพื่อประโยชน์ที่จะได้ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ย หาได้กระทำให้เปล่าโดยไม่มีประโยชน์ตอบแทนไม่จำเลยจึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์
จำเลยสั่งซื้อหุ้นจำนวน 500 หุ้น แต่จำเลยได้สั่งขายหุ้นดังกล่าวไป 300 หุ้น จึงเหลือหุ้นที่จำเลยสั่งซื้อไว้และยังไม่ได้ขายอีก 200 หุ้นจำเลยต้องรับผิดใช้เงินค่าหุ้นที่เหลือจำนวนนี้แก่โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)