คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาอนุญาโตตุลาการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องจำหน่ายคดีหากคู่สัญญามิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง
โจทก์และจำเลยพิพาทกันตามสัญญาตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้า ซึ่งมีข้อสัญญาว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงเป็นเงื่อนไขของสัญญาให้ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมิได้ปฏิบัติตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการและจำเลยได้โต้แย้งไว้แล้ว จึงชอบที่ศาลจะต้องไต่สวน และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อสัญญานี้ได้ ก็ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย เพื่อให้โจทก์และจำเลยไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องจำหน่ายคดีหากไม่ได้เสนอข้อพิพาทเข้าอนุญาโตตุลาการก่อน
โจทก์และจำเลยพิพาทกันตามสัญญาตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้า ซึ่งมีข้อสัญญาว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงเป็นเงื่อนไขของสัญญาให้ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมิได้ปฏิบัติตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการและจำเลยได้โต้แย้งไว้แล้ว จึงชอบที่ศาลจะต้องไต่สวน และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อสัญญานี้ได้ ก็ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย เพื่อให้โจทก์และจำเลยไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: การไม่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง และผลต่อการพิจารณาคดี
ในกรณีที่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการกำหนดให้เสนอข้อพิพาททางแพ่งให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด หากคู่สัญญาฝ่ายใดนำคดีมาฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเสียก่อนตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องก็อาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยาน หรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีได้ แต่คดีนี้คงได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 3 ให้การลอย ๆ อ้างว่ามีสัญญาอนุญาโตตุลาการ โดยมิได้แสดงพยานหลักฐานต่อศาลแต่อย่างใด ทั้งมิได้โต้แย้งการที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการไต่สวนให้ปรากฏว่า กรณีมีสัญญาระงับข้อพิพาทอยู่หรือไม่ แต่กลับต่อสู้คดีตามประเด็นที่โจทก์ฟ้องตลอดมา พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 3 หาได้ประสงค์จะขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: การฟ้องคดีก่อนเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้คำปรึกษาในด้านเทคนิคพิเศษและด้านวิชาการเกี่ยวกับโครงการของจำเลย และมี ข้อสัญญาว่า หากคู่สัญญามีกรณีพิพาทเกิดขึ้นจากสัญญาดังกล่าวจะต้องเสนอข้อพิพาทนั้นให้อนุญาโตตุลาการแห่งกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ชี้ขาด ข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ตกลงกันว่าจะเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดมีลักษณะเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 เมื่อมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดก่อน
เมื่อสัญญาจ้างมีข้อความระบุชัดว่าคู่สัญญาต้องตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดข้อพิพาททั้งปวงที่เกิดจาก ข้อตกลงตามสัญญาจ้าง ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีที่โต้เถียงกันว่าจำเลยต้องชำระค่าจ้างตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้างซึ่งคู่กรณีจะต้องหาทางระงับข้อพิพาทด้วยการตกลงกัน หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องเสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด ข้อตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการดังกล่าวหาได้ใช้บังคับแต่เฉพาะเมื่อเกิดปัญหาในเรื่องการตีความข้อความในสัญญาจ้างไม่
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้สั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้เป็นที่สุด จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223
เมื่อข้อสัญญาในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 10 โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลโดยมิได้เสนอ ข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: โจทก์ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องคดีต่อศาล
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้คำปรึกษาในด้านเทคนิคพิเศษและด้านวิชาการเกี่ยวกับโครงการของจำเลย ข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ตกลงกันว่าจะเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดมีลักษณะเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มาตรา 5 เมื่อมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องถูกผูกพันโดยข้อสัญญานั้น
สัญญาจ้างมีข้อความระบุชัดว่าคู่สัญญาต้องตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดข้อพิพาททั้งปวงที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้าง และข้อพิพาทในคดีนี้ที่โต้เถียงกันว่าจำเลยต้องชำระค่าจ้างตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์ หรือไม่ จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้าง ซึ่งคู่กรณีจะต้องหาทางระงับข้อพิพาทดังกล่าวด้วยการตกลงกัน หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องเสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการดังกล่าว หาได้ใช้บังคับแต่เฉพาะเมื่อเกิดปัญหาในเรื่องการตีความข้อความ ในสัญญาจ้างไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ตามสัญญาดังกล่าวก่อน
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้สั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน เมื่อ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้เป็นที่สุดจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223
ปัญหาวินิจฉัยในชั้นฎีกามีเพียงว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนหรือไม่ เมื่อข้อสัญญาในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 10 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7926/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลสั่งจำหน่ายคดีให้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนได้
ตามสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในข้อ 11.01 ตกลงกันให้มีการเสนอข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งตามสัญญาทุกอย่างให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด และตามคำฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏอยู่แล้วว่า การที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าจ้างและเงินประกันความบกพร่องของงานเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาก่อสร้างอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามสัญญา และเมื่อเกิดข้อโต้แย้งดังกล่าวแล้วโจทก์ได้ติดต่อทวงถามตามที่คิดว่าตนมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยก่อน เมื่อจำเลยไม่สนองตอบข้อเรียกร้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่เหนือจำเลย ข้อโต้แย้งตามสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์จำเลยเกิดก่อนการเสนอคำฟ้องต่อศาลแล้ว
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นต่อศาลก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำให้การก่อน และเมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ จำเลยก็ต้องยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้เช่นกันดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจออกคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ได้
การที่คู่สัญญาทำสัญญาอนุญาโตตุลาการก็เพื่อให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยโดยชอบแล้ว คำวินิจฉัยในข้อพิพาทนั้นเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลให้นำข้อพิพาทนั้นมาพิจารณาพิพากษาอีกเพียงแต่หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อีกฝ่ายก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
เมื่อคดีมีเหตุที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนแล้ว ก็ไม่มีข้อพิพาทในคดีนี้ค้างให้ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอีก การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
ที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า "คู่กรณีจะจัดให้มีการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ภายใต้ระเบียบหอการค้านานาชาติ" ไม่ชัดเจนว่าโจทก์จำเลยจะต้องเสนอข้อพิพาทต่อหอการค้านานาชาติของประเทศใด และใช้กฎหมายประเทศใดวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะนั้น ชั้นไต่สวนของศาลชั้นต้น ทนายโจทก์แถลงว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเห็นว่าไม่ใช่ข้อพิพาทตามสัญญาซึ่งต้องตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดแต่หลังจากฟ้องคดีแล้วโจทก์เกิดความไม่มั่นใจว่าจะเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาหรือไม่ จึงได้เสนอข้อพิพาทนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7926/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลสั่งจำหน่ายคดีให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนได้
ตามสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในข้อ 11.01 ตกลงกันให้มีการเสนอข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งตามสัญญาทุกอย่างให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด และตามคำฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏอยู่แล้วว่า การที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าจ้างและเงินประกันความบกพร่องของงานเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาก่อสร้างอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามสัญญา และเมื่อเกิดข้อโต้แย้งดังกล่าว แล้วโจทก์ได้ติดต่อทวงถามตามที่คิดว่าตนมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยก่อน เมื่อจำเลยไม่สนองตอบข้อเรียกร้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่เหนือจำเลย ข้อโต้แย้งตามสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์จำเลยเกิดก่อนการเสนอคำฟ้องต่อศาลแล้ว
ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นต่อศาลก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำให้การก่อน และเมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ จำเลยก็ต้องยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้เช่นกันดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจออกคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ได้
การที่คู่สัญญาทำสัญญาอนุญาโตตุลาการก็เพื่อให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยโดยชอบแล้วคำวินิจฉัยในข้อพิพาทนั้นเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลให้นำข้อพิพาทนั้นมาพิจารณาพิพากษาอีกเพียงแต่หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อีกฝ่ายก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
เมื่อคดีมีเหตุที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนแล้ว ก็ไม่มีข้อพิพาทในคดีนี้ค้างให้ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอีก การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
ที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า "คู่กรณีจะจัดให้มีการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ภายใต้ระเบียบหอการค้านานาชาติ"ไม่ชัดเจนว่าโจทก์จำเลยจะต้องเสนอข้อพิพาทต่อหอการค้านานาชาติของประเทศใดและใช้กฎหมายประเทศใดวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะนั้น ชั้นไต่สวนของศาลชั้นต้น ทนายโจทก์แถลงว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเห็นว่าไม่ใช่ข้อพิพาทตามสัญญาซึ่งต้องตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดแต่หลังจากฟ้องคดีแล้วโจทก์เกิดความไม่มั่นใจว่าจะเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาหรือไม่จึงได้เสนอข้อพิพาทนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิสัญญาอนุญาโตตุลาการ: คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ ทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาสิ้นไป
ระหว่างโจทก์ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินอ่างเก็บน้ำตามสัญญาจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาและได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา โดยมิได้เสนอข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อนตามสัญญา ส่วนโจทก์เมื่อเห็นว่าตนเองทำงานแล้วเสร็จตามสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่ตรวจรับงานและไม่ชำระเงินค่าจ้าง โจทก์ก็นำคดีมาฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าวก่อนเช่นกัน และเมื่อถูกฟ้องแล้วจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าโจทก์และจำเลยสละผลบังคับตามสัญญาดังกล่าวโดยปริยายแล้ว จำเลยจึงหาอาจยกเอาข้อสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้โจทก์ปฏิบัติอีกได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงตัดสิทธิการฟ้องร้องเป็นโมฆะ สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่ตัดสิทธิฟ้อง
เมื่อมีหนี้จะต้องรับผิดเกิดขึ้นแล้วคู่กรณีย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้ การตกลงตัดสิทธิไม่ให้นำคดีมาสู่ศาลย่อมเป็นโมฆะ ข้อตกลงเช่นนี้ไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525-526/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ยืนยันหลักการเรื่องการยื่นคำร้องซ้ำ และอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการในการวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญา
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง บัญญัติให้สิทธิคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้ ผู้คัดค้านใช้สิทธินี้โดยเป็นผู้ร้องขอไปแล้วแต่ศาลชั้นต้นยกคำร้อง คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้คัดค้านมายื่นคำร้องขออย่างเดียวกันอีกในเดือนเดียวกันโดยอ้างเหตุใหม่ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ผู้คัดค้านสามารถยกขึ้นอ้างได้ในขณะยื่นคำร้องขอครั้งก่อน และประเด็นตามคำร้องทั้งสองครั้งเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องโดยวินิจฉัยในเนื้อหาของคดีตามคำร้องขอไปแล้ว ถือว่าเป็นการที่ผู้คัดค้านรื้อร้องฟ้องให้ศาลวินิจฉัยกันใหม่อีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยไปแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียว คำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการของผู้คัดค้านฉบับหลังจึงซ้ำกับคำร้องขอฉบับแรก ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง ปัญหานี้แม้ผู้ร้องมิทันยกขึ้นต่อสู้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เพิ่งยกขึ้นในคำแก้อุทธรณ์ แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
of 3