พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4788/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การสละสิทธิจากเจตนาของคู่สัญญา และผลของการบอกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ตามพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันเกี่ยวกับสัญญาเช่าซื้อ จำเลยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นเวลา 2 งวดติดต่อำกันหลายครั้ง ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาไม่ชำระเงินติดต่อกัน 2 งวด (สองเดือน) คู่สัญญาถือว่าผู้เช่าซื้อขาดสิทธิการเช่าซื้อที่ดินแปลงตามสัญญานี้ ผู้เช่าซื้อจะเรียกร้องเงินมัดจำ เงินที่ส่งค่างวดหรือค่าเสียหายใดๆ จากผู้ขายมิได้และผู้เช่าซื้อจะต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ขาดสิทธิ แสดงว่าจำเลยหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อต่อไปทันที แต่ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์และจำเลยปรากฏว่าจำเลยยังคงชำระค่าเช่าซื้อต่อมา และโจทก์ก็ยินยอมรับชำระค่าเช่าซื้อ แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะถือว่าจำเลยขาดสิทธิแล้วก็ตาม แสดงว่าโจทก์มิได้ยึดถือเอาสัญญาเช่าซื้อข้อนี้เป็นสาระสำคัญโดยโจทก์ยังถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังมีผลต่อไป จึงรับเงินค่าเช่าซื้อไว้ ถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิที่มีอยู่ตามสัญญา สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยยังไม่เลิกกัน ดังนั้น หากจำเลยผิดนัดผิดสัญญาเกี่ยวกับการชำระค่าเช่าซื้ออีก และโจทก์มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ต้องบอกกล่าวไปยังจำเลยโดยให้ระยะเวลาแก่จำเลยพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยทันทีโดยไม่ให้ระยะเวลาแก่จำเลยชำระหนี้ก่อนตามสมควรจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน
การสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 นั้น ศาลต้องสั่งให้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องโจทก์หรือฟ้องแย้งของจำเลย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 สั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยโดยไม่กำหนดให้ครบถ้วนถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียใหม่
การสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 นั้น ศาลต้องสั่งให้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องโจทก์หรือฟ้องแย้งของจำเลย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 สั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยโดยไม่กำหนดให้ครบถ้วนถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การยึดรถคืนและการผิดสัญญา โดยการไม่รับชำระหนี้และการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ
โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อจนถึงงวดที่ 12 แล้วไม่ชำระตั้งแต่งวดที่ 13 ถึง 15 ต่อมางวดที่ 16 โจทก์นำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปชำระให้แก่จำเลย จำเลยรับไว้โดยไม่ทักท้วง ไม่คิดดอกเบี้ยหรือเบี้ยปรับ แสดงว่า จำเลยมิได้ยึดถือข้อสัญญาที่ว่า หากผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น หากจำเลยประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จำเลยต้องบอกกล่าวไปยังโจทก์โดยให้ระยะเวลาแก่โจทก์พอสมควร แม้จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์นำเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปชำระให้แก่จำเลย แต่จำเลยไม่รับชำระโดยอ้างว่าโจทก์ชำระน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระซึ่งมีดอกเบี้ย ค่าติดตามรถและค่าแอร์รวมอยู่ด้วยนั้น ก็ไม่ปรากฏข้อสัญญาหรือข้อนำสืบว่า ยอมให้คิดดอกเบี้ยจากการชำระล่าช้าได้หรือโจทก์ค้างชำระจริง จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระหนี้อื่นนอกจากค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เมื่อโจทก์นำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปชำระให้แก่จำเลย แต่จำเลยไม่รับชำระค่าเช่าซื้อโดยไม่มีเหตุจะอ้างตามกฎหมายจึงไม่ถือว่าโจทก์ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน โจทก์ผู้เช่าซื้อชอบที่จะครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อต่อไป จำเลยต้องส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ เมื่อจำเลยไม่รับชำระค่าเช่าซื้อและไม่คืนรถยนต์ให้แก่โจทก์โดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามฟ้องแย้ง
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทนด้วย ขณะจำเลยยึดรถยนต์คืนนั้นโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อรวม 4 งวด ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยมีสิทธิยึดรถคืนได้ในกรณีผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยยึดรถคืนแสดงว่าจำเลยไม่ยอมผ่อนผันให้โจทก์อีกจึงไม่ทำให้โจทก์เสียหายจากการใช้รถ แม้โจทก์นำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก็เป็นเพียงทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนเพื่อปฏิบัติตามสัญญาต่อไปเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นรายวันนับแต่วันที่จำเลยยึดรถยนต์คืนได้อีก
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทนด้วย ขณะจำเลยยึดรถยนต์คืนนั้นโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อรวม 4 งวด ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยมีสิทธิยึดรถคืนได้ในกรณีผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยยึดรถคืนแสดงว่าจำเลยไม่ยอมผ่อนผันให้โจทก์อีกจึงไม่ทำให้โจทก์เสียหายจากการใช้รถ แม้โจทก์นำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก็เป็นเพียงทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนเพื่อปฏิบัติตามสัญญาต่อไปเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นรายวันนับแต่วันที่จำเลยยึดรถยนต์คืนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4644/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: พิจารณาจากลักษณะข้อตกลงและค่าเสียหายที่แท้จริง
สัญญาเช่าซื้อได้กำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดและเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ถ้าขายได้ราคาไม่พอชำระค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังคงต้องชำระตามสัญญา รวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดหักด้วยค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระแล้ว ผู้เช่าซื้อตกลงจะชดใช้เงินจำนวนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อในลักษณะเป็นค่าขาดราคารถยนต์หาใช่เป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วมาหักจากค่าเช่าซื้อทั้งหมดตามสัญญา และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) ทั้งไม่ใช่เป็นคดีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าที่อยู่ในอายุความ 6 เดือน การฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4644/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ไม่ใช่ค่าเช่า, ใช้ อายุความ 10 ปี
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดและเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ถ้าขายได้ราคาไม่พอชำระค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังคงต้องชำระตามสัญญารวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดหักด้วยค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระแล้ว ผู้เช่าซื้อตกลงจะชดใช้เงินจำนวนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อ การฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่เป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) ทั้งไม่ใช่เป็นคดีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าที่อยู่ในอายุความ 6 เดือน เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้างมูลเหตุว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์อ้างด้วยว่าหลังจากมีคำพิพากษาในคดีก่อนจำเลยทั้งสามไม่ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ โจทก์ติดตามยึดรถคืนได้ในสภาพชำรุด ความเสียหายในคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว คำขอให้บังคับจำเลยทั้งสามในคดีนี้จึงต่างจากคำขอบังคับในคดีก่อน และมิใช่ประเด็นที่คำพิพากษาในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน และมิใช่กรณีจะไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีในคดีก่อนได้ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิมไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้างมูลเหตุว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์อ้างด้วยว่าหลังจากมีคำพิพากษาในคดีก่อนจำเลยทั้งสามไม่ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ โจทก์ได้ติดตามยึดรถคืนได้ในสภาพชำรุด ความเสียหายในคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว คำขอให้บังคับจำเลยทั้งสามในคดีนี้จึงต่างจากคำขอบังคับในคดีก่อน และมิใช่ประเด็นที่คำพิพากษาในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและมิใช่กรณีจะไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีในคดีก่อนได้ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อรถสูญหาย ศาลลดค่าเสียหายและยกเลิกค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 12 ไม่ให้ใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับใช้กับข้อกำหนดตามสัญญาดังกล่าวได้ ต้องพิจารณาไปตามบทบัญญัติทั่วไป สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง จึงต้องนำบทบัญญัติลักษณะเช่าทรัพย์มาบังคับด้วย เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตั้งแต่วันที่รถยนต์สูญหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้ออีกต่อไป ส่วนข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 5 ที่ระบุว่า ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัยหรือสูญหาย ผู้เช่าซื้อยอมชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบนั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้ผู้ให้เช่าซื้อไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะกำหนดให้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามข้อสัญญาดังกล่าว สำหรับค่าขาดประโยชน์ จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายให้โจทก์ประจำงวดวันที่ 2 พฤษภาคม 2542 จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้องวดต่อไปวันที่ 2 มิถุนายน 2542 แต่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2542 สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันในวันที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ผิดนัดหรือค้างชำระค่าเช่าซื้อแต่อย่างใด และค่าเสียหายส่วนนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขาดประโยชน์ก่อนรถยนต์สูญหาย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์ต้องชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยโดยผ่อนชำระเป็นระยะเวลา 20 เดือน เป็นรายวัน วันละ 650 บาท ทุก 7 วัน เป็นเงิน 4,550 บาท หากไม่ส่งตามที่กำหนดปรับวันละ 100 บาท ปรับทุกครั้งไปจนกว่าชำระเสร็จให้แก่จำเลย เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ การชำระค่าเช่าซื้อของโจทก์ชำระงวดละ 4,550 บาท ทุก 7 วัน ถ้าโจทก์ผิดนัดจะต้องเสียค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จเท่ากับโจทก์ต้องเสียค่าปรับ 803 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้
โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว แต่ยังคงค้างชำระค่าปรับ ปัญหาที่ว่าโจทก์ค้างชำระค่าปรับกรณีชำระค่าเช่าซื้อล่าช้าหรือไม่ และต้องชำระค่าปรับให้แก่จำเลยหรือไม่ เพียงใด เป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับประเด็นที่ว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อแก่จำเลยหรือไม่ โจทก์รับว่าค้างชำระค่าปรับแก่จำเลยตามสัญญาจริงเพียงแต่โต้แย้งว่าค่าปรับสูงเกินไป คดีจึงมีปัญหาว่าค่าปรับตามสัญญา เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนหรือไม่ เมื่อสัญญาเช่าซื้อมีข้อสัญญาว่า โจทก์ (ผู้ซื้อ) ต้องชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลย (ผู้ขาย) โดยผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นระยะเวลา 20 เดือน เป็นรายวัน วันละ 650 บาท ทุก 7 วัน เป็นเงิน 4,550 บาท หากไม่ส่งตามที่กำหนดปรับวันละ 100 บาท ปรับทุกครั้งไปจนกว่าชำระเสร็จให้แก่จำเลย ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ การชำระค่าเช่าซื้อของโจทก์ชำระงวดละ 4,550 บาท ถ้าโจทก์ผิดนัดจะต้องเสียค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จ เท่ากับโจทก์ต้องเสียค่าปรับ 803 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าแบบลิสซิ่งไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ แม้จะมีการตกลงซื้อทรัพย์สินเมื่อครบสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งรถยนต์ 1 คัน ไปจากโจทก์ในราคา 6,393,600 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น 447,552 บาท จำเลยตกลงชำระค่าเช่าและภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือน เดือนละ 142,542 บาท โดยแยกเป็นค่าเช่าเดือนละ 133,200 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนละ 9,324 บาท รวม 48 เดือน เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 6 กรกฎาคม 2538 และทุกวันที่ 6 ของเดือนถัดไป เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าและหากจำเลยที่ 1 มิได้กระทำผิดข้อตกลงหรือเงื่อนไขในสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าในราคา 934,579.44 บาท จำเลยที่ 1 ได้รับรถยนต์ไปแล้วในวันทำสัญญาเช่าแม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายถึงลักษณะของการเช่าแบบลิสซิ่งว่าเป็นสัญญาแบบใด มีผลใช้บังคับได้อย่างไร แต่เมื่อพิจารณาแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้อยู่แล้วว่าโจทก์นำรถยนต์ให้จำเลยที่ 1 เช่าโดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดและหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดข้อตกลงหรือเงื่อนไขในสัญญา จำเลยที่ 1 มีสิทธิซื้อรถยนต์ที่เช่าได้ตามราคาที่ระบุไว้ในสัญญา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาเช่าแบบลิชซิ่งตามคำฟ้องโจทก์นั้นโจทก์ผู้ให้เช่าให้คำมั่นจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อครบสัญญาเช่าแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า 934,579.44 บาท หากมิได้ผิดข้อตกลงหรือเงื่อนไขในสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่ามิได้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าทันที สัญญานี้จึงมิใช่สัญญาเช่าซื้อตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 572 เพราะสัญญาเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบแล้วกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อย่อมโอนไปยังผู้เช่าซื้อทันที ดังนั้น สัญญาเช่าตามคำฟ้องโจทก์จึงหาใช่สัญญาเช่าซื้อที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ไม่
สัญญาเช่าแบบลิชซิ่งตามคำฟ้องโจทก์นั้นโจทก์ผู้ให้เช่าให้คำมั่นจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อครบสัญญาเช่าแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า 934,579.44 บาท หากมิได้ผิดข้อตกลงหรือเงื่อนไขในสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่ามิได้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าทันที สัญญานี้จึงมิใช่สัญญาเช่าซื้อตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 572 เพราะสัญญาเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบแล้วกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อย่อมโอนไปยังผู้เช่าซื้อทันที ดังนั้น สัญญาเช่าตามคำฟ้องโจทก์จึงหาใช่สัญญาเช่าซื้อที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ไม่