พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และสัญญาตีใช้หนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถใช้เป็นเหตุอ้างสิทธิยึดถือทรัพย์ได้
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ที่ว่า ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้นั้น หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงิน 5,000,000 บาท ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กับ ร. ร่วมกันกู้ยืมจากจำเลยนั้นไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการกู้ยืมเงินดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์เพื่อยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้ และการที่โจทก์กับ ร. ตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. อีกจำนวนหนึ่ง เห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มนั้นเป็นสาระสำคัญที่จะต้องตกลงกัน แต่จำเลยก็ยังไม่มีการตกลงกันในรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. เป็นจำนวนเท่าใด จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3417/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการรับสภาพหนี้ค้ำประกัน แม้สัญญาไม่สมบูรณ์แต่จำเลยรับสภาพแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงาน หากจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ยอมรับผิดร่วมกัน จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 มิได้ยกเรื่องอำนาจศาลขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์แสดงว่าคู่ความยอมรับอำนาจศาลแล้ว ปัญหาดังกล่าวจึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 และที่ 5 แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่ประสงค์จะต่อสู้คดี แต่ไม่มีเงินพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขอเลื่อนคดีไปสักนัดหนึ่งก่อน โดยมิได้ปฏิเสธว่ามิใช่ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 รับว่าเป็นผู้ค้ำประกันแล้วโดยที่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงสัญญาค้ำประกันอีก ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ. 6 และ จ. 8 จะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118 ก็ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์จริง
จำเลยที่ 3 และที่ 5 แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่ประสงค์จะต่อสู้คดี แต่ไม่มีเงินพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขอเลื่อนคดีไปสักนัดหนึ่งก่อน โดยมิได้ปฏิเสธว่ามิใช่ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 รับว่าเป็นผู้ค้ำประกันแล้วโดยที่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงสัญญาค้ำประกันอีก ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ. 6 และ จ. 8 จะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118 ก็ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์เมื่อไม่มีลายมือชื่อครบถ้วน การคืนเงินและค่าเสียหายจากสัญญาที่ผิดนัด
สัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ที่ 1 ทำกับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่ามีลายมือชื่อของฝ่ายจำเลยในช่องผู้ขาย มีเพียงลายมือชื่อโจทก์ที่ 1 ในช่องผู้ซื้อ ทั้งไม่มีลายมือชื่อพยาน และไม่ได้มีการระบุวันเดือนปีไว้ ในการติดต่อสื่อสารถึงกันก็ไม่ได้มีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าว คงอ้างถึงแต่ใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วนซึ่งมีข้อความในข้อ 5 ระบุว่า โจทก์ที่ 1 ผู้จองจะต้องทำสัญญากับจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์และไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผูกพันกันตามใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วน เมื่อโจทก์ที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลย สิ่งใดที่ส่งมอบกันแล้วก็ต้องคืนให้แก่กันตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงต้องคืนห้องชุดให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ต้องคืนค่างวดและเงินดาวน์ให้แก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ย และเมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในห้องชุดมาตลอดเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการงานอันที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์สินนั้น โจทก์ที่ 1 จึงต้องชดใช้ด้วยเงินตามควรตามมาตรา 391 วรรคสาม
การที่โจทก์ที่ 1 ได้ขายสิทธิในการผ่อนชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น ตามมาตรา 350 บัญญัติว่า แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นจะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ จากข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการทำสัญญากันระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับโจทก์ที่ 2 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่เลย สัญญาแปลงหนี้ใหม่จึงไม่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 1 จึงยังคงเป็นลูกหนี้อยู่เช่นเดิม
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผูกพันกันตามใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วน เมื่อโจทก์ที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลย สิ่งใดที่ส่งมอบกันแล้วก็ต้องคืนให้แก่กันตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงต้องคืนห้องชุดให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ต้องคืนค่างวดและเงินดาวน์ให้แก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ย และเมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในห้องชุดมาตลอดเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการงานอันที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์สินนั้น โจทก์ที่ 1 จึงต้องชดใช้ด้วยเงินตามควรตามมาตรา 391 วรรคสาม
การที่โจทก์ที่ 1 ได้ขายสิทธิในการผ่อนชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น ตามมาตรา 350 บัญญัติว่า แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นจะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ จากข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการทำสัญญากันระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับโจทก์ที่ 2 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่เลย สัญญาแปลงหนี้ใหม่จึงไม่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 1 จึงยังคงเป็นลูกหนี้อยู่เช่นเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรสและการขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียวหลังสัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอลงชื่อร่วมในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรสและขอค่าอุปการะเลี้ยงดู ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในเรื่องการตกลงหย่าขาดและแบ่งสินสมรส และศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งตามสัญญาข้อ 1 จำเลยต้องปฏิบัติการขายที่ดิน 2 แปลง และนำเงินที่หักค่าใช้จ่ายแล้วมาชำระให้แก่โจทก์ ข้อ 2 จำเลยตกลงโอนที่ดิน 5 โฉนดให้แก่โจทก์ ข้อ 3 ที่ดินนอกจากนี้ให้เป็นของจำเลย ข้อ 4 โจทก์จำเลยตกลงหย่ากัน เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามข้อ 1 และได้รับโอนตามข้อ 2 เรียบร้อยแล้ว แต่ปรากฏว่าที่ดินยังจำหน่ายไม่ได้และระยะเวลา 6 เดือน ที่กำหนดให้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แล้วเสร็จนั้นก็ผ่านไปแล้ว ซึ่งจำเลยก็รับในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาลงวันที่ 3 ธันวาคม 2545 ว่ายังไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความในข้อ 1 นี้ ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครบถ้วน สถานภาพของการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีผลตามกฎหมาย คู่สมรสคงต้องมีภาระหน้าที่รับผิดต่อบุคคลภายนอกหรืออาจได้รับความเสียหายจากการจัดการสินสมรสของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยคดีนี้เพื่อขอเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว โดยมีเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในการจัดการเกี่ยวกับที่ดินสินสมรส ชอบที่โจทก์จะขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียวและจัดการแยกสินสมรส จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและเป็นคนละประเด็นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญาเช่าด้วยพยานบุคคล: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ว่าการสืบพยานบุคคลเพื่อประกอบสัญญาเช่าไม่เป็นการแก้ไขสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย ตามหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดิน แม้ว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าว จึงต้องฟังว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยให้การว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่า หนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินนั้นไม่สมบูรณ์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อแรกว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าที่ดินพิพาทโจทก์หรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวนี้นอกจากศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินแล้ว ศาลจำต้องฟังพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบมาประกอบหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินดังกล่าวว่า โจทก์หรือจำเลยได้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใดผิดไปจากข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดิน อันจะถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น จำเลยผู้เช่าย่อมนำสืบข้อเท็จจริงที่ได้ปฏิบัติมาต่อกันได้ ไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วรับฟังพยานบุคคลว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ จำเลยจึงไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่าที่ดินพิพาท ไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่สมบูรณ์หากไม่มีการส่งมอบทรัพย์สิน แม้จะระบุในสัญญาแล้วก็ตาม
สัญญาที่จำเลยให้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แก่โจทก์ มีข้อความระบุว่า จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องวิทยุคมนาคมตามบัญชีต่อท้ายสัญญานี้ให้แก่โจทก์ผู้รับนับแต่วันทำสัญญาและโจทก์ได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ในวันที่จำเลยทำสัญญา จำเลยไม่ได้ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ สัญญาที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์จึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 523 ย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลบังคับจำเลยตามสัญญา
สัญญามีข้อความว่า ผู้เช่าตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมไปติดตั้ง ณ หน่วยงานของจำเลย แต่ในวันที่จำเลยทำสัญญาโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคือวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่จำเลยได้นำไปใช้ตามข้อตกลงในสัญญาจึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 546 สัญญาย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลบังคับจำเลยตามสัญญาเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหาย และบังคับให้จำเลยคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์
สัญญามีข้อความว่า ผู้เช่าตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมไปติดตั้ง ณ หน่วยงานของจำเลย แต่ในวันที่จำเลยทำสัญญาโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคือวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่จำเลยได้นำไปใช้ตามข้อตกลงในสัญญาจึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 546 สัญญาย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลบังคับจำเลยตามสัญญาเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหาย และบังคับให้จำเลยคืนเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8530/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่สมบูรณ์หากยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สิน แม้ในสัญญาจะระบุว่ามีการส่งมอบแล้ว
แม้ข้อความในสัญญาที่จำเลยให้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์แก่โจทก์จะระบุว่าจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องวิทยุคมนาคมให้แก่โจทก์ผู้รับนับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ได้รับมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันทำสัญญานั้นจำเลยไม่ได้ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ ดังนั้น สัญญาให้ดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ซึ่งบัญญัติว่า การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์ที่ทำในวันเดียวกันนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้จำเลยนำไปใช้ แม้ในสัญญาจะมีข้อความว่าจำเลยตกลงนำเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ไปติดตั้ง ณ หน่วยงานของจำเลย สัญญาเช่าก็ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ซึ่งกำหนดว่า ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่า ค่าเสียหายและบังคับให้จำเลยคืนวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์: ราคา, หมายเหตุ, และเจตนาของคู่สัญญาเป็นสาระสำคัญ
แม้สัญญาพิพาทที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ร่วมกันจัดทำขึ้นจะระบุว่าเป็น "สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง" ก็ตาม แต่การซื้อขายนั้นราคาของทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญของสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาพิพาทเป็นแบบพิมพ์สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงที่โจทก์พิมพ์สำเร็จไว้แล้วเพื่อนำมากรอกข้อความตามที่ตกลงกันเท่านั้น ซึ่งนอกจากไม่ได้กรอกข้อความในช่องวันเดือนปีที่ทำสัญญาแล้ว ในช่องราคาที่ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงต่าง ๆ รวมทั้งเพลงพิพาทที่ ป. ผู้จดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์เบิกความว่า ตกลงกันเป็นเงิน 200,000บาทนั้น ก็มิได้ระบุจำนวนเงินไว้ ยิ่งกว่านั้นสัญญาพิพาทยังมีข้อความหมายเหตุไว้ท้ายสัญญาว่า "เพลงสุรพล สมบัติเจริญ ร้องไว้ขอให้เป็นสุรชัย สมบัติเจริญ ร้องแต่ถ้าหากว่าจะนำไปให้นักร้องอื่นร้อง ทางห้างจะมีการขอกันในกรณีพิเศษเป็นลายลักษณ์อักษร" โดยมีลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 ลงกำกับไว้ ซึ่งความหมายของข้อความตามหมายเหตุดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่า โจทก์ยังมิได้มีลิขสิทธิ์ในงานเพลงรวมทั้งเพลงพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามบัญชีรายชื่อเพลงแนบท้ายสัญญาพิพาทในฐานะเป็นผู้รับโอนลิขสิทธิ์แต่อย่างใดเพราะหากมีการซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามสัญญาพิพาท โจทก์ก็ย่อมได้สิทธิในงานเพลงนั้นทั้งหมด ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องไปตกลงขอใช้สิทธิในลิขสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 เป็นกรณีพิเศษกันอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินต้องมีข้อตกลงสำคัญครบถ้วน การแบ่งแยกโฉนดเป็นสาระสำคัญ หากตกลงกันไม่ได้ สัญญายังไม่สมบูรณ์
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่16เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวทั้งๆที่คณะกรรมการสวัสดิการการหลังงานแห่งชาติเป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ทราบแน่นอนว่าที่ดินส่วนใดเป็นของคณะกรรมการดังนั้นในเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองมีหนังสือเสนอขอซื้อที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาททั้งแปลงจำนวน41ไร่12ตารางวาจากคณะกรรมการไปยังคณะกรรมการนั้นโจทก์ทั้งสองก็ยังไม่รู้ว่าที่ดินส่วนใดในโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นของคณะกรรมการคงได้แต่เสนอราคาและเงื่อนไขการจ่ายเงินซึ่งเมื่อคณะกรรมการได้รับคำเสนอของโจทก์ทั้งสองแล้วคณะกรรมการได้มีหนังสือเอกสารหมายจ.3ตอบมายังโจทก์ทั้งสองว่าตกลงขายที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นของคณะกรรมการจำนวน20ไร่206ตารางวาให้โจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญว่า"เมื่อได้ทำสัญญาตกลงซื้อขายกันแล้วขอให้ชำระเงินทั้งหมดและผู้ขายจะได้ดำเนินการโอนโฉนดที่ดินให้พร้อมกันทันทีจึงเรียนมาเพื่อทราบและหากท่านมีความประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าวขอให้แจ้งคณะกรรมการสสพช.ทราบ"ซึ่งเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือเอกสารหมายจ.3ดังกล่าวแล้วโจทก์ทั้งสองได้ตอบไปยังคณะกรรมการซึ่งมีสารสำคัญว่า"ข้าพเจ้ามีรายนามข้างท้ายนี้ยินดีตกลงซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการสสพช.จำนวน20ไร่206ตารางวาตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการสสพช.แจ้งมาดังมีรายละเอียดตามหนังสือที่อ้างถึงข้อ2.โดยขอให้คณะกรรมการสสพช.แบ่งโฉนดที่ดินหมายเลข287จำนวน41ไร่12ตารางวาเป็น2ส่วนเท่าๆกันตามความยาวของพื้นที่โดยข้าพเจ้ายินดีจะรับซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการสสพช.แปลงที่แบ่งเท่าๆกันแล้วตามความยาวของพื้นที่แปลงใดก็ได้ตามแต่คณะกรรมการสสพช.จะแจ้งขายให้ข้าพเจ้าโดยข้าพเจ้ายินดีวางเงินมัดจำในการตกลงซื้อขายก่อนจำนวน100,000บาทและในวันโอนที่ดินดังกล่าวข้าพเจ้าจะจ่ายเงินสดส่วนที่เหลือทั้งหมดทันทีจึงเรียนมาเพื่อทราบและขอได้โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบวันนัดหมายในการตกลงซื้อขายที่ดินในส่วนของคณะกรรมการสสพช.จำนวน20ไร่206ตารางวาให้ข้าพเจ้าทราบด้วยเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป"ตามหนังสือเอกสารหมายจ.4ดังกล่าวแสดงว่าเงื่อนไขที่กำหนดให้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเพื่อให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่งเป็น2ส่วนเท่าๆกันก่อนแล้วจึงจะมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดต่อกันนั้นเป็นสาระสำคัญที่คณะกรรมการกับโจทก์ทั้งสองตกลงกันหนังสือเอกสารหมายจ.4จึงยังไม่เป็นคำสนองที่ตรงกับคำเสนอตามหนังสือเอกสารหมายจ.3แต่อย่างใดส่วนหนังสือเอกสารหมายจ.9ที่คณะกรรมการตอบมายังโจทก์ทั้งสองนั้นเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการไม่อาจแบ่งแยกโฉนดที่ดินได้จึงขอยกเลิกคำเสนอขอซื้อที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองเสียให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้นและหนังสือลงวันที่29พฤษภาคม2533ของคณะกรรมการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข11ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าหากคดีที่คณะกรรมการฟ้องผู้บุกรุกที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงเมื่อใดและโจทก์ทั้งสองยังสนใจจะซื้อที่ดินดังกล่าวต่อไปก็ให้เสนอราคาขึ้นมาใหม่เท่านั้นจึงไม่ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ประกอบให้รับฟังว่าคำเสนอและคำสนองของทั้งสองฝ่ายตรงกันจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วแต่อย่างใดฉะนั้นเมื่อยังไม่มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินและทำสัญญาซื้อขายกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับคณะกรรมการอันเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาที่คู่สัญญายังไม่อาจตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใดสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการจึงยังไม่เกิดขึ้นหรือยังมิได้มีต่อกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องคณะกรรมการและจำเลยที่1กับจำเลยที่16ให้ปฏิบัติตามหนังสือเอกสารหมายจ.4ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: ข้อตกลงเบื้องต้นยังไม่สมบูรณ์ ไม่ผูกพันตามกฎหมาย
บันทึกข้อตกลงฉบับพิพาทมีใจความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้รับเช็คเงินสดไว้จำนวนห้าแสนบาทถ้วน (500,000 บาท) เป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2536 ธนาคารกรุงศรี-อยุธยา จำกัด เช็คเลขที่ 0071851 ภายในวันที่ 20 เมษายน 2536 จะชำระส่วนที่เหลืออีกห้าล้านห้าแสนบาท (5,500,000 บาท) ของราคาที่ดินทั้งหมด60,000,000 บาท และจะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินภายในวันที่ 20 เมษายน2536 (หลังจากวันที่ 20 เมษายน 2536 ถ้าไม่มาจะถือว่าสละสิทธิ) ที่ดินรังสิตจำนวน 50 ไร่ โฉนดเลขที่ 9 ที่ดินระวาง 15 น. 10 อ ดังนี้ มีข้อความระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงิน 500,000 บาท เป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของราคาที่ดินทั้งหมด 60,000,000 บาทและตกลงกันว่าโจทก์จะชำระเงินมัดจำส่วนที่เหลืออีก 5,500,000 บาท พร้อมกับทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันภายในวันที่ 20 เมษายน 2536 และโจทก์เองทราบดีว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงบันทึกที่ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำขึ้นเพื่อแสดงว่าในวันที่ 20 เมษายน 2536 โจทก์และจำเลยทั้งสี่จะตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันแน่นอน แต่โจทก์เกรงว่าจำเลยทั้งสี่อาจจะไม่ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์โจทก์จึงชำระเงิน 500,000 บาท ให้ฝ่ายจำเลย โดยระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคู่กรณีจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันอีกชั้นหนึ่งในวันที่ 20 เมษายน 2536 พร้อมทั้งโจทก์ต้องชำระเงินวางมัดจำจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ ของราคาที่ดินพิพาท 60,000,000 บาท ซึ่งหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจะต้องมีข้อตกลงต่าง ๆ และเงื่อนไขในการชำระเงินและการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทต่อกัน การที่บันทึกข้อตกลงไม่ได้ระบุสถานที่ที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไว้โดยชัดเจน แต่ข้อความในวงเล็บว่า"หลังจากวันที่ 20 เม.ย. 36 ถ้าไม่มาจะถือว่าสละสิทธิ" ซึ่งหมายถึงโจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าโจทก์ไม่มาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและวางเงินมัดจำ 10เปอร์เซ็นต์ ตามคำพูดที่ตกลงไว้ในบันทึกภายในวันที่ 20 เมษายน 2536 ก็ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาท และเห็นความหมายได้ในตัวว่าโจทก์ผู้จะซื้อจะต้องมาหาฝ่ายจำเลยผู้จะขาย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดข้อตกลงไม่ไปพบจำเลยทั้งสี่ตามที่ตกลง และโจทก์และจำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามที่ตกลงกันไว้เช่นนี้ ผลก็คือสัญญาตามที่ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังไม่ได้ทำขึ้น จึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 366 และแม้การวางเงินมัดจำคำพูดดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำทั้งหมดก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดผลผูกพันบังคับได้ตามกฎหมายแต่อย่างใด โจทก์จึงอาศัยข้อตกลงตามบันทึกฉบับพิพาทมาฟ้องร้องบังคับจำเลยทั้งสี่ให้โอนขายที่ดินพิพาทไม่ได้