คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัดส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7172/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมางาน: ผู้รับเหมาผิดสัญญาเนื่องจากงานไม่เรียบร้อย ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกเงินคืนตามสัดส่วน
ความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 หมายความถึงความชำรุดบกพร่องซึ่งเกิดขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 598 , 599 และ 600 อันหมายถึงความชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ผู้รับจ้างส่งมอบให้กับผู้ว่าจ้างครบถ้วนแล้ว มิใช่หมายถึงการไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา
ที่จำเลยฎีกาว่า ว. ตัวแทนโจทก์รับมอบงานก่อสร้างบ้านจากจำเลยโดยมิได้อิดเอื้อน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 598 นั้น เห็นว่า กรณีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะไม่ปฏิบัติงานให้เรียบร้อยตามสัญญา หาใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดในความชำรุดบกพร่องของงานที่ทำ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่ปฏิบัติงานให้เรียบร้อยตามสัญญาจริง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยตามสัดส่วนของงานที่ยังไม่ได้ทำให้เรียบร้อยตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถูกกำจัดมิให้รับมรดกต้องเป็นทายาทขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรม และการแบ่งมรดกตามสัดส่วน
ทายาทที่จะถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1605 มุ่งเฉพาะบุคคลที่เป็นทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายฉะนั้น เมื่อขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม มีทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดก คือ พ. ซึ่งเป็นสามีโจทก์ที่ 1 จำเลย อ. และ ซ. มารดาของผู้ตาย แม้ว่าโจทก์ที่ 1 จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ พ. แต่จะมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายก็เพียงในฐานะผู้สืบสิทธิของ พ. โดยรับมรดกเฉพาะส่วนของ พ. เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นทายาทอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: การชำระตามสัดส่วนในคำพิพากษา และการทดรองจ่ายแทนกัน
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสองแปลง แต่ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินแก่กัน ตามกำหนดนัดที่ตกลงกันไว้ได้ เพราะยังโต้เถียงกันไม่เป็นที่ยุติว่าผู้ใดจะเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากร ซื้อขายและค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อน ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ จดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลย โดยให้โจทก์เป็นฝ่ายชำระค่าธรรมเนียมการโอนค่าอากรและค่าภาษี ในส่วนที่เกี่ยวกับราคาซื้อขายตามบัญชีกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่กำหนดไว้สำหรับที่ดินทั้งสองแปลง และกำหนดให้โจทก์และจำเลยชำระค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรและค่าภาษีในส่วนที่เกินจากราคาประเมินดังกล่าวฝ่ายละครึ่ง เมื่อปรากฎว่า ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรและค่าภาษีในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทเกินกว่าราคาประเมิน แม้โจทก์จะได้ออกเงินค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากร และค่าภาษีในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทในส่วนที่เกินราคาประเมินไปแต่ผู้เดียว จำเลยก็มีความผูกพันตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระคืนให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ก่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาท โจทก์ได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าโจทก์สมัครใจชำระค่าธรรมเนียมการโอนค่าอากร และค่าภาษีทั้งหมดแต่ผู้เดียว และไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระครึ่งหนึ่ง เพราะจำเลยไม่สมัครใจได้การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบก็เพื่อให้จำเลยเตรียมเงินมาชำระในส่วนของจำเลยในวันโอน เมื่อจำเลยไม่ได้เตรียมเงินมาและจำเลยยืนยันไม่ยอมออกค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากร ค่าภาษีของจำเลยครึ่งหนึ่ง โจทก์ก็มีสิทธิที่จะไม่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยได้ เพราะตามคำพิพากษาเป็นเรื่องต้องปฏิบัติตอบแทนกัน เมื่อฝ่ายใดไม่ปฏิบัติ อีกฝ่ายก็ย่อมไม่ปฏิบัติได้ กรณีแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมให้โจทก์ออกเงินส่วนที่จำเลยจะต้องชำระแทนจำเลยไปก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5050/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกคบ การพิพากษาให้แบ่งทรัพย์สินโดยคิดเป็นสัดส่วนหนึ่งในสี่ของทรัพย์สินทั้งหมด
จำเลยมีภริยาชื่อ อ. โดยจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายต่อมาจำเลยกับโจทก์ได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และได้รับจ้างทำทองรูปพรรณและดูแลกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณจนถึงวันที่ 27 มีนาคม 2536 แล้วได้เลิกร้างกันในระหว่างที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยนั้น จำเลยได้ทรัพย์สินมาคือ ที่ดินมีโฉนดและอาคารพาณิชย์และนำไปจำนองไว้แก่ธนาคาร สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จำนวน 2 คัน สิทธิตามสัญญาเช่า อาคารศูนย์การค้า เครื่องทองรูปพรรณในร้านทองเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์ วิทยุ นาฬิกาข้อมือวิทยุโทรศัพท์และเข็มขัดเงิน การที่โจทก์กับจำเลยได้ประกอบกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณร่วมกัน แม้โจทก์จะไม่ได้ร่วมลงทุนเป็นทรัพย์สิน แต่โจทก์ก็ได้ลงทุนด้วยแรงงาน ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ระหว่างที่อยู่กินร่วมกันดังกล่าวย่อมเป็นของโจทก์และจำเลยคนละเท่า ๆ กันโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้แต่การประกอบกิจการรับจ้างทำทองรูปพรรณของโจทก์ที่ทำร่วม กับจำเลยได้แยกต่างหากจากการที่จำเลยประกอบกิจการรับจ้าง ทำทองรูปพรรณร่วมกับ อ. ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยได้นำเงินส่วนที่จำเลยทำมาหาได้ร่วมกับโจทก์ กับเงินส่วนที่ เป็นสินสมรสของจำเลยกับ อ. ไปซื้อทรัพย์ที่พิพาทระคนปนกัน ไม่ได้ความแน่ชัดว่าเป็นเงินส่วนใดมากกว่ากัน จึงต้องแบ่งทรัพย์ที่พิพาทดังกล่าวเป็นสี่ส่วน เป็นของจำเลย สองส่วน คือส่วนที่จำเลยทำมาหาได้ร่วมกับโจทก์หนึ่งส่วน และส่วนของจำเลยที่มีอยู่ในฐานะที่เป็นสินสมรสระหว่าง จำเลยกับ อ. อีกหนึ่งส่วน โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้เพียงหนึ่งในสี่ส่วน สำหรับทรัพย์ที่พิพาท ส่วนที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำเลยได้มาหลังจาก โจทก์อยู่กินเป็นภริยาจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิ หนึ่งในสี่ส่วน ส่วนดินและสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยกู้เงิน จากธนาคารมาซื้อ และจำเลยได้จำนองที่ดินดังกล่าวแก่ธนาคาร โจทก์ต้องรับผิดชอบในหนี้จำนองดังกล่าวร่วมกับจำเลย ตามส่วนของโจทก์ที่มีอยู่ในทรัพย์สินดังกล่าว คือจำนวน หนึ่งในสี่ส่วนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3341/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับกรณีฝ่าฝืนพ.ร.บ.ยาสูบ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าต้องลงโทษปรับแต่ละคนตามสัดส่วนค่าแสตมป์
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่าต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัว ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสองมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ แต่ก็เป็นปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสองจึงยก ขึ้นฎีกาได้ ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 50 บัญญัติว่าผู้ฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาทนั้น หมายความว่า จำเลยแต่ละคนจะต้องถูกลงโทษปรับเป็นจำนวนสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่ซิกาแรตต่างประเทศอันเป็นยาสูบตามกฎหมาย และเป็นยาสูบที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ยาสูบ คิดเป็นค่าแสตมป์ที่จะต้องปิดเป็นเงินทั้งสิ้น 12,138 บาท ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันมาเป็นเงิน 182,070 บาท จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 50 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา ส่วนโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองฎีกาขึ้นมาอ้างว่าศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็จะเปลี่ยนแปลงโทษให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่และหากศาลจะลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 คนละ 45,517.50 บาท ตามที่ จำเลยทั้งสองฎีกามา ก็จะเป็นการลงโทษปรับที่ต่ำกว่าโทษที่ กำหนดตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจเปลี่ยนแปลง แก้ไขโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบมูลหนี้และการชำระหนี้เกินจำนวนที่ค้างชำระ ศาลบังคับใช้ตามสัดส่วน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้โจทก์นำสืบมูลที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ว่าเดิมมีอยู่อย่างไรและเหตุใดจึงมีจำนวนหนี้ดังกล่าวตามที่จำเลยขีดฆ่าและลงชื่อกำกับไว้ก่อนที่จะมีการแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นมีความเป็นมาอย่างไรมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94 แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริงโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวนและได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่งจึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมที่ดินและบ้าน: สิทธิส่วนแบ่งสินสมรสและสัดส่วนการถือครอง
แม้จำเลยที่ 1 จะซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เคยอยู่กินฉันสามีภริยากันเลย จำเลยที่ 1เป็นผู้ซื้อที่ดินและนำไปจำนองผ่อนชำระหนี้ฝ่ายเดียว ส่วนจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 มีส่วนในการชำระเงินดาวน์และผ่อนชำระราคาค่าที่ดินและบ้านพิพาท จึงมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทด้วย และที่จำเลยที่ 1ไปเอาเงินจากโจทก์มาไถ่ถอนที่ดินนำไปจำนองใหม่แล้วนำเงินไปปลูกบ้าน โจทก์จึงมีส่วนร่วมในที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเช่นกัน โจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาท แต่ตามพฤติการณ์ไม่อาจหยั่งทราบได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีส่วนเป็นเจ้าของคนละเท่าใด จึงต้องสันนิษฐานว่าแต่ละคนมีส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 จำเลยที่ 2 มีส่วนหนึ่งในสามส่วนส่วนที่เหลืออีกสองในสามส่วนเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องแบ่งให้ได้ส่วนเท่ากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6847/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย: การชำระหนี้ตามสัดส่วน และผลของการผิดนัดชำระหนี้
คำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ที่2ซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้วนั้นมีความว่าข้อ1.ลูกหนี้ที่2ยอมชำระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130(1)-(7)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483โดยเต็มจำนวนและในทันทีเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ข้อ2นอกจากหนี้ที่กล่าวในข้อ1ลูกหนี้ที่2ยอมชำระบรรดาหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้มีกำหนดดังนี้คืองวดแรกชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ภายในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน1ปีโดยแบ่งออกเป็น3งวดงวดละเท่าๆกันโดยมีกำหนด4เดือนต่อ1งวดข้อ3.หนี้ตามข้อ1.และ2.นั้นลูกหนี้ที่2จะชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อปรากฏว่ามีเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่2จำนวน10รายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้วจำนวน9รายแม้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่3คดียังไม่ถึงที่สุดก็เป็นเพียงทำให้ไม่สามารถคำนวณค่าธรรมเนียมตามมาตรา130(4)กับจำนวนเงินที่ต้องวางชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ข้อ1.และข้อ2.เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ของเจ้าหนี้รายที่3นี้เท่านั้นแต่สำหรับค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130(1)-(7)และจำนวนที่ต้องชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งเก้ารายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้วมิใช่ไม่อาจคำนวณได้และหากต้องรอให้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ทุกรายถึงที่สุดก่อนย่อมไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ในรายที่คดีถึงที่สุดซึ่งจะทำให้ได้รับชำระหนี้ล่าช้าออกไปทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อตกลงในการประนอมหนี้ซึ่งกำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งลูกหนี้ที่2จะนำเหตุที่คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่3ยังไม่ถึงที่สุดมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้เสียทั้งหมดเลยหาได้ไม่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ที่3นำเงินค่าธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ไปวางชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่2ก็ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการวางเงินโดยอ้างว่ากำลังรวบรวมเงินอยู่และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ให้โอกาสให้เลื่อนการวางเงินออกไปตามที่ลูกหนี้ที่2ขอแต่เมื่อครบกำหนดแล้วลูกหนี้ที่2กลับเพิกเฉยเสียย่อมเป็นข้อแสดงว่าลูกหนี้ที่2ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ถือได้ว่าลูกหนี้ที่2ผิดนักไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ที่2ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา60วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่2เด็ดขาดและคำพิพากษาให้ล้มละลายลับหลังลูกหนี้ที่2โดยในวันนัดลูกหนี้ที่2ไม่ได้มาฟังคำสั่งและคำพิพากษาและระยะเวลานับแต่วันผิดหมายถึงวันอ่านคำสั่งและคำพิพากษาเป็นเวลาน้อยกว่า15วันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79วรรคสองประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153แม้จะมีผลที่ให้ถือว่าลูกหนี้ที่2ทราบวันนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาไม่ได้และถือว่าลูกหนี้ที่2ยังไม่ทราบคำสั่งและคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านนั้นก็ตามแต่ต่อมาลูกหนี้ที่2ได้ยื่นอุทธรณ์แสดงว่าลูกหนี้ที่2ได้ทราบคำสั่งและคำพิพากษานั้นแล้วลูกหนี้ที่2จึงไม่ได้รับผลเสียหายใดๆจากการอ่านคำสั่งและคำพิพากษาที่ผิดระเบียบนั้นเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยให้ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทครอบครองที่ดินเกินสัดส่วนและการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่แบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ที่โจทก์ครอบครอง จำเลยทั้งสี่ให้การว่า การแบ่งแยกที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่จะต้องแบ่งแยกให้โจทก์และจำเลยทั้งสี่ได้เนื้อที่ฝ่ายละครึ่ง เป็นการให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครองเกินส่วนของตนมา จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย ตามแผนที่วิวาทระบุว่าที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครองมีเนื้อที่มากกว่าจำนวนทั้งสี่ 2 งาน 38ตารางวา เมื่อดูสภาพที่ดินพิพาทตามภาพถ่าย ศาลฎีกาประเมินราคาที่ดินพิพาทได้เองโดยไม่ต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นประเมินราคาที่ดินพิพาทก่อน สภาพที่ดินพิพาทเป็นที่นาในชนบทห่างไกลความเจริญ เนื้อที่ 2 งาน 38 ตารางวามีราคาไม่เกินสองแสนบาท ศาลอุทธรณ์ฟังว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยทั้งสี่ โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดไม่ใช่ครอบครองแทนจำเลยทั้งสี่ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินตามสัดส่วน โดยศาลมีอำนาจแบ่งตามกฎหมาย แม้โจทก์ขอหลายวิธี
ตามฟ้องโจทก์ โจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินที่โจทก์และจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามส่วนของแต่ละคนที่มีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นประการสำคัญ ส่วนการจะแบ่งโดยวิธีใดและได้ส่วนแบ่งเป็นที่ดินหรือเงินนั้นโจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องหลายประการซึ่งศาลย่อมมีอำนาจที่จะแบ่งให้ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา1364 ไม่เป็นการพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำขอของโจทก์.
of 3