พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6010/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 41(4) หาได้จำกัดว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือจ่ายค่าเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่ เพราะข้อความตอนท้ายบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควร คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานพร้อมทั้งจ่ายค่าเสียหายด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7381/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก: ทายาทควบคุมดูแลได้ แต่สั่งการโดยตรงไม่ได้
ผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งตั้งมิใช่ตัวแทนของทายาท เพราะอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายผู้จัดการมรดกจึงมีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทในอันที่จะต้องจัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง,1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง,1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งข้าราชการภายใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: อำนาจรองอธิการบดีและขอบเขตการสั่งการ
การแต่งตั้งจำเลยที่ 2 ของจำเลยที่ 4 เป็นการแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 18 และ 21 แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพ.ศ.2517 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับประโยชน์ในการบังคับบัญชาของรองอธิการบดีที่ให้ถือว่าเป็นอธิการบดี การสั่งแต่งตั้งดังกล่าวจึงเป็นกรณีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติราชการในกองธุรการวิทยาเขตสงขลา มิใช่สั่งการให้เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองธุรการวิทยาเขตโดยให้รับอัตราเงินเดือนในตำแหน่งดังกล่าว การที่จำเลยที่ 4 มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้ากองธุรการวิทยาเขตสงขลาอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ ผู้ใช้สั่งการ และผู้สนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 2 ไปลักทรัพย์โดยไม่ได้ร่วมไปลักทรัพย์ด้วยถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการในการกระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 83 และฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามมาตรา 84จะลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้เช่นกันแต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า เป็นการสนับสนุนให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามมาตรา 86 แม้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากการตอกเสาเข็มและขุดดินสร้างความเสียหาย แม้ไม่ได้กระทำเองแต่สั่งการให้ผู้อื่นทำก็ต้องรับผิด
การตอกเสาเข็มและการขุดดินทำห้องใต้ดินบริเวณก่อสร้างของจำเลยทำให้บ้านของโจทก์และสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นได้รับความเสียหายแม้จำเลยจะมิได้เป็นผู้ตอกเสาเข็มเอง แต่ก็ได้ว่าจ้างบริษัทอื่นทำและจำเลยควบคุมการตอกเสาเข็มให้ถูกต้องตามจำนวนและตอกตรงจุดที่กำหนดให้ตอก การตอกเสาเข็มดังกล่าวกระทำไปตามคำสั่งหรือคำบงการของจำเลย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากการกระทำตามคำสั่งของจำเลยโดยตรง จำเลยหาพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใช้สั่งการปล้นทรัพย์จนถึงแก่ความตาย ผู้ใช้ต้องรับผิดเสมือนตัวการ
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 กับพวกปล้นทรัพย์ของผู้ตาย และผู้ถูกใช้ได้กระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผลของการกระทำของผู้ถูกใช้ในการปล้นทรัพย์นั้นทั้งสิ้น เมื่อการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคท้ายจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ใช้ย่อมต้องรับผิดในผลการกระทำของผู้ถูกใช้อันเนื่องจากการปล้นทรัพย์เสมือนเป็นตัวการเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2ที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใช้สั่งการปล้นทรัพย์ ผู้ใช้ต้องรับผิดทางอาญาเสมือนตัวการ
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 กับพวกปล้นทรัพย์ของผู้ตาย และผู้ถูกใช้ ได้ กระทำตาม คำสั่งของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมต้อง รับผลของการกระทำของผู้ถูกใช้ ในการปล้นทรัพย์นั้นทั้งสิ้น เมื่อการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340วรรคท้าย จำเลยที่ 1 ในฐานะ ผู้ใช้ ย่อมต้อง รับผิดในผลการกระทำของผู้ถูกใช้ อันเนื่องจากการปล้นทรัพย์เสมือนเป็นตัวการเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5599/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทจากการสัมภาษณ์: ความรับผิดของผู้ให้สัมภาษณ์เฉพาะกรณีสั่งการให้ลงพิมพ์
จำเลยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ด้วยข้อความอันมีมูล เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ แล้วหนังสือพิมพ์นำข้อความนั้นไปลงพิมพ์ โฆษณา ดังนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวานหรือ ยุยงส่งเสริมให้หนังสือพิมพ์ไปลงพิมพ์ การที่หนังสือพิมพ์นำข้อความ นั้นไปลงพิมพ์จึงเป็นเรื่องของหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ คดีโจทก์ ไม่มีมูลความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใช้สั่งให้ผู้อื่นพยายามฆ่าเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ ถือเป็นตัวการในความผิด
น.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้กับพวกได้ตรวจพบไม้แปรรูปผิดกฎหมายบนรถยนต์บรรทุก จำเลยขอร้องไม่ให้เจ้าพนักงานป่าไม้จับกุม แต่เจ้าพนักงานป่าไม้ไม่ยินยอม จำเลยจึงส่งคนขับรถยนต์บรรทุกให้ขับรถไป โดยพูดด้วยว่าใครขวางชนเลยซึ่งคนขับรถบรรทุกก็ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลย โดยขับรถหลบหนีไปเป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกเฉี่ยวชน น.ซึ่งยืนขวางทางอยู่ น.ได้รับบาดเจ็บโดยมีบาดแผลถลอกที่หลังมือซ้าย ข้อมือ ตะโพกซ้ายและหลัง กับมีรอยช้ำตามขาและลำตัว การกระทำของคนขับรถยนต์บรรทุกเป็นการพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่และการกระทำของจำเลยเป็นการใช้หรือยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำความผิด จำเลยซึ่งเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดจึงต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ