คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สาขา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7788/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: มูลคดีเกิดที่ไหนเมื่อบัตรเครดิตถูกใช้จริงที่สาขา
มูลคดี หมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง แต่ตามคำฟ้องของธนาคารโจทก์ที่ว่า ในทางบัญชีหลังจากจำเลยได้ทำสัญญาและรับบัตรเครดิตไปจากโจทก์จำเลยใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและบริการหลายครั้งหลายหนประกอบกับสถานที่รับบัตรเครดิตคือธนาคารโจทก์สาขาหนองคาย ดังนั้น การอนุมัติและการออกบัตรเครดิตจึงเป็นเพียงขั้นตอนปฏิบัติระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาหนองคาย เมื่อจำเลยทำสัญญาและรับบัตรเครดิตจากโจทก์สาขาหนองคายอันเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จำเลยจะสามารถนำบัตรเครดิตไปชำระหนี้ค่าสินค้าและบริการจนเป็นเหตุพิพาทซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิและมูลหนี้ตามฟ้องมูลคดีจึงมิได้เกิดในเขตศาลชั้นต้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ตั้งอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของสภาอุตสาหกรรมจังหวัด: ไม่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก
แม้โจทก์จะได้รับการสถาปนาจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำดับที่ 2 โจทก์ก็ยังคงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเท่านั้น เพราะตามพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2530 มิได้กำหนดให้กลุ่ม "อุตสาหกรรม" หรือ "กลุ่มท้องที่" ที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแยกเป็นต่างหากแต่ประการใด จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นเพียงสำนักงานสาขาในจังหวัดอื่นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสภาอุตสาหกรรมจังหวัด: สถานะสาขา vs. นิติบุคคลแยก
สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นโจทก์ได้รับการสถาปนาจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำดับที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 มาตรา 9 โจทก์ก็ยังคงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเท่านั้น เพราะตามพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 มิได้กำหนดให้กลุ่ม "อุตสาหกรรม"หรือ "กลุ่มท้องที่" ที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นนั้นเป็นนิติบุคคลแยกเป็นต่างหาก เมื่อโจทก์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นเพียงสำนักงานสาขาในจังหวัดอื่นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530มาตรา 8 วรรคแรก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9772/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำใบกำกับภาษีระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขามาใช้ผิดประเภท และการงดเบี้ยปรับเมื่อผู้เสียภาษีเข้าใจผิด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่,87 และ 86วรรคหนึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการทั้งยังต้องการที่จะควบคุมและตรวจสอบได้โดยสะดวก จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานภาษีขายรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้า เป็นรายสถานประกอบการ โดยต้องลงรายการในรายงานภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าเมื่อสถานประกอบการอยู่ต่างกัน ใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าจึงต้องแยกออกเป็นรายสถานประกอบการ ฉะนั้น ใบกำกับภาษีสำหรับการซื้อสินค้าย่อมจะต้องแยกเป็นของแต่ละสถานประกอบการเช่นเดียวกันจะนำมาปะปนกันเพื่อใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหาได้ไม่ เพราะจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อของแต่ละสถานประกอบการในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์เป็นผู้นำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่63,66,70,73,76,80,84,86 ประกอบบัญชีราคาสินค้าเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 64,67,71,74,77,81,83,87โดยใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพาสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มระบุที่อยู่ของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์ไว้โดยชัดแจ้ง ดังนั้นใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/10(1) ตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 62,65,69,72,75,79,82 และ 85เนื่องจากการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเป็นกำกับภาษี อันเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการแห่งใหญ่ของโจทก์ ตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 86/14 และมาตรา 77/1(18)(ก) บัญญัติไว้แม้สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่และสถานประกอบการของโจทก์จะเป็นสถานประกอบการของนิติบุคคลเดียวกัน แต่เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นหลายสถานประกอบการแล้ว ย่อมแยกการซื้อขายการนำเข้า การส่งออกการให้บริการ ออกเป็นของแต่ละสถานประกอบการได้ โจทก์จึงต้องนำไปคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 และยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์ตั้งอยู่ กับต้องนำไปลงรายการในรายงานภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม บัญญัติไว้ฉะนั้นโจทก์จึงนำใบเสร็จรับเงินตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่62,65,69,72,75,79,82 และ 85 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีอันเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์ไม่ได้ เพราะเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวไว้แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบจึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีของสถานประกอบการสาขาโดยแสดงจำนวนภาษีไม่ถูกต้องมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อของสถานประกอบการสาขาในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88(2) มาตรา 89(3) และมาตรา 89/1 การที่โจทก์นำใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์มาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์เข้าใจข้อกฎหมายผิดไปว่าสามารถนำใบกำกับภาษีอันเป็นภาษีซื้อของโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวกันไปใช้ในการคำนวณภาษีด้วยการหักจากภาษีขายได้ จึงได้ปฏิบัติการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมีข้อผิดพลาดดังกล่าว โจทก์หาได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหรือทำให้จำเลยได้รับชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์น้อยไปจากวิธีการที่โจทก์จะปฏิบัติโดยถูกต้องทั้งสองสถานประกอบการแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ การที่โจทก์จะต้องชำระเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา 89/1 นั้น เนื่องจากโจทก์ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวด 4 ส่วน 7มาตรา 83 วรรคสอง จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับโดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีจนถึงวันชำระภาษี แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มนี้แม้จะเป็นภาษีอากรประเมินแต่ประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 ก็มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ดังเช่นที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคท้าย บัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 ได้..LONG

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9772/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำใบกำกับภาษีซื้อของสำนักงานใหญ่ไปใช้คำนวณภาษีของสาขาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีได้ ศาลฎีกางดเบี้ยปรับ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่ มาตรา 87 และมาตรา 86 วรรคหนึ่งกับวรรคสาม กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งยังต้องการที่จะควบคุมและตรวจสอบได้โดยสะดวก จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ประกอบกิจการขายสินค้าเป็นรายสถานประกอบการ เมื่อสถานประกอบการอยู่ต่างกันใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าจึงต้องแยกออกเป็นรายสถานประกอบการ ฉะนั้น ใบกำกับภาษีสำหรับการซื้อสินค้าย่อมจะต้องแยกเป็นของแต่ละสถานประกอบการเช่นเดียวกันจะนำมาปะปนกันเพื่อใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหาได้ไม่เพราะจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อของแต่ละสถานประกอบการในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ดังนั้น แม้สถานประกอบการสำนักงานใหญ่และสถานประกอบการสาขาของโจทก์จะเป็นสถานประกอบการ ของนิติบุคคลเดียวกัน แต่เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นหลายสถานประกอบการแล้ว ย่อมแยกการซื้อ การขาย การนำเข้า การส่งออก การให้บริการออกเป็นของแต่ละสถานประกอบการได้ โจทก์จึงนำใบกำกับภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์ไม่ได้ การที่โจทก์เข้าใจข้อกฎหมายผิดไปว่าสามารถนำใบกำกับภาษี อันเป็นภาษีซื้อของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวกันไปใช้ในการคำนวณภาษีด้วยการหักจากภาษีขายได้ จึงได้ปฏิบัติการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมีข้อผิดพลาด โจทก์หาได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหรือทำให้จำเลยได้รับชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์น้อยไปจากวิธีการที่โจทก์จะปฏิบัติโดยถูกต้องทั้งสองสถานประกอบการแต่อย่างใดไม่ จึงควรงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ เงินเพิ่มแม้จะเป็นภาษีอากรประเมิน แต่ประมวลรัษฎากรมาตรา 89/1 ก็มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ ดังเช่นที่มาตรา 89 วรรคท้ายบัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละสาขาของสถานประกอบกิจการ และการคุ้มครองกรรมการลูกจ้างจากการเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 45 วรรคแรก บัญญัติว่าในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นได้ และประกาศกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1 กำหนดว่า ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างได้หนึ่งคณะ เว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่น ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงกันเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะได้ จำนวนกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการหรือในหน่วยงานหรือสาขาในแต่ละจังหวัด ให้กำหนดโดยถือหลักเกณฑ์ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 ฉะนั้น แม้สหภาพแรงงาน อ.จะได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดชลบุรีแล้ว แต่จำเลยมีโรงงานอีกแห่งหนึ่งคือที่จังหวัดนครราชสีมา ทางสหภาพ ฯ ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดนครราชสีมาได้อีก
โจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่เฉลี่ยให้สาขา การหักลดหย่อนภาษีต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ
โจทก์นำค่าใช้จ่ายของสำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองฮ่องกงมาคำนวณเฉลี่ยเป็นรายจ่ายของสาขาทั่วโลก โดยคิดตามส่วนที่สาขาต่าง ๆ มีรายได้ สาขาในประเทศไทยก็นำรายจ่ายเหล่านั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณหากำไรสุทธิในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หรือแยกให้เห็นว่ารายจ่ายส่วนใดบ้างที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ โจทก์จะเหมารายจ่ายเฉลี่ยดังกล่าวเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยและนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายเงินกำไรออกจากประเทศไทยโดยผ่านสาขาของบริษัทต่างชาติ ถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก การพิจารณาว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเสียภาษีในประเภทการค้าใด ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงของลักษณะการกระทำของผู้ประกอบการค้าที่เกิดขึ้น จะเอาวัตถุที่ประสงค์ในตราสารหรือการที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติเป็นข้อห้ามมิให้กระทำการนั้นมาเป็นตัวกำหนดในการวินิจฉัยไม่ได้ โจทก์เป็นเพียงผู้ได้รับประโยชน์บางส่วนในจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าของการขายระหว่างคู่กรณี โดยโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนประมาณร้อยละสี่ของราคาขาย เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการจัดจำหน่ายสินค้า อันเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนในการเป็นตัวแทนที่เข้าทำสัญญากับคู่กรณี ดังนี้ต้องถือว่า โจทก์กระทำการประกอบการค้าในประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โจทก์ทำสัญญาหรือทำการใด ๆ อันเกี่ยวกับการประกอบการค้าในราชอาณาจักรแทนบริษัท อ. ผู้อยู่นอกราชอาณาจักร ต้องถือว่าโจทก์มีสถานะเป็นสาขาของบริษัท อ. อันมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 76 ทวิ เมื่อโจทก์ส่งเงินกำไรของบริษัท อ. ซึ่งเกิดจากการซื้อขายในประเทศไทยออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินที่จำหน่ายนั้นตามมาตรา 70 ทวิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี กรณีค่าบริการสาขา, หนี้สูญ, และเงินปันผลกรมธรรม์ประกันชีวิต
เงินที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานใหญ่ต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของจำเลยในประเทศ ไทย และจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สาขาในประเทศ ไทย ได้รับบริการนี้จริง และเป็นรายจ่ายที่สำนักงานใหญ่เฉลี่ย เรียกเก็บมาโดยถือหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรม แล้วจำเลยจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14) เมื่อจำเลยส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปให้แก่สำนักงานใหญ่ยังต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศ ไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่ง
หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยเพียงแต่ส่งคนไปติดตามแล้วแต่ไม่ได้ โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการติดตามทวงถามลูกหนี้อย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
จำเลยจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527 โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
เงินปันผลที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อประกันครบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองผู้เอาประกันอยู่ แม้จะมิได้จ่ายจากทุนประกันก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1) (ก)วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจนำไปหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา 65 ตรี (1)(ก) วรรคแรก ซึ่งตัดเป็นรายจ่ายไว้ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงนำเงินปันผลดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการหักรายจ่ายซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจดำเนินงานสาขา ทำให้กรรมการไม่ต้องรับผิดชอบการฉ้อโกง หากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง
บริษัทจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล และเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการสาขาของจำเลยที่ 1 ที่กรุงเทพมหานครด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจการดำเนินกิจการของสาขากรุงเทพมหานครให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 โดยระบุว่า ผู้รับมอบอำนาจคนใดคนหนึ่งมีอำนาจ ดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 แสดงว่าผู้รับมอบอำนาจต่างมีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 ได้โดยเอกเทศประกอบกับการสั่งซื้อขายหุ้นโจทก์สั่งกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 โดยตรงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการกระทำใด ๆที่โจทก์อ้างว่าเป็นการฉ้อโกงโจทก์ และ ไม่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของสาขาจำเลยที่ 1 ที่ กรุงเทพมหานคร จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
of 2