พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8231/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอดีตสามี แม้เปลี่ยนฐานการฟ้องจากบันทึกข้อตกลงเป็น ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามบันทึกข้อตกลงเป็นเงิน 11,000 บาท และจ่ายจากเงินบำนาญครึ่งหนึ่ง หรือให้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันรับเงินบำเหน็จ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการแล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เต็มคำขอโดยตกลงว่า จำเลยยินยอมจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ 11,000 บาท และโจทก์จำเลยไม่ติดใจว่ากล่าวคดีสืบต่อไป ย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยเป็นเงิน 11,000 บาท โดยไม่ติดใจที่จะเรียกให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป ดังนี้ ที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ แม้ในคดีก่อนโจทก์จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอาศัยบันทึกข้อตกลงแต่มูลเหตุของการทำบันทึกข้อตกลงเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาของโจทก์จำเลยตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1461 วรรคสอง นั่นเอง แม้ในคดีก่อนโจทก์จะไม่อ้างบันทึกข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้อยู่แล้ว ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อนจึงเป็นประเด็นและเหตุเดียวกัน คือ การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาคดีทรัพย์สินร่วมกันของสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฟ้องแย้งขอให้แบ่งเงิน 4,000,000 บาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ จึงถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่พิพาทตามฟ้องแย้ง เมื่อโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีการนำเงิน 4,000,000 บาท ไปฝากที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ครั้งสุดท้ายนำไปฝากที่บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ในนามของจำเลย ต่อมาเมื่อปี 2546 ได้มีการเปลี่ยนชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นชื่อของโจทก์ และโจทก์ได้เบิกถอนเงิน 4,000,000 บาท จากบริษัทเงินทุน หากในที่สุดแล้วศาลพิพากษาให้แบ่งเงินแก่จำเลยกึ่งหนึ่ง จำเลยก็จะได้ประโยชน์จากการที่ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ตามคำร้องของจำเลย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาโดยให้โจทก์นำเงินจำนวน 2,000,000 บาท มาวางต่อศาลชั้นต้นชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาคดีทรัพย์สินที่ได้มาร่วมกันระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา
คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งขอให้แบ่งเงินจำนวน 4,000,000 บาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา จึงถือว่าเงินจำนวน 4,000,000 บาท ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่พิพาทตามฟ้องแย้งของจำเลยที่จำเลยจะมีสิทธิร้องขอให้คุ้มครองประโยชน์ของตนในระหว่างพิจารณาได้ และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงินจำนวน 4,000,000 บาท ที่พิพาทกันมีการนำไปฝากที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ครั้งสุดท้ายนำไปฝากที่บริษัทเงินทุน ส. บริษัทเงินทุนดังกล่าวได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ในนามของจำเลย ต่อมาเมื่อปี 2546 ได้มีการเปลี่ยนชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นชื่อของโจทก์ และหลังจากนั้นโจทก์ได้เบิกถอนเงินจำนวน 4,000,000 บาท ดังกล่าว จากบริษัทเงินทุน ส. จากข้อเท็จจริงดังกล่าว หากในที่สุดแล้วศาลพิพากษาให้แบ่งเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยกึ่งหนึ่ง จำเลยก็จะได้ประโยชน์จากการที่ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ตามคำร้องของจำเลย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขตามกฎหมายและการมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสเป็นโมฆะ
ป.พ.พ. มาตรา 1461 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ซึ่งเป็นเรื่องภายหลังการสมรสตามหมวด 2 เรื่อง เงื่อนไขแห่งการสมรส กล่าวคือ เมื่อสมรสกันแล้วหากฝ่ายใดปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 1461 ดังกล่าวก็จะเป็นเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) หรือ (6) ที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจนำมาฟ้องร้องได้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. และไม่มีคำพิพากษาของศาลให้หย่ากัน การสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. จึงยังสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้หากโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. จะมิได้อยู่ด้วยกันและมิได้ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันในระยะหลังก็มิได้มีผลต่อความสมบูรณ์ของการสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว.โจทก์จึงยังเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของพลตำรวจตรี ว. อยู่ตลอดมา เมื่อจำเลยมาจดทะเบียนสมรสกับพลตำรวจตรี ว. ขณะที่พลตำรวจตรี ว. มีโจทก์เป็นคู่สมรสอยู่จึงเป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรสในมาตรา 1452 และเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้ต่อมาพลตำรวจตรี ว. ถึงแก่ความตาย โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างจำเลยกับตำรวจตรี ว. เป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าจากเหตุละทิ้งร้างและไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามฐานะสามีภริยา
โจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้วอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเพียงสองเดือน ต่อมาจำเลยไปรับราชการทหารและปลดเป็นกองหนุนเมื่อปี 2531 หลังจากที่จำเลยปลดประจำการทหารแล้วจำเลยมิได้กลับไปอยู่กินด้วยกันกับโจทก์ฉันสามีภริยา จนกระทั่งปี 2533 โจทก์จึงไปอยู่กินฉันสามีภริยากับ ฉ. จนมีบุตรด้วยกัน พฤติการณ์ของจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกิน 1 ปี ตั้งแต่จำเลยปลดประจำการทหารในปี 2531 โจทก์จึงฟ้องหย่าจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9189/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้คัดค้านในฐานะอยู่กินฉันสามีภริยาและมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ผู้คัดค้านและผู้ตายได้ทำพิธีจัดงานสมรสเป็นที่รู้กันในหมู่ญาติทั้งสองฝ่ายและบุคคลทั่วไป จากนั้นผู้ตายได้แยกจากครอบครัวมาอยู่กินฉันสามีภริยาตามลำพังกับผู้คัดค้านที่บ้านบนที่ดินราชพัสดุที่ผู้ร้องโอนให้ โดยผู้ร้องได้ยกให้ผู้ตายกับผู้คัดค้านอยู่ร่วมกัน ผู้ตายและผู้คัดค้านต่างมีอาชีพของตนเป็นกิจจะลักษณะ ได้อยู่ร่วมกันตลอดมาจนผู้ตายถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยากันย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียอยู่ในทรัพย์ของผู้ตายและชอบที่จะร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง โดยคำว่า "ผู้มีส่วนได้เสีย" ในบทบัญญัตินี้หาจำต้องเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิหรือมีส่วนรับมรดกด้วยไม่ เมื่อผู้คัดค้านและผู้ตายอยู่กินทำมาหาได้ด้วยกันตามลำพังสองคนโดยไม่มีญาติผู้ใดหรือแม้แต่ผู้ร้องเข้าเกี่ยวข้องรู้เห็นการบริหารครอบครัวของคนทั้งสอง ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้เดียวที่รู้เรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ตายเป็นอย่างดีจึงย่อมสามารถรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ดีกว่าผู้อื่น ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งตั้งให้ผู้คัดค้านร่วมเป็นผู้จัดการมรดกด้วยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: แม้หย่าทางศาสนาอิสลาม แต่ยังเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรส ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย แม้ต่อมาโจทก์จำเลยจะแยกกันอยู่หรือหย่ากันในทางศาสนาอิสลาม ก็จะถือว่าโจทก์จำเลยขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วมิได้ เพราะมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล จึงนำพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาปรับใช้มิได้ ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 เมื่อโจทก์จำเลยยังมีสถานะเป็นสามีภริยาต่อกันตามกฎหมาย จำเลยจึงฟ้องขอแบ่งสินสมรสมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: ความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาโดยความยินยอม ไม่เข้าข่ายความผิด
ผู้เยาว์กับจำเลยสมัครใจรักใคร่กันโดยที่จำเลยยังไม่เคยมีภริยามาก่อน การที่จำเลยได้พาผู้เยาว์ไปอยู่กับจำเลยและได้เสียกันก็เพื่อประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แต่มีเหตุขัดข้องเกิดจากมารดาจำเลยไม่ยอมรับผู้เยาว์เป็นสะใภ้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ฯ พิจารณาจากเจตนาและการกระทำที่มุ่งประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยา
ผู้เยาว์กับจำเลยรักใคร่กันโดยที่จำเลยยังไม่มีภริยามาก่อน จำเลยพาผู้เยาว์ไปอยู่กับจำเลยได้เสียกันเพื่อประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แต่มารดาจำเลยไม่ยอมรับผู้เยาว์เป็นสะใภ้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินของภริยา และเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีตามมาตรา 57 ตรี
น. เป็นผู้ซื้อที่ดิน และต่อมา น. ตกลงยินยอมให้ ม. และ ว. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยได้รับค่าตอบแทน ต้องถือว่าเป็นการขายตามความในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรฯ น. จึงเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 40(8) และเป็นเงินได้ในปีนั้น ซึ่งขณะนั้นโจทก์ยังเป็นสามี น. และอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี เงินได้ดังกล่าวของ น. ก็ต้องถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตามมาตรา 57 ตรี ไม่ว่าเงินนั้นจะเป็นสินส่วนตัวหรือไม่