คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สาระสำคัญสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายทองคำ - สาระสำคัญสัญญา - การเปลี่ยนแปลงนโยบาย - สิทธิและหน้าที่คู่สัญญา
ก่อนที่มีการประกาศใช้นโยบายนำเข้าทองคำโดยเสรี การนำทองคำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลังโจทก์ ด้วยการทำสัญญากำหนดปริมาณการนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจะไม่มีผู้อื่นนำทองคำเข้ามาแข่งขัน เมื่อโจทก์ทำสัญญากำหนดให้จำเลยนำทองคำเข้ามาจำหน่ายจำนวน 4,500 กิโลกรัม ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2534 ย่อมเป็นที่เข้าใจว่า ภายในวันดังกล่าวโจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีเพื่อให้จำเลยนำเข้าและจำหน่ายทองคำได้ในปริมาณที่กำหนด ความเข้าใจเช่นนี้แม้ไม่ได้ระบุในสัญญา แต่ก็ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงโดยปริยาย ฉะนั้นการที่โจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2534 จึงเป็นสาระสำคัญในการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อโจทก์ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีในวันที่ 7 พฤษภาคม 2534 ทำให้ผู้อื่นสามารถนำทองคำเข้ามาได้อย่างเสรี เป็นเหตุให้จำเลยนำทองคำเข้ามาขายได้น้อยกว่าปริมาณที่กำหนด จะถือว่าจำเลยผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับให้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายทองคำ: การเปลี่ยนแปลงนโยบายนำเข้าถือเป็นสาระสำคัญของสัญญา หากมีผลกระทบต่อการปฏิบัติตามสัญญา ผู้นำเข้าไม่ต้องรับผิด
ก่อนที่มีการประกาศใช้นโยบายนำเข้าทองคำโดยเสรีการนำทองคำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง ด้วยการทำสัญญากำหนดปริมาณการนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจะไม่มีผู้อื่นนำทองคำเข้ามาแข่งขันดังนั้น เมื่อกระทรวงการคลังโจทก์ทำสัญญากำหนดให้จำเลยนำทองคำเข้ามาจำหน่ายจำนวน 4,500 กิโลกรัม ภายในวันที่ 15ตุลาคม 2534 ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าภายในวันดังกล่าว โจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามา โดยเสรีเพื่อให้จำเลยนำเข้าและจำหน่ายทองคำได้ในปริมาณที่กำหนด ฉะนั้นการที่โจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีก่อนวันที่ 15 ตุลาคม2534 จึงเป็นสาระสำคัญในการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเมื่อโจทก์ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีในวันที่ 7 พฤษภาคม2534 ทำให้ผู้อื่นสามารถนำทองคำเข้ามาได้อย่างเสรีเป็นเหตุให้จำเลยนำทองคำเข้ามาขายได้น้อยกว่าปริมาณที่กำหนดจึงถือว่าจำเลยผิดสัญญาที่จะต้องชำระค่าปรับให้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง: การยึดหน่วงค่าจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหายจากงานชำรุด และผลของการไม่ถือกำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างได้ระบุไว้ว่า กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานคือวันที่ 31 สิงหาคม 2538 โจทก์ได้ส่งมอบงานครั้งสุดท้ายคือวันที่ 31 สิงหาคม 2538 ขณะที่มีการส่งมอบงานงวดสุดท้ายนั้น งานตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ เหตุที่โจทก์ขอส่งมอบงานก่อนโดยมีเงื่อนไขว่าจะรับผิดชอบในงานส่วนที่เหลือ และจำเลยตกลงรับมอบงานไว้นั้นก็เพื่อมิให้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาอันจะทำให้ถูกปรับและเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หลังจากที่มีการส่งมอบงานงวดสุดท้ายแล้ว โจทก์ยังคงทำงานตามสัญญาจ้างรับเหมาก่อสร้างต่อไป จนกระทั่งงานเสร็จ หลังจากนั้นทางฝ่ายจำเลยได้ออกใบรับรองการจ่ายเงินให้โจทก์เป็นค่าจ้างงวดสุดท้าย และต่อมาจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่ง พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ได้ปฏิบัติต่อกันดังกล่าว เห็นได้ว่าต่างก็ไม่ถือกำหนดระยะเวลาเป็นสาระสำคัญของสัญญาอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตามโจทก์ยังคงต้องดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จตามสัญญาอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีข้อชำรุดบกพร่อง โจทก์จึงจะได้รับค่าจ้างครบถ้วนตามสัญญา การที่โจทก์ดำเนินการก่อสร้างแล้วชำรุดบกพร่อง โจทก์จึงยังคงต้องรับผิดค่าเสียหายในส่วนที่ชำรุดบกพร่องนี้ เมื่อโจทก์ยังคงต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างอยู่ การที่จำเลยใช้สิทธิไม่ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายไว้ จึงเป็นการใช้สิทธิยึดหน่วงสินจ้างเป็นค่าเสียหายในการก่อสร้างตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การรังวัดที่ดินเป็นสาระสำคัญสัญญา ผู้ซื้อผิดสัญญาไม่รับโอน ผู้ขายมีสิทธิริบมัดจำ
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท คู่สัญญาตกลงกันว่าจะไปรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ของที่ดินทั้งหมดเพื่อทราบจำนวนเนื้อที่ที่แน่นอนอีกครั้งหนึ่งและคิดราคากันในอัตราต่อไร่ตามเนื้อที่ ที่วัดตรวจสอบได้จริง แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาอันเป็นสาระสำคัญ ว่าจะต้องรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดินทั้งหมดเพื่อให้ทราบจำนวน เนื้อที่ที่แน่นอนเพื่อจะได้คิดราคากันในอัตราไร่ละ 1,602,000 บาท ตามเนื้อที่ที่วัดตรวจสอบได้จริง หาใช่มีสาระสำคัญอยู่ที่ว่า โจทก์จำเลยจะต้องไปรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดินร่วมกันไม่ ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาโดยอ้างเหตุเพียงว่า จำเลยไม่ได้ทำการรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดินเพื่อทราบจำนวน เนื้อที่ดินให้เป็นไปตามสัญญาเท่านั้น หาได้กล่าวอ้างเหตุ ที่จำเลยผิดสัญญาว่าจำเลยไปทำการรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดิน เพียงฝ่ายเดียวไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ก่อนวันจดทะเบียน โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้เจ้าหน้าที่ที่ดินรังวัดตรวจสอบ เนื้อที่ดินถูกต้องแล้ว โดยในข้อนี้โจทก์แก้ฎีกาเพียงว่าที่ จำเลยได้รังวัดตรวจสอบเนื้อที่อย่างเป็นทางการได้จำนวน เนื้อที่ถูกต้องนั้น เป็นระยะเวลาภายหลังโจทก์จำเลยไม่สามารถ ตกลงกันได้ในเรื่องเงื่อนไขตามสัญญาแล้วเท่านั้น โจทก์หาได้แก้ ฎีกาโต้แย้งว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยทำการรังวัด ตรวจสอบนั้นไม่ถูกต้องแต่ประการใด จึงฟังได้ว่าจำเลย ได้รังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดินจนทราบจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอน แล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อสัญญาแล้ว ดังนั้น ในวันนัดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทโจทก์และจำเลยไปที่ สำนักงานที่ดินแล้ว แต่โจทก์บอกปัดไม่รับโอนโจทก์จึงเป็น ผู้ผิดสัญญา เมื่อตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุว่าหาก ผู้จะซื้อผิดสัญญาไม่ยอมจดทะเบียนรับซื้อที่ดินพร้อมทั้ง ชำระราคาค่าที่ดินที่เหลือ ให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นอันเลิกกันทันทีโดยผู้จะขายไม่จำต้องบอกกล่าว ก่อนและผู้จะขายมีสิทธิริบมัดจำที่ผู้จะซื้อได้ชำระไว้แล้ว ดังนี้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลย มีสิทธิริบมัดจำที่โจทก์วางไว้ตามข้อสัญญาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยเป็นสาระสำคัญสัญญา การแจ้งเหตุล่าช้ามีผลต่อการพิจารณาค่าสินไหม
กรมธรรม์ประกันภัยที่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายในทันทีภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิดการสูญเสียหรือสูญหาย มิฉะนั้นผู้รับประกันภัยจะไม่รับพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา แม้บริษัทผู้รับประกันภัยจำเลยจะไม่ยกเงื่อนไขเป็นข้อต่อสู้ในการเจรจาประนีประนอม แต่ก็หาได้ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลไม่ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งค่าเสียหายให้จำเลยทราบเพียงครั้งเดียว โดยค่าเสียหายก่อนหน้านั้นโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบ กรณีจึงมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยมีสิทธิที่จะไม่รับพิจารณาใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน ๆ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัย: เงื่อนไขการแจ้งความเสียหายเป็นสาระสำคัญสัญญา ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งภายในเวลา หากไม่แจ้งสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอาจหมดไป
กรมธรรม์ประกันภัยที่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายในทันทีและภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิดการสูญเสียหรือเสียหาย มิฉะนั้นผู้รับประกันภัยจะไม่รับพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา แม้บริษัทผู้รับประกันภัยจำเลยจะไม่ยกเงื่อนไขเป็นข้อต่อสู้ในการเจรจาประนีประนอม แต่ก็หาได้ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลไม่ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งค่าเสียหายให้จำเลยทราบเพียงครั้งเดียว โดยค่าเสียหายก่อนหน้านั้นโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบ กรณีจึงมิได้เป็นตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยมีสิทธิที่จะไม่รับพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน ๆ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาของคู่สัญญาสำคัญกว่าข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ แม้มีข้อกำหนดให้สัญญาเลิกได้ทันที หากมีการยอมรับชำระโดยไม่โต้แย้ง
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า การชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญของสัญญา ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันหรือผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่สองงวดขึ้นไป ให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันยกเลิกเพิกถอนทันที แต่ในทางปฏิบัติเมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ตรงตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาตลอดมา โจทก์ก็ยอมรับชำระโดยมิได้อิดเอื้อน จึงเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลย โจทก์ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 กล่าวคือต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดที่ติดค้างอยู่ต่อเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้นโจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนซื้อขายหุ้น: วัตถุประสงค์การเก็งกำไร ไม่ถือเป็นสาระสำคัญของสัญญา
จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยโจทก์ได้ประโยชน์เป็นดอกเบี้ยจากเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปในการซื้อหุ้นและเงินค่าบำเหน็จในการซื้อขาย ส่วนจำเลยจะได้ประโยชน์หากขายหุ้นได้กำไร วัตถุประสงค์อันแท้จริงของโจทก์จำเลยจึงเป็นการค้าเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงมากกว่าประสงค์ที่จะให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง อันจะต้องปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 จึงถือได้ว่าโจทก์จำเลยมิได้ยึดถือเอาระเบียบข้อบังคับและกฎหมายในเรื่องตลาดหลักทรัพย์มาเป็นสาระสำคัญในสัญญา ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายในเรื่องตลาดหลักทรัพย์ ก็หาทำให้หุ้นที่โจทก์ซื้อไว้ตามคำสั่งของจำเลยมิใช่หุ้นที่จำเลยสั่งซื้อไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2020/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: กำหนดระยะเวลาชำระค่าที่ดินเป็นสาระสำคัญ หากผิดนัด สิทธิบังคับคดีเป็นอันตกไป
สัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดว่า โจทก์ยอมชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญาและจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันได้รับชำระเงินนั้นเป็นการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเพื่อให้โจทก์ชำระค่าที่ดิน อันเป็นสารสำคัญของสัญญาซึ่งคู่สัญญาต่างก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นคนละเรื่องกับสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งมีกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา เมื่อโจทก์มิได้ชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยภายในกำหนดระยะเวลาตามข้อสัญญา โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดและไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลยให้โอนขายที่ดินแก่ตนได้ โจทก์จะอ้างว่ามีสิทธิบังคับคดีได้ภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือมีคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: กำหนดเวลาออก น.ส.3 เป็นสาระสำคัญสัญญา ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน
โจทก์ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามหนังสือแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) จากจำเลย โดยโจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินพิพาทเพื่อเอาไปขายให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ใช่ต้องการซื้อไว้ใช้เอง ซึ่งจำเลยก็รู้ความประสงค์ของโจทก์แล้ว การเอาไปขายต่อแก่มหาวิทยาลัย อันเป็นส่วนราชการเช่นนี้ ที่ดินต้องมีหลักฐาน น.ส. 3 และ ทางมหาวิทยาลัยจะต้องตั้งงบประมาณภายในกำหนดและการซื้อขายก็ต้องดำเนินการให้ทันงบประมาณ โจทก์จำเลยจึงตกลงกันว่า จำเลยจะต้องออก น.ส. 3 ของที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายใน 90 วันนับแต่วันทำสัญญา หากไม่สามารถออกได้ภายในกำหนด โจทก์ก็ไม่ซื้อ เหตุแห่งการ ออกน.ส. 3 จึงเป็นข้อสารสำคัญและเจตนาของคู่สัญญาประสงค์ที่จะถือเอากำหนดเวลาในการออก น.ส. 3 เป็นสารสำคัญแห่งสัญญา ฉะนั้น เมื่อจำเลยยอมตกลงแต่ไม่อาจจัดการให้สำเร็จได้ตามสัญญา เวลาเป็นสารสำคัญแก่ผลประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับด้วยการส่งมอบ น.ส. 3 ณ เวลาที่มีกำหนดซึ่งหากล่าช้าย่อมเป็นการไร้ประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าที่ดินที่รับไว้ให้โจทก์
แม้การออก น.ส. 3 จะล่าช้าไม่ทันตามกำหนด เวลาและเป็นเหตุให้โจทก์เลิกสัญญา แต่ความประสงค์ของโจทก์ต้องการซื้อที่ดินไปเสนอขายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อหากำไร จึงได้กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 4 ว่า หากผู้จะขายผิดสัญญาฉบับนี้ตามที่กำหนดกัน ไว้ผู้จะขายยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อเป็นเงินสองเท่าของค่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมด ทั้งสองแปลง เมื่อได้ความในภายหลังว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินสองแปลงนี้แล้ว แม้จำเลยขอออก น.ส. 3 ทันตามกำหนดสัญญา โจทก์ก็ไม่อาจขายที่ดินสองแปลงนี้เพื่อหากำไรได้ โจทก์จึงไม่เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
of 2