พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สัญญาบริการวิทยุคมนาคมเกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ จึงเป็นมูลคดีในเขตศาลชั้นต้น
เมื่อคำขอ/สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมเป็นอำนาจของสำนักงานใหญ่ของโจทก์ที่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นเป็นผู้พิจารณาอนุมัติสัญญา และเมื่อได้อนุมัติสัญญาแล้ว พร้อมกันนั้นสำนักงานใหญ่ของโจทก์ก็จะเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุที่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ หลังจากนั้นจำเลยก็จะสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมตามคำขอที่ยื่นไว้ได้ การอนุมัติและการเปิดสัญญาณโดยสำนักงานใหญ่ของโจทก์ในลักษณะนี้ จึงเป็นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลยตามคำขอที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ แม้ถึงจะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยในลักษณะเช่นนี้ย่อมได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้สนองรับคำเสนอโดยเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งมีผลทำให้จำเลยสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมจากโจทก์โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสอง แต่ประการใดอีก ดังนั้น เมื่อสัญญาใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์จำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ศาลชั้นต้นจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สัญญาบริการวิทยุคมนาคมเกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ โจทก์ฟ้องได้ที่ศาลในเขตนั้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมซึ่งถือว่าเป็นหนี้เหนือบุคคลโจทก์จึงมีสิทธิที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมมาขอใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์จากสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์จะเสนอคำขอ/สัญญาการใชบริการวิทยุคมนาคมดังกล่าวมาให้สำนักงานใหญ่ของโจทก์พิจารณาอนุมัติเมื่ออนุมัติแล้วสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้เปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมที่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ จำเลยจึงจะใช้บริการตามคำขอที่ยื่นไว้ได้ ย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าว เป็นการทำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ ส่วนการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานใหญ่ถือได้ว่าเป้นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลย แม้จะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กระทำขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ได้สนองรับคำเสนอโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทนุคมนาคมดังกล่าว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมมาขอใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์จากสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์จะเสนอคำขอ/สัญญาการใชบริการวิทยุคมนาคมดังกล่าวมาให้สำนักงานใหญ่ของโจทก์พิจารณาอนุมัติเมื่ออนุมัติแล้วสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้เปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมที่อยู่ที่สำนักงานใหญ่ จำเลยจึงจะใช้บริการตามคำขอที่ยื่นไว้ได้ ย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าว เป็นการทำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ ส่วนการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานใหญ่ถือได้ว่าเป้นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลย แม้จะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กระทำขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ได้สนองรับคำเสนอโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บริการตามสัญญาการใช้บริการวิทนุคมนาคมดังกล่าว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สัญญาบริการวิทยุคมนาคมเกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ จึงถือเป็นเขตอำนาจศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมมาขอใช้บริการจากสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์จะเสนอคำขอ / สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมมาให้สำนักงานใหญ่ของโจทก์พิจารณาอนุมัติ ย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยกรอกข้อความแล้วยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าว เป็นการทำคำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ ส่วนการพิจารณาอนุมัติคำขอและเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมของสำนักงานใหญ่ของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลยตามคำขอที่ได้ยื่นขอใช้บริการ แม้จะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็เป็นตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคม การกระทำในลักษณะนี้ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้สนองรับคำเสนอโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมจากโจทก์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก ดังนั้น สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (6) และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6647/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศเพื่อประโยชน์สำนักงานใหญ่ และการหักค่าภาษีที่ไม่สมควรเป็นรายจ่าย
เมื่อรายจ่ายที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทผู้รับจ้างที่ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ไม่ใช่รายจ่ายตามสัญญาการให้บริการด้านจัดหาพัสดุเคมีภัณฑ์และตามสัญญาการให้บริการด้านการบริหารที่โจทก์ทำกับบริษัทผู้รับจ้าง รายจ่าย ดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์กำหนดจ่ายขึ้นเองโดยไม่ใช่รายจ่ายของโจทก์ที่แท้จริง ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่ รายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์ในประเทศไทยโดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (14)? โจทก์จึงไม่อาจนำรายจ่ายดังกล่าวมาคิดคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทได้
การจัดเก็บภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ ให้จัดเก็บจากจำนวนเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยเพื่อประโยชน์ของสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ มิใช่จัดเก็บจากจำนวนกำไรสุทธิ หากเป็นรายจ่ายที่แท้จริงของกิจการที่กิจการจ่ายออกไปจากประเทศไทย แม้จะเป็นรายจ่ายที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (1) ไม่ให้ถือเป็น รายจ่าย จำเลยก็ไม่มีอำนาจจัดเก็บภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าวเพราะมิใช่จำนวนเงินกำไรที่แท้จริงของกิจการที่ได้มี การจำหน่ายออกไปจากประเทศไทย เมื่อสาขาของโจทก์ในประเทศไทยส่งเงินที่อ้างว่าเป็นส่วนเฉลี่ยรายจ่าย ซึ่งเป็น รายจ่ายที่โจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่ใช่รายจ่ายของโจทก์ที่แท้จริงให้แก่บริษัทผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทตั้งอยู่ใน ต่างประเทศ โดยโจทก์ให้บริษัทผู้รับจ้างเรียกเก็บหนี้จากผู้ว่าจ้างโจทก์ให้โจทก์ แล้วผู้ว่าจ้างโจทก์จะจ่ายเงินค่าตอบแทนดังกล่าวไปยังบริษัทผู้รับจ้าง ดังนี้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าสาขาของโจทก์ในประเทศไทยจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย เพื่อประโยชน์ของสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าสาขาของโจทก์ในประเทศไทยมีพฤติการณ์จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรที่แท้จริงออกไปจากประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์ของสำนักงานใหญ่ใน ต่างประเทศ แม้เป็นกรณีมิใช่หนี้สูญที่แท้จริงหรือมิใช่หนี้สูญที่ได้ตัดจ่ายจากบัญชีของโจทก์จริง หรือโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโดยไม่ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (9) ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 181(พ.ศ. 2532) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่สามารถนำหนี้สูญจำนวนดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ แม้จะเป็นผลให้โจทก์มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นตามรายจ่ายต้องห้ามดังกล่าวก็ตาม แต่จะนำมาถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยหาได้ไม่
ภาระภาษีการค้าและภาระภาษีอากรแสตมป์ที่เกิดขึ้นจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถกำหนดจ่ายได้จริงและแน่นอนจนกว่าหนี้ค่าภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นที่ยุติโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมิน หรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จำเลยประเมินภาษีการค้าและอากรแสตมป์โจทก์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 และโจทก์ชำระภาษีดังกล่าวในวันที่ 15 มีนาคม 2538 โดยมิได้อุทธรณ์การประเมิน รายจ่ายค่าภาษีการค้าและอากรแสตมป์ที่พิพาทจึงยังไม่สามารถกำหนดจ่ายได้จริงและแน่นอนในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตรวจสอบ รายจ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ถูกตรวจสอบภาษีอากร
การจัดเก็บภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ ให้จัดเก็บจากจำนวนเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยเพื่อประโยชน์ของสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ มิใช่จัดเก็บจากจำนวนกำไรสุทธิ หากเป็นรายจ่ายที่แท้จริงของกิจการที่กิจการจ่ายออกไปจากประเทศไทย แม้จะเป็นรายจ่ายที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (1) ไม่ให้ถือเป็น รายจ่าย จำเลยก็ไม่มีอำนาจจัดเก็บภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าวเพราะมิใช่จำนวนเงินกำไรที่แท้จริงของกิจการที่ได้มี การจำหน่ายออกไปจากประเทศไทย เมื่อสาขาของโจทก์ในประเทศไทยส่งเงินที่อ้างว่าเป็นส่วนเฉลี่ยรายจ่าย ซึ่งเป็น รายจ่ายที่โจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่ใช่รายจ่ายของโจทก์ที่แท้จริงให้แก่บริษัทผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทตั้งอยู่ใน ต่างประเทศ โดยโจทก์ให้บริษัทผู้รับจ้างเรียกเก็บหนี้จากผู้ว่าจ้างโจทก์ให้โจทก์ แล้วผู้ว่าจ้างโจทก์จะจ่ายเงินค่าตอบแทนดังกล่าวไปยังบริษัทผู้รับจ้าง ดังนี้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าสาขาของโจทก์ในประเทศไทยจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย เพื่อประโยชน์ของสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าสาขาของโจทก์ในประเทศไทยมีพฤติการณ์จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรที่แท้จริงออกไปจากประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์ของสำนักงานใหญ่ใน ต่างประเทศ แม้เป็นกรณีมิใช่หนี้สูญที่แท้จริงหรือมิใช่หนี้สูญที่ได้ตัดจ่ายจากบัญชีของโจทก์จริง หรือโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโดยไม่ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (9) ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 181(พ.ศ. 2532) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่สามารถนำหนี้สูญจำนวนดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ แม้จะเป็นผลให้โจทก์มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นตามรายจ่ายต้องห้ามดังกล่าวก็ตาม แต่จะนำมาถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยหาได้ไม่
ภาระภาษีการค้าและภาระภาษีอากรแสตมป์ที่เกิดขึ้นจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถกำหนดจ่ายได้จริงและแน่นอนจนกว่าหนี้ค่าภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นที่ยุติโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมิน หรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จำเลยประเมินภาษีการค้าและอากรแสตมป์โจทก์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 และโจทก์ชำระภาษีดังกล่าวในวันที่ 15 มีนาคม 2538 โดยมิได้อุทธรณ์การประเมิน รายจ่ายค่าภาษีการค้าและอากรแสตมป์ที่พิพาทจึงยังไม่สามารถกำหนดจ่ายได้จริงและแน่นอนในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตรวจสอบ รายจ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ถูกตรวจสอบภาษีอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มของสำนักงานใหญ่และสาขา โดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
โจทก์มีสำนักงานสาขาแยกต่างหากจากสำนักงานใหญ่ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการหลายแห่ง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีของสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขารวมกันโดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร จึงเป็นการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่ เมื่อโจทก์ได้รับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) เฉพาะของสำนักงานใหญ่ แบบแสดงรายการภาษีที่ยื่นจึงเป็นแบบแสดงรายการภาษีเฉพาะของสำนักงานใหญ่ การที่โจทก์นำภาษีซื้อของสำนักงานสาขามาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสำนักงานใหญ่โดยไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงไม่ชอบ แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า การที่อธิบดีกรมสรรพากรไม่อนุมัติให้โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกันไม่ชอบ แต่โจทก์ก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติดังกล่าว คำสั่งไม่อนุมัติดังกล่าวจะชอบหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดีนี้ แม้ศาลภาษีอากรกลางจะรับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 88(2) แห่งประมวลรัษฎากรประเมินภาษีโจทก์ ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจ ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา (1) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นในคดีนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียก/สำเนาคำฟ้องไม่ชอบ กรณีจำเลยมีสำนักงานใหญ่แห่งเดียว การพิจารณาคดีเป็นโมฆะ
ตามคำฟ้องโจทก์ระบุที่ตั้งของจำเลยอยู่บ้านเลขที่ 210 จังหวัดชลบุรี หรือสำนักงานใหญ่ อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ชั้น 20 และ 21 เลขที่ 191กรุงเทพมหานคร แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 191อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 20 และ 21 กรุงเทพมหานคร เพียงแห่งเดียวโดยไม่ปรากฏว่ามีสาขาอื่น เมื่อการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยเฉพาะที่ตั้งอยู่เลขที่ 210 แห่งเดียว โดยมิได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยณ ที่สำนักงานใหญ่ของจำเลย แต่ตอนส่งคำบังคับตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลับมีการส่งให้จำเลยที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยและส่งได้ จำเลยจึงทราบว่าถูกฟ้องคดีนี้ ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เลขที่ 210 กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบ กระบวนพิจารณาคดีของศาลแรงงานภายหลังต่อมาไปจนถึงมีคำพิพากษาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบศาลฎีกาให้ศาลแรงงานดำเนินการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยใหม่ และพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายกิจการปิโตรเลียม: รายจ่ายสำนักงานใหญ่ต้องจัดสรรโดยสมควรและพิสูจน์ได้
การที่บริษัท ยท.ซึ่งประกอบกิจการปิโตรเลียมจะมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้หรือไม่เพียงใด ก็ต้องอาศัย พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514ซึ่งมิได้กำหนดไว้ว่า รายจ่ายที่ได้รับจัดสรรจากบริษัทอื่นซึ่งในคดีนี้ได้แก่ บริษัท ยค.ให้ถือเป็นรายจ่ายที่ทำการหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือผลขาดทุนได้คงมีแต่มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 บัญญัติไว้ว่า"รายได้เมื่อหักรายจ่ายตามปกติและจำเป็นออกแล้ว ผลลัพธ์เป็นผลกำไรประจำปีหรือผลขาดทุนประจำปีแล้วแต่กรณี" และตามมาตรา 65 ฉ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 65 สัตต และมาตรา 65 อัฏฐ รายจ่ายตามปกติและจำเป็นให้จำกัดอยู่เฉพาะแต่รายจ่ายตามปกติและจำเป็นในจำนวนไม่เกินสมควรและได้จ่ายไปทั้งหมดเฉพาะในกิจการปิโตรเลียมไม่ว่าจะจ่ายในหรือนอกราชอาณาจักรและภายในข้อจำกัดดังกล่าวให้รวมถึง...(8) รายจ่ายของสำนักงานใหญ่เท่าที่จัดสรรได้โดยสมควรว่าเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมของบริษัท..." ฉะนั้น รายจ่ายคดีนี้ตามมาตรา 65 ฉ (8)ต้องเป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่ที่สำนักงานใหญ่เป็นผู้จัดสรรโดยสมควร กฎหมายไม่ยอมให้นำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือผลขาดทุนหากไม่ใช่เป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่ เมื่อโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการปิโตรเลียมมาจากบริษัท ยท.ไม่สามารถพิสูจน์หรือแยกให้เห็นว่ารายจ่ายใดบ้างที่เป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่จัดสรรมาให้ โจทก์จึงอ้างเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในบริษัทโจทก์และนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือผลขาดทุนไม่ได้
บริษัท ยค. และ ยท. ต่างเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัททั้งสองดังกล่าวจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน ส่วนโจทก์ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัททั้งสองดังกล่าว แม้จะได้ความว่าบริษัท ยค.ถือหุ้นทั้งหมดอยู่ในบริษัท ยท.ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ฐานะของนิติบุคคลทั้งสองกลับกลายเป็นนิติบุคคลเดียวกันหรือบริษัทยท.เป็นสาขาของบริษัท ยค.การที่บริษัท ยค.ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ยท.มีผลเพียงให้บริษัททั้งสองมีลักษณะเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน หาใช่ว่าบริษัท ยค.เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท ยท.หรือโจทก์ไม่ ดังนั้น บริษัท ยค.แม้จะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆอันเกิดจากการให้ความช่วยเหลือและให้บริการแก่บริษัท ยท. ค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็หาใช่รายจ่ายที่อาจจัดสรรหรือได้รับจัดสรรจากสำนักงานใหญ่ตามความหมายแห่งพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 มาตรา 65 ฉ (8) ไม่
บริษัท ยค. และ ยท. ต่างเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัททั้งสองดังกล่าวจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน ส่วนโจทก์ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัททั้งสองดังกล่าว แม้จะได้ความว่าบริษัท ยค.ถือหุ้นทั้งหมดอยู่ในบริษัท ยท.ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ฐานะของนิติบุคคลทั้งสองกลับกลายเป็นนิติบุคคลเดียวกันหรือบริษัทยท.เป็นสาขาของบริษัท ยค.การที่บริษัท ยค.ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ยท.มีผลเพียงให้บริษัททั้งสองมีลักษณะเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน หาใช่ว่าบริษัท ยค.เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท ยท.หรือโจทก์ไม่ ดังนั้น บริษัท ยค.แม้จะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆอันเกิดจากการให้ความช่วยเหลือและให้บริการแก่บริษัท ยท. ค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็หาใช่รายจ่ายที่อาจจัดสรรหรือได้รับจัดสรรจากสำนักงานใหญ่ตามความหมายแห่งพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 มาตรา 65 ฉ (8) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมาย ณ สำนักงานใหญ่ของจำเลยชอบด้วยกฎหมาย แม้เอกสารจะล่าช้าในการส่งต่อภายใน
ในคดีแรงงานเมื่อพนักงานเดินหมายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลแรงงาน ณ ภูมิลำเนาของจำเลยคือสำนักงานใหญ่อันเป็นสำนักทำการงานของจำเลยแล้ว การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 ส่วนการที่พนักงานจำเลยซึ่งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ได้เก็บรวบรวมสำเนาคำฟ้องไว้กับเอกสารอื่นซึ่งมีจำนวนมากกว่าจะมีการแยกแยะ เพื่อส่งไปยังผู้บริหารซึ่งไปประจำอยู่ ณ สำนักงานโครงการ อันเป็นสำนักงานชั่วคราวเกิดความล่าช้ารวมทั้งระยะเวลาในการส่งไปยังผู้บริหารดังกล่าวก็ล่วงเลยกำหนดนัดของศาล โดยจำเลยไม่มีเจตนาจะไม่ยื่นคำให้การ และไม่ไปศาลตามนัดนั้น เป็นเรื่องการบริหารกิจการภายในที่จำเลยจะต้องกำชับดูแลพนักงานจำเลยให้ปฏิบัติงานให้ทันตามกำหนดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การที่พนักงานจำเลยตรวจสอบแยกแยะเอกสารล่าช้าและส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ผู้บริหารของจำเลยล่วงเลยเวลาซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อความในหมายเรียกเมื่อเป็นความผิดหรือบกพร่องของจำเลยเอง จึงมิใช่เหตุผลอันสมควรที่จำเลยจะยกมาอ้างต่อศาลในการไม่ไปศาลตามนัด ในหมายเรียก การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มี เหตุอันสมควร เป็นการขาดนัดโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9772/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำใบกำกับภาษีระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขามาใช้ผิดประเภท และการงดเบี้ยปรับเมื่อผู้เสียภาษีเข้าใจผิด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่,87 และ 86วรรคหนึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการทั้งยังต้องการที่จะควบคุมและตรวจสอบได้โดยสะดวก จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานภาษีขายรายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้า เป็นรายสถานประกอบการ โดยต้องลงรายการในรายงานภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าเมื่อสถานประกอบการอยู่ต่างกัน ใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าจึงต้องแยกออกเป็นรายสถานประกอบการ ฉะนั้น ใบกำกับภาษีสำหรับการซื้อสินค้าย่อมจะต้องแยกเป็นของแต่ละสถานประกอบการเช่นเดียวกันจะนำมาปะปนกันเพื่อใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหาได้ไม่ เพราะจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อของแต่ละสถานประกอบการในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์เป็นผู้นำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่63,66,70,73,76,80,84,86 ประกอบบัญชีราคาสินค้าเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 64,67,71,74,77,81,83,87โดยใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพาสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มระบุที่อยู่ของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์ไว้โดยชัดแจ้ง ดังนั้นใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/10(1) ตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 62,65,69,72,75,79,82 และ 85เนื่องจากการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเป็นกำกับภาษี อันเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการแห่งใหญ่ของโจทก์ ตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 86/14 และมาตรา 77/1(18)(ก) บัญญัติไว้แม้สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่และสถานประกอบการของโจทก์จะเป็นสถานประกอบการของนิติบุคคลเดียวกัน แต่เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นหลายสถานประกอบการแล้ว ย่อมแยกการซื้อขายการนำเข้า การส่งออกการให้บริการ ออกเป็นของแต่ละสถานประกอบการได้ โจทก์จึงต้องนำไปคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 และยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์ตั้งอยู่ กับต้องนำไปลงรายการในรายงานภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม บัญญัติไว้ฉะนั้นโจทก์จึงนำใบเสร็จรับเงินตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่62,65,69,72,75,79,82 และ 85 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีอันเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์ไม่ได้ เพราะเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวไว้แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบจึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีของสถานประกอบการสาขาโดยแสดงจำนวนภาษีไม่ถูกต้องมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อของสถานประกอบการสาขาในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88(2) มาตรา 89(3) และมาตรา 89/1 การที่โจทก์นำใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์มาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์เข้าใจข้อกฎหมายผิดไปว่าสามารถนำใบกำกับภาษีอันเป็นภาษีซื้อของโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวกันไปใช้ในการคำนวณภาษีด้วยการหักจากภาษีขายได้ จึงได้ปฏิบัติการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมีข้อผิดพลาดดังกล่าว โจทก์หาได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหรือทำให้จำเลยได้รับชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์น้อยไปจากวิธีการที่โจทก์จะปฏิบัติโดยถูกต้องทั้งสองสถานประกอบการแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ การที่โจทก์จะต้องชำระเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา 89/1 นั้น เนื่องจากโจทก์ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวด 4 ส่วน 7มาตรา 83 วรรคสอง จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับโดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีจนถึงวันชำระภาษี แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ เงินเพิ่มนี้แม้จะเป็นภาษีอากรประเมินแต่ประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 ก็มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ดังเช่นที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 วรรคท้าย บัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 ได้..LONG
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9772/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำใบกำกับภาษีซื้อของสำนักงานใหญ่ไปใช้คำนวณภาษีของสาขาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีได้ ศาลฎีกางดเบี้ยปรับ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่ มาตรา 87 และมาตรา 86 วรรคหนึ่งกับวรรคสาม กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งยังต้องการที่จะควบคุมและตรวจสอบได้โดยสะดวก จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ประกอบกิจการขายสินค้าเป็นรายสถานประกอบการ เมื่อสถานประกอบการอยู่ต่างกันใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าจึงต้องแยกออกเป็นรายสถานประกอบการ ฉะนั้น ใบกำกับภาษีสำหรับการซื้อสินค้าย่อมจะต้องแยกเป็นของแต่ละสถานประกอบการเช่นเดียวกันจะนำมาปะปนกันเพื่อใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหาได้ไม่เพราะจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อของแต่ละสถานประกอบการในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ดังนั้น แม้สถานประกอบการสำนักงานใหญ่และสถานประกอบการสาขาของโจทก์จะเป็นสถานประกอบการ ของนิติบุคคลเดียวกัน แต่เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นหลายสถานประกอบการแล้ว ย่อมแยกการซื้อ การขาย การนำเข้า การส่งออก การให้บริการออกเป็นของแต่ละสถานประกอบการได้ โจทก์จึงนำใบกำกับภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์ไม่ได้ การที่โจทก์เข้าใจข้อกฎหมายผิดไปว่าสามารถนำใบกำกับภาษี อันเป็นภาษีซื้อของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวกันไปใช้ในการคำนวณภาษีด้วยการหักจากภาษีขายได้ จึงได้ปฏิบัติการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมีข้อผิดพลาด โจทก์หาได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหรือทำให้จำเลยได้รับชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์น้อยไปจากวิธีการที่โจทก์จะปฏิบัติโดยถูกต้องทั้งสองสถานประกอบการแต่อย่างใดไม่ จึงควรงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ เงินเพิ่มแม้จะเป็นภาษีอากรประเมิน แต่ประมวลรัษฎากรมาตรา 89/1 ก็มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ ดังเช่นที่มาตรา 89 วรรคท้ายบัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 ได้