คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สำเนาอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วม – การไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ – การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษา – ความไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้สหกรณ์การเกษตร ข. ผู้เสียหาย เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์นั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว ศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้เฉพาะแก่เจ้าพนักงานอัยการโจทก์เท่านั้น หาได้สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่โจทก์ร่วมด้วยไม่ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยลดโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้โจทก์ร่วมเพื่อแก้อุทธรณ์ด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 200
ในการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้คู่ความฟัง ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้แก่โจทก์ร่วมทราบด้วย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 182 ประกอบมาตรา 215 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้ปฏิบัติเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ การลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดมีผลผูกพัน
อุทธรณ์ของผู้ร้องในหน้าแรกมีตัวหนังสือที่มีตรายางประทับข้อความว่าผู้ร้องจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่นและทุก ๆ 7 วันนั้น เป็นขั้นตอนการปฏิบัติของศาลในการกำหนดวิธีการรับทราบคำสั่งของศาลมีผลเป็นคำสั่งของศาล หาใช่เป็นเพียงแบบฟอร์มและวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ศาลไม่ ศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 7 วัน โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545 หลังจากที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ 7 วันก็ตาม แต่การที่ทนาย ผู้ร้องลงลายมือชื่อรับทราบข้อความที่ประทับตรายางต้องถือว่าผู้ร้องยอมผูกพันตามข้อความที่ประทับตรายางนั้น ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นแม้ผู้ร้องจะไม่มาฟังคำสั่งก็ถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบและผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2545 เมื่อปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2545 ว่าผู้ร้องมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้คัดค้าน จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบ มาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล การไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย
คดีแพ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ และกำหนดเวลาให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยในวันที่ยื่นอุทธรณ์ โจทก์ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ จึงเป็นการทิ้งอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีโอกาสชนะคดีก็ดี ทนายจำเลยทราบว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วแต่ไม่ยอมรับสำเนาอุทธรณ์ไปจากศาลก็ดี เจ้าพนักงานศาลและทนายจำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ยังไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ดี หาใช่ข้ออ้างให้การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินต่อไปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี โดยต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในภาค 3ลักษณะ 1 แห่ง ป.วิ.พ. กล่าวคือ ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยอุทธรณ์ (คือฝ่ายโจทก์หรือจำเลยความเดิมซึ่งเป็นฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์ความนั้น) คดีนี้ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจแล้วว่าจำเลยและ ศ.เป็นจำเลยอุทธรณ์ที่มีสิทธิยื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้โจทก์ทำสำเนาอุทธรณ์มายื่นต่อศาลและให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยและ ศ.ได้
โจทก์มีหน้าที่นำส่งและเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยและ ศ. ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น โจทก์ทราบคำสั่งแล้วเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6469-6470/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ถูกต้องตามภูมิลำเนาจำเลย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาได้
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่หนึ่ง แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องอุทธรณ์แล้วมีการจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลย ณ อีกที่หนึ่ง ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่การส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลย ตลอดจนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลยใหม่ ซึ่งเป็นการสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เพราะสำเนาอุทธรณ์เป็นคำคู่ความจะต้องส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยหากฝ่าฝืนต้องถือว่ามิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลอุทธรณ์ภาค 1จึงมีอำนาจที่จะสั่งได้
หากการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่จำเลยไม่ชอบเสียแล้วการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมไม่ชอบไปด้วยเมื่อเหตุที่ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบเป็นเพราะกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 บัญญัติทางแก้ไว้แล้วจึงไม่ใช่เรื่องที่คู่ความจะต้องแก้ไขโดยใช้สิทธิได้เพียงฎีกาเท่านั้น
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด 16,846 กิโลกรัม เป็นเรื่องเจตนากระทำผิดโดยไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายหวังแต่ประโยชน์ที่จะได้โดยไม่คำนึง ถึงความเสียหายต่อประเทศชาติและผลประโยชน์ของส่วนรวม จึงสมควร ลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษให้ และสมควรริบรถยนต์บรรทุกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ แม้จะวางเงินค่าพาหนะแล้ว
ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งหกนำส่งสำเนาอุทธรณ์ใน 7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว เมื่อไม่แถลงให้ศาลทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา246 แม้โจทก์จะได้วางเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ล่วงหน้าก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากความไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลง ถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "รอจำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่า จำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 132 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามกำหนด หากมีหลักฐานการส่ง ศาลต้องไต่สวนเพื่อพิสูจน์ก่อนสั่งจำหน่ายคดี
จำเลยยืนยันว่าได้จัดการนำส่งหมายนัดสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาแล้ว โดยมีหลักฐานการรับเงินค่าส่งหมายมาแสดงซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่จำเลยฎีกา กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็อาจไม่สั่งจำหน่ายคดี เมื่อจำเลยฎีกาอ้างข้อเท็จจริงโต้แย้งกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนชอบที่ศาลจะทำการไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงแน่ชัดเสียก่อน ถ้าเห็นว่าจำเลยไม่ได้เพิกเฉยที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาล คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้คู่ความอีกฝ่าย
ศาลมีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ว่า "รับอุทธรณ์สำเนาให้โจทก์ ให้จำเลยนำส่งให้โจทก์ภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์" และตามแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ซึ่งทนายจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์มีข้อความว่า"ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาอุทธรณ์ โดยข้อความถูกต้องอย่างเดียวกันมาด้วย 1 ฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ ถือว่าทราบแล้ว" จึงถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่ง ของศาลแล้วเมื่อจำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ ภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์
การที่โจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์แล้ว แต่ไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์.
of 4