พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาเอกสาร) แม้ต้นฉบับสูญหาย หากไม่มีข้อโต้แย้งความถูกต้อง
แม้สำเนาใบส่งของจะเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าต้นฉบับถูกทำลายไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ ทั้งโจทก์ได้แนบสำเนามาท้ายฟ้อง จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว เพียงแต่คัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสำเนามิใช่ต้นฉบับ จึงฟังได้ว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องเป็นจริงแล้ว ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเอกสาร: สำเนาเอกสารต้องมีข้อตกลงความถูกต้องจากทุกฝ่าย
ป.วิ.พ. มาตรา 93 บัญญัติว่า "การอ้างเอกสารเป็นพยานนั้น ให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่ (1) เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว?" จำเลยทั้งสองได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยแจ้งชัดว่า โจทก์มิได้รับประกันภัยรถยนต์คันพิพาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารแล้ว เมื่อไม่ต้องด้วยกรณีข้อยกเว้นดังกล่าว สำเนาเอกสารจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นหลักฐาน การโต้แย้งความถูกต้องของเอกสาร และน้ำหนักพยานหลักฐาน
สำเนาตารางกรมธรรม์ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ทั้งจำเลยก็ได้ต่อสู้ในคำให้การไว้ว่าโจทก์มิได้รับประกันภัยรถยนต์ แสดงว่าจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของสำเนาตารางกรมธรรม์แล้ว จึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5841/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารสำเนา และความรับผิดในหนี้จากการสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างโดยบุคคลอื่น
การที่โจทก์นำสืบแสดงสำเนาเอกสารต่อศาล จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าโจทก์มิได้ส่งต้นฉบับเอกสารแต่อย่างใด การที่ศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466-5467/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารสำเนาเมื่อต้นฉบับอยู่ที่จำเลย และความรับผิดร่วมของนายจ้างในกลุ่มบริษัท
การรับฟังสำเนาพยานเอกสารที่โจทก์อ้างซึ่งต้นฉบับอยู่ที่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ทำการตรวจสอบคงปฏิเสธว่าไม่ทราบว่ามีอยู่ที่จำเลยหรือไม่ จึงรับฟังข้อเท็จจริงตามสำเนาเอกสารนั้น และถือเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นเมื่อจำเลยไม่ทำการตรวจสอบหรือทักท้วงว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ศาลแรงงานกลางย่อมอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบและรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้โดยชอบ
การจ้างโจทก์เป็นการจ้างเพื่อให้ทำงานในกลุ่มบริษัท ก. ซึ่งมีบริษัทจำเลยทั้งสองรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสอง ส่วนระยะเวลาใดโจทก์จะรับค่าจ้างจากจำเลยคนใด เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะตกลงกันในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะนำมาจ่ายเป็นค่าจ้างแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในระหว่างที่โจทก์ทำงานในกลุ่มบริษัทก. และเป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในเงินที่โจทก์เรียกร้องจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มจากจำเลยทั้งสองได้ก็จะต้องปรากฏว่าจำเลยทั้งสองจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ซึ่งต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีว่าจำเลยทั้งสองทราบดีถึงหน้าที่ในการจ่ายค่าจ้าง จำนวนเงินแน่นอนที่ต้องจ่ายเป็นค่าจ้าง กำหนดระยะเวลาในการจ่ายค่าจ้าง บุคคลที่จะได้รับค่าจ้าง ทั้งจำเลยทั้งสองมีความพร้อมที่จะจ่ายค่าจ้างนั้นได้แต่ไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้โดยไม่มีเหตุผลอันควร เมื่อเงินค่าจ้างที่โจทก์อ้างว่าค้างชำระนั้นเป็นเงินส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองต้องปรับเพิ่มให้เดือนละ 20,000 บาท ตามสัญญาจ้างแต่จำเลยทั้งสองยังโต้แย้งว่าจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องจ่ายหรือไม่ การที่จำเลยทั้งสองยังไม่จ่ายให้จึงมีเหตุอ้าง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
การจ้างโจทก์เป็นการจ้างเพื่อให้ทำงานในกลุ่มบริษัท ก. ซึ่งมีบริษัทจำเลยทั้งสองรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสอง ส่วนระยะเวลาใดโจทก์จะรับค่าจ้างจากจำเลยคนใด เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะตกลงกันในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะนำมาจ่ายเป็นค่าจ้างแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในระหว่างที่โจทก์ทำงานในกลุ่มบริษัทก. และเป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในเงินที่โจทก์เรียกร้องจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มจากจำเลยทั้งสองได้ก็จะต้องปรากฏว่าจำเลยทั้งสองจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ซึ่งต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีว่าจำเลยทั้งสองทราบดีถึงหน้าที่ในการจ่ายค่าจ้าง จำนวนเงินแน่นอนที่ต้องจ่ายเป็นค่าจ้าง กำหนดระยะเวลาในการจ่ายค่าจ้าง บุคคลที่จะได้รับค่าจ้าง ทั้งจำเลยทั้งสองมีความพร้อมที่จะจ่ายค่าจ้างนั้นได้แต่ไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้โดยไม่มีเหตุผลอันควร เมื่อเงินค่าจ้างที่โจทก์อ้างว่าค้างชำระนั้นเป็นเงินส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองต้องปรับเพิ่มให้เดือนละ 20,000 บาท ตามสัญญาจ้างแต่จำเลยทั้งสองยังโต้แย้งว่าจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องจ่ายหรือไม่ การที่จำเลยทั้งสองยังไม่จ่ายให้จึงมีเหตุอ้าง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากสำเนาเอกสารและการยอมรับของจำเลย
โจทก์แนบสำเนาโทรสารใบสั่งซื้อและใบส่งสินค้าไว้ท้ายฟ้อง เอกสารดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าโทรสารใบสั่งซื้อและใบส่งสินค้าตามสำเนาท้ายฟ้องไม่ถูกต้อง ประกอบกับขณะที่โจทก์นำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งคัดค้าน จึงถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับถึงการมีอยู่และความแท้จริงของต้นฉบับของเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นถูกต้องกับต้นฉบับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 แล้ว ศาลย่อมรับฟังสำเนาโทรสารใบสั่งซื้อและใบส่งสินค้าเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารนั้นได้ตามมาตรา 93(1)ไม่ใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานได้ หากคู่ความตกลงและจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้เขียน
จำเลยเบิกความยอมรับว่า เป็นผู้เขียนข้อความทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมทั้งเป็นผู้วาดแผนที่ไว้ในสำเนาแบบแสดงรายการที่ดินแม้เอกสารดังกล่าวจะมิใช่ต้นฉบับที่แท้จริง แต่เป็นภาพถ่ายสำเนามาจากต้นฉบับซึ่งจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้เขียนเอง เมื่อโจทก์ก็ยอมรับไม่โต้เถียงความไม่ถูกต้อง จึงต้องถือว่าคู่ความทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว สามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3936/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสำเนาเอกสาร หากจำเลยไม่โต้แย้ง ถือเป็นความยินยอมและรับรองความถูกต้อง
จำเลยมิได้โต้แย้งความถูกต้องของสำเนาเอกสารก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตามขั้นตอนที่ ป.วิ.พ.มาตรา 125 วรรคสามและวรรคสี่ กำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นการตกลงรับรองความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าว และผู้อ้างไม่จำต้องส่งต้นฉบับเอกสารอีกตาม มาตรา 93 (1) สำเนาเอกสารนั้นย่อมรับฟังได้เสมอกับต้นฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3936/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นหลักฐาน การไม่โต้แย้งถือเป็นการยอมรับ และการต่อสู้คดีที่ไม่สุจริต
จำเลยมิได้โต้แย้งความถูกต้องของสำเนาเอกสารก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตามขั้นตอนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 วรรคสามและวรรคสี่ กำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นการตกลงรับรองความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าว และผู้อ้างไม่จำต้องส่งต้นฉบับเอกสารอีกตามมาตรา 93(1) สำเนาเอกสารนั้นย่อมรับฟังได้เสมอกับต้นฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3936/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นหลักฐาน: การไม่โต้แย้งถือเป็นการยอมรับ
จำเลยมิได้ดำเนินการโต้แย้งความถูกต้องของสำเนาเอกสารก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตามขั้นตอนที่พึงปฏิบัติที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 วรรคสามและวรรคสี่กำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นการตกลงรับรอง ความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าว และผู้อ้างไม่จำต้องส่งต้นฉบับเอกสาร อีกตามมาตรา 93(1) สำเนาเอกสารนั้นย่อมรับฟังได้เสมอกับต้นฉบับ