คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิก่อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน: สิทธิของผู้อื่นที่มีสิทธิก่อน และเหตุเพิกถอนการจดทะเบียน
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "diamond" สำหรับใช้กับสินค้าโช้คอัพประตูไว้ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "dimond" สำหรับสินค้าโช้คอัพประตูกับสินค้าโครงฝ้าเพดานทำด้วยโลหะ ลูกเลื่อนประตูทำด้วยโลหะ และลูกเลื่อนหน้าต่างทำด้วยโลหะ เมื่อเครื่องหมายการค้าที่โจทก์กับที่จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดสินค้า โจทก์ซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ก่อนจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับการจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า เว้นแต่จำเลยที่ 2 จะมีคำสั่งให้โจทก์กับจำเลยที่ 3 ตกลงกันเองก่อน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 24 หรือเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 เห็นว่าต่างฝ่ายต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้ากันมาแล้วด้วยกันโดยสุจริตตามมาตรา 27 แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ดำเนินการตามมาตรา 24 หรือมาตรา 27 แต่อย่างใด เนื่องจากมีเหตุบกพร่องในการตรวจสอบข้อมูลเครื่องหมายการค้าเพราะความขัดข้องของระบบคอมพิวเตอร์ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่จำเลยที่ 3 จึงเป็นการจดทะเบียนที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 20 อันจะต้องเพิกถอนการจดทะเบียนที่ไม่ชอบเสียทั้งหมด แม้จำเลยที่ 3 จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าบางรายการที่แตกต่างกับที่โจทก์ขอจดทะเบียนไว้ก็ตาม
โจทก์ได้ร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 แล้ว แต่การร้องขอดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนไว้นั้นเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน ตามมาตรา 61 ส่วนการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 3 ได้จดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่ 3 ตามมาตรา 67 ซึ่งเป็นการอ้างเหตุแห่งการเพิกถอนที่แตกต่างกัน การที่โจทก์ได้ร้องขอให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์พิสูจน์ว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าและร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินเนื่องจากจำเลยโอนโดยไม่สุจริตและโจทก์มีสิทธิก่อน
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้แก่โจทก์แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 สมคบกันโอนที่ดินพิพาทโดยจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทน แม้โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาท เพียงเข้า ครอบครองก็ตาม แต่ถือว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิจากการจดทะเบียน: ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตย่อมได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองก่อนหน้านี้ที่ยังมิได้จดทะเบียน
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วยจาก ส.ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส.แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียนนั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง แม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้มีสิทธิก่อนมีสิทธิที่ดีกว่า แม้จะจดทะเบียนภายหลัง
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่า ผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเท่านั้น หาได้บัญญัติว่าหากผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยโดยสุจริตแล้วจะมีสิทธิดีกว่าไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทและมีสิทธิจดทะเบียนในประเทศไทยก่อนโจทก์แล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยก่อนจำเลยก็ตาม ทั้งสิทธิของจำเลยจะดีกว่าโจทก์หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะเป็นที่นิยมแพร่หลายของสาธารณชนทั่วโลกหรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่า เครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้มีสิทธิก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า แม้จดทะเบียนในไทยทีหลัง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)บัญญัติไว้แต่เพียงว่าทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเท่านั้นหาได้บัญญัติว่าหากผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยโดยสุจริตแล้วจะมีสิทธิดีกว่าไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทและมีสิทธิจดทะเบียนในประเทศไทยก่อนโจทก์แล้วจำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยก่อนจำเลยก็ตามทั้งสิทธิของจำเลยจะดีกว่าโจทก์หรือไม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะเป็นที่นิยมแพร่หลายของสาธารณชนทั่วโลกหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งสิทธิเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึง, เจตนาลวง, และสิทธิก่อน
โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าจำเลยได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าคำว่า Mark&Spencer โจทก์เพิ่งทราบเมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ หลังจากนั้นโจทก์ขอให้จำเลยโอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์หรือให้จำเลยถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย แต่จำเลยปฏิเสธ การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ขอจดทะเบียน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คืออักษรโรมันคำว่า MARKS &SPENCER ส่วนของจำเลยคือคำว่า Mark&Spencer ต่างประกอบด้วยอักษรโรมันตัวเดียวกัน คงแตกต่างกันเฉพาะเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันแบบตัวพิมพ์ใหญ่ และมีตัว "S" ท้ายคำว่า MARK ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันแบบตัวเขียนและไม่มีตัว "S" ท้ายคำว่า Mark แม้แบบของตัวอักษรโรมันที่โจทก์และจำเลยนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนจะแตกต่างกันดังกล่าวก็ตาม แต่ตัวอักษรโรมันที่แต่ละฝ่ายนำมาเรียบเรียงเป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนเป็นตัวเดียวกัน ทั้งเมื่ออ่านออกเสียงรวมกันทั้งคำหรือเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อ่านออกเสียงหรือเรียกขานเหมือนกันคือมาร์คส์หรือมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ อีกทั้งสินค้าของโจทก์มีจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมบ่งบอกเจตนาของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจการค้าได้ว่า จำเลยต้องการให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้กับสินค้าจำพวกเครื่องหนังอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ต่างประเทศก่อนแล้ว อ่านหรือเรียกขานให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในทางการค้าของโจทก์โดยมุ่งประสงค์จะลวงให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MARKS & SPENCERของโจทก์ดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโอนที่ดินที่เป็นทางเสียเปรียบต่อผู้มีสิทธิก่อน การเพิกถอนการจดทะเบียน และข้อผิดพลาดเลขที่โฉนด
โจทก์ที่ 2 มีชื่อในโฉนดที่ดินผู้เดียวแต่เป็นการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ที่ 1 ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว โจทก์ที่ 2จึงไม่มีสิทธิที่จะขายที่ดินพิพาทให้จำเลย การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยเป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ที่ 1 ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของโจทก์ที่ 1 ได้อยู่ก่อนแล้ว แม้จำเลยได้รับโอนโดยมีค่าตอบแทนแต่กระทำการโดยไม่สุจริต โจทก์ที่ 1 ย่อมเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินพิพาทนั้นได้
คำฟ้องระบุเลขที่ของโฉนดผิดพลาดไปไม่ตรงกับเลขที่โฉนดในภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นโฉนดเลขที่ 39533 จำเลยมิได้หลงต่อสู้ทั้งยังแนบภาพถ่ายโฉนดเลขที่ 39533 มาท้ายคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1ระบุเลขที่โฉนดที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนเป็นโฉนดเลขที่ 35933 ทั้งที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในส่วนอื่น ๆ ก็ระบุเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 39533ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท กรณีจำเลยรับโอนโดยไม่สุจริต และเป็นการเสียเปรียบต่อผู้มีสิทธิก่อน
โจทก์ที่2มีชื่อในโฉนดที่ดินผู้เดียวแต่เป็นการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่1ซึ่งโจทก์ที่1ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้วโจทก์ที่2จึงไม่มีสิทธิที่จะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่2กับจำเลยเป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ที่1ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของโจทก์ที่1ได้อยู่ก่อนแล้วแม้จำเลยได้รับโอนโดยมีค่าตอบแทนแต่กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์ที่1ย่อมเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินพิพาทนั้นได้ คำฟ้องระบุเลขที่ของโฉนดผิดพลาดไปไม่ตรงกับเลขที่โฉนดในภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นโฉนดเลขที่39533จำเลยมิได้หลงต่อสู้ทั้งยังแนบภาพถ่ายโฉนดเลขที่39533มาท้ายคำให้การการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ระบุเลขที่โฉนดที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนเป็นโฉนดเลขที่35933ทั้งที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1ในส่วนอื่นๆก็ระบุเป็นที่ดินโฉนดเลขที่39533ดังนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีเหนือที่ดิน: ผู้มีสิทธิก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้มีการบังคับคดีหลัง
การที่ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินแปลงพิพาทแก่โจทก์และให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 10,000 บาท แก่จำเลยหากจำเลยไม่ไปโอนที่ดินแก่โจทก์ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากจำเลยไม่อาจโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้เพราะเหตุพ้นวิสัยให้จำเลยคืนเงิน 85,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ซึ่งศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังพร้อมกับออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วันแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวย่อมเป็นผู้มีสิทธิตามคำพิพากษาในอันจะบังคับให้จำเลยจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีนี้ที่ได้พิพากษาหลังจากผู้ร้องมีสิทธิแล้วย่อมไม่อาจบังคับคดีกระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินที่ผู้ร้องมีสิทธิอยู่ก่อนแล้วได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนสิทธิในทรัพย์สินหลังมีคำพิพากษาประนีประนอมยอมความ: ผู้ร้องย่อมมีสิทธิก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
โจทก์และผู้ร้องต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีที่จำเลยเป็นคนคนเดียวกัน จำเลยยอมใช้หนี้เงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยภายใน 10 วันนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยยอมโอนที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ผู้ร้องเป็นการใช้หนี้แทนภายใน 10 วันนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความปรากฏว่าโจทก์นำยึดเรือนและที่พิพาทของจำเลยในวันเดียวกันกับที่ผู้ร้องกับจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์นำยึดภายหลังการทำยอมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนโจทก์นำยึด แม้จำเลยจะยังมิได้กระทำการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนให้ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ขอให้เพิกถอนการยึดได้
of 2